Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 การรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการทางผิวหนัง - Coggle Diagram
บทที่ 12 การรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการทางผิวหนัง
แนวทางการวินิจฉัยโรคผิวหนัง
กลุ่มเนื้องอก (Tumor) หรือกลุ่มการอักเสบในกลุ่มเนื้องอกโดยทั่วไปพบลักษณะรอยโรคเป็นก้อนขอบเขตชัดเจนมีช่วงระยะเวลาในการโตของก้อนและเป็นมานาน ไม่ตอบสนองด้วยยาโดยแยกกลุ่มเป็นเนื้องอกชนิดไม่รุนแรงและเนื้องอกชนิดรุนแรง
กลุ่มการอักเสบแยกว่าเป็นการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อซึ่งโรคติดเชื้อที่ผิวหนังไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือปสิต สามารถให้อาการแสดงที่เหมือนกับโรคผิวหนังอื่นๆได้ จำเป็นต้องแยกสาเหตุการติดเชื้อออกก่อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียจำนวนผื่นและการกระจายของผื่นมักอยู่เฉพาะที่ไม่กระจายเป็นวงกว้าง การติดเชื้อราที่เล็บมักเป็นบางเล็บ
กลุ่มการอักเสบที่ไม่ได้ติดเชื้อแยกตามผื่นเริ่มต้นได้แก่
ผื่นแพ้ผิวหนัง(Eczema) ผื่นหนาและมีขุย(Papulosquamous)
ตุ่มน้ำ(Vesiculobullous) ลมพิษ(Urticaria and angioedema)
การอักเสบรูขุมขน(Folliculitis) เส้นเลือดอักเสบ(Vasculitis)
การอักเสบชั้นไขมัน (Panniculitis) หรือแกรนูโลมา (Granulomatous)
กลุ่มที่มีรอยโรคผิวหนังร่วมกับอาการแสดงระบบอื่นๆได้แก่พันธุกรรม(Genodermatoses) Autoimmune disease การใช้ยา สารพิษหรือการมีสารมาสะสมที่ผิว
scrub typhus
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) มีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งไรอ่อนมักจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้ออาจทำให้เกิดอาการ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่นคัน คลื่นไส้และอาเจียน
อาการ
มีไข้สูงแบบ “intermittent” (39.5-40 องศาเซลเซียส) อาจอยู่นาน 2-3 สัปดาห์
อาการแสดงอื่นๆ ที่พบร่วมเป็นอาการไม่จำเพาะ ได้แก่ ตาแดง ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตามตัวคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องอุจจาระร่วง ไอแห้งๆ รอยแผล
ส่วนใหญ่พบถูกกัดในบริเวณร่มผ้า และกัดบริเวณ ขาหนีบ รักแร้ ซอกพับ
ตำแหน่งที่ถูกกัดจะเกิดเป็นแผล เรียกว่า Eschar ซึ่งจะพบเพียงรอยโรคเดียว (single lesion)
มีลักษณะเป็นแผลขอบยกนูนแดง ขนาด 5-10 มิลลิเมตร
ไม่มีหนอง ตรงกลางมีสะเก็ดสีดำ คลายรอยบุหรี่จี้ อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตร่วมด้วย
การรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรงให้ยา doxycycline loading dose ในวันแรก 2.2 มก./กก./ครั้ง 2 ครั้ง แล้วตามด้วย 2.2 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ให้เป็นเวลารวม 5 วัน
ถ้าอาการรุนแรง เช่น หอบ หัวใจวาย ไตวาย ต้อง refer ทันที
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคปอดอักเสบ
ภาวะที่มีการแข็งตัวของเลือดกระจายไปทั่วร่างกาย
โรคตับอักเสบ
การทำงานของอวัยวะในร่างกายล้มเหลว
ระยะฟักตัว
ตั้งแต่ 6-21 วันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10-12 วัน
การป้องกัน
ใช้สารไล่แมลงที่มีส่วนประกอบของสาร DEET 20-30% หรือสารที่ได้รับการรับรองว่าใช้สำหรับต่อต้านตัวไรอ่อน ทั้งแบบที่ใช้กับผิวหนังหรือเสื้อผ้า นอกจากนั้น ควรใช้ตามคำแนะนำที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด
ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค Scrub Typhus ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีพืชพรรณและพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นที่ที่ตัวไรอ่อนชอบอาศัยอยู่
เนื่องจากโรค Scrub Typhus ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัด
ผิวหนังอักเสบ Impetigo/Ecthyma
การอักเสบของผิวหนังแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสแตฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือชนิด สเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (Group A streptococcus)
ฝี Abscess/Carbuncle
การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสแตฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือชนิดสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) ที่ต่อมไขมันและที่ขุมขนของผิวหนัง แล้วลุกลามจนรวมกันเป็นกลุ่มก้อนมีหนองสะสม มีลักษณะเป็นก้อนหนองหลายก้อนติดกัน เรียกว่า "ฝีฝักบัว"
ผิวหนังอักเสบ Cellulitis
ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย