Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช - Coggle Diagram
แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy: E.C.T.)
โดยการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 70 – 130 โวลท์ ผ่านแผ่นอิเล็คโทรดเข้าสู่สมองของผู้ป่วยภายในเวลา 0.5 – 2 วินาที ทำให้เกิดการชักแบบ Grand-mal seizure (Generalized convulsion/ Tonic -clonic convulsion ) คือการชักเกร็งทั้งตัว ประมาณ 30-60 วินาที
ข้อบ่งชี้ในการรักษาโดยใช้กระแสไฟฟ้า
1.. โรคซึมเศร้า (Depression) ชนิดรุนแรง เช่น ผู้ป่วยประเภทเศร้าโดยไม่มีสาเหตุภายนอกแต่เศร้าจากการเก็บภายในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความคิดฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยจิตเภทชนิด catatonic excitement /stupor หรือ severe catatonic Withdrawal
โรคจิตอารมณ์ (affective disorder) ทั้งระยะคลุ้มคลั่ง (mania) หรือ ซึมเศร้า (Depress)
ผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆที่รักษาด้านอื่นไม่ได้ผล เช่น รักษาด้วยยาไม่ได้ผล
อาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนในการรักษาโดยการใช้ไฟฟ้า (Complication)
การหยุดหายใจนาน (prolong apnea) พบได้ในระยะกระตุกต่อกับระยะหลับ
การชักยาวนาน (prolong seizure) ระยะเวลาชักนานกว่า 180 วินาที การชักเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อสมอง ระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต
การสูดสำลักเอาเศษอาหาร น้ำลายเข้าสู่ปอดพบได้ในกรณีที่ผู้ป่วยงดอาหารไม่ถึง 4 ชั่วโมง
อาการลืม (amnesia) หรือความจำบกพร่อง (loss of memory) เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ภายหลัง
การรักษาด้วยไฟฟ้าครั้งที่ 4 เป็นต้นไป
ระยะของการชัก
ระยะไม่รู้สึกตัว (Unconscious Stage) ใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที
ระยะชักเกร็งทั้งตัว (Tonic Stage) สังเกตเห็นฝ่าท้ากดลงและมีการงอของนิ้วเท้า ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
ระยะกระตุกทั้งตัว (Clonic Stage) นิ้วมือ นิ้วเท้า และหนังตาจะกระตุกเป็นจังหวะ ใช้เวลาประมาณ 15- 30 วินาที
หลับ (Sleep Stage) ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 วินาที
ระยะสับสน มึนงง (Confusion Stage) ใช้เวลาประมาณ 15 - 30 นาที
การพยาบาลผู้ป่วยหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
ดูแลอย่างใกล้ชิดและใช้ผ้าเย็นเช็ดบริเวณใบหน้า คอ และแขน
วัดสัญญาณชีพจนกระทั่งผู้ป่วยรู้สึกตัวดี (routine post operation)
ป้องกันการตกเตียงเมื่อผู้ป่วยมีอาการ confusion โดยใส่ไม้กั้นเตียงและ restraint ผู้ป่วยไว
5.สังเกต บันทึกพฤติกรรมของผู้ป่วย ควรสนใจลักษณะการลืมและบุคลิกภาพ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และต้องคอยกระตุ้นฟื้นฟูความจำใหม่
บอกสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และบอกเกี่ยวกับอาการมึนงง หลงลืมจะค่อยๆหายไป ทบทวนกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ ในหอผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
การพยาบาลผู้ป่วยขณะทำ ECT.
จัด position ของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
ในระยะ Tonic ดูแลให้ผู้ป่วยกัดฟันพร้อมกันทั้งสองข้างเพื่อให้ขากรรไกรอยู่ในลักษณะที่มั่นคงป้องกันมิให้ผู้ป่วยกัดลิ้น หรือ กัดปาก
ในระยะ clonic การช่วยจับจะไม่กดติดแน่นกับที่ ปล่อยให้เคลื่อนไหวบ้างโดยจับแบบประคับประคอง ขณะผู้ป่วยเกร็งหรือชัก เพื่อป้องกันกระดูกหัก
ในระยะ Sleep ถ้าเกิด Apneaต้องผายปอดให้ออกซิเจนและ clear air way
การบำบัดด้วยยาทางจิตเวช
1. ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs)
1. ยารักษาโรคจิตกลุ่มดั้งเดิม (Typical or Classical Antipsychotic drugs)
จะออกฤทธิ์เป็น postsynaptic dopamine receptor blocker โดยเฉพาะ dopamine–2 receptor ที่ mesolimbic pathway ยายังขาดความเจาะจงที่จะออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงอันเกิดจากการที่ dopamine pathways อื่นถูกปิดกั้น
Chlorpromazine (CPZ)
Thioridazine,
Perphenazine
Fluphenazine
Pimozide
Trifluoperazine
2. ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotic drugs)
จะออกฤทธิ์เป็นทั้ง serotonin antagonist และ dopamine antagonist จึงสามารถรักษาอาการทางด้านบวก (Positive symptom) และ อาการด้านลบ (Negative symptom) ได้ดี ยากลุ่มใหม่นี้จึงก่อให้เกิดอาการข้างเคียง EPS น้อยกว่ายาในกลุ่มดั้งเดิมมาก
Clozapine
Risperidone
Olanzapine (Zyprexa)
Quetiapine (Seroquel)
Aripiprazole (Abilify)
Paliperidone (Invega)
ฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
Extra pyramidal Syndromes (EPS)
Acute dystonia มักเกิดขึ้นระหว่าง 1 ถึง 5 วันแรกหลังจากการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ศีรษะและคอบิดเบี้ยว คอแข็ง ขากรรไกรแข็ง ลิ้นแข็ง มีน้ำลายไหล
Akathesia มักเกิดภายใน 5-40 วันหลังจากใช้ยา ผู้ป่วยจะรู้สึกกระวนกระวาย ตื่นเต้นอยู่ นิ่งไม่ได้ ผุดลุกผุดนั่ง ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา
Parkinsonism มีอาการสั่นที่มือ แขน ขา ลำตัว ตัวแข็ง เดินตัวทื่อ เคลื่อนไหวช้า สีหน้าเฉย เมยไร้อารมณ์ (Masked face)
Akinesia มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวช้าท่าทางแข็งทื่อ ไร้อารมณ์ ไม่พูด
Tardive dyskinesia เคี้ยวปาก เลียและดูดริมฝีปาก แลบลิ้น เปลือกตากระตุก เดินตัวเอียง และยักไหล่ อาการอาจหายไปได้เองหากหยุดยา
2. ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs)
ยับยั้ง reuptake ของ norepinephrine และ/หรือ serotonin กลับสู่ presynaptic neuron ทำให้ปริมาณของnorepinephrine และ serotonin ระหว่างneuron เพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อารมณ์เศร้าหมดไป
กลุ่ม Tricyclic Antidepressant (TCA) ฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดกลับของ Norepinephrine เป็นหลัก
Imipramine
Amitriptyline
Desipramine
Nortriptyline
Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดกลับของ Serotonin เป็นหลัก ได้แก่ยา Sertraline
fluoxetine
Monoamine oxidase inhibitor มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของ เอนไซน์ MAO - A ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย Norepinephrineและ Serotonin ทำให้สารดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงถึงแก่ชีวิต
การพยาบาลอาการข้างเคียง Anticholinergic side effect
1) ปากแห้ง คอแห้ง พยาบาลควรเตรียมลูกอม น้ำแข็งหรือให้ผู้ป่วยจิบน้ำบ่อยๆ และดูแลความสะอาดของปากและฟันของผู้ป่วยให้มาก ๆ
2) ท้องผูก ควรจัดหาอาหารที่มีกากสูง และกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ใช้กำลัง ดื่มน้ำมาก ๆ
3) ปัสสาวะลำบาก ควรรีบรายงานให้แพทย์ทราบและบันทึกปริมาณน้ำที่เข้า-ออกต่อ วัน รวมทั้งหาวิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาได้เอง
4) อาการง่วงซึม ปรับเปลี่ยนเวลารับประทานยาเป็นก่อนนอนหรือลดขนาดของยาลง รวมทั้งเตือนให้ผู้ป่วยไม่ให้ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรในขณะที่ได้รับยา
5) ความดันโลหิตต่ำ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงช้าๆ จากท่านอนเป็นท่านั่ง และ วัดความดันของผู้ป่วยทุก 8 ชั่วโมง
3.ยาคลายความวิตกกังวล และยานอนหลับ (Anxiolytic or Minor Tranquilizer)
Benzodiazepine
ออกฤทธิ์โดยจับ Benzodiazepine receptor ในสมองซึ่งประกอบเป็น complex อยู่กับ GABA (gamma amino butyric acid) receptor และ chloride channel เมื่อยา benzodiazepine เข้าจับ กับ benzodiazepine receptor ก็จะส่งผลให้ GABA system ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitory neurotransmitter) ทำงานมากขึ้น
Beta-adrenergic blocking drugs
Propranolol ลดอาการกังวลที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากเกินปกติเช่น ใจเต้น แรง ใจสั่น เหงื่อออก มือสั่น เป็นต้น ข้อบ่งชี้อื่นๆ ของยานี้ในทางจิตเวช คือ รักษาอาการ akathisia จากยารักษาโรคจิต อาการมือสั่นจากยา ลิเทียม พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาลดอาการวิตกกังวล
1.ง่วงซึม สับสน ไม่กระตือรือร้น ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการขับรถ และการทำงานกับเครื่องจักรต่าง ๆ หรือหากผู้ป่วยมีอาการมากพยาบาลควรรายงานให้แพทย์ทราบเพื่อพิจารณาปรับลดขนาดยา
การดื้อยา และการติดยา แนะนำให้ผู้ป่วยทราบ และไม่ควรหยุดยาเองหากไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อน
ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ ควรให้ผู้ป่วยนอนพักทันทีที่มีอาการวัดความดันโลหิต แนะนำให้ผู้ป่วยลุกเปลี่ยนท่าช้า ๆ โดยเฉพาะเวลาลุกจากเตียงให้ลุกช้า ๆ นั่งห้อยเท้าประมาณ 1 นาทีแล้ว ค่อยลุกขึ้น
ปากแห้งพยาบาลควรให้ผู้ป่วยบ้วนปากและแปรงฟันบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งให้ทาลิปมัน
4. ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizing drugs)
ลิเทียม (Lithium)
ออกฤทธิ์ในการรักษาที่ระดับ second messenger system โดยไปยับยั้งการทำงานของ G protein ของระบบ phosphatidyl inositol และระบบcAMP นอกจากนี้ยังไปยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์ inositol-1- phosphatase ของระบบ phosphatidyl inositol ส่งผลให้ปริมาณของ inositol triphosphate ซึ่งเป็นตัวที่ไปกระตุ้นการผลิต protein kinase ลดลง
ภาวะลิเทียมเป็นพิษ (Lithium intoxication)
ระดับที่ 1 Mild (ระดับเล็กน้อย) Blood Lithium = 1.5 – 2.0 mEq/ L ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงคือ สมาธิไม่ดี หงุดหงิด กล้ามเนื้ออ่อนแรง สั่น พูดไม่ชัด คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
ระดับที่ 2 Moderated (ระดับปานกลาง) Blood Lithium = 2.0 – 2.5 mEq/ L จะมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียนตลอด และมีอาการทางระบบประสาท เช่น มี การเคลื่อนไหวแขนหรือขาแบบกระตุกเป็นระยะ จนถึงแสดงอาการชัก สับสนมาก การทํางานของหัวใจผิดปกติ
ระดับที่ 3 Severe (ระดับรุนแรง) Blood lithium > 2.5 mEq/L ผู้ป่วยมีการทำงานของหัวใจ ล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำมาก มีไขสูง ไม่รู้สึกตัว มีการชักปัสสาวะน้อย และการทำงานของไตล้มเหลว
Valproate
ผลข้างเคียง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ง่วงซึม คลื่นไส้ แน่นท้อง ท้องเสีย แก้โดยลดขนาดยา idiosyncratic reaction ที่รุนแรง แต่พบน้อยมาก ได้แก่ irreversible hepatic failure, pancreatitis และ agranulocytosis
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาควบคุมอารมณ์
ง่วงซึม เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ควรจัดให้ผู้ป่วยพักผ่อน และไม่ควรนำผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการกระตุ้นอาการคลุ้มคลั่งของผู้ป่วย
ปากแห้ง คอแห้ง ควรเตรียมลูกอม น้ำแข็งหรือให้ผู้ป่วยจิบน้ำบ่อย ๆ และดูแลความสะอาดของปากและฟันของผู้ป่วยให้มาก ๆ
อาการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ควรให้ยาทันทีหลังอาหาร หรือพร้อมกับมื้ออาหาร
4.อาการสั่น (fine tremor) ควรรีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที
ความดันโลหิตต่ำ การเต้นของหัวใจเต้นผิดปกติ ควรตรวจวัดสัญญาณชีพจรทุก 4-6 ชั่วโมงและรายงานให้แพทย์ทราบ
6 น้ำหนักเพิ่ม ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทแป้ง ไขมัน หรือ อาหารที่มีรสหวานและควรออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน
การจัดการในภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน
[ชนิดของภาวะวิกฤติ ]
สถานการณ์วิกฤติ (Situational crisis) เหตุการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่คาดคิด
เป็นเหตุให้บุคคลไม่สามารถใช้วิธีการเผชิญปัญหาที่เคยใช้มาก่อนได้อีก เช่น เสียคนรัก หย่าร้าง ถูกออกจากโรงเรียน ตกงาน การเปลี่ยนแปลงบทบาทในครอบครัว สูญเสียอวัยวะบางส่วน
การเจ็บป่วยร้ายแรงเรื้อรัง
พัฒนาการวิกฤติหรือวัยวิกฤติ (Development crisis / Maturational crisis) หรือภาวะวิกฤติที่คาดหวัง เกิดในช่วงต่อของวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามบทบาทหน้าที่แต่ละวัยและพัฒนาการตามวัย เช่น วัยเข้าเรียน วัยรุ่น แต่งงาน เกษียณ ใกล้ตาย ซึ่งเป็นแรงกดดันที่อาจก่อให้เกิดภาวะวิกฤติได้
ภาวะวิกฤติเกิดจากภัยพิบัติ (Adventitious crisis/ Disaster crisis) เป็นภัยที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยพิบัติจากความขัดแย้งหรืออาชญากรรม ได้แก่ ไฟไหม้ แผ่นดินไหว น้ำท่วม
ขั้นตอนการเกิดภาวะวิกฤติ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวิกฤติ (Precrisis period) เมื่อพบสถานการณ์ที่เกิดความเครียดเช่น คนรักเสียชีวิต บุคคลจะรับรู้และพยายามหาทางแก้ไขตามประสบการณ์เดิม เพื่อกลับสู่ภาวะปกติ หากไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ระยะรับรู้เหตุการณ์ เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ ความเครียดและความวิตกกังวลจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรับรู้ ลดลงคิดหมกมุ่น และพยายามหาที่พึ่งเพื่อขจัดความรู้สึกออกไป ถ้าพึ่งใครไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 ระยะวิกฤติ (Crisis period) บุคคลจะเกิดความกังวลสูงขึ้น รู้สึกสับสน หมดหนทาง ไม่สามารถควบคุมความเครียดได้ แก้ปัญหาไม่ได้ พยายามจะหาทางแก้ปัญหาอีกครั้งด้วยวิธีต่างๆ เพื่อความสมดุลของอารมณ์ โดยการปรับตัวหรือใช้กลไกการเผชิญปัญหา จะหายไปในช่วงเวลา 4 - 6 สัปดาห์ ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้อีกก็จะเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ และดำเนินเข้าสู่ระยะที่ 4
ระยะที่ 4 ระยะหลังวิกฤติ ถ้าแก้ปัญหาได้เหมาะสมบุคคลจะได้รับประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมตรงกันข้ามถ้าบุคคลไม่สามารถควบคุมความเครียดได้จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา
ความรู้สึกและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ
วิตกกังวล (Anxiety) ความวิตกกังวลเล็กน้อยช่วยต่อต้านสิ่งที่คุกคามได้ แต่ถ้าวิตกกังวลระดับสูง จะทำให้เกิดอาการสับสน การตัดสินใจเสีย ปากแห้ง แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก วิงเวียน ถ้าวิตกกังวลระดับรุนแรงจะสับสนมากขึ้น บอกไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
หมดหนทาง (Helplessness) เพราะช่วยตัวเองไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จะเกิดร่วมกับความเศร้า (Depression) ทำให้อยากร้องไห้ง่ายๆ ถ้ารุนแรงจะรู้สึกหมดหวัง ไม่มีคุณค่า อารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีสมาธิ ทํางานไม่ได้
รู้สึกผิดและละอาย (Guilt and shame) เพราะต้องพึ่งผู้อื่น ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
โกรธ (Anger) อาจแสดงความโกรธต่อผู้อื่นหรือตนเอง รู้สึกเสียใจหรือโมโหได้ง่ายแม้เหตุการณ์เล็กน้อย ถ้าโกรธมากจะมีอารมณ์พลุ่งพล่าน ทำอะไรรุนแรง อาจทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเองได้
ลังเล (Ambivalence) ระหว่างการช่วยตนเองหรือให้ผู้อื่นช่วย บางครั้งควบคุมความรู้สึกไม่ได้ แก้ปัญหาเองไม่ได้ทั้ง ๆที่อยากจะช่วยตัวเอง
การพยาบาลบุคคลที่อยู่ในภาวะวิกฤติทางอารมณ์
ระยะ Primary prevention
ส่งเสริมการเผชิญปัญหาอย่างถูกวิธี
ช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะวิกฤติทันที
หาแหล่งช่วยเหลือ
ระยะ Secondary prevention
ค้นหาสาเหตุของภาวะวิกฤติ
ค้นหาข้อมูลจากญาติหรือคนใกล้ชิด
ให้ผู้รับบริการพูดระบายออกมา
พยาบาลร่วมวางแผนเพื่อลดภาวะวิกฤติ
ช่วยเหลือเรื่องชีวิตประจำวัน โดยร่วมกับบุคคลที่ผู้รับบริการไว้วางใจ
ส่งเสริมความเข้มแข็งแก่บุคคลในครอบครัว ช่วยเหลือเพื่อลดความวิตกกังวล และความเศร้า
ระยะ Tertiary prevention
ช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการทางจิต โดยการใช้ยา
ป้องกันการทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายผู้อื่น
กระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
กระบวนการของการให้การปรึกษา
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ ผู้ให้คำปรึกษาต้องทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
ขั้นตอนที่ 2 สํารวจปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้สํารวจปัญหา และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นตอนที่ 3 เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจปัญหาสาเหตุ และความต้องการของตนเอง
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนแก้ปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาพิจารณาวิธีแก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 5 ยุติการให้คำปรึกษา ผู้ให้คำย้ำปรึกษาความเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่างที่ให้คำปรึกษาและช่วยให้ผู้รับคำปรึกษามีแรงจูงใจและกําลังใจที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง
เทคนิคสำคัญในการให้คำปรึกษา
1.
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
Giving information (การให้ข่าวสาร ให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้รับบริการ เช่น การบอกสถานที่ การแนะนำชื่อพยาบาล ตำแหน่ง)
Giving recognition คือ การแสดงให้ผู้รับบริการเห็นว่าพยาบาลรู้จักผู้ใช้บริการ พยาบาลเห็นความสำคัญของผู้รับบริการ เช่น การเรียกชื่อผู้รับบริการอย่างถูกต้อง หรือ การบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลเห็นที่เปลี่ยนแปลง
Offering self (การเสนอตัวเพื่อรับฟังปัญหา หรืออยู่เป็นเพื่อนผู้รับบริการในยามทุกข์ หรือ ผู้รับบริการต้องการใครสักคน
2.เทคนิคในการกระตุ้นผู้รับบริการให้เป็นฝ่ายนำในการสนทนาหรือทำให้การสนทนาดำเนินต่อไป
Using broad opening statement (การใช้คำกล่าวกว้างๆ เมื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเลือกหัวข้อในการสนทนา เลือกพูดถึงสิ่งที่อยู่ในความคิด หรือสิ่งที่กังวลและครุ่นคิดอยู่
Using general lead (การใช้คำกล่าวนำทั่วๆไป) เป็นคำกล่าวนำที่ช่วยกระตุ้นและจูงใจให้ผู้รับบริการพูดต่อไปในกรณีที่ผู้รับบริการพูดแล้วหยุดเงียบไป
Reflection (การสะท้อนคำพูดของผู้ใช้บริการ) จะกล่าวซ้ำทั้งประโยค หรือกล่าวซ้ำเพียงคำพูดหรือกล่าวซ้ำความหมายในสิ่งที่ผู้รับบริการพูด
Accepting (การยอมรับผู้รับบริการและสิ่งที่ผู้ใช้บริการพูด โดยการพยักหน้ารับ หรือฟังเฉยๆโดยไม่กล่าวโต้แย้ง ไม่ได้หมายความว่าพยาบาลจะต้องเห็นด้วยเสมอไป แต่เมื่อไม่เห็นด้วยก็อย่าได้โต้แย้งออกไป
3.เทคนิคในการกระตุ้นผู้รับบริการให้พูดระบายความคิดและความรู้สึก
Sharing observation (บอกกล่าวถึงสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็นในตัวผู้รับบริการ) เทคนิคนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบริการพูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้รับบริการ
Acknowledge the patient’s feeling (การแสดงการรับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ และ ยอมรับว่าผู้รับบริการมีความรู้สึกเช่นนั้นไม่เป็นสิ่งที่ผิดปกติแต่อย่างใด
Using silence (การใช้ความเงียบ) ความเงียบที่มีความหมายและ ถูกจังหวะจะช่วยกระตุ้นผู้รับบริการให้พูดระบายความคิดและความรู้สึกของผู้รับบริการต่อไป ความเงียบที่ใช้อย่างถูกต้องจะมีประโยชน์กว่าการใช้คำพูดปลอบใจที่ไร้ความหมาย
Clarifying (การขอความกระจ่างในคำพูดที่ไม่ชัดเจน) การให้ผู้รับบริการอธิบายความหมายของคำ ของประโยคที่เขาใช้ซึ่งเราอาจจะไม่เข้าใจใหม่
4.เทคนิคในการส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจตรงกัน
Clarifying (การขอความกระจ่างในคำพูดที่ไม่ชัดเจน) การให้ผู้รับบริการอธิบายความหมายของคำ ของประโยคที่เขาใช้ซึ่งเราอาจจะไม่เข้าใจใหม่
Verbalizing implied thought and feeling (การให้ความหมายของความคิดและแสดงความรู้สึก) บ่อยครั้งเราพบว่าผู้รับบริการใช้คำพูดเป็นนัย ให้ผู้ฟังเข้าใจเอาเองถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้นพยาบาลไม่ควรแปลหรือสรุปความเอง
Validating (การตรวจสอบว่าความเข้าใจของพยาบาลนั้นตรงกับความต้องการและความรู้สึกจริงๆของผู้ใช้บริการหรือไม่)
5.เทคนิคการกระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดและไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Focusing (การนำผู้รับบริการให้รวมจุดสนใจอยู่ที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง) ในกรณีที่พยาบาลรู้สึกสับสนใจในเนื้อหาที่ผู้ใช้บริการพูดหรือพูดหลายเรื่องยังจับใจความที่ผู้ใช้บริการพูดไม่ได้
Exploring (การสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้นกระจ่างขึ้น) การสอบถามให้ลึกและกว้างขึ้นนี้จะช่วยทำให้ผู้รับบริการได้คิด ได้ไตร่ตรองเรื่องราวใหม่
Voicing doubt (การตั้งข้อสงสัย) การแสดงความสงสัยในสิ่งที่ผู้รับบริการเล่า
ใช้ในกรณีที่พยาบาลเห็นว่าเรื่องราวที่ผู้รับบริการไม่น่าจะเป็นไปได้ การใช้เทคนิคนี้ต้องระวังเป็นอย่างมากและไม่ควรใช้บ่อย ถ้าใช้บ่อยผู้รับบริการอาจจะเข้าใจว่าพยาบาลไม่เชื่อสิ่งที่เขาพูด
Summarizing (การสรุปข้อความเมื่อผู้ใช้บริการพูดจบแล้ว) เป็นการกล่าวสรุปเพื่อให้ผู้รับบริการได้ยินสิ่งที่เขาเล่ามาทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการตรวจสอบกับผู้รับบริการว่าเรื่องที่เขาเล่านั้นพยาบาลได้เข้าใจถูกต้องหรือไม่