Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.2 เทคนิคเเละวิธีการเเบ่งปันข้อมูล - Coggle Diagram
1.2 เทคนิคเเละวิธีการเเบ่งปันข้อมูล
1.2 การที่จะแบ่งปันข้อมูลได้นั้นผู้ส่งจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับของทางและผู้รับช่องทางในการสื่อสารแบ่งได้เป็น
•สื่อมวลชน (mass media) เช่นวิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เน้นการสื่อสารทางเดียว แต่สามารถกระจายสารไปยังคนหมู่มากได้
•สื่อสังคม (social media) เช่นเฟซบุ๊กทวิตเตอร์หรือเว็บบอร์ดโดยสื่อสังคมจะเป็นช่องทางสื่อสารที่มีการโต้ตอบค่อนข้างสูงทำให้ผู้ส่งมีโอกาสอธิบายเพิ่มเติมหรือแก้ไขปรับปรุงรูปแบบสารได้อย่างเหมาะสม
•การสื่อสารโดยตรง direct communication เช่นการพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์การรายงานหน้าห้องเป็นช่องทางที่ผู้ส่งสามารถสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยาของผู้รับได้โดยตรง
ขั้นตอนการทำเเฟ้มผล
3.คัดเลือกผลงาน ผู้นำเสนอควรที่จะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดไม่เกิน 3 ชิ้นต่อหนึ่งหมวดหมู่หากในหมวดหมู่นั้นมีผลงานมากอาจทำเป็นภาพเล็กรวบรวมงานที่เหลือในหน้าเสริมของแฟ้มผลงาน
4 จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเองหลังจากคัดเลือกผลงานจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเรามีผลงานเด่นในด้านใดหรือยังขาดผลงานในด้านใดขั้นตอนนี้อาจจัดลำดับความน่าสนใจของแต่ละหมวดหมู่จากผลงานที่มีซึ่งจะทำให้เข้าใจตัวตนของเรามากขึ้นและประเมินได้ว่าเราควรยื่นแฟ้มผลงานเพื่อเข้าศึกษาในสาขาใดหรือทำงานในหน่วยงานใด
2.จัดหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่สามารถทำได้หลายลักษณะเช่นจัดผลงานเป็นกลุ่มของการเรียนกีฬาดนตรีและคุณธรรมจริยธรรมหรืออาจจะจัดเป็นกลุ่มวิชาการงานอดิเรกศิลปะและวัฒนธรรมโดยแต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีเรื่องที่ซ้ำกันเช่นหากงานอดิเรกเป็นการวาดภาพก็ไม่ควรที่จะแยกศิลปะออกจากงานอดิเรกการเลือกหมวดหมู่ที่ดีต้องสามารถนำเสนอตัวตนของเจ้าของผลงานในส่วนที่สำคัญได้
ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ ในการลำดับเรื่องราวเพื่อเลือกผลงานเข้าแฟ้มควรคำนึงว่าผู้ที่ประเมินต้องการเห็นอะไรในแฟ้มผลงานเช่นหากต้องการเข้าเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์คารนำเสนอผลงานเกี่ยวข้องไว้ในส่วนแรกเพื่อแสดง
1.รวบรวมผลงาน ผลงานในที่นี้เป็นชิ้นงานหรือผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงานเช่นภาพวาดสิ่งประดิษฐ์วีดิทัศน์โครงงานวิชาการงานอดิเรกโดยชิ้นงานเหล่านี้อาจเคยนำไปประกวดหรือส่งอาจารย์ในชั้นเรียน
ตรวจทาน นอกจากตรวจทานตัวสะกดและความถูกต้องแล้วควรแบ่งการตรวจทานเป็น 2 ส่วนโดยส่วนแรกให้ตรวจทานว่าแฟ้มผลงานตรงกับตัวตนของเราและความต้องการของผู้อ่านหรือไม่และในส่วนที่สองให้ผู้อื่นช่วยตรวจทานเรื่องราวการดำเนินเรื่องว่าเป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้อ่านหรือไม่
การทำแฟ้มผลงานเป็นการรวบรวมผลงานเพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัย บริษัท หรือผู้ว่าจ้างประกอบการพิจารณารับเข้าศึกษาต่อเข้าทำงานหรือจ้างงานเป็นแฟ้มที่แสดงให้เห็นว่าตัวตนของเราเหมาะสมกับความต้องการของผู้อ่านซึ่งบางครั้งเราอาจยังมีผลงานไม่เพียงพอที่จะนำเสนอตัวตนในด้านที่เราต้องการได้สมบูรณ์จึงควรรีบทำแฟ้มผลงานล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์ว่าขาดผลงานด้านใดจะได้เร่งสร้างผลงานในด้านนั้นเพิ่มเติม
1.2.1 การเขียนบล็อก
คำว่าบล็อก (blog) มาจากคำว่าเว็บ-ล็อก (web-log) ซึ่งเป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูลเพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางหรือสถานที่เก็บบทความที่เป็นที่นิยมอยู่หลายเว็บไซต์เช่น Medium, Blognone และ Dek-D
ขั้นตอนการเขียนบล็อกการเขียนบล็อกควรเริ่มจากการวางแผนว่าจะเขียนเรื่องอะไรวางเค้าโครงจัดเตรียมข้อมูลเขียนคำโปรยเพื่อแนะนำเนื้อหาและดึงดูดความสนใจหลังจากนั้นให้ลงมือเขียนอาจเขียนรวดเดียวจบหรือให้จบเป็นส่วน ๆ หลังจากที่ได้บทความแล้วให้ทำการแก้ไขตรวจทานความซ้ำซ้อนตรวจทานะขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
1.การวางแผน ไม่ว่าผู้เขียนบล็อกจะเชี่ยวชาญเพียงใดการเขียนบทความหนึ่งบทความไม่ได้ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้นด้วยเหตุนี้การวางแผนจึงควรคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1.1) กำหนดเรื่องที่จะเขียนเพราะถ้าผู้เขียนไม่มีความสนใจในเรื่องที่จะเขียนผู้เขียนควรเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจแล้วความไม่น่าสนใจจะถูกถ่ายทอดลงไปยังบทความที่เขียนและส่งต่อไปยังผู้อ่านได้ถ้าหากเรามีอาชีพเป็นนักเขียนบางครั้งเราอาจเลือกไม่ได้ว่าจะต้องเขียนเรื่องอะไร แต่ด้วยความเป็นบล็อกเกอร์แล้วเราสามารถกำหนดเรื่องที่เขียนเองได้ทำให้เราได้เปรียบในจุดนี้การเขียนบล็อกที่ดีควรมีเนื้อหาที่ชักชวนให้ผู้อ่านได้เข้ามามีส่วนร่วม
1.2) วางเค้าโครงเรื่องก่อนที่จะเริ่มเขียนบทความใด ๆ ผู้เขียนควรวางเค้าโครงเรื่องเพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะเขียนมีเนื้อหาที่ครอบคลุมครบถ้วนสมบูรณ์และเข้าใจง่าย
2.ค้นคว้า
ผู้เขียนบทความหลายคนอาจไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในเนื้อหาที่จะเขียน แต่การค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจสามารถทำได้ง่ายและสะดวกในยุคดิจิทัลการกำหนดเรื่องที่เราสนใจจะเข้ามามีบทบาทในขั้นตอนนี้เพราะการที่เราสนใจเราจะมีความสุขและความมุ่งมั่นในการค้นคว้าหาข้อมูลทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจและปริมาณเพียงพอที่จะเรียบเรียงบทความได้
3.ตรวจสอบข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าหรือจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไปและหากเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้เขียน
4.การเขียนคำโปรย คำโปรยเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สรุปและเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหาโดยละเอียดการเขียนคำโปรยควรใช้ภาษาที่จูงใจหรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้อยากรู้เนื้อหาโดยละเอียดบางครั้งผู้เขียนคำโปรยอาจใช้เทคนิคที่เรียกว่าคลิกเบต (clickbait) ซึ่งเป็นการเขียนเพื่อหว่านล้อมให้เข้าไปอ่านเนื้อหา
5.การเขียน
หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องวางโครงเรื่องเขียนคำโปรยและได้ชื่อเรื่องที่สื่อถึงเนื้อหาที่จะเขียนแล้วขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเขียนบทความ
6.การใช้ภาพประกอบ ตัวหนังสือในเวลา จำกัด ถ้าบทความในบล็อกไม่มีในปัจจุบันผู้อ่านมักมีสมาธิจดจ่ออยู่กับภาพประกอบผู้อ่านส่วนใหญ่อาจให้ความสนใจไปรับข้อมูลจากสื่ออื่นเช่นเฟซบุ๊กหรือยูทูบการใช้ภาพประกอบช่วยลดความรู้สึกอึดอัดในการเห็นเฉพาะตัวหนังสือและการใช้ภาพประกอบจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ
7.การตรวจทานแก้ไข
ขั้นตอนนี้นอกจากจะตรวจทานเพื่อแก้ไขตัวสะกดและไวยากรณ์แล้วผู้เขียนควรตรวจทานว่ามีการเขียนประเด็นที่ซ้ำกันหรือไม่
1.2.2 การทำแฟ้มผลงานแฟ้มผลงาน (portfolio) เป็นเอกสารในการรวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถและผลงานของบุคคลเพื่อใช้ในการนำเสนอประกอบการพิจารณาการประเมินการทำงานการสมัครเข้าเรียนหรือการสมัครเข้าทำงานจึงนับว่าแฟ้มผลงานเป็นสารที่ส่งไปยังผู้รับที่เกี่ยวข้องดังนั้นการทำแฟ้มผลงานจึงต้องคำนึงถึงผู้รับสารเพื่อนำมากำหนดรูปแบบในการนำเสนอและสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ