Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีทางการพยาบาลที่ใช้ทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
ทฤษฏีทางการพยาบาลที่ใช้ทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
ทฤษฏีมนุษยนิยม
ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์(Maslow’s Hierarchy of needs Theory)
ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs)
3.ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ(Belonging and love needs)
4.ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ(Esteem needs)
5.ความต้องการที่จะเข้าใจประจักษ์ตนเองอย่างแท้จริง(Self-actualization needs)
การประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
1.แนวคิดศักยภาพของบุคคล (human potential) ที่ให้ความสำคัญกับการมองที่จุดแข็ง/ข้อดีของผู้ป่วย ในกระบวนการสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
2.การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิบัติการพยาบาล
ทฤษฏีทางการพยาบาล
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว
ทฤษฏีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล(Interpersonal relation theory) ของไฮการ์ด เพบหลาว เป็นทฤษฏีการพยาบาลที่เป็นประโยชน์อย่างมากในกระบวนพยาบาลเพราะการพยาบาลเป็นศิลปะในการรักษาและช่วยเหลือบุคคลที่เจ็บป่วยหรือมีความต้องการดูแลสุขภาพ
บทบาทของพยาบาล
1.คนแปลกหน้า (Stranger)ในการพบกันครั้งแรก ช่วยทำให้ผู้รับบริการยอมรับและไว้วางใจพยาบาล
2.ผู้ให้การสนับสนุน (Resource person)ช่วยตอบคำถาม ให้ความรู้ ในข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง
3.ครู(Teacher) ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความรู้การเรียนรู้ตามความต้องการหรือในสิ่งที่ผู้รับบริการสนใจทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
4.ผู้นำ (Leader)ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความคิดริเริ่ม
5.ผู้ทดแทน(Surrogate)ช่วยเป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ทดแทน
6.ผู้ให้คำปรึกษา(Counselor)ช่วยให้เกิดความเข้าใจและบูรณาการเป้าหมายของชีวิตและบริบทแวดล้อมส่งเสริมประสบการณ์และให้กำลังใจในการเปลี่ยนแปลง
2.ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม
มโนทัศน์หลักในทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม
1.ทฤษฏีการดูแลตนเอง (The theory of self - care)
1.การดูแลตนเอง หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำด้วยตนเอง เพื่อดำรงไว้ซึ่งชีวิต
2.ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self – care agency: SCA)คุณสมบัติที่ซับซ้อน หรือพลังความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ
3.ความต้องการดูแลตนเองทั้งหมด ( Capabilities for self – care
operations)
2.ทฤษฏีความพร่องในการดูแลตนเอง (The theory of self – care deficit)
คุณภาพของความสามารถในการดูแลตนเองไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการ การดูแลตนเองทั้งหมด ดังนั้นบุคคลจึงต้องการการพยาบาล
3.ทฤษฏีระบบการพยาบาล (The theory of nursing system)
ระบบทดแทนทั้งหมด(Wholly compensatory nursing system) ใช้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถจะปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองที่ต้องอาศัยตนเองเป็นผู้ชี้นำ
ระบบทดแทนบางส่วน(Partly compensatory nursing system) ระบบนี้ผู้ป่วยกับพยาบาลร่วมกันรับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการการดูแลทั้งหมดของผู้ป่วย
ระบบสนับสนุนและให้ความรู้(Educative supportive nursing system)
3.ทฤษฏีการปรับตัวของรอย
ความสามารถในการปรับตัว(Adaptive level)
1.ระดับปกติ(Integrated level) เป็นภาวะที่โครงสร้างและหน้าที่ของหน้าที่ของร่างกายทำงานเป็นองค์รวม สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างเหมาะสม
2.ระดับชดเชย (Compensatory level) เป็นภาวะที่กระบวนการชีวิตถูกรบกวน ทำให้กลไกการควบคุมและการรับรู้ของระบบบุคคลถูกกระตุ้นให้ทำงานเพื่อจัดการกับสิ่งเร้า ก่อให้เกิดการปรับตัวตามมา
3.ระดับเสียสมดุล(Compromised level)เป็นภาวะที่กระบวนการปรับตัวระดับปกติและระดับชดเชยทำงานไม่เพียงพอที่จะจัดการกับสิ่งเร้าได้ ก่อให้เกิดการปรับตัวตามมา
การปรับตัว(Adaptation)
1.การปรับตัวสำเร็จ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองในเชิงบวก คือผลลัพธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งของบุคคล มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายของการปรับตัว
2.การปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในแบบที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งของระบบ
กระบวนการเผชิญปัญหา (Coping process)
กลไกการควบคุม (Regulator subsystem) เป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งบุคคลไม่รู้สึกตัวเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบประสาท สารเคมี
กลไกการคิดรู้ (Cognator subsystem) เป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยผ่านทางระบบประสาทแห่งการรับรู้และการแสดงอารมณ์