Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ระบบหัวใจและหลอดเลือด, นางสาวนิรามัย สีลาคำ เลขที่ 39…
การพยาบาลผู้ใหญ่ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะหัวใจล้มเหลว Congestive Heart Failure
หน้าที่ของหัวใจ
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย
หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียว
ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นกลุ่มอาการที่เป็นผลมาจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ ทำให้มีผลต่อ hemodynamic หรือหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
1.Abnormal loading condition
เป็นภาระที่หัวใจต้องรับภาระหนักอย่างผิดปกติ
*pressure load/ volume overload
2.Abnormal muscle function
เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่ผิดปกติ
cardiomyopathy
3.Limited ventricular filling
เป็นความจำกัดในการคลายตัวรับเลือดของ ventricle
hypertrophic obstructive cardiomyopathy
สาเหตุและปัจจัยที่มีผลจากโรคและภาวะต่างๆดังนี้
1.ACS; MI
2.ความดันโลหิตสูง
3.ลิ้นหัวใจผิดปกติ (VHD)
4.Dilated cardiomyopathy (DCM)
5.หัวใจพิการแต่กำเนิด
6.โรคอ้วน เบาหวาน
7.หยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea)
8.ยาที่มีพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
9.Right ventricular pacing
10.โลหิตจาง ติดเชื้อ ตั้งครรภ์
11.Specific cardiomyopathy
1) alcohol cardiomyopathy
2) atrial fibrillation induced cardiomyopathy
3) diabetes cardiomyopathy (ischemia)
ชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว
ชนิดหัวใจล้มเหลวในการบีบตัว และหัวใจล้มเหลวในการคลายตัว systolic heart failure* diastolic heart failure
ชนิดหัวใจล้มเหลวข้างซ้ายและข้างขวา
Left ventricle และ Right ventricle failure
ชนิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง
Acute & Chronic heart failure
พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจวาย
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในแต่ละนาทีหรือ cardiac output (CO) นั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที(heart rate; HR) และปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน แต่ละครั้งของการบีบตัว (stroke volume; SV)
*
CO = HR x SV
โดยอัตราการเต้นของหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติและ stroke volume จะเกี่ยวข้องกับปัจจัย 3 อย่าง คือ
จำนวนเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ (venous return หรือ preload)
คือ จำนวนเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ การให้ IV fluid ถือเป็น preload
แรงต้านการไหลของเลือดขณะหัวใจบีบตัว (vascular resistance หรือ afterload)
คือ แรงต้านการไหลของเลือดขณะหัวใจบีบตัว ได้แก่แรงต้านของหลอดเลือดแดง ในผู้ป่วย HT จะมี AfterLoad สูง การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตเช่น Norepinephrine, Dopamine เป็นการเพิ่ม Afterload เช่นกัน
ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ (contractility)
พยาธิสรีรภาพและอาการแสดงหัวใจวายข้างซ้าย
เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง จะทำให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องล่างซ้ายเลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถลงสู่ห้องล่างซ้ายได้ เป็นผลให้เลือดที่ปอดไม่สามารถเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ เกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด Pulmonary vein ทำให้แรงดันในหลอดเลือด pulmonary สูงขึ้น ซึ่งส่งผลถึงแรงดันของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในถุงลมด้วย ทำให้น้ำในหลอดเลือดฝอยถูกดันให้ซึมผ่านเข้าไปในถุงลม และช่องว่างระหว่างเซลล์ในปอด ในบางรายถ้าแรงดันในปอดสูงมากทำให้หลอดเลือดฝอยแตก มีเลือดออกสู่ถุงลม หลอดลม ทำให้เสมหะมีเลือดปน
สรุปอาการของหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
1) หายใจหอบเหนื่อย จากมีการคั่งของเลือดและน้ำที่ปอด
2) นอนราบไม่ได้ (Orthopnea) และนอนหลับไปแล้วหลายชั่วโมงแล้วตื่นขึ้นมานั่งหอบ เราเรียกอาการนี้ว่า (Paroxysmal nocturnal dyspnea : PND)
3) การไอ เป็นอาการเด่นชัดที่พบบ่อย เกิดจากการมีเลือดและน้ำคั่งในปอด ฟังเสียงปอดจะมีเสียง Crepitation
4) อ่อนเพลีย (Fatigue) จากการที่เซลล์ของร่างกายได้รับเลือดและออกซิเจนลดลง
5) ความดันโลหิตลดลง จากการที่หัวใจบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ
5) สมองขาดออกซิเจน มีอาการกระสับกระส่าย ความจำเสื่อม เป็นลม
6) อาการเจ็บหน้าอก พบได้ในกรณีที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
7) อาการทางระบบไต ปัสสาวะลดลง
8) ผอมและขาดสารอาหาร (Cachexia and malnutrition) จากการที่เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
9) ผิวซีด/ เขียว จากการขาดเลือดไปเลี้ยง
พยาธิสรีรภาพและอาการแสดงหัวใจวายข้างขวา
หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว เป็นต่อเนื่องมาจากการมีแรงดันหลอดเลือดในปอดสูงรวมทั้งแรงดันในหลอดเลือด pulmonary artery จากการที่มีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวมาก่อน ทำให้หัวใจห้องล่างขวาพยายามบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปฟอกที่ปอด เมื่อทำงานหนักเข้าหัวใจถึงอ่อนล้า และเกิดการล้มเหลวในการทำงาน ทำให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องล่างขวา เลือดจากหัวใจห้องบนขวาไม่สามารถลดลงสู่ห้องล่างขวาได้ เป็นผลให้เลือดจากตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มาตาม Superior vena cava และ Inferior vena cava ไม่สามารถเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ จึงคั่งอยู่ตามหลอดเลือดดำตามร่างกาย เมื่อแรงดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นจะดันน้ำให้ซึมออกจากหลอดเลือดผ่านเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์และเซลล์ของร่างกาย เกิดการบวมตามร่างกาย
สรุปอาการของหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว
1) การบวม (Edema) ตามส่วนต่างๆ เท้า ข้อเท้า ก้นกบ การบวมอาจกดบุ๋ม (Pitting Edema)
2) ตับโต จากการที่มีเลือดคั่งในหลอดเลือดในตับ
3) ท้องมาน (Ascites)
4) หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
5) อาการทางระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะแน่นจุกบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือบริเวณลิ้นปี่ เป็นผลมาจากตับโตจากการมีน้ำคั่ง
การรักษา
แก้ไขสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิดลิ้นหัวใจพิการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสาเหตุ
ขจัดสาเหตุส่งเสริม เช่น ต่อมไธรอยด์เป็นพิษ โลหิตจาง การติดเชื้อ
ลดการทำงานของหัวใจลง ดังนี
3.1 จำกัดกิจกรรมต่าง ๆ
3.2 ลด Preload หรือลดจำนวนเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ โดย
3.2.1 ให้ผู้ป่วยนั่งห้อยขาลงข้างเตียง หรือนอนบนเตียงในท่า Fowler’s position
3.2.2 ให้ยาขับปัสสาวะ เช่น Lasix ระวังโปตัสเซียมต่ำ แนะนำให้กินผลไม้ร่วมด้วย
3.2.3 การให้ยาขยายหลอดเลือดดำส่วนปลาย มีผลทำให้เลือดค้างอยู่ตามหลอดเลือด ส่วนปลายมากขึ้น เช่น ยาในกลุ่ม Nitrate เช่น Nitroglycerin, Sodium nitroprusside, ยากลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitor (ACE inhibitor)
3.3 ลด After load หรือลดแรงต้านของหลอดเลือดทางที่เลือดออกจากหัวใจ เช่น SNP,Enlapril , Captopril
ลดการคั่งของน้ำและเกลือ
เพิ่มปริมาณเลือดออกจากหัวใจโดย
5.1 ให้ยาเพิ่มแรงในการบีบตัวของหัวใจ เช่น ยากลุ่ม Digitalis (Digoxin, lanoxin)ไม่ให้ยานี้เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ระวัง การเกิดพิษจากยา Digitalis (Digoxin, Lanoxin) เช่นเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เห็นแสงวูบวาบ สีที่เห็นในภาพจะเป็ นเหลืองหรือฟ้า กลัวแสง มองไม่ชัด
5.2 ลดแรงต้านทานของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
5.3 ให้ยากลุ่ม Inotropic drug ที่มีฤทธิ์โดยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจโดยตรง เช่น Isoproterinol , Dopamine , Dobutamine
5.4 ยาต้านเบต้า (Beta blocker)
Acute Coronary Syndrome (ACS)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
กรรมพันธุ์
เพศ
อายุ
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
ระดับไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่
ความดันโลหิต
เบาหวาน
Metabolic syndrome
โรคอ้วน
ไม่ออกกำลังกาย
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
ลักษณะการเจ็บหน้าอกแตกต่างกัน
เจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
เจ็บแบบแน่นๆ, เสียด, หนัก บริเวณกลางหน้าอกหาจุดเจ็บไม่ได้ อย่างน้อย 2 – 3 นาที
ร้าวไปกราม, หัวไหล่, แขนด้านใน
เหงื่อออก, เวียนศีรษะ, คลื่นไส้-อาเจียน, เหนื่อยหอบ
มีอาการเวลาออกแรง, เครียด, หลังอาหารมื้อใหญ่ๆ
อาการทุเลาเมื่อหยุดพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น
เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
แน่น, เสียด, หนัก บริเวณกลางหน้าอก หาจุดเจ็บไม่ได้ อย่างน้อย 20– 30 นาที
ร้าวไปกราม, หัวไหล่, แขนด้านใน
เหงื่อออก, เวียนศีรษะ, คลื่นไส้-อาเจียน, เหนื่อยหอบ
มีอาการขณะพัก, หลังจากออกกำลังรุนแรง
อาการไม่ทุเลาเมื่อหยุดพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น
การตรวจวินิจฉัย
• การสอบถามซักประวัติ
• การตรวจร่างกาย เช่น การจับชีพจร การฟังเสียงการเต้นของหัวใจ
• การตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ (Electrocariogram : ECG,EKG)
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Troponin I, Troponin T, CK-MB, SGOT, SGPT, LDH)
• การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (CXR)
• การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography)
• การเดินสายพาน (Exercise Stress Test : EST)
• การตรวจสวนหัวใจ หรือการฉีดสี (Coronary Angiogram : CAG)
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (STEMI)
• การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Anti-Thrombolytic)
• การรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูน ถ่างขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวด ((Percutaneous Coronary Intervention : PCI with Stent)
• การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด (Coronary Artery Bypass Graft: CABG)
การรักษาด้วยยา Streptokinase
มีผลข้างเคียงสูง ทำให้เลือดออกมากในจุดสำคัญ
การพยาบาลก่อนได้รับยา Streptokinase
การซักประวัติก่อนให้ยาเป็นสิ่งสำคัญมาก
โดย จะมีข้อห้ามใช้ยาอย่างเด็ดขาด และข้อห้ามที่ผ่อนผันได้ ดังนี้
ข้อห้ามใช้อย่างเด็ดขาด
เคยเป็นอัมพาตเกิดจากเลือดออกในสมอง
เคยเป็นเนื้องอกในสมอง
เคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ , บาดเจ็บรุนแรงหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ใน 2 สัปดาห์
เจ็บแปล๊บอย่างรุนแรง ทะลุไปข้างหลัง (สงสัยเอออร์ตาปริแตก)
ข้อห้ามที่ผ่อนผันได้
เคยได้รับ SK ในระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมาหรือมีประวัติแพ้ SK
ตั้งครรภ์
เคยทำ CPR (Cardio-pulmonary resuscitation) นานกว่า10 นาทีหรือ บาดเจ็บจากการทำCPR
BP > 180/110 mmHg (วัดซ้ำ 2 ครั่ง)
มีปัญหาเลือดออกผิดปกติ/ ได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
การพยาบาลขณะได้รับยา Streptokinase
เริ่มให้ยา Streptokinase ทีผสมในสารน้ำ 100 ซีซี ด้วย infusion pump อัตราการไหล 100 ml/hr ชั่วโมง
ควรหยุดยา Nitroglycerine ทุกชนิดในระหว่างที่ได้ยา Streptokinase เพราะจะเสริมฤทธิ์ทำให้เพิ่มความรุนแรงในการเกิดความดันโลหิตต่ำ
หมั่นสอบถามอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ประเมินระดับความรู้สึกตัวเป็ นระยะ ๆ เพื่อประเมินภาวะเลือดออกในสมอง
ตรวจวัดและ บันทึกความดันโลหิต ชีพจร และคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ ระดับ O2 Sat อย่างน้อยทุก 5 นาที ระหว่างที่ได้รับยา Streptokinase
เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากผลข้างเคียงของ Streptokinase ได้แก่ มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก อาการการแพ้ร่วมกับความดันโลหิตต่ำลงให้ปรับลดขนาดของยา Streptokinase พร้อมทั้งรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือโดยให้สารน้ำชนิด 0.9 % NSS 100-200 ml ทางหลอดเลือดด า ภายใน 15 -20 นาที ถ้าความดันโลหิตยังต่ำแพทย์มักจะเริ่มให้ยา Dopamine หยดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มความดันโลหิต
เฝ้าระวังสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา เนื่องจากผลของยาอาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้ าหัวใจที่อันตราย เช่น VF, VT
เตรียมเครื่อง Defibrillation เมื่อเกิด VF, VT และช่วยแพทย์ท า Defibrillation และ CPR
การพยาบาลหลังจากฉีดสีสวนหัวใจ
ให้นอนหงายราบห้ามยกศีรษะ เหยียดขาที่ท าผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
กรณีทำผ่าตัดที่แขนไม่ต้องนอนราบ แต่เน้นย้ำเรื่องการเหยียดข้อมือให้ตรงห้ามงอแขน ไม่นอนทันใน 24 ชม.แรก
ประเมิน 6P ทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ Pain : ปวดรุนแรงทันทีทันใด ชั่วระยะเวลา หนึ่ง; Paresthesia : เป็นเหน็บ; Pallor: ซีด; Poikilothermia : เย็น (cold sensation); Paresis: ขยับขาได้น้อยลงจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ; Pulselessness : คลำชีพจรในตำแหน่งที่ต่ำกว่าการอุดตันไม่ได้ หากทำที่ขาหนีบให้ ประเมินชีพจรส่วนปลาย (หลังเท้า)
ประเมิน Bleeding บริเวณแผลผ่าตัด
ประเมินสัญญาณชีพ ดังนี้ Post-operative Vital Signs: Every 15 minutes x 4, Every 30 minutes x 2, Every 1 hour x 4 then every 4 hours (if stable) until 24 hours post-op.
Cardiac arrest
PEA (Pulseless electrical activity)
อาการ
คลําไม่พบชีพจร
ตาค้าง
หมดสติเรียกไม่รู้ตัว
การพยาบาล
ทํา CPR
รีบเรียกทีมมาช่วย
2.ทำการกดนวดหน้าอก
3.ให้ยา Adrenaline
หาสาเหตุของหัวใจหยุดเต้น
ผู้ป่วยหัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
หัวใจเต้นช้า น้อยกวา่ 60 ครั้ง/นาที
หน้ามืดเป็นลม หมดสติไปชั่วขณะ แต่ยังคลําชีพจรได้
การรักษาและการพยาบาลที่สําคัญ
EKG 12 lead และให้Atropine
Ventricular fibrillation
สาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว จึงไม่แรงพอที่จะมีชีพจรและความดันโลหิต
การพยาบาล
ทํา CPR ร่วมกับ Defibrillation
นางสาวนิรามัย สีลาคำ เลขที่ 39 62111301041