Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:explode:วิวัฒนาการของนาฎศิลป์เเละการละครไทย ยุคสมัยรัตนโกสินทร์…
:explode:วิวัฒนาการของนาฎศิลป์เเละการละครไทย
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที 1 ถึงปัจจุบัน :explode:
วิวัฒนาการของนาฎศิลป์เเละการละครไทย ในปัจจุบัน
การนำมาประยุกต์ใช้เเละวิวัฒนาการของนาฎศิลป์เเละการละครไทย
ในปัจจุบันได้มีการนำนาฏศิลป์นานาชาติมาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ รูปแบบของการแสดง มีการนำเทคนิคแสง สี เสียง เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการแสดงชุดต่างๆ ปรับปรุงลีลาท่ารำให้เหมาะสมกับฉาก บนเวทีการแสดงมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งระบบม่าน ฉาก แสง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีระบบเสียงที่สมบูรณ์ มีเครื่องฉายภาพยนตร์ประกอบการแสดง และเผยแพร่ศิลปกรรมทุกสาขานาฏศิลป์ และสร้างนักวิชาการและนักวิจัยในระบบสูง ทำให้การเเสดงมีความสะดวกและมีความบันเทิงมาก
จัดทำโดย นายศิรวิชญ์ พลภักดี เลขที่ 17
ความเป็นมา ของนาฎศิลป์เเละการละครไทย สืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2564
อ้างอิง
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1451273855_example.pdf
การนำมาประยุกต์ใช้เเละวิวัฒนาการของนาฎศิลป์เเละการละครไทย สืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1451273855_example.pdf
ความเป็นมา ของนาฎศิลป์เเละการละครไทย
นาฎศิลป์เเละการละครไทย เป็นศิลปะทางมรดกด้านวัฒนธรรม แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ ของไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานและเกิดมีวิวัฒนาการขึ้นในเเต่ละสมัย ได้เกิดบุคคลสำคัญในวงการละครไทยในเเต่ละสมัย เป็นบุคคลที่ช่วยสร้างสรรค์และ สืบทอดการแสดงให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักสืบไปจึงจำเป็นที่ต้องศึกษา เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบุคคลสำคัญของวงการละครไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนต่อไป ตั้งเเต่อดีต จนถึงทุกวันนี้
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์พร้อมบุคคลสำคัญในรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 9
รัชกาลที่ 7
รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
: ได้โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูกยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์
:เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 (รัชกาลที่ 7)จังหวัดนนทบุรี ท่านเป็นนาฏศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและแบบราชสำนัก รวมทั้งได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ชุดการแสดงต่าง ๆ และนำไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลาย ๆ ประเทศ จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-ละครรำ) เมื่อ พ.ศ. 2533(รัชกาลที่ 9)
รัชกาลที่ 8
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
: หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปากร ได่ก่อตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์ดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ที่ถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทำนุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องของนานาอารยประเทศ
รัชกาลที่ 9
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
: มีการ บันทึกภาพยนตร์ส่วนพระองค์และจัด พิธีไหว้ครู โขน ละคร พิธีครอบ และพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ พระราชทานครอบโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ที่ได้รับครอบจะต้องเป็นศิลปินที่ได้เลือกสรรแล้วเพื่อให้ทำพิธีครอบ สืบต่อไปซึ่งถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญสูงสุดของวงการนาฏศิลป์และการละครไทย
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446 (รัชกาลที่ 9)นามเดิมว่า แผ้ว สุทธิบูรณ์ เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมกลวงนครราชสีมา เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมฟื้นฟูนาฏศิลป์ไทยในสมัยที่แสดง ณ โรงละครศิลปากร ทำหน้าที่ในการฝึกสอน อำนวยการแสดงไม่ว่าจะเป็น โขน ละคร ฟ้อน รำ ระบำ เซิ้ง และยังเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำต่าง ๆ มากมาย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขานาฏศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528
จัดทำโดย นายอัฑฒชัย อารยะญาณ เลขที่ 18
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์ รัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 9 สืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
https://sites.google.com/a/kw.ac.th/art_m6/hnwy-thi-1-wiwathnakar-lakhr-thiy/4-smay-ratnkosinthr
บุคคลสำคัญ นายกรี วรศะริน,นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์,ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2564 อ้างอิง
https://sites.google.com/site/natasintk/course-outline/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4?fbclid=IwAR20qiDIjIdNPCQ6jLMD434qkMRSf-FAh4QPYLaF3Go-gDXluZXnhfbWw9E
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์พร้อมบุคคลสำคัญใน รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3
รัชกาลที่ 1
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
:โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำเมขลา-รามสูร ในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์
รัชกาลที่ 2
ราชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
: เป็นยุคทองนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประเพณีแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอกโดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364 (รัชกาลที่ 2)เป็นเป็นข้าราชการชาวไทย ต้นสกุล "เพ็ญกุล" เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) ได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับเจ้าฟ้ามงกุฎที่อารามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎทรงขอรับไปเลี้ยงและทรงออกนามว่า "พ่อเพ็ง" ครั้นเสด็จทรงราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว โปรดให้เพ็งเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่ตำแหน่งเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม
รัชกาลที่ 3
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
: โปรดให้ยกเลิกละครหลวง จึงเปลี่ยนไปเผยเเพร่นอกวัง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถได้สือทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา
จัดทำโดย นายภาณุภัทร ทบผา เลขที่ 11
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 สืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
https://sites.google.com/a/kw.ac.th/art_m6/hnwy-thi-1-wiwathnakar-lakhr-thiy/4-smay-ratnkosinthr
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง สืบค้นวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง_(เพ็ง_เพ็ญกุล
)
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์พร้อมบุคคลสำคัญใน รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6
รัชกาลที่ 5
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
:ในสมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อทันสมัย เช่น มีการพัฒนาละครในละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละครเสภา และได้กำหนดนาฎศิลป์เป็นที่บทระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น รำบำเทวดา- นางฟ้า ในเรื่องกรุงพาณชมทวีป ระบำตอน นางบุษบากับนางกำนันชมสารในเรื่องอิเหนา เเละ ระบำไก่เป็นต้น ได้เกิดบุคคสำคัญ
นางลมุล ยมะคุปต์
เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 (รัชกาลที่ 5)ที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาได้พามาถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ฝึกหัดนาฏศิลป์ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง รวมทั้งมีพรสวรรค์เป็นพิเศษจึงได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดเป็นตัวพระตั้งแต่แรกเริ่ม เริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏดุริยาคศาสตร์ ได้ดำรงตำแหน่งครู และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร ได้ถ่ายทอดท่ารำและประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามไว้มากมาย เช่น รำแม่บทใหญ่ รำวงมาตรฐาน เเละเป็นผู้วางหลักสูตรนาฏศิลป์ภาคปฏิบัติให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
นางเฉลย ศุขะวณิช
:เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 (รัชกาลที่ 5)เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ การออกแบบนาฏศิลป์ไทยแห่งวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท และได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ผลงานด้านนาฏศิลป์ขึ้นใหม่มากมาย จนถือเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) เมือ พ.ศ. 2530(รัชกาลที่ 9)
รัชกาลที่ 6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
: เป็นยุคที่ศิลปะด้านนาฎศิลป์ เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ ทำให้ศิลปะมีการฝึกหัดอย่างมีระเบียบแบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฎศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับ ละครโขนเฉลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง
นายกรี วรศะริน
เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2457 (รัชกาลที่ 6)เป็นศิลปินที่เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ โขน ของวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีความสามารถในการแสดงโขนทุกประเภท โดยเฉพาะโขนตัวลิง ได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านโขน-ละครไว้หลายชุด จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฏดุริยางคศิลป์ นายกรี วรศะริน ได้รับการยกย่องเชิดชุเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) เมื่อ พ.ศ. 2531(รัชกาลที่ 9)
รัชกาลที่ 4
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
: โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการำเบิกโรงชุดประเริงมาเป็น รำดอกไม้เงินทอง
เจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์
เจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ นามเดิม หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร เกิดวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 (รัชกาลที่ 4)เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ เป็นผู้ให้กำเนิดละครดึกดำบรรพ์ มีคณะละครที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และได้รับราชการในการควบคุมกรมมหรสพหลวง จึงทำให้คณะละครและกรมมหรสพซึ่งท่านเป็นผู้ควบคุมอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีนักดนตรีนักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียงหลายคน นักดนตรี เช่น พระประดิษฐไพเราะ (ตาด) หลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี) หลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตนะวิลัย)
จัดทำโดย :นายปิยากร เพชรหึง เลขที่ 16
บุคคลสำคัญ ครูลมุล ยมะคุปต์,นางเฉลย ศุขะวณิช,นายกรี วรศะริน
สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2564 อ้างอิง
https://sites.google.com/site/natasintk/course-outline/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4?fbclid=IwAR20qiDIjIdNPCQ6jLMD434qkMRSf-FAh4QPYLaF3Go-gDXluZXnhfbWw9E
เจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์ สืบค้นวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์_(หม่อมราชวงศ์หลาน_กุญชร
)
จัดทำโดย นายศศิน จันทรัศมี เลขที่ 1
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของนาฎศิลป์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 สืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อ้างอิง
https://sites.google.com/a/kw.ac.th/art_m6/hnwy-thi-1-wiwathnakar-lakhr-thiy/4-smay-ratnkosinthr