Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต, Tobacco/Prescription Drugs/Illicit…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก
โรคออทิสติก (Autistic Disorders)
ฝึกพ่อแม่ให้มีความสามารถกระตุ้นพัฒนาการตามขั้นตอน
พฤติกรรมบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ และพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกให้ช่วยตนเองในชีวิตประจำวัน ฝึกเปล่งเสียง
ฝึกพูดโดยนักอรรถบำบัด
การศึกษาพิเศษ
ในเด็กที่ความสามารถสูง และ สติปัญญาดีอาจเรียนร่วมกับเด็กปกติได้
การรักษาทางยาในเด็กที่มีสมาธิสั้น ชัก อาการซึมเศร้า
ฝึกอาชีพ
ต้องรักษากฎเกณฑ์ เงื่อนไขอย่างเคร่งครัดและมีการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
โรคอันธพาล (Conduct Disorders)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูแก่ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนในการจัดการปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก
ส่งเสริมความตระหนักรู้ในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนและรับรู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยใช้หลักพฤติกรรมบำบัด เช่น การให้แรงเสริมทางบวกและทางลบ
เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจ ความโกรธ เป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย เช่น เล่นกีฬา และเล่นดนตรี เป็นต้น
ส่งเสริมความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง การพัฒนาเอกลักษณ์แห่งตนอย่างเหมาะสมด้วยการเสริมสร้างประสบการณ์ความสำเร็จ การประเมินศักยภาพของตนเอง และการตั้งเป้าหมายชีวิต
ภาวะปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
สอน แนะนำ หรือให้คำปรึกษาครอบครัวในเรื่องโรค แนวทางการดูแลเด็กปัญญาอ่อนให้ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแล
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นทักษะด้านร่างกาย และทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตราย รวมทั้งการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในทักษะด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
การให้คำปรึกษาครอบครัวในการระบายความรู้สึก สร้างเสริมกำลังใจเพื่อประคับประคองและช่วยวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคล เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล โดยระบายความรู้สึกด้วยการเล่น
การทำกายภาพบำบัด เนื่องจากเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายช้ากว่าวัย และบางส่วนก็มีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลางด้วย
การทำกิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
การฝึกพูด เริ่มจากการฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง การออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 จึงจะได้ผลดีที่สุด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับคนปกติ และได้มีโอกาสเรียน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เริ่มที่อายุ 15-18 ปี เป็นสิ่งจำเป็นต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperativity Disorders)
ให้ความรู้ครอบครัวและส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลเด็ก
การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กที่มีสมาธิสั้นมักมีความบกพร่องในการควบคุมพฤติกรรมตนเอง การปรับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเองและปรับตัวได้ดีขึ้น
การใช้พฤติกรรมบำบัดเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยทั้งทางบ้านและโรงเรียนควรมีบรรยากาศที่เข้าใจเป็นกำลังใจให้เด็ก ให้ความสนใจ ชื่นชม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หากเด็กทำผิดโดยไม่ตั้งใจสมควรใช้คำพูดปลอบใจ มีท่าทีเห็นใจ แนะนำวิธีแก้ไข ไม่ประจาน และไม่ลงโทษด้วยความรุนแรง หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมควรปราม ตักเตือนอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้แก้ไขด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และทำให้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลงหรือหมดไป
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ไว้วางใจในตัวพยาบาลและมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
การให้คำแนะนำสำหรับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเด็กทั้งในด้านการเรียนและการปรับตัวที่โรงเรียน
การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
ผู้ติดสารเสพติด (Substance-related Disorders)
Alcohol
ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ
เตรียมให้ผู้ป่วยพร้อมในการกลับเข้าสู่สังคมไม่กลับไปดื่มสุราซ้ำ
ระยะหลังการรักษา
ให้ผู้ป่วยคงอยู่ในสังคมได้โดยไม่ดื่มหรือมีการดื่มลดลง
ระยะถอนพิษ
เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุ
เฝ้าระวังภาวะชักที่อาจเกิดใน 24 ชั่วโมงหลังหยุดดื่ม
เฝ้าระวังการสำลักอาหารและน้ำ
เฝ้าระวังการเสียน้ำจากการอาเจียนและถ่ายเหลว
เฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในกรณีเกล็ดเลือดต่ำ
ป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำ
ระยะแรก
ค้นหาผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและให้การดูแลรักษาเบื้องต้น
ผู้ที่มีความผิดปกติทางการกิน
Anorexia
ให้กำลังใจ
ให้การพยาบาลด้วยความเข้าใจ ยอมรับความคิดและพฤติกรรม
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วม
ดูแลให้ได้รับ 1,500-2,000 Kcal/day แบ่งเป็นมื้อเล็กๆแต่บ่อยครั้ง
หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องรูปร่าง น้ำหนัก
ดูแลให้ได้รับยาเพิ่มความอยากอาหาร เช่น Cyproheptadine
สร้างสัมพันธภาพ
Bulimia
กำหนดเป้าหมายในการรักษาร่วมกัน
สร้างสัมพันธภาพ
เข้าใจ ยอมรับ ความคิดพฤติกรรมของผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ความผิดปกติ
ให้ครอบครัวมีส่วนร่วม
ดูแลอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ซึมเศร้า
2.เสริมแรงทางบวก
ผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ
Sexual function disorder
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดความวิตกกังวล
แนะนำการพูดคุยสื่อสารกันในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ
ฝึกหดและคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศและใช้สารหล่อลื่นช่วย
เพิ่มการกระตุ้นทางเพศ
แนะนำกิจกรรมทางเพศที่ไม่สอดใส่ และนวดให้อีกฝ่ายเพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและกระตุ้นการรับรู้สัมผัส
1.ให้ข้อมูลและความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง แก้ไขความเชื่อที่ผิด
Gender identity disorder
ส่งเสริมพัฒนาการทางเพศปกติ (ในเด็กและวัยรุ่น)
Ego syntonic ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้ ให้คำปรึกษาการปรับตัว การแสดงออก
1.หากตรวจพบโรคทางกายหรือความผิดปกติของพัฒนาการทางเพศ ต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาต่อไป
Ego dystonic ให้คำปรึกษาเช่นเดียวกับ Ego syntonic เพิ่มเรื่องการทำความเข้าใจตนเอง เลือกและยอมรับเพศตามสภาพที่เหมาะสมกับตนเอง
Gender dysphoria ที่ต้องการแปลงเพศ จิตแพทย์จะให้ความรู้เรื่องโรคและการแปลงเพศ และให้ทดลองใช้ชีวิตแบบเพศใหม่ 1 ปี ระหว่างนี้กินฮอร์โมนเพศไปด้วย หากไม่เปลี่ยนใจส่งต่อจิตแพทย์คนที่ 2 เพื่อวินิจฉัยโรคทางจิตเวช หากไม่มีปัญหาจึงปรึกษาแพทย์ผู้ผ่าตัดแปลงเพศ
Tobacco/Prescription Drugs/Illicit Substances
กลุ่มพร้อมจะเลิกบุหรี่เพื่อให้ผู้ป่วยพร้อมสำหรับการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง
สร้างแรงจูงใจ
สนับสนุน
ให้คำปรึกษาและความรู้
กลุ่มเลิกได้แล้ว 6 เดือนขึ้นไปเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่อย่างถาวร
สนับสนุน
ให้คำปรึกษา
สร้างแรงจูงใจ
กลุ่มกำลังเลิกบุหรี่และเลิกได้ภายใน 6 เดือนเพื่อให้ผู้ป่วยหลุดพ้นจากอาการขาดนิโคตินและไม่กลับไปสูบบุหรี่ซ้ำ
สนับสนุน
ให้คำปรึกษา
สร้างแรงจูงใจ
กลุ่มไม่คิดจะเลิกสูบเพื่อให้ผู้ป่วยเริ่มคิดหรือคิดถึงการเลิก
สร้างความตระหนัก
ให้คำปรึกษา
เสริมสร้างแรงจูงใจ
กลุ่มเริ่มคิดถึงการเลิกสูบแต่ยังไม่พร้อมที่จะเลิกเพื่อให้ผู้ป่วยคิดถึงการเลิกสูบ
สร้างความตระหนัก
ให้คำปรึกษา
เสริมสร้างแรงจูงใจ