Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ 75F393D1-4457-4A92-A1BD-51EC1A9DDD94 - Coggle…
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
1.Presumptive sings of pregnancy
(อาการและอาการแสดงที่
คาดว่า/สงสัย
ว่าจะตั้งครรภ์)
เป็นอาการและอาการแสดงเกิดขึ้นในระยะแรกที่สตรีสังเกตและสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์ ข้อมูลส่วนใหญ่เป็น
subjective data
ขาดประจําเดือน (amenorrhea)
กรณีตั้งครรภ์
-สุขภาพดี
-ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
-ขาดประจำเดือนของเดือนมานานกว่า10วันขึ้นไป
น่าเชื่อถือได้ว่าจะตั้งครรภ์
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-ความเครียด
-ความผิดปกติของ thyroid gland
-ภาวะเบื่ออาหาร
-ยาบางชนิด
-ออกกำลังกายหักโหม
คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน (nausea+/-vomiting)
เป็นอาการที่พบได้ในสัปดาห์ที่ 4-14 พบมากสัปดาห์ที่ 8-12 เรียกว่า อาการแพ้ท้อง morning sickness/ Nuasea gravidarum
เนื่องจาก Estrogen เพิ่มขึ้น
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-ภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ติดเชื้อ H.PYLORI
-ความเครียด
-นํ้าตาลในเลือดตํ่า จากโรคเบาหวาน
-การรับประทานยาบางชนิด
-ภาวะจิตใจในการปรับบทบาทตนเอง
ถ่ายปัสสาวะบ่อย(urinary frequency)
กรณีตั้งครรภ์
ปัสสาวะบ่อยแต่ไม่มีอาการปวดแสบหรือมีไข้ -> การกรองปัสสาวะที่ไตเพิ่ม มดลูกโตขึ้นเบียดกระเพาะปัสสาวะ
กรณีไม่ตั้งครรภ์
พฤติกรรม -> ดื่มน้ำมาก
ภาวะโรค -> DM
-> Prolapsed uteri
-> Myoma uteri
อาการเหนื่อยล้า (fatigue)
เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลงไป
มักเป็นในไตรมาสแรก
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-เจ็บป่วย
-มีความเครียดสูง
-นอน/พักผ่อนไม่เพียงพอ
ความรู้สึกเด็กดิ้นครั้งแรก (Quickening)
กรณีตั้งครรภ์
ความรู้สึกว่ามีสิ่งเคลื่อนไหวภายในครรภ์
ครรภ์แรก 18-20 สัปดาห์
ครรภ์หลัง 16-18 สัปดาห์ครรภ์
-> มดลูกที่โตขึ้นพ้นอุ้งเชิงกรานผนังมดลูกชิดผนังหน้าท้อง
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-เกิดจาก : การเคลื่อนไหวของแก๊สในลําไส้
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (changes in the breast)
กรณีตั้งครรภ์
อาการระยะแรกของการตั้งครรภ์
-เจ็บคัดตึง (tenderness)
-คัน
-รู้สึกแปลบเหมือนถูกของมีคมเล็ก ๆ ทิ่มแทงภายในเต้านม (Breast tingling)
-หัวนมจะไวต่อการกระตุ้น
-ลานนมจะมีสีเข้มขึ้น ขยายออก
-มีต่อมไขมัน (Montgomary’sglands) โตขึ้น
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-เนื้องอกต่อมใต้สมอง(Pituitary tumors)
-ตั้งครรภ์เทียม (Pseudocyesis)
การเปลี่ยนแปลงของสีผิวและรอยแตกของผิวหนัง
(increased skin pigmentation and appearance of abdominal striae)
กรณีตั้งครรภ์
-เส้นกลางหน้าทองมีสีคลํ้า (linea nigra)ตั้งแต่เหนือหัวหน่าวถึงสะดือบางรายมีฝ้า (Choasma gravidarum)
Estrogen สร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น
-ผิวหนังแตกเป็นริ้วบริเวณหน้าท้อง(Striae gravidarum)
การยืดขยายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันCortisolจากต่อมหมวกไตเพิ่มขึ้น
กรณีไม่ตั้งครรภ์
-การใช้ยาคุมกำเนิด
-ภาวะอ้วนมาก
บวมน้ำ ท้องมาน(ascitis)
ลักษณะของสีผิวและรอยแตกของผิวหนัง
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุช่องคลอด (Discoloration of vaginal mucosa)
Vagina mucosa จะมีสีคลํ้าขึ้นจนเกือบม่วงเรียกลักษณะเปลี่ยนแปลงนี้ว่า
Chadwick’s sign
เกิดจากการมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณเยื่อบุช่องคลอด พบได้มากประมาณอายุครรภ์ 6-10 สัปดาห์
2.Probable sings of pregnancy
(อาการแสดงว่า
อาจจะ
ตั้งครรภ์)
เป็นอาการแสดงที่ได้จากการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฎิบัติการ
หน้าท้องโตขึ้น (Enlargement of abdomen)
กรณีตั้งครรภ์
หน้าท้องโตขึ้น -> การเจริญเติบโตของทารก
มดลูกจะโตพ้นเชิงกรานเมื่อตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์
กรณีไม่ตั้งครรภ์
หน้าท้องโตขึ้น ->pelvic tumor
การหดรัดตัวของมดลูก (Braxton Hicks contractions)
กรณีตั้งครรภ์
การหดรัดตัวที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอไม่เจ็บปวดเกิดขึ้นได้ตลอดระยะการตั้งครรภ์ -> ส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตที่มดลูกและสนับสนุนการทำงานของรก
จะรู้สึกชัด ขึ้นเมื่อ > 28 สัปดาห์
กรณีไม่ตั้งครรภ์
Myoma Uteri
การเปลี่ยนแปลงของมดลูกและปากมดลูก
Gooddell’s sign
คลำพบปากมดลูกนุ่มคลายริมฝีปาก ตรวจพบเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์
กรณีไม่ตั้งครรภ์
ยาคุมบางชนิด
Hegar’s sign
เป็นความนุ่มของ isthmus ตรวจโดยการทำ Bimanual examination ตรวจพบเมื่ออายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์
McDonald’s sign
ตรวจพบว่ามดลูกมีความยืดหยุ่นมาก สามารถหัก พับ งอกับปากมดลูกได้ง่าย (Uterocervical junction) ตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์
Ladin’s sign
พบบริเวณตรงกลางของมดลูกด้านหน้าตำแหน่งที่เป็นจุดต่อระหว่างมดลูกกับปากมดลูกจะมีความอ่อนนุ่ม พบเมื่ออายุครรภ์ 6 สัปดาห์
การขยับคลอนทารก (ballottement)
การออกเเรงกดกระตุ้นมดลูกทารกจะลอยมากระทบมือผู้ตรวจ เนื่องจากขนาดของทารกยังเล็กและมีน้ำคร่ำมาก ทำให้โยกคลอนทารกได้ จะสังเกตได้เมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 16-18 สัปดาห์
external ballottement
ตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์ ตรวจโดยวางมือทั้งสองขวางตัวมดลูก ใช้มืออีกข้างหนึ่งกดแรงและเร็วพอประมาณ แรงกดจะผ่านน้ำคร่ำกระทบตัวทารกให้ลอยมากระทบมือตรวจอีกข้างหนึ่ง
internal ballottement
ตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 14 สัปดาห์ โดยใช้นิ้วสอดเข้าไปสัมผัสที่ anterior fornix และใช้มืออีกข้างกดที่ยอดมดลูก (fundus) กระตุ้นมือที่อยู่ในช่องคลอดเบาๆจะรู้สึกว่าตัวทารกลอยขึ้นลงกระทบมือทั้ง 2 ข้าง
คลำขอบเขตตัวทารกได้(palpation of fetal outline)
กรณีตั้งครรภ์
คลำหน้าท้องได้ขอบเขตของลำตัวทารกเมื่อประมาณ 22-24 สัปดาห์
กรณีไม่ตั้งครรภ์
เนื้องอก มดลูกโต
ได้ยินเสียงของหลอดเลือดมดลูก(Uterine suffle)
กรณีตั้งครรภ์
ได้ยินเสียงฟู่เบาๆเป็นจังหวะมีอัตราเท่ากับชีพจรของหญิงตั้งครรภ์ -> เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงมดลูก
กรณีไม่ตั้งครรภ์
Myoma Uteri ระยะหลังคลอดที่มดลูกอยู่สูงเหนือหัวหน่าว
การตรวจพบฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (hCG)
กรณีตั้งครรภ์
พบ hCG ในปัสสาวะหรือในเลือด (Pregnancy test) -> ตัวอ่อน,รก
ตรวจพบได้ประมาณวันที่ 6-12 หลังจากไข่ตก
กรณีไม่ตั้งครรภ์
Molar pregnancy
Ectopic pregnancy
3.Positive sings of pregnancy
(อาการเเสดงว่าตั้งครรภ์
แน่นอน
)
ได้ยินเสียงหัวใจทารก (Fetal heart sound)
ฟังผ่านผนังหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ fetoscopeจะได้ยินเสียง สัปดาห์ที่ 17-20Doppler สามารถได้ยิน เสียงสัปดาห์ที่ 12-14ได้ยินเป็นเสียงคู่ประมาณ 110-160 ครั้งต่อนาที สม่ำเสมอ เสียงที่ได้ยินมีอัตราเท่ากับเสียง Fetal Heart Sound คือ เสียง funic souffle เป็นเสียงของเลือดที่ไหลผ่านเส้นเลือดแดงของสายสะดือทารกในครรภ์ จะได้ยินเสียงฟู่แหลม
เห็นการเคลื่อนไหวและคลําส่วนต่างๆของทารกได้
(Fetal movement and fetal part)
สามารถคลําส่วนต่างๆของทารกและเห็นการเคลื่อนไหวทางผนังหน้าท้องได้ชัดเจน
เมื่ออายุครรภ์20 สัปดาห์
เห็นทารกผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่อายุครรภ์5-6 สัปดาห์
เห็นการทำงานของหัวใจเมื่ออายุครรภ์6-7สัปดาห์
การใช้รังสีเอกซเรย์
(Radiological demonstration)
เห็นรูปร่างกระดูกทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 16
ไม่ควรใช้วิธีนี้
วินิจฉัยการตั้งครรภ์เนื่องจากรังสีมีผลต่อทารกในครรภ์