Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่, Screenshot_2021_0620_195429, Screenshot_2021_0620…
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครสังคีต
ละครสังคีต
ละครอีกแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกมิได้เพราะจะทำให้เสียเรื่อง
-
-
เรื่องที่แสดง
นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาหพระสมุทร มิกาโด วั่งตี่ มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ทรงใช้ชื่อเรียกละครทั้ง ๔ นี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ในเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียก "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโด และวั่งตี่ ทรงเรียก " ละครสังคีต" การที่ทรงเรียกชื่อบทละครทั้ง ๔ เรื่องแตกต่างกันนั้น นายมนตรี ตราโมท และนายประจวบ บุรานนท์ ข้าราชสำนักใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีโอกาสร่วมในการแสดงละครของพระองค์ท่านให้ความเห็นตรงกันว่า เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง และเรื่องวิวาหพระสมุทร น่าจะเป็นเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นก่อน ซึ่งขณะนั้นคงทรงยังไม่ได้คิดเรียกชื่อละครประเภทนี้ว่า "ละครสังคีต" ต่อมาในระยะหลัง เมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องมิกาโด และเรื่องวั่งตี่ ทรงใช้คำว่า "ละครสังคีต" สำหรับเรียกชื่อละครประเภทหนึ่ง
การแสดง
มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพดเป็นการเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้อง และบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
-
-
-
รูปภาพ
-
-
ละครบทพูด
ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอนคำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่นละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
-
ผู้แสดง
ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร
น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียงกังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี
-
-
-
การแสดง
ละครพูดล้วนๆ การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือ
ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดุ ถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ก็สมมติว่าไม่ได้ยิน
-
ละครพูดสลับลำ ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ
ดนตรี
-
-
ละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
-
-
-
-
ละครร้อง
คือ
ละครร้องเป็นศิลปการแสดงแบบใหม่ที่กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว ละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศ ละครร้องนั้นต้นกำเนิดมาจากการแสดงของชาวมลายู เรียกว่า "บังสาวัน" (Malay Opera) ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ โรงที่เล่นอยู่ข้างวังบูรพา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย (เดิมสร้างอยู่ในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ถนนตะนาว) คณะละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์นี่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า "ละครหลวงนฤมิตร" บางครั้งคนยังนิยมเรียกว่า "ละครปรีดาลัย" อยู่ ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมายเช่น คณะปราโมทัย ปราโมทย์เมือง ประเทืองไทย วิไลกรุง ไฉวเวียง เสรีสำเริง บันเทิงไทย และนาครบันเทิง เป็นต้น ละครนี้ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ โรงละครที่เกิดครั้งหลังสุด คือ โรงละครนาคบันเทิงของแม่บุนนาค กับโรงละครเทพบันเทิงของแม่ช้อย
-
เรื่องที่แสดง
ละครร้องสลับพูด บทละครส่วนใหญ่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้พระนิพนธ์บท และกำกับการแสดง เรื่องที่แสดงได้แก่ ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือณรงค์ กากี ภารตะ สีป๊อมินทร์ (กษัตริย์ธีบอของพม่า) พระยาสีหราชเดโช โคตรบอง สาวเครือฟ้า ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องมาดามบัตเตอร์พลาย (Madame Butterfly) อันเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม และมีผู้นำมาจัดแสดงเสมอ
-
การแสดง
ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ บทพูดเจรจาสอดแทรกเข้ามาเพื่อทวนบทที่ตัวละครร้องออกมานั่นเอง แม้ตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแต่บทร้องก็ยังได้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด ตัวละครจะทำท่าประกอบตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเรียกว่า "ละครกำแบ"
ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ บทพูดเจรจาสอดแทรกเข้ามาเพื่อทวนบทที่ตัวละครร้องออกมานั่นเอง แม้ตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแต่บทร้องก็ยังได้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด ตัวละครจะทำท่าประกอบตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเรียกว่า "ละครกำแบ"
ดนตรี
ละครร้องสลับพูด บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่นๆ
-
เพลงร้อง
ละครร้องสลับพูด ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง ๒ ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบาๆ เรียกว่า "ร้องคลอ"
-
-
-
-
-
บุคคลสำคัญ :
-
3.บุคคลสำคัญของบทละครร้อง คือ มหาเสวกโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง
2.บุคคลสำคัญของละครสังคีต คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2424 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 32 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมพรรษา 44 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
1.บุคคลสำคัญของบทละครพูด คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11พ.ศ. 2411 [เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
-
-
-
-
-
-