Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสาระสำคัญการพยาบาลผู้ใหญ่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด, นางสาวภัชราภรณ์…
สรุปสาระสำคัญการพยาบาลผู้ใหญ่
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
Major concepts
Congestive Heart Failure (CHF)
Left sided heart failure
Paroxysmal Noctumal Dyspnea : นอนหลับไปแล้วหลายชั่วโมงแล้วตื่นขึ้นมานั่งหอบ
หายใจหอบเหนื่อย จากมีการคั่งของเลือดและน้ำที่ปอด
นอนราบไม่ได้ (Orthopnea)
การไอ เป็นอาการเด่นชัดที่พบบ่อย เกิดจากการมีเลือดและน้ำคั่งในปอด ฟังเสียงปอดจะมีเสียง Crepitation
อ่อนเพลีย(Fatigue) จากการที่เซลล์ของร่างกายได้รับเลือดและออกซิเจนลดลง
ความดันโลหิตลดลง จากการที่หัวใจบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ
สมองขาดออกซิเจน มีอาการกระสับกระส่าย ความจำเสื่อม เป็นลม
อาการเจ็บหน้าอก พบได้ในกรณีที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
อาการทางระบบไต ปัสสาวะลดลง
ผอมและขาดสารอาหาร(Cachexia and malnutrition) จากการที่เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
ผิวซีด/ เขียว จากการขาดเลือดไปเลี้ยง
Right sided heart failure
การบวม(Edema) ตามส่วนต่างๆ เท้า ข้อเท้า ก้นกบ การบวมอาจกดบุ๋ม(Pitting Edema)
ตับโต จากการที่มีเลือดคั่งในหลอดเลือดในตับ
ท้องมาน(Ascites)
หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
อาการทางระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะแน่นจุกบริเวณใต้ชายโครงขวา
หรือบริเวณลินปี่ เป็นผลมาจากตับโตจากการมีน้ำคั่ง
หลักการพยาบาลที่สำคัญ
ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ลด Afterload
ให้ยาขยายหลอดเลือด
NTG/ Hydralazine/ ACEI
ลด Preload
จำกัดน้ำ/เกลือ/Na
ให้ Lasix : S/E = K ต่ำ
Fowler's position
นั่งห้อยขา
ให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ
Digoxin : เพิ่ม SV,CO ลด HR
จับ P เต็มนาที >60
Digoxin toxic : > 2 ng ทำลายไต
Acute Coronary Syndrome (ACS)
อาการ
เจ็บหน้าอก ร้าวแขนซ้าย เหงื่อแตก ใจสั่น วูบ
Lab
CK-MB สูงขึ้น, TNT > 0.1, TNI > 1.5
การพยาบาล
MONA
M : Morphine
O : Oxygen
N : Nitroglycerine
A : ASA or Plavix
ลด Chest pain
ให้ออกซิเจน
EKG 12 lead
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
SK, PCI, CABG
ส่งเสริมการปรับตัว/การดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
ก่อนรับยา Streptokinase
ซักประวัติก่อนให้ยา
สำคัญมาก
ข้อห้ามใช้อย่างเด็ดขาด
เคยเป็นอัมพาตจากเลือดออกในสมอง
เคยเป็นเนื้องอกในสมอง
เคยได้รับผ่าตัดใหญ่, บาดเจ็บรุนแรง, ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะใน 2 สัปดาห์
เจ็บแปล๊บอย่างรุนแรง ทะลุไปข้างหลัง (สงสัยเอออตาร์ปริแตก)
ข้อห้ามที่ผ่อนผันได้
เคยได้รับ SK ในระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา หรือมีประวัติแพ้ SK
ตั้งครรภ์
เคยทำ CPR นานกว่า 10 นาที/ บาดเจ็บจากการทำ CPR
BP > 180/110 mmHg (วัดซ้ำ 2 ครั้ง)
มีปัญหาเลือดออกผิดปกติ/ ได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
Valvular Heart Disease (VHD)
อาการ
เหนื่อยง่าย
เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด
หัวใจโต เต้นผิดจังหวะ/ล้มเหลว
หลักการพยาบาลที่สำคัญ
ป้องกันลิ้นหัวใจเทียมติดเชื้อ/ATB
สังเกตอาการน้ำเกิน
หลีกเลี่ยงที่แออัด
ตรวจฟันทุก 6 เดือน
ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อเนื่อง coumadin/warfarin
สังเกตอาการเลือดออกง่าย
ติดตาม INR keep 2-4
หลีกเลี่ยงอาหาร Vit K สูง โสม กระเทียม แปะก๊วย
ห้ามทานยา 2 เท่า
เมื่อลืมกินยาไม่เกิน 12 ชม. ให้กินทันที
Cardiac Pacemaker (Pacemaker)
แบ่งเป็น
ชนิดชั่วคราว(Temporary)
ชนิดถาวร(Permanent)
หลักการพยาบาลที่สำคัญ
ถ้าชีพจรเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า หรือมากกว่า 5-10 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์
ไม่ทำแผลทุกวัน
ช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ระวังแผลเปียก
ไม่ควรกางแขนเกิน 90 องศา เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
สังเกตอาการที่ต้องมาพบแพทย์ทันที่ เช่น เป็นลม วูบ อ่อนเพลีย
ช่วยลดความคิดวิตกกังวลและให้กำลัง
ระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้าอื่นๆที่มีความถี่สูง
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจชนิด PPM(Permanent pacemaker)
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย
มีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและ
คั่งอยู่ใต้ผิวหนัง หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
มีอาการแพ้ยาที่ได้รับระหว่างการใส่เครื่อง
หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าหลุดเลื่อนจากตำแหน่งเดิม
มีลมหรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด Pneumothorax/ Hemothorax
เกิดลิ่มเลือดอุดตันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะอื่น ซึ่งพบได้น้อยมาก
เสียชีวิต (โอกาสเกิดน้อยมาก)
การพยาบาลใน 24 ชม.แรก
ติดตามการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบชั่วคราวให้มีการทำงานปกติตลอดเวลา
ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจและจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการจับชีพจร
ประเมินสัญญาณชีพ โดยวัดความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการ หายใจทุก 1 ชั่วโมงหรือตามความเหมาะสม
ประเมินอาการของภาวะเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง เช่น ผิวหนังเย็น ซีด ปัสสาวะออกลดลง ความดันโลหิตต่ำ เจ็บหน้าอก ระดับ การรู้สึกตัวลดลง หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็ นลม หมดสติ เป็นต้น
ประเมินอาการ ลมรั่วหรือมีเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด Pneumothorax/ Hemothorax มีโอกาสพบบ่อย ซึ่งจะพบ
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยมากขึ้นแบบเฉียบพลัน พยาบาลควร เตรียมอุปกรณ์ใส่ ICD ให้พร้อมเพื่อระบายลมรั่วในปอด
การพยาบาลใน 7 วันแรก
รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบตามแพทย์สั่ง
ใน 7วันแรก ไม่ให้ยกแขนด้านที่ใส่เครื่อง โดยจะมีสายคล้องแขนไว้ตลอดเวลา
แขนแนบลำตัวไม่กางไหล่ จนมาเปิดแผล พบแพทย์เมื่อครบกำหนด 1 สัปดาห์
7วัน ถึง 1เดือน กางแขนระดับไหล่
มากกว่า 1เดือน ยกเหนือไหล่ได้
งดใส่เสื้อสวมหัว (ใส่เสื้อแบบติดกระดุมหน้า)
ช่วงแรกที่แผลยังปิดไม่สนิท จะปิดแผ่นกันน้ำ โดยห้ามแกะเองเด็ดขาด
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม เหนื่อยหอบผิดปกติ สะอึก ตลอดเวลา ควรรีบแจ้งแพทย์พยาบาล
Shock
Hypovolemic shock
สาเหตุ
เสียเลือด เสียน้ำ เสียพลาสม่า
อาการ
ความดันโลหิตตก
ชีพจรเบาเร็ว
เหงื่อออก ตัวเย็น
หายใจเร็ว
กระหายน้ำ ปากแห้ง
Cyanosis, cutis marmorata
การรักษา
ให้สารน้ำและอิเล็คโตไลท์ ชดเชยที่เสียไป
ให้เลือดทดแทน
Cardiogenic shock
สาเหตุ
การสูญเสียประสิทธิภาพในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
Myocardial infarction
Myocarditis
Cardiomyopathy
Distributive shock
Anaphylactic shock
สาเหตุ
เป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
ยา
อาหาร
แมลง
อาการ
ผิวหนังมีผื่นแดงเป็นลมพิษ
หายใจมีเสียง Stridor
ความดันโลหิตต่ำ
หายใจลำบาก เสียงหายใจมี Wheezing และมี Cyanosis
อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย ตะคริว
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีเลือดออกทางช่องคลอด
Septic shock
สาเหตุ
ได้รับ Endotoxin ของเชื้อ ทำให้มีหลอดเลือดขยาย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
Neurogenic shock
สาเหตุ
ปวดอย่างรุนแรง
ภาวะเครียดทางอารมณ์
การบาดเจ็บของไขสันหลังส่วนบนถัดจากส่วนนอก
ได้รับยาเกินขนาด
ได้รับยาทางไขสันหลังในระดับสูง
Hypoglycemia
การประเมินผู้ป่วยในภาวะช็อก
ซักประวัติ
ข้อมูลทางคลินิก
การตรวจ LAB
EKG Arrhythmia
และ Cardiac arrest
ผู้ป่วยหัวใจเต้นช้า
(Bradycardia)
หัวใจเต้นช้า น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ร่วมกับมีอาการร่วมกับมีอาการหน้ามืดเป็นลม หมดสติไปชั่วขณะ แต่ยังคลำชีพจรได้ การรักษาและการพยาบาลที่สำคัญ คือ EKG 12 lead และให้ Atropine
Ventricular Fibrillation
EKG ชนิดนี้มักมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจห้องล่างเต้น สั่นพลิ้ว จึงไม่แรงพอที่จะมีชีพจร
และความดันโลหิต อาจมีรูปร่าง หลากหลายต้องให้การช่วยเหลือโดยการทำ CPR ร่วมกับ Defibrillation
Pulseless Electrical Activity
(PEA)
EKG ชนิดนี้บางครั้งมีหน้าตาเหมือนปกติแต่จะพบอาการแสดงของผู้ป่วยที่ผิดปกติ เช่น ตาค้าง หรือหลับไป หมดสติเรียกไม่รู้ตัว คลำไม่พบชีพจร ซึ่งหมายถึง หัวใจหยุดยังมีการส่งกระแสไฟฟ้าแต่ไม่มีประสิทธิภาพพอให้เกิดชีพจร
ต้องทำการช่วยเหลือโดย CPR
ขั้นตอน CPR
1.รีบเรียกทีมมาช่วย
2.ทำการกดนวดหน้าอก
3.ให้ยา Adrenaline ตามแผนการรักษา
4.หาสาเหตุของหัวใจหยุดเต้น
นางสาวภัชราภรณ์ หนูรอด
เลขที่ 65 (62111301067)
ชั้นปี 2 รุ่น 37