Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการรักษาทางจิตเวช - Coggle Diagram
แนวทางการรักษาทางจิตเวช
แนวทางการบำบัดทางจิตเวช( รายบุคคล กลุ่ม ครอบครัว)
บทบาทของพยาบาลในการบำบัดทางจิต
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการมีตารางกิจกรรมที่ท า ให้ผู้ป่วยได้ทราบล่วงหน้าแล้วว่า แต่ละวันมีกิจกรรมใด จัดที่ไหน เวลาอะไรบ้าง เปิดโอกาสให้ ผู้ป่วยได้มีส่วนในการวางแผนการจัดกิจกรรมแต่ละชนิด
วางแผนการจัดกิจกรรม โดยประชุมบุคลากรหรือทีมงานผู้จัดก่อนการจัดกิจกรรม เพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์ ให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ที่สอดคล้องกับชนิดของกิจกรรม วางรายละเอียด และขั้นตอนของการทำกิจกรรม และแบ่งงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งการจัดกลุ่ม กิจกรรมบำบัดนัน การทำงานเป็นทีมสำคัญมาก ทีมงานจะต้องเข้าใจตรงกันและประสานงานกัน เป็นอย่างดี กิจกรรมจึงจะบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
รับผิดชอบให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มตามเวลา เริ่มจากพยาบาลต้องสังเกตความสนใจต่อ สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยรายที่สนใจและรู้ระเบียบเวลาจะมาคอยหรือเตรียมเข้ากลุ่มก่อน เวลา แต่ในรายที่ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มาเข้ากลุ่มตามเวลา พยาบาลจะต้องเตือน ชักชวน หรือนำผู้ป่วยให้มาเข้ากลุ่มตามเวลา
แนะนำกิจกรรม โดยเริ่มจากการให้ผู้ป่วยมีโอกาสอภิปรายถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ที่จัดขึ้น ต่อจากนั้นแนะนำหรืออธิบายวิธีการทำกิจกรรมและสาธิตให้ผู้ป่วยดู พร้อมทั้งเปิดโอกาส ให้ผู้ป่วยซักถามจนเข้าใจ
เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ป่วยและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในขณะร่วม กิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่น และมีแบบอย่างที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้เรียนรู้ในการ ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ประสานงานกันในทีมผู้จัดกิจกรรมและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เป็นการประสานงานให้ทุก คนในทีมท าตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้แบ่ง หรือกำหนดไว้แล้ว ให้เป็นไปอย่างราบรื่น
สนับสนุนช่วยเหลือและให้ำลังใจผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจในตนเอง กล้า แสดงออก และ เรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างเหมาะสม
สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของผู้ป่วยขณะเข้าร่วมกิจกรรม ทำความเข้าใจอาการ พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เพื่อวางแผนให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ประเมินผลกิจกรรมที่จัด โดยประชุมบุคลากรหรือทีมงานผู้จัดหลังการจัดกิจกรรม เสร็จ สิ้นลงแล้ว พิจารณาผลที่ได้ ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ข้อผิดพลาดบกพร่อง เพื่อ ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาในส่วนที่ดีแล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม (Milieu Therapy)
แนวคิด หลักการและกิจกรรมในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
หลักการ ในปี ค.ศ.1948 บรูโน เบทเทลเฮม (Bruno Bettelheim) ใช้คำว่า มิลูว์ (Milieu) เพื่ออธิบายการจัดสิ่งแวดล้อมในการรักษาผู้ป่วยจิตเวชเด็กที่วุ่นวายเขาได้สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่สุขสบายปลอดภัย และมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจและช่วยเหลือเด็กคอยดูแลอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงต่อมาในปี ค.ศ.1953 แมกซ์เวล โจนส์ (Maxwell Jones) จิตแพทย์ชาวอังกฤษ ผู้สนใจทางสังคมวิทยา ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ชุมชนบำบัด”(The Therapeutic Community) ซึ่งหนังสือเล่มนี ้ได้ถูกนำไปใช้วางพื้นฐานในการบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม( Milieu Therapy) ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยพยายามทำให้โรงพยาบาลจิตเวชมีสภาพไม่แตกต่างจากสังคมทั่วไป และจำลองเอาวิธีการอย่างง่ายๆในสังคมมาใช้กับผู้ป่วยด้วย (Varcarolis and Halter, 2010) (Fortinash and HolodayWorret, 2008) (ชูทิตย์ ปานปรีชา, 2520)
หลักการสำคัญในการบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม อาศัยหลักของการเรียนรู้ (Learningtheory) และพฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy) โดยเชื่อว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์ประเสริฐ สามารถที่จะเรียนรู้และมีความพยายามที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ถ้าจัดสิ่งแวดล้อมให้ดีก็จะโน้มน้าวให้พฤติกรรมมนุษย์เป็น ไปในทางที่ดี ถ้าทำสถานที่และบรรยากาศให้น่าอยู่ มีกิจกรรมให้ผู้ป่วยอยากเข้าร่วมกลุ่ม มีการกระตุ้นให้แสดงออกเกิดความภูมิใจ ได้รับการเรียนรู้มีแบบอย่างที่ดี จูงใจให้เลียนแบบ ก็จะทำให้ความคิด อารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วยดีขึ้น (ชูทิตย์ ปานปรีชา, 2520)
กิจกรรม (Programs or activities)การบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมเป็นสื่อให้เกิดสังคมขึ้น จึงนับว่ากิจกรรมเป็ นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ ซึ่งการจัดกิจกรรมมีหลักการ ดังนี้
1) กิจกรรมต้องเป็นไปเพื่อการบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
2) กิจกรรมมีทั้งกิจกรรมกลุ่ม และรายบุคคล
3) กิจกรรมรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ในการใช้ชีวิตประจ าวัน เช่น การจัดโต๊ะอาหาร การล้างภาชนะภายหลังรับประทานอาหารแล้ว การ เก็บเตียง การทำความสะอาดที่พัก การทำความสะอาดห้องน้าห้องส้วม เป็นต้น
4) กิจกรรมกลุ่ม ควรมีหลากหลายชนิด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ต่างๆกันออกไป ในการด ารงตนอยู่ในสังคม ได้เรียนรู้ว่าในชีวิตของคนเราจะต้องมีการท างาน การพักผ่อนหย่อนใจ การปรึกษาหารือ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
5) กลุ่มกิจกรรมไม่ควรใหญ่มากนัก เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการ แสดงออก ดังนั้นกลุ่มหนึ่งๆ รวมทั้งผู้ป่วยและผู้บำบัดแล้ว ไม่ควรเกิน 15 คน แต่กิจกรรมบำบัดบางกลุ่ม เช่น ชุมชนบำบัด จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มทุกคน ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ฉะนั้นอาจพบว่าในหอผู้ป่วยสามัญบางแห่งมีผู้เข้าร่วมกลุ่มมากกว่า 30 คน
6) เมื่อเข้ากลุ่มกิจกรรม ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการลงมือปฏิบัติ หรือ การแสดงความคิดเห็น
7) การกำหนดเวลาของกิจกรรมต้องมีตารางเวลาแน่ชัด ตารางกิจกรรมต้องติด ประกาศไว้ให้เห็นชัดเจน เพื่อเตือนให้ทุกคนรู้หน้าที่ ในวันหนึ่งควรมีกิจกรรม 3 – 4ชนิด แตกต่างกันออกไป และใช้เวลาในการทำกิจกรรมครั้งหนึ่ง ประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกิจกรรมด้วย เช่น กลุ่มอ่าน หนังสือพิมพ์ อาจใช้เวลา 30 นาที
8) กิจกรรมที่แจ้งไว้ตามตารางกิจกรรม สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความ เหมาะสมและความจำเป็น แต่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ป่วยทราบ ล่วงหน้า
9) ควรจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกหอผู้ป่วย เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และ เพื่อให้สอดคล้องกับชนิดหรือวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ให้ผู้ป่วยได้อยู่กับ สภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงสังคมภายนอกให้มากที่สุด เช่น การเล่นฟุตบอลที่ สนามหญ้า การเข้ากลุ่มสังสรรค์ในวันปี ใหม่ การฟังพระเทศน์ในวันสำคัญ ทางศาสนา เป็นต้น
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1.จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความปลอดภัยเป็นสิ่งแรกที่พยาบาลต้องคำนึงถึง ความปลอดภัยนี้เป็นหน้าที่ที่ พยาบาลต้องป้องกันผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ การป้องกันผู้ป่วยทางร่างกาย คือ ร่างกายจะปลอดภัยจากอันตราย ตลอดจนการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ใน สิ่งแวดล้อม เช่น ของมีคม แก้วน้ำวัสดุพลาสติกแข็ง โต๊ะเก้าอี้ที่วางเกะกะ เป็นต้น
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง การบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม มุ่งที่จะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเองและปัญหาในชีวิตประจำวัน ดังนั้นพยาบาลจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเองใน เรื่องของกิจวัตรประจำวัน การจัดการกับปัญหาประจำวัน
เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมบำบัด กิจกรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นสื่อให้ผู้ป่วยติดต่อกับสังคมโดยเฉพาะกลุ่มกิจกรรมบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ดีขึ้น และเนื่องจากพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่กับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นบุคลากรที่มีความ เหมาะสมและพร้อมในการเป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยการมุ่งที่จะให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและปรับตัวในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จก็คือ ผู้ป่วยต้องมีความรู้ ดังนั้นพยาบาลจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยด้วยความรู้ที่ให้ ได้แก่ เรื่องของการเจ็บป่วย การใช้ยา การแก้ไขเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากยา การบำบัดรักษาที่จำเป็น การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันปัญหาและ ส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นต้น
ประสานความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย บุคลากรในทีมวิชาชีพ และญาติผู้ป่วยการบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยบุคลากรทำงานร่วมกันเป็นทีมพยาบาลเป็นบุคลากรคนเดียวในทีมที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย รวมทั้งมีโอกาสพบปะติดต่อกับญาติมิตรของผู้ป่วย ดังนั้นพยาบาลจึงมีความเข้าใจในตัวผู้ป่วยและสังคมของเขาพยาบาลจึงเป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย บุคลากรในทีมวิชาชีพ และญาติ ผู้ป่วย ได้เป็นอย่างดี
ประเมินผลการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด เมื่อจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดให้แก่ผู้ป่วยไปแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ประเมินผล โดยตรวจสอบว่ากิจกรรมนั้นๆ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด ส่งผลดีหรือ ผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างไร ลักษณะของกิจกรรมที่จัดขึ้นควรพัฒนา หรือปรับปรุงแก้ไข อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดผลดีต่อการบำบัดให้มากที่สุด บทบาทนี้จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอีก บทบาทหนึ่งของพยาบาล
หลักการและแนวทางในการจำกัดพฤติกรรม (Setting limitts)
ขั้นตอนในการจำกัดพฤติกรรม
1) ประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยว่ามีความหมายอย่างไร ผู้ป่วยกำลังจะบอกอะไร การ จำกัดพฤติกรรมมีความจำเป็นอะไร และจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้หรือมีการพัฒนาด้านอารมณ์ อย่างไรบ้าง ควรมีการตกลงกันในกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าลงความเห็นว่าควรจำกัดพฤติกรรมแล้ว ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ไม่ใช่เพื่อลงโทษผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่ง
2) บอกพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้ป่วยปฏิบัติ เช่น ผู้ป่วยกำลังโกรธและทำลายสิ่งของ ควรบอกว่า “คุณแสดงความโกรธด้วยคำพูดได้ แต่ทำลายสิ่งของเสียหายเช่นนี้ไม่ได้” หรือผู้ป่วยที่ไม่ สามารถหยุดยั้งการกระทำด้วยอารมณ์โกรธซึ่งมีผลเสียต่อบุคคลอื่นได้ ควรบอกว่า “ถ้าคุณโกรธและ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เช่นนี้ อาจจะต้องควบคุมคุณไว้ในห้องแยกจนกว่าจะควบคุมอารมณ์ได้”
3) หากผู้ป่วยยังไม่สามารถปรับพฤติกรรมตามที่ต้องการได้ ขั้นต่อไปต้องบอกผู้ป่วยให้ ทราบถึงสิ่งที่ควรทำในแต่ละสถานการณ์ให้ชัดเจน เช่น ผู้ป่วยอยากกลับบ้าน และพยายามหนีกลับ บ้านหลายครั้งแต่ถูกจับได้ การจำกัดพฤติกรรมขั้นแรกคือ ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยลงจากตึก ถ้าไม่ได้ผล ครั้งที่สองจะกักบริเวณในห้องนั่งเล่น ถ้ายังหนีอีกก็ต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องแยก
4) บอกให้ผู้ป่วยเข้าใจสาเหตุที่ต้องจำกัดพฤติกรรมให้ชัดเจนด้วยคำพูดสั้นๆ และเข้าใจ ง่าย หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทาน ยา พยาบาลจะบอกผู้ป่วยว่า “คุณไม่รับประทานยา ดิฉันจึงต้องฉีดยาให้คุณเพื่อให้คุณมีอาการดีขึ้น” ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลของพยาบาล
5) ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามข้อจำกัดที่กำหนดไว้ ผู้ป่วยจะเห็นความสำคัญ ยอมรับข้อจ ากัด เกิดการเรียนรู้ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
6) ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกที่มีต่อการจำกัดพฤติกรรมนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย ยอมรับการจำกัดแบบจำยอม ถ้าเปิดโอกาสแล้วผู้ป่วยไม่สามารถแสดงความรู้สึกออกมา พยาบาลควร สะท้อนความรู้สึกที่เชื่อว่ามีในผู้ป่วยให้เขาได้รับรู้ ควรทำหลังจากผู้ป่วยปฏิบัติตามข้อจำกัดนั้น และไม่ ควรทำเมื่อผู้ป่วยลดความวิตกกังวลลงแล้ว เพราะจะเป็นโอกาสให้เกิดการต่อรอง
7) ประเมินผลถึงสิ่งที่ตามมาภายหลังการจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วย ถ้ามีประสิทธิผลจะ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ และเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่
ประเภทของพฤติกรรมที่ควรจำกัด พฤติกรรมที่ควรจำกัด เป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เอง หรือผู้อื่น มี 5 ประเภท) ดังนี้
1) Destructive behavior เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการทำลาย ที่เป็น อันตรายต่อตนเองและผู้อื่น หรือทำให้สิ่งของเสียหาย
2) Disorganized behavior เป็นพฤติกรรมสับสน วุ่นวาย มีพฤติกรรมแปลกๆ หรือมี พฤติกรรมถดถอย (Regression)
3) Deviant behavior เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากผลของการขัดแย้งในใจ หรือ เรียกกว้างๆ ว่า acting out เป็นการตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบันที่คล้ายกับการตอบสนอง สถานการณ์ในอดีต
4) Dysphoric behavior เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไม่สบายต่างๆ เช่น ภาวะ ซึมเศร้า (Depression) หรือไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง (Out of reality)
5) Dependent behavior เป็นพฤติกรรมที่ต้องยึดผู้อื่นหรือพึ่งพิงผู้อื่น เช่น ผู้ติดยา เสพติด