Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลจิตเวช
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต
สุขภาพจิตที่ดี
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้
ไม่ป่วยใจ
ปัญหาสุขภาพจิต
สัมพันธภาพแย่ลง
ความรู้สึกไม่พอใจในตัวเอง
ไม่สามารถปรับตัวต่อเหตุการณ์ได้
หลักการสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช วิธีการตรวจสอบ
เครื่องมือ MSE
Affect and mood
Thought
Speech
Perception
GA
Orientation
Memmory
intelligent
Insight
attention and concentration
ทฤษฎีทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory)
พัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดจาก บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีพัฒนาการ 8 ขั้นตอน
ความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)อายุ 0-18 เดือน ขึ้นอยู่กับการที่มารดาเลี้ยงดูสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกายได้ ทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
ความเป็นตัวของตัวเองหรือความละอายและสงสัยไม่แน่ใจ (Autonomy vs Shame and Doubt) อายุ 18 เดือน-3 ปี เป็นระยะที่ มีความต้องการเป็นของตนเอง เมื่อมีการควบคุมพฤติกรรม เข้มงวดมากเกินไป จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ และความไม่แน่ใจในตัวเอง
ความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) อายุ 3-6 ปี เป็นระยะที่เด็กมีการพัฒนากล้ามเนื้อภาษา ความคิดและปัญญา มีความอยากรู้อยากเห็น หากมีการดูแลเหมาะสมจะทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ สามารถควบคุมตนเอง หากมีความเข้มงวดมากเกินไปจะทำให้เกิดความรู้สึกผิดในด้านต่างๆได้ง่าย
ความขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกมีปมด้อย (Industry vs Inferiority) อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กเข้าสู่สังคม มีความสนใจในการเรียนรู้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม เด็กจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง หากไม่เหมาะสม จะมีความรู้สึกมีปมด้อยและคิดว่าตนไม่มีคุณค่า
การรู้เอกลักษณ์ของตนเองหรือสับสนในบทบาท (Identity vs Role Confusion) อายุ 12-20 ปี เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อมีการพัฒนาอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้มีการเรียนรู้เอกลักษณ์ของตนได้ หากล้มเหลว จะเกิดความสับสนในบทบาทขาดการเป็นตัวของตัวเอง ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม
ความผูกพันใกล้ชิดหรือการแยกตัว (Intimacy vs Isolation) อายุ 20-40 ปี เป็นระยะที่มีการพัฒนาอัตลักษณ์ ที่มั่นคงพร้อมในการทำงานและความรัก หากมีการพัฒนาอย่างเหมาะสม จะมีความสัมพันธ์ที่ดี รู้จักประนีประนอมเสียสละ หากล้มเหลว จะเป็นบุคคลที่แยกตัวจากสังคม
การคิดถึงส่วนรวมหรือการคำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) อายุ 40-60 ปี เป็นระยะที่บุคคลต้องการทำประโยชน์ต่อสังคม ต้องการชี้แนะ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แต่หากพัฒนาล้มเหลว จะเป็นบุคคลที่มีความรู้สึกเหนื่อยล้า ทำอะไรตามใจตนเอง
ความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์หรือความสิ้นหวัง (Integrity VS Despair) อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นช่วงระยะสุดท้าย หากผ่านมาได้อย่างสมบูรณ์จะมีความเข้าใจความหมายและคุณค่าในตนเอง แต่ ครับไม่สามารถเผชิญหน้าได้อย่างถูกต้อง จะทำให้มีความรู้สึกสิ้นหวัง ผิดหวังกับชีวิตที่ผ่านมา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
พฤติกรรม เกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก หรือประสบการณ์ที่ไม่ต้องการจดจำ รวมถึง สัญชาตญาณดิบ(ID) มีความขัดแย้งกับศีลธรรม(Super ego) ทำให้เกิดปัญหาทางจิต
กลไกการป้องกันทางจิต เป็นกลไก ที่เกิดขึ้น ในระดับจิตใต้สำนึก เพื่อลดความวิตกกังวลเพื่อเผชิญปัญหาหรือความไม่สบายใจ ได้แก่ การชดเชย การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม การปฏิเสธ การแทนที่ การโทษตัวเอง การโทษผู้อื่น การแยกตัว การถดถอย การเก็บกด การลบล้างความรู้สึกผิด การอ้างเหตุผล การหาทางทดแทน การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก การเลียนแบบ
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ระยะปาก (Oral stage) อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการใช้ปากในการดูด หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะปาก (Oral fixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น พูดมาก ช่างนินทา ก้าวร้าว กินจุบจิบ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง และกัดเล็บ เป็นต้น
ระยะทวารหนัก (Anal stage) อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้ หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะทวารหนัก (Anal fixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น เจ้าระเบียบ ตรงต่อเวลา ขาดความยืดหยุ่น วิตกกังวล กลัวความผิดพลาด จนอาจกลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือกลายเป็นคนไร้ระเบียบในชีวิต เป็นต้น
ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage) อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ความสนใจทางด้านเพศมาก และเป็นระยะสำคัญที่เกิดปม Oedipal complex ในเด็กผู้ชาย และ Electra complex ในเด็กผู้หญิง โดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดาหรือมารดาหากมีการหยุดชะงักของระยะ พัฒนาการทางเพศ (Phallic fixation) อาจทำให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม หรือมีความผิดปกติในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นต้น
ระยะแฝง (Latency stage) อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางสังคมและเกิดปมด้อย
ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage) อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการ เปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นท าให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้จะเกี่ยวข้องกับการไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งที่พอใจกับผู้อื่นได้
Id(สัญชาตญาณ), Ego(จิตใจที่ตอบสนองต่อความต้องการของสัญชาตญาณ), Super ego(ส่วนของจิตใจที่เกี่ยวกับศีลธรรมจากการปลูกฝัง)
Conscious (ระดับที่รู้สึกตัวและตระหนักได้), Subconscious (กึ่งรับรู้), Unconscious(ระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้)
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์
สาเหตุของความผิดปกติทางจิต
พันธุกรรม
สารสื่อประสาท
พัฒนาการของเซลล์ประสาท
ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง
ทฤษฎีมนุษยนิยม
ทฤษฎีมนุษยนิยมนี้มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถ มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปในทางที่ดี มีความรักตนเอง มีการเจริญเติบโต มีความต้องการพื้นฐานที่ต้องการการตอบสนอง มีความรับผิดชอบและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง มนุษย์จะควบคุมตนเองและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว
ความต้องการทางด้านร่างกาย, ความต้องการทางด้านความปลอดภัย, ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ, ความต้องการความภาคภูมิใจ, ความต้องการเป็นตัวเอง, ความต้องการตื่นรู้ในตนเอง
ทฤษฎีการเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลางของโรเจอร์ส
ความสอดคล้องกลมกลืน (Congruence), การยอมรับทางบวกโดยปราศจากเงื่อนไข (Unconditional Positive Regard), ความเข้าใจในความรู้สึก (Empathy)
ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม
มนุษย์มีอิสระที่จะพัฒนาศักยภาพของตนให้ถึงขีดสูงสุด, การตระหนักต่อความจริงของชีวิตจะเป็นการเพิ่มและส่งเสริมศักยภาพ สำหรับการเปลี่ยนแปลง, มนุษย์เป็นผู้แก้ไขปัญหาของตน เป็นผู้กำหนดว่าจะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใด
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
พฤติกรรมเกิดจากการสร้างสัมพันธภาพ
ให้ความรู้และช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยการให้ความเคารพนับถือผู้ป่วย ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข และมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) พยาบาลจะต้องพยายามทำความเข้าใจปัญหาสัมพันธภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังใช้เป็นแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ใหม่ในการที่จะมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความไว้วางใจ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมที่ผิดปกติเกิดจากการเรียนรู้ผิดๆ ทฤษฎีจึงเน้นการเรียนรู้ใหม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ดีขึ้น
ใช้การปรับพฤติกรรมตามแนวคิดหลักของทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นการใช้การเสริมแรงชนิดต่างๆ (รางวัล คำชมเชย) หรือการลงโทษเรียกว่า พฤติกรรมบำบัด โดยการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) เป็นการให้สิ่งเร้าที่สร้างความพึงพอใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement) เป็นการลดสิ่งเร้าที่ไม่สร้างความพึงพอใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป็นต้น
ทฤษฎีทางการพยาบาล
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
การปรับตัวด้านร่างกาย เป็นการปรับตัวเพื่อรักษาความ มั่นคงด้านร่างกาย
การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ บุคคลมีตำแหน่งและบทบาทในสังคมของตนเอง บุคคลจะต้องปรับตัวหรือกระทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามที่สังคมคาดหวังได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความมั่นทางสังคม
การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ เป็นการปรับตัวเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ภาวะสุขภาพ การทำหน้าที่ รวมไปถึงความเชื่อ ค่านิยม
การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกันบุคคลมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือเกื้อกูล
ทฤษฎีของโอเรม
เน้นเรื่องการดูแลตนเอง กล่าวคือ บุคคลต้องดำรงไว้และควบคุมความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือพึ่งพาผู้อื่น การดูแลตนเองมีเป้าหมายและเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างการทำหน้าที่ต่างๆ และการพัฒนาเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
เพ็พพลาว – การสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อการบำบัดลักษณะเป็นแบบ One-to-One Relationship พยาบาลจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัดผู้ป่วย แบ่งเป็นระยะ
Identification phase ระบุปัญหา
Exploitation phase แก้ไขปัญหา
orientation phase ระยะความไว้วางใจ
Resolution phase ระยะสรุป