Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล - Coggle Diagram
บทที่ 10 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ความหมาย ลักษณะของการเรียนรู้แบบ Digital Learning
การเรียนรู้แบบ Digital Learning ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสถานการณ์ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
ผู้สอนทำหน้าที่โค้ช ให้คำชี้แนะ ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกิจกรรมการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Digital Learning
ออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานร่วมกัน (Collaborative working)
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายในลักษณะของการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Personalized learning)
เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียนรู้ อุปกรณ์การเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ ที่ผู้สอนต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า ไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสืบค้นเองแบบไม่มีทิศทาง
จัดระบบหรือขั้นตอนการเรียนรู้ให้ชัดเจนว่ากิจกรรมลำดับแรกคืออะไร ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอะไร กิจกรรมลำดับถัดไปคืออะไร เพื่อให้ผู้เรียนติดตามหรือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
แนวทางการจัดการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้แบบ Digital Learning
สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียน
เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามความคิดของผู้เรียนเองก่อนหากผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ จึงชี้แนะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หลักการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม
กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ตอบสนองการความต้องการในการใช้งานได้ดีกว่าเครื่องมือดิจิทัลแบบเดิม ๆ
ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดิจิทัลในการทำงาน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ของการเรียนรู้แบบดิจิทัลของผู้เรียนให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดิจิทัลเชิงบูรณาการ
การประเมินการเรียนรู้ใน New normal
มุ่งเน้นการใช้วิธีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Self-assessment for improvement) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการประเมินตนเองซึ่งเป็นจุดเน้นของการประเมินการเรียนรู้ใน New normal
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองในลักษณะของการประเมินเชิงรุก (Active assessment) ที่เป็นการประเมินตนเองทันทีเมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น
บทบาทผู้สอน ต้องจัดเตรียมเครื่องมือการประเมินต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ในการประเมินตนเอง