Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปทบทวนวรรณกรรม(สุขภาพจิต) - Coggle Diagram
สรุปทบทวนวรรณกรรม(สุขภาพจิต)
จารุวรรณ ก้านศรี, ชุติมา มาลัย, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, & นภัสสร ยอดทองดี. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(2), 95–107.
Design
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
Sample/Sampling
ผู้สูงอายุที่อาศัยในตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จำนวน 60 คน
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และจับฉลากเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน มีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนโดยการจับคู่
IV/DV
IV: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต
DV: ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
เครื่องมือ
1.แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล
2.แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ 55 ข้อ ปีพ.ศ.2550 ของอภิชัย มงคลและคณะ
3.โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิต
1.สถิติเชิงพรรณนา
2.สถิติ dependent t- test
3.สถิติ Independent t- test
Concept
ใช้กรอบแนวคิดของการสร้างสุข
จากหลักธรรมะของพระพรหมคุณาภรณ์
ผลการวิจัย
1.ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
2.ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต
ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม
2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะสุขภาพจิตของผู้สูง
อายุของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต
สิ่งที่นำไปใช้
1.ควรนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตไปใช้ในการสร้างเสริมภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
2.ควรนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล
3.ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ
4.ควรมีการศึกษาติดตามภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตในระยะยาว 3 เดือน 6 เดือนและ 1 ปี เพื่อประเมินผลการคงอยู่ของภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
พรพิมล เพ็ชรบุรี, ชมชื่น สมประเสริฐ, & ประนอม โอทกานนท์. (2560). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. 35(2), 188–197.
Design
กึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง
Sample/Sampling
ผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน
สุ่มอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อ และมีการจับคู่ให้มีลักษณะใกล้เคียง
IV/DV
IV: โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม
DV: ภาวะสุขภาพจิต
เครื่องมือ
1.โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม ประยุกต์ตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล
2.2 แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์ (Thai Geriatric Mental Health Assessment: T-GMHA-56)
3.เครื่องมือที่ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3.1 แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น Mini-Mental State Examination: Thai Version (MMSE Thai - 2002)
ทำการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของคะแนนภาวะสุขภาพจิตก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบที (T-Test)
Concept
ใช้กรอบแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ (House)
ผลการวิจัย
1.ภายหลังการให้โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
2.ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพจิตก่อนและหลังทดลองของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ
วัตถุประสงค์
1.เปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับโปรแกรม
2.เปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
สิ่งที่นำไปใช้
1.ควรนำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
2.ควรมีการศึกษาติดตามภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมในระยะยาว
3.ควรมีการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาหรือสร้างเครือข่ายการทำงานในชุมชนเพื่อร่วมกันดูแลส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง, & ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 150–163.
Sample/Sampling
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน (multi-stage cluster sampling)
กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า
Design
การวิจัยเป็นเชิงพรรณนา
(Descriptive research)
เครื่องมือ
1.แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล
2.แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาโดย Mongkol และคณะ
1.สถิติเชิงพรรณนา
2.สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน
3.สถิติไคว์สแควร์
IV/DV
IV: เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, ความเพียงพอของรายได้, อาชีพ, การประกันสุขภาพ, การมีผู้ดูแล, การมีหน้าที่ดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย, การมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลาน, โรคประจำตัว และพฤติกรรมสูบบุหรี่
DV: ภาวะสุขภาพจิต
ผลการวิจัย
1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคะแนนสุขภาพจิตดีกว่าคนปกติ
2.ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ อาชีพ การประกันสุขภาพ โรคประจำตัว และประวัติการหกล้มในรอบ 6 เดือน
Concept
สิ่งที่นำไปใช้
1.ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในปัจจัยต่าง ๆ
2.ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา
2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะสุขภาพจิต
ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, อารีย์ สงวนชื่อ, & รัตนาภรณ์ อาษา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 12(2), 68–85.
Design
การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study)
Sample/Sampling
ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 375 คน
การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling)
IV/DV
IV
1.ปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ, อายุ, ความเพียงพอของรายได้, และสถานภาพสมรส)
2.ปัจจัยด้านสุขภาพ (จำนวนโรคร่วมและ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน)
3.ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (สัมพันธภาพในครอบครัว, แรงสนับสนุนทางสังคม, ลักษณะที่อยู่อาศัย และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน)
DV: ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เครื่องมือ
1.แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล
2.แบบประเมินความสามารถในการทำ
กิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธล (Barthel Activities of Daily Living :ADL)
3.แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมของสุธรรม นันทมงคลชัย
4.แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัวของพวงผกา ชื่นแสงเนตร
5.แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนของไมตรี ติยะรัตนกูร
6.แบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (Thai Mental Health Indicator–15 (TMHI-15) ถูกพัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต
1.สถิติเชิงพรรณนา
2.สถิติการทดสอบไคสแควร์
Concept
กรอบแนวคิดในงานวิจัยครั้งนี้มาจากการผสมผสานของทฤษฎีทางจิตวิทยาและทฤษฎีทางสังคมวิทยากับการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
ผลการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับเท่ากับบุคคลทั่วไป (ร้อยละ 49.3)
2.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุ ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ สถานภาพสมรส ความพอเพียงของรายได้ แรงสนับสนุน ทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับของภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
สิ่งที่นำไปใช้
1.ควรมีการทำวิจัยในรูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Study) ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
2.ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
วิไลพร ขำวงศ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, ทานตะวัน แย้มบุญเรือง, & ญานิศา เถื่อนเจริญ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต กับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 131–144.
Design
การวิจัยเชิงพรรณนา
แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research)
Sample/Sampling
ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก
IV/DV
IV: ปัจจัยส่วยบุคคลและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต
DV: ภาวะสุขภาพจิต
เครื่องมือ
1.แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล
2.แบบสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (Thai Mental Health Indicator– 15: TMHI–15) มีจำนวน 15 ข้อ ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต
3.แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต
1.สถิติเชิงพรรณนา
2.สถิติไคสแควร์ (Chi-square)
3.สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
Concept
ผลการวิจัย
1.ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เท่ากับคนทั่วไป
2.ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ
สมรส ลักษณะการอยู่อาศัย ความสัมพันธ์ในครอบครัว การมีรายได้ และการมีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย และการติดตามข่าวสารต่างๆ มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วน
บุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตกับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
สิ่งที่นำไปใช้
1.การศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมี
ความสัมพันธ์หรือมีผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
2.วิจัยต่อยอดการพัฒนารูปแบบกิจกรรมหรือวิธีการพัฒนาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป