Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 Part 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายน…
บทที่ 8 Part 1
การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หลักการ แนวคิดสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความท้าทายและช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาสู่สากลให้เป็นไปตามนโยบาย
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก
เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษาเงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก
ส่วนที่ 1 การประเมินคุณภาพมาตรฐาน
เป็นการประเมินตามพันธกิจและบริบทของสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน
ส่วนที่ 2 การประเมินความโดดเด่น
เป็นแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของสถานศึกษา
วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
1.สถานศึกษาประเมินตนเอง (Self-Assessment) แล้วจัดส่งรายงานการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดวิเคราะห์ SAR ส่งให้สมศ.
สมศ. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา (Pre-Analysis) จากฐานข้อมูลของหน่วยงานต้นสังกัด
3.คณะผู้ประเมินภายนอกประชุมพิจารณาผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Pre-Assessment) เพื่อวางแผนการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม
4.คณะผู้ประเมินภายนอกลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site Visit) เพื่อประชุมเสวนาสร้างสรรค์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับบุคลากรหลักฐานเชิงประจักษ์และหน่วยงานบุคคลที่มีเกี่ยวข้องเพิ่มเติมรวมทั้งทำรายงานผลประเมินด้วยวาจา
5.คณะผู้ประเมินภายนอกจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA Report) พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาแล้วจัดส่งให้สมศ.
แนวทางพิจารณาคุณภาพในการประเมินคุณภาพภายนอก
ความเหมาะสม/เป็นไปได้ (Propriety / Feasibility)
ความเชื่อถือได้ (Validity / Credibility)
ความเป็นระบบ (Systematic)
ประสิทธิผล (Effectiveness)
นวัตกรรม (Innovation)
เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
มิติคุณภาพที่สถานศึกษาสามารถขอรับการประเมินความโดดเด่นเฉพาะทาง มีดังนี้
1.ความสามารถด้านวิชาการควบคู่คุณธรรม การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการให้ดีขึ้น มีพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียนใน 3 ปี
ความสามารถในการใช้ภาษา และการสื่อสาร การพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น
ความสามารถเฉพาะทางที่สําคัญ ผลงานนักเรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทักษะวิชาชีพ
การบริหารจัดการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special needs/ Gifted/ Vulnerable) การมีนวัตกรรมการเรียนรู้ที่โดดเด่น
อื่น ๆ ตามที่สถานศึกษาประกาศเป็นเอกลักษณ์ รายการเอกลักษณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษากําหนด ที่มีการวางแผนและดําเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563)
ตัวอย่าง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 ความเหมาะสม เป็นไปได้
1.2 ความเชื่อถือได้
1.3 ประสิทธิผล
บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ระดับสถานศึกษา
1.1 สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพื่อเป็นกลไกในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.2 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่ กำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
1.3 สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.1 ศึกษา วิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาตลอดจนให้คำปรึกษา
2.2 รวบรวมและสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา และจัดส่งไปยังสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2.3 ติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2.4 ให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2.5 อาจมอบหมายบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ประเมินเข้าร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายนอก
แนวทางการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา เพื่อเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก
ช่วงที่ 1 ก่อนการรับประเมินคุณภาพภายนอก
บุคลากร
2.ด้านอาคารสถานที่
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านเอกสารหลักฐานร่องรอย
ช่วงที่ 2 ระหว่างรับกรประเมินคุณภาพภายนอก
อำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการประเมินตามความเหมาะสม เช่น เตรียมแหล่งข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์
นำเสนอข้อมูลตามมาตรฐานและประเด็นการพิจารณา อาจนำเสนอโดยการบรรยายประกอบ Power Point หรือ VTR โดยผู้บริหารสถานศึกษา
ประสานงานขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนต้นสังกัด องค์กรภาครัฐและเอกชน
ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการประเมินด้วยวาจาและให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ในช่วงรับการประเมินภายนอก สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนตามปกติตามตารางสอน และตารางกิจกรรมที่กำหนดไว้
ช่วงที่ 3 หลังเสร็จสิ้นการประเมินคุณภาพภายนอก
1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกตามที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2) สถานศึกษาสามารถโต้แย้งผลการประเมินคุณภาพภายนอกได้ โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งสมศ. จะส่งผลการพิจารณา (ร่าง) รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สถานศึกษาพิจารณา
3) วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ตามความจำเป็นเร่งด่วน ปกติ หรือกำหนดลงในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาระยะยาว