Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค - Coggle Diagram
อาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค
โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus)
เป็นโรคเรื้อรังเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้้าตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลยท้าให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โดยร่างกายไม่สามารถใช้น้้าตาลได้อย่างปกติ ท้าให้ระดับน้้าตาลในเลือดสูงกว่าปกติและสูงขึ้นเกินขีดจ้ากัดของไต
ชนิดของเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes)
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ( insulin – dependent diabetes mellitus : IDDM)
พบร้อยละ 5 –10 ของโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในคนที่อายุต่ากว่า 20 ปี เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์
(beta cells) ของตับอ่อนถูกท้าลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลินตลอด
ชีวิต ผู้ป่วยมักจะมีน้้าหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อายุสั้น มักเสียชีวิตจากการติดเชื้อและ
ภาวะแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลัน
เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ( noninsulin – dependent diabetes mellitus : NIDDM ) พบมากร้อยละ 90 ของโรคเบาหวาน มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป อาการมักไม่รุนแรงและผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอ้วน เกิดจากการที่ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
ร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร การใช้ยาชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด
เบาหวานชนิดที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการ ( Malnutrition related diabetes mellitus : MRDM )
พบในผู้ป่วยเรื้อรัง โรคขาดโปรตีนและพลังงาน
พบมากในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกา
พบในกลุ่มอายุต่้ากว่า 35 ปี ต้องควบคุมภาวะน้้าตาลในเลือดสูงด้วยอินซูลิน
เบาหวานที่พบร่วมกับการเป็นโรคอื่นๆ
อาจพบร่วมกับโรคตับอ่อน โรคต่อมไร้ท่อ โรคที่เกิดจากยาและการใช้สารเคมี ความ
ผิดปกติของอินซูลินหรือตัวรับอินซูลิน และโรคพันธุกรรมบางชนิด
ภาวะที่ความทนต่อกลูโคสบกพร่อง ( impaired glucose tolerance : IHT )
ผู้ป่วยเป็นคนที่ยังไม่เป็นเบาหวาน แต่มีความทนต่อกลูโคสบกพร่องเป็นครั้งคราว
พบในผู้สูงอายุ การได้รับยาบางชนิด การขาดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยประเภทนี้หากทนต่อการพร่องกลูโคสนานๆ อาจท้าให้เกิดการเปลี่ยน
เป็นโรคเบาหวานได้
เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ( gestational diabetes mellitus : GDM )
อาจพบได้ในขณะตั้งครรภ์และ ภายหลังการคลอดบุตร ตั้งแต่ 20 -24 สัปดาห์ ขึ้นไป ซึ่ง
เกิดจากขณะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายและต้านฤทธิ์อินซูลิน
อาการของโรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
•เป็นแผลแล้วหายยาก
•ผิวแห้ง
•ตาพร่ามัว
•หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้้าหนักลด
•ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
•หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
หลักโภชนบำบัดส้าหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
กลุ่มที่ 1
อาหารจ้าพวก ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือกมัน ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วนประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่
• ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติไม่จำเป็นต้องงดหรือจ้ากัดมากเกินไป
• เพราะข้าวเป็นแหล่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้เพื่อการท้ากิจกรรมต่างๆ
• ควรได้รับร้อยละ 55 – 60 และควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) ซึ่งได้แก่
• ธัญพีช ถั่วเมล็ดแห้ง ขนมปังโฮลวีต
• ในแต่ละวันสามารถรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้ 2 – 4 ส่วน
กลุ่มที่ 2ผักชนิดต่างๆ
1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
อาหารกลุ่มนี้ มีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารมาก
• ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานให้มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร
• โดยเฉพาะผักใบสีเขียวสดหรือสุก รับประทานได้ตามต้องการ
• ถ้าน้าผักมาคั้นเป็นน้้า ควรรับประทานกากด้วย เพื่อจะได้ใยอาหาร
• ใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมน้้าตาลและไขมันในอาหารท้าให้ระดับน้้าตาลและไขมันในเลือดลดลง
• ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 2-3 ถ้วยตวงทั้งผักสดและผักสุก
กลุ่มที่3
ผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
ผลไม้ทุกชนิดมีน้้าตาลเป็นส่วนประกอบ ถึงแม้จะมีใยอาหารแต่หากรับประทานมากกว่าปริมาณ
ที่ก้าหนด จะท้าให้น้้าตาลในเลือดสูงได้ผู้ป่วยเบาหวาน
• ควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหาร
• ผลไม้รับประทานได้ปริมาณร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งหมด
• ผลไม้ที่ควรรับประทาน เช่น ส้ม ชมพู่ แตงโม ฝรั่ง มะละกอสุก ส้มโอ และแอปเปิ้ล
• หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด มะม่วงสุก ล้าไย น้อยหน่า เป็นต้น
• เพราะเมื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะท้าให้ระดับน้้าตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
กลุ่มที่ 4เนื้อสัตว์
เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม ให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี่
อาหารกลุ่มนี้ให้โปรตีนเป็นหลัก
• ผู้ป่วยควรได้รับทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อนกินข้าวพูนน้อยๆ
• ควรเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง รับประทานปลาและเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
กลุ่มที่ 5 ไขมัน
1 ส่วนมีไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่
น้้ามันทั้งพืชและสัตว์ให้พลังงานเท่ากัน
• แต่น้้ามันพืชไม่มีโคเลสเตอรอล
• ส้าหรับน้้ามันมะพร้าวและ กะทิมีกรดไขมันอิ่มตัวจำนวนมาก ท้าให้มีการสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น
• ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกใช้น้้ามันพืช เช่น น้้ามันถั่วเหลือง น้้ามันรา น้้ามันถั่วลิสง และน้้ามันปาล์ม แทนน้้ามันหมูในการประกอบอาหาร
• นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด แป้งอบที่มีเนยมาก ( Bakery products)และอาหารที่มีกะทิเป็นประจ้า
กลุ่มที่ 6 น้้านม
1 ส่วนมีโปรตีน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม
จ้านวนพลังงานแตกต่างกันตามปริมาณ ไขมันในน้้านมชนิดนั้นๆ
• ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงนมปรุงแต่งรส โยเกิร์ตชนิดครีมปรุงแต่งรส นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
เพราะนมเหล่านี้มีการเติมน้้าตาลหรือ น้้าหวาน
• ควรเลือกดื่มน้้านมพร่องมันเนย น้้านมไม่มีไขมัน
โรคหัวใจ
เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน และแคบ ท้าให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น
• หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะท้าให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
• หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจล้มเหลว ท้าให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้
อาหารที่ทำให้ระดับไขมันตัวร้ายในเลือดสูง
อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวพบมากในอาหารและน้้ามันจากพืชบางชนิด ได้แก่
1.1 ผลิตภัณฑ์จ้าพวกนม เช่น นมครบส่วนหรือนมชนิดที่ยังมีไขมันอยู่ครบ เนยแข็ง เนยไอศกรีม
1.2 เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูปนมัน เบคอน กุนเชียงและไส้กรอก
1.3 ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว
1.4 น้้ามันปาล์ม น้้ามันมะพร้าว
อาหารที่มี
ไขมันทรานส์
พบได้ในอาหารที่มีการใช้น้้ามันที่มีการเติมไฮโดรเจนลงในน้้ามันทีทีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ท้าให้น้้ามันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่แข็งขึ้น หรือเป็นของกึ่งเหลว
• เช่น เนยเทียม หรือเนยขาว
• ขนมอบต่างๆ เบเกอรี่ คุกกี้ แครกเกอร์ ขนมส้าเร็จรูป
• อาหารทอดใช้ความร้อนต่อเนื่องนานๆ
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลพบได้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เท่านั้น ได้แก่
3.1 ไข่แดง เนื้อสัตว์ไขมันสูงและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง
3.2 เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
3.3 สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด
3.4 สัตว์น้้าประเภทที่มีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ
1.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ หนังเป็ด/ไก่ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไตสมอง และอาหารที่ปรุงด้วยกะทิและอาหารแปรรูป จำพวกกุนเชียง หมูยอ เบคอน แฮม
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางลม ปลาหมึก กุ้ง ฯลฯ
ใช้น้้ามันในการปรุงอาหารแต่พอควร และเลือกใช้น้้ามันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้้ามันรำข้าว และเลือกน้้ามันที่มีกรดไขมันจ้าเป็น เช่น น้้ามันถั่วเหลือง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ท้าจากไข่แดง และไขมันอิ่มตัวเช่น ทองหยิบ ฝอยทอง
หลีกเลี่ยงอาหารทอด และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่นปาท่องโก๋ ไก่ทอด พาย คุกกี้
งดน้้ามันมะพร้าว น้้ามันปาล์ม
หากดื่มนมเป็นประจ้าควรเลือกดื่มนมประเภทไขมันต่้า (นมพร่องมันเนย) หรือ ไม่มีไขมัน (นมขาดมันเนย)
ลดการกินอาหารเค็ม และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้้าปลาซีอิ้ว ผงปรุงรส ซุปก้อนน้้าซอสชนิดต่างๆ รวมไปถึงปลาเค็ม ไข่เค็มกุนเชียง หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น เป็นต้น
พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมให้เกิดความเครียดทั้งทางอารมณ์และจิตใจ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟ และงดการสูบบุหรี่
กินผัก ผลไม้ เป็นประจ้า เพื่อให้ได้รับวิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ท้าให้ได้รับกากใยและขัดขวางการดูดซึมไขมันได้อีกด้วย
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100-140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60-90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย คนเราจะมีแรงดันโลหิตสูงขึ้นและต่ำลงได้บ้างเป็นบางครั้งซึ่งก็จะกลับสู่สภาพปกติ แต่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะมีแรงดันโลหิตสู งตลอดเวลา ดังนั้นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึง หมายถึง ผู้ที่มีความดันเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
อาการ
• ปวดศรีษะ เวียนหัว มึนงง ตาพร่า
• คลื่นไส้ เพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ช่วงตื่นนอนหรือตอนเช้า
• ถ้าเป็นมากปวดบริเวณท้ายทอย
• มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ความดันโลหิตสูง โดยไม่มีอาการ
• ควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะ
ข้อแนะนำอาหารสำหรับผู้เป็น
ความดันโลหิตสูง
ควบคุมน้ำหนักตัว (ค่า BMI = 18.5 – 22.9 กก./ เมตร2)
รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด• โดยหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง หรืออาหารแปรรูป เช่นปลาเค็ม ผักกาดและหัวไชโปะ ผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง
• หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ หรือสิ่งปรุงแต่งรส เช่น ผงชูรส
งด หรือลดการดื่มแอลกอฮอล์
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต
• พักผ่อนอย่างเพียงพอ
• หลีกเลี่ยงความเครียด วิตกกังวล
ออกกำลังกายแต่พอประมาณ (20 – 30 นาที)
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง
ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
อาหารแดช คือ อาหารที่มีไขมันต่ำและเส้นใยสูง เน้นผัก ผลไม้ อาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว เป็นส่วนประกอบ โดยหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อยกว่า 1500 มิลลิกรัม ซึ่งทางผู้เป็นความดันโลหิตสูงรับประทานอาหารตามแผน
อาหารแดชจะช่วยลดความดันโลหิต
โรคอ้วน
อาหารสำหรับโรคอ้วน
ควบคุมพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
ลดการรับประทานอาหารกลุ่มพลังงานสูง กลุ่ม ข้าวแป้ง ไขมัน ควรเลือกทาน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ลดการขนมหวาน น้ำหวาน ที่ชอบกินจุกกินจิกระหว่างมือ
เลือกบริโภคอาหารที่มีพลังงานต่ำไขมันต่ำหวานน้อย ใยอาหารสูง
เลือกดื่ม ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่น้ำตาล ใส่น าตาลเทียมแทน ใส่นมสดจืด สูตรพร่องมัน
เนย หรือสูตรขาดมันเนย แทนครีมเทียม
เลือกดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล เช่น ซีโร่ แม๊ก (แต่ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน)
เลือกเมนูผ่านการปิ้ง นึ่ง อบ ย่าง ต้ม ตุ๋น แกงไม่ใส่กะทิ มีพลังงานต่ำกว่า เมนู
ผ่านการทอด ผัด แกงกะทิ มีพลังงานสูง ไขมันสูง จึงควรลดหรือทานให้น้อยที่สุด
เลือกรับประทานกลุ่มเนื้อสัตว์ไขมันต่ำคลอเลสเตอรอลต่ำ
โรคไต
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ ไม่สามารถขับของเสียและรักษาสมดุลน้ำเกลือแร่ และกรดด่างในเลือดได้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
จากข้อมูลการสำรวจในประชากรไทยปี 2550 – 2551 พบคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 โดยมีสาเหตุหลักมาจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรังมากกว่าเพศชาย ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง มีประวัติการเป็นโรคนิ่ว โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต หรือมีประวัติการใช้ยาแผนโบราณทั้งแผนไทยและแผนจีน
อาหารสำหรับโรคไต
อาหารจำกัดโปรตีน
เป็นอาหารที่จำกัดปริมาณโปรตีนให้เหมาะสมกับการทำงานของไตมักกำหนดให้ประมาณ 20 – 40 กรัมต่อวัน ทั้งนี้เพื่อให้มีของเสียที่ไตต้องทำหน้าที่ขับออกจากร่างกายน้อยลงเป็นการช่วยลดการทำงานของไตลง ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไต จะกินอาหารที่ให้โปรตีนได้มากน้อยแค่ไหนขึ นกับผล และชนิดของการล้างไต
หลักในการกำหนดอาหารจำกัดโปรตีนควรปฏิบัติดังนี้
โปรตีนที่ใช้ในอาหารจำกัดโปรตีน ควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังไม่ควรให้นมมาก เพราะผู้ป่วยมีฟอสเฟตในเลือดสูงและแคลเซียมต่ำต่อมพาราไทรอยด์จะทำงานมากขึ้น ทำให้การสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาทำให้กระดูกผุกกร่อน
สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ถ้ามีระดับฟอสเฟตในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสเฟตมาก เช่น ไข่แดง ถั่ว เมล็ดแห้งต่างๆ
เมื่อจำกัดโปรตีนในอาหาร ควรให้อาหารที่มีพลังงานมาก ได้แก่ น้ำตาล ไขมัน แป้งที่มีโปรตีนน้อย เช่น วุ้นเส้น แป้งมัน แป้งข้าวโพด แป้งถั่วเขียว สาคู วุ้น เฉาก๊วย ลูกตาลลูกชิด มันเทศ มันสำปะหลัง
อาหารเพิ่มโปรตีน
เป็นอาหารที่กำหนดให้โปรตีนสูง เพื่อชดเชยโปรตีนที่สูญเสียไปในปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะ
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตผ่านทางช่องท้อง ควรได้รับโปรตีนวันละ 1.2 – 1.5 กรัม ต่อน าหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อทดแทนโปรตีนที่เสียไปในการล้างช่องท้อง
สำหรับผู้ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)ควรได้รับโปรตีนวันละ 1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อชดเชยกรดอะมิโนที่เสียไป
อาหารจำกัดโซเดียม
คือ อาหารลดเกลือ (Low salt diet) เป็นอาหารที่มีโซเดียมน้อยใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจวาย เพื่อช่วยลดอาการคั่งของโซเดียม และนำในร่างกาย
• การจำกัดโซเดียม แบ่งเป็นระดับต่างๆ 5 ระดับ ดังนี้
อาหารจำกัดโซเดียมเพียงเล็กน้อย มีปริมาณโซเดียม 1500 – 2000 มิลลิกรัม
อาหารจำกัดโซเดียมปานกลาง มีปริมาณโซเดียม 1000 - 1200 มิลลิกรัม
อาหารจำกัดโซเดียมอย่างมาก มีปริมาณโซเดียม 500 – 600 มิลลิกรัม
อาหารจำกัดโซเดียมอย่างเข้มงวด มีปริมาณโซเดียม 250 มิลลิกรัม
อาหารจำกัดโซเดียมอย่างเบาที่สุด มีปริมาณโซเดียม 2500 มิลลิกรัม ได้แก่ อาหารธรรมดาที่ ปรุงรสเค็มอ่อนๆ และไม่มีการเติมเกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสเค็ม รวมทั้งงดอาหารดองเค็ม และผงชูรส
อาหารเพิ่มโซเดียม
• ใช้ในผู้ป่วยที่มีการขับถ่ายโซเดียมออกทางไตมาก
• เช่น ภาวะไตวายเฉียบพลันระยะที่มีปัสสาวะมาก และภาวะไตวายเรื้อรัง จะมีการถ่ายโซเดียมออกมามาก จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีโซเดียมมาชดเชย โดยการกินอาหารเหล่านี้ ให้มากขึ้น ได้แก่
ใช้เครื่องปรุงรสเค็มในการปรุงอาหาร เช่น เกลือ น้ำปลา ซอส
ใช้อาหารที่มีรสเค็มในการประกอบอาหารเช่า เต้าเจี้ยว
กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงเค็มให้มากขึ้น เช่น เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม
กินอาหารที่มีโซเดียมมากตามธรรมชาติเพิมขึ้น เช่น ไข่ ผักต่างๆ
อาหารจำกัดโปตัสเซียม
ใช้ในผู้ป่วยที่ไตขับถ่ายของเสียได้น้อย มักมีการคั่งของโปตัสเซียมทำให้มีโปตัสเซียมสูง จึงจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีโปตัสเซียมมาก ตามปกติโปตัสเซียมจะมีในอาหารทุกชนิด แต่มีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ผัก และผลไม้
อาหารเพิ่มโปตัสเซียม
ใช้ในผู้ป่วยโรคไตระยะปัสสาวะมาก มักมีการสูญเสียโปตัสเซียมทางปัสสาวะมากหรือในผู้ป่วยที่ใช้ยาขับปัสสาวะบางชนิดซึ่งมีฤทธิ์ ขับโปตัสเซียมด้วย ทำให้ร่างกายสูญเสียโปตัสเซียมไป จึงต้องได้รับอาหารที่มีโปตัสเซียมมาชดเชย ผู้ป่วยควรเลือกกินเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ที่มีโปตัสเซียมมากโดยเฉพาะ น้ำส้ม และผลไม้แห้ง
อาหารจำกัดฟอสเฟต
ใช้ในผู้ป่วยที่ไตขับถ่ายของเสียได้น้อย และมีฟอสเฟตในเลือดสูงฟอสเฟตจะมีมากในไข่แดง นม ถั่วเม็ดแห้ง ผลไม้แห้ง
โรคเก๊าส์
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
1.ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกต้อง อาจส่งผลเสียต่อตับหรือไตได้
2.งดดื่มสุรา เบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การขับกรดยูริคออกจากร่างกายได้น้อยลง ทำให้มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เพราะจะทำให้มีระดับกรดยูริคในเลือดสูง
4.ดื่มน้ำมากๆจะช่วยในการขับกรดยูริค
5.หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักตัวลงจะช่วยลดอาการข้ออักเสบกำเริบได้
6.ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่กระทบกระเทือนข้อ เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว ซี่กง เป็นต้น
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
กลุ่มที่มีปริมาณพิวรีนน้อย
เลือกรับประทานอาหารกลุ่มนี้ได้ 4 ครั้ง/ สัปดาห์นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ขนมปังขาว ธัญพืช ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผลไม้ต่างๆ น้ำตาล วุ้น เนย ไขมัน เนยแข็ง
กลุ่มที่มีปริมาณพิวรีนปานกลางเลือกรับประทานได้สัปดาห์ละครั้งเนื้อหมู ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ต ผักโขม เมล็ดถั่วลันเตา หน่อไม้ ดอกกะหล่ำ
กลุ่มที่มีปริมาณพิวรีนสูง
ผู้ป่วยในระยะที่โรคกำเริบเควรงดอย่างเด็ดขาดเนื้อไก่ หัวใจไก่ ปลาอินทรีย์ มันสมองวัว ตับไก่ กึ่นไก่ ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน เซ่งจี๊หมู ตับหมู กุ้งชีแฮ้ หอย ไข่ปลา หัวใจ ตับอ่อน น้ำสลัดเนื้อ น้ำต้มกระดูก ซุปก้อน กระถิน ชะอม เห็ด ปลาดุก กะปิ ยีสต์ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว
โรคโลหิตจาง
โลหิตจาง (Anemia)หรือภาวะซีด เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ท้าให้น้าออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผิวซีดหรือผิวเหลือง เป็นต้น โดยปัจจัยที่ท้าให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกท้าลายมากขึ้น
อาหารสำหรับโรคโลหิตจาง
แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่
• ผักใบเขียว ยิ่งผักมีสีเขียวเข้มยิ่งอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม คะน้า บร็อคโคลี่ เป็นต้น อีกทั้งการรับประทานผักใบเขียวร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว องุ่น สตรอว์เบอร์รี่ พริกหยวกและมะละกอ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
• ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เป็นต้น
• เนื้อสัตว์รวมถึงเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด ซึ่งล้วนประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก โดยเฉพาะเนื้อแดง และหากรับประทานเนื้อสัตว์ร่วมกับผักใบเขียว จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
• ตับ อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและกรดโฟลิค นอกจากตับแล้ว อวัยวะส่วนอื่น ๆ ก็มีธาตุเหล็กสูงด้วย เช่นหัวใจ ไต และลิ้น อย่างไรก็ตาม การรับประทานตับเพื่อเสริมธาตุเหล็กอาจไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์และควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารชนิดนี้ เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารกในครรภ์
อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง หอยนางรม หอยตลับ และหอยลาย ล้วนเป็นแหล่งอาหารของธาตุเหล็ก อีกทั้งปลาส่วนใหญ่ก็ยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก โดยเฉพาะปลาตาเดียว ปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน
• ธัญพืช เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วด้า ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ เฮเซลนัต แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ งาเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
• อาหารอื่น ๆ เช่น ไข่ ซีเรียล ขนมปังโฮลเกรน ดาร์กช็อกโกแลต โกโก้ เชอร์รี่ในน้้าเชื่อม ผงกะหรี่ และอาหารเสริมธาตุเหล็ก
อาหารไม่เหมาะสำหรับโรคโลหิตจาง
แม้การรับประทานอาหารดังกล่าวจะช่วยเสริมปริมาณธาตุเหล็กในร่างกาย
• แต่ไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ร่วมกับสารอาหารบางชนิดซึ่งอาจขัดขวางและยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น
• แคลเซียม พบได้ในนม ชีส รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ท้าจากนม ดังนั้น ไม่ควรดื่มนมพร้อมกับการรับประทานอาหารหรือยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
• แทนนิน พบได้ในผักที่มีใบเขียวเข้ม เครื่องเทศ ชา กาแฟ จึงไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟพร้อมมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหารทันที
• ไฟเตท พบได้ในผักใบเขียวและผักที่มีรสฝาด เช่น ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพดข้าวที่ไม่ขัดสี เป็นต้น
• โพลีฟีนอล พบได้ในผักที่มีใบเขียวเข้ม ขมิ้นชัน รวมถึงสมุนไพรหลายชนิด
โรคริดสีดวง
ริดสีดวงทวารหนัก เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ เช่น
• ขาดไฟเบอร์จนก่อให้เกิดอาการท้องผูก
• รวมถึงการรับประทานอาหารไม่ครบหลักโภชนาการที่ดี
• ขับถ่ายไม่เป็นเวลา
อาหารที่คนเป็นริดสีดวง “ควรกิน”
อาหารที่มีกากใยสูงมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายของเราลื่นไหล และไม่ติดขัดจนทำให้เกิดโรค ซึ่งเป็นผลดีต่อคนที่เป็นโรคริดสีดวง รวมถึงคนที่ยังไม่ได้เป็นโรคนี้ด้วย โดยอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่
• ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เล่ย์ โฮลวีท เป็นต้น โดยอาหารชนิดนี้จะอุดมไปด้วยรำข้าว และจมูกข้าวที่มีใยอาหารเป็นส่วนประกอบหลัก โดยเฉพาะในข้าวบาร์เล่ย์จะมีความพิเศษที่ใยอาหารสามารถละลายน้้าได้ด้วย
• ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ เป็นต้น เป็นอาหารที่มีใยอาหารมากถึง 1 ใน 3 ที่ร่างกายต้องการต่อวัน• ผักตระกูลกะหล่ำ มีส่วนช่วยในการท้างานของระบบย่อยอาหารเพราะมีใยอาหารมาก เช่นกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เป็นต้น
อาหารที่คนเป็นริดสีดวง “ไม่ควรกิน”
•อาหารแปรรูป หรือของหมักของดองทุกชนิด เช่น ชีส เบค่อน ปลาร้า หอยดอง ปลาส้ม เป็นต้นเพราะอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นริดสีดวงทั้งสิ้น
•เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะมีผลต่อล้าไส้ ท้าให้เกิดอาการท้องผูกอุจจาระไม่ออก ก่อให้เกิดริดสีดวงอักเสบ หรือบวมได้•อาหารรสจัด เช่น อาหารรสเผ็ด เพราะมีผลต่อการท้างานของล้าไส้ และระบบขับถ่ายโดยตรง
•เนื้อสัตว์หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อควาย เนื้อวัว เป็นต้น•ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ทุเรียน ละมุด สะตอ ชะอม กระถิน เป็นต้น เพราะผักที่มีฤทธิ์ร้อนหรือผลไม้ที่มีรสหวานมากจะส่งผลให้ริดสีดวงอักเสบ
•อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลทุกชนิดระหว่างการรักษาริดสีดวง
•ของทอด เพราะย่อยยาก และอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูง และมีผลต่อริดสีดวงได้
อาหารสำหรับโรคริดสีดวง
อาหารประเภทต้ม
แกงจืดแตงกวายัดไส้
แกงจืดมะระยัดไส้หมู
แกงจืดผักรวมมังสวิรัติ
ต้มจับฉ่าย
แกงเลียงผักรวม
อาหารประเภทผัด
ผัดผักรวมทะเล
ฟักทองผัดไข่
ผัดเห็ดสามสหาย
กะหล่ำปลีผัดไข่
ต้นอ่อนทานตะวันผัดน้ำมันหอย
ผัดคะน้าหมูสับ
อาหารประเภทตุ๋นหรือนึ่ง
ปลาทับทิมนึ่งใส่ผักกาดขาว
เต้าหู้นึ่งซีอิ๊วหมู
ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง
ปลากระพงนึ่ง
อาหารประเภทจานเดียว
สลัดผลไม้รวม
ข้าวต้มปลาทรงเครื่อง
ข้าวต้มข้าวกล้องทะเลใส่ไข่
แซนวิชทูน่าโฮลวีทไข่ต้ม
สุกี้รวมมิตร (ไม่ปรุงรสจัด)
สลัดธัญพืช
อาหารประเภทซุป
ซุปผักโขม
ซุปผักรวม
ซุปข้าวโพด
ซุปฟักทอง
ประเภทเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้รวมปั่นไม่แยกกาก
น้ำแครอทปั่น
น้ำเสาวรสปั่น
เครื่องดื่มธัญพืช
โรคเอดส์
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์
อาหารกลุ่มแป้ง
เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เผือก เป็นต้น
• ผู้ป่วยควรทานอาหารกลุ่มนี้ในทุกมื้ออาหาร โดยทานวันละ 4-6 ส่วน
• (1 ส่วน ประมาณเท่ากับข้าวหนึ่งถ้วย หรือขนมปัง 1 แผ่นหรือ ธัญพืช เช่นซีเรียล 1 ชาม)
ผักและผลไม้:
ให้วิตามิน เกลือแร่ และ กากใยอาหาร
• ควรรับประทานทุกวัน วันละ 5 ส่วน
• (1 ส่วน ประมาณเท่ากับผลไม้ 1ผล หรือผักสดชามใหญ่ หรือผลไม้แห้ง 1ถ้วย หรือ น้้าผลไม้คั้นสด 1แก้ว)
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว:
ให้ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน
• ทานวันละ 2-3 ส่วนทุกวัน
• (1 ส่วน ประมาณเท่ากับไข่ 2 ฟองเล็ก หรือเนื้อหมู ไก่ 100 กรัม หรือเนื้อปลา 150 กรัม)
ผลิตภัณฑ์จากนม :
• เช่น นมสด เนยแข็ง ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และ แคลเซียม
• ควรทานวันละ 3 ส่วน
• (1 ส่วน ประมาณเท่ากับนม 1 แก้ว หรือเนยแข็ง 1แผ่น)
ไขมัน:
• จากน้้ามันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เนย เนยเทียม รวมถึงไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงาน กรดไขมันที่จ้าเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน A,D, E, K แคลเซียมและฟอสเฟต
• อย่างไรก็ดีหากทานอาหารพวกไขมันมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
• น้้ามันจากปลาซึ่งมีกรดไขมัน omega-3 สามารถช่วยลดระดับไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น triglycerides และ LDL cholesterol และเพิ่ม HDL cholesterol ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายได้