Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการดูแลผู้ป่วย Delirium, จัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างเพียงพอโดยเฉพาะ…
-
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงกลางวัน งานวิจัยพบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสามารถนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางคืนได้ดีขึ้น ลดการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันได
จัดบุคลากรคนเดิมในการให้พยาบาลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคยกับผู้ให้การดูแลลดการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันจากความไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกจากนี้ผู้ดูแลสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการส่งเสริมการค้นพบอาการผิดปกติได้รวดเร็ว
สร้างบรรยากาศรอบตัวผู้ป่วยให้เงียบสงบลดสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดังรบกวน เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต ผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าการที่ผู้ป่วยขาดการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอหรือการมีสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไป ในหอผู้ป่วยวิกฤต ทำให้เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันได้
ลดการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยอย่างฉับพลัน เช่น การย้ายห้องหรือการเปลี่ยน เตียงผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่ (unfamiliar environments) เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน
จัดให้มีสิ่งของที่ผู้ป่วยคุ้นเคยหรือสิ่งของที่ใช้ประจำวางอยู่ในห้องเช่น การจัดให้มีรูปของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในห้อง หมอนที่ผู้ป่วยเคยใช้อยู่ที่บ้าน วิทยุที่ผู้ป่วยเคยฟังตอนอยู่ที่บ้าน เป็นต้น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยคุ้นเคย สามารถลดการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันได้
ใช้การย้ำเตือนการรับรู้ความเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอให้คุ้นเคย หรือreorientation มีการศึกษาวิจัยพบว่าการ reorientation อย่างสม่ำเสมอ เช่น จัดให้มีนาฬิกาในห้องผู้ป่วย การบอกเกี่ยวกับ วัน เวลาและสถานที่ปัจจุบัน การเรียกชื่อผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กับการลดอัตราการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน
ใช้หลักการสนทนาที่ดีพูดชัด ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ และใช้โทนเสียงที่นุ่มนวล เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ และรู้สึกปลอดภัยจะช่วยลดการเกิดความสับสนได้
ให้ความรู้ข้อมูล ความมั่นใจ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการรักษากับญาติสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันได้รับการดูแลที่เหมาะสมด้วย ความเข้าใจ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับความเครียดหรือความกังวลของญาติ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการจำคนในครอบครัวไม่ได้หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากลักษณะนิสัยเดิม พยาบาลควรเน้นการให้ข้อมูลกับญาติว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หลังได้รับการรักษาซึ่งใช้เวลาช่วงหนึ่งอาการผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้น
ให้ความสำคัญกับความเป็นบุคคล โดยพยาบาลค้นหาความกลัวหรือความกังวลใจของผู้ป่วยสูงอายุเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ไข เนื่องจากระดับความกังวลอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันได้ ควรหาวิธีการหรือใช้เทคนิคผ่อนคลายต่างๆช่วยสนับสนุนในขณะที่แก้ไขสาเหตุของความไม่สุขสบายใจ หรือความกังวลของผู้ป่วยร่วมกัน
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-