Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, image, image, image, image, image…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบน (URI)
โรคหวัด (Common cold)
หมายถึง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน บริเวณโพรงจมูกและอาจลามมาถึงช่องปาก
อาการแสดง
เยื่อบุจมูกบวมแดง อาจพบเยื่อบุตาแดง ต่อม น้ำเหลืองที่คอโต
การรักษา
การลดไข้
การเช็ดตัว
ยา เช่น paracetamol
ระมัดระวังการใช้ibuprofen โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคไข้เลือดออก ระบาด
การพยาบาล
ลดไข้ โดยการการเช็ดตัว กระตุ้นให้ดื่มน้ำ
การระบายน้ำมูก
ลดอาการไอ กระตุ้นดื่มน้ำอุ่น
ดูแลให้พักผ่อน
โรคคออักเสบ / ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน(Acute pharyngitis/ tonsillitis/ pharyngotonsillitis)
อาการที่สำคัญ
ไข้และเจ็บคอแต่ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกอาการ ได้จะมาพบด้วยอาการน้ำลายไหลผิดปกติหรือไม่รับประทานอาหาร
การรักษา
การลดไข้ในกรณีมีไข้ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้
การบรรเทาอาการเจ็บคออาจให้เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute rhinosinusitis)
โดยทั่วไปเด็กที่เป็นโรคหวัดจากเชื้อไวรัสจะมีการอักเสบเข้าไปในโพรง ไซนัสด้วยอยู่แล้ว ทำให้บางคนเรียกโรคหวัดว่าเป็น acute viral rhinosinusitis
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบต่อเนื่อง
มีน้ำมูกและไอที่ไม่ดีขึ้นติดต่อกันนานกว่า 10 วัน5 โดยน้ำมูกมักข้นเหลืองแต่อาจมีสีขาวหรือใสก็ได้
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบรุนแรง
มีไข้สูงกว่า39 องศาเซลเซียส และน้ำมูกข้นเป็นหนองโดยเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และเป็นติดต่อกัน 3-4 วัน
โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Acute otitis media)
อาการที่สำคัญ คือ การปวดหูในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้อาจมีดึงหู ทุบหูร่วมกับ ร้องกวน งอแงผิดปกติหรือไม่ยอมนอน
ส่วนเด็กโตอาจมาด้วย อาการปวดหูเฉียบพลัน กินได้น้อย หรือปวดศีรษะ
การพยาบาล
เมื่อเด็กมีอาการปวดหู หูอื้อ และมีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล
ในขณะที่มีหูน้ำหนวกไหลหรือเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
ไม่ซื้อยาหยอดหูใด ๆ มาใช้เอง
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง (LRI)
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute laryngotracheobronchitis, viral croup)
ผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัด เช่น น้ำมูก ไอเล็กน้อย และไขต่ำๆ
ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยอาการไอเสียงก้องจะหายไปใน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้น อาการต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะพร่องออกซิเจน, ภาวะหายใจล้ม เหลว, ภาวะขาดน้ำ, bacterial tracheitis, ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema), มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด, หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต68
การป้องกัน
หลีก เลี่ยงไม่ให้เด็กเล็กอยู่ในที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวมีอาการหวัด หรือติดเชื้อในระบบหายใจควรให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกและล้างมือ
ทุกครั้งก่อน สัมผัสเด็ก
การพยาบาล
เมื่อทราบว่าเด็กเป็น โรคครูป ให้เฝ้าดูอาการ 1-2 วันแรกอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตอาการป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตัน
ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ
เมื่อเด็กมีไข้สูง กระสับกระส่าย หายใจเร็ว หายใจแรง หายใจลำบาก นอนไม่ได้ ต้องนั่งอยู่ตลอดเวลา
ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (Acute epiglottitis)
ผู้ป่วยมักมีไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก น้ำลายไหล พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย
อาการหายใจ เสียงดัง (stridor) มักพบในระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการรุนแรง หากพบให้ระวัง ว่าอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ได้ (complete airway obstruction)
การรักษา
การให้ยาต้านจุลชีพ ควรให้ยาที่เหมาะ สม และรวดเร็วที่สุด โดย
พิจารณาให้ยากลุ่ม cephalosporin
ยังไม่มีการศึกษาชัดเจนถึงระยะเวลาในการให้ยา แต่ใน ทางปฏิบัติควร
ให้ยาเข้าหลอดเลือดดำจนผู้ป่วยอาการดีขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบในระบบหายใจ ได้แก่ ปอดอักเสบ, ปอด
แฟบ, pulmonary edema, ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
หลอดลมคอติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial tracheitis)
ผู้ป่วยมักจะเริ่มด้วยอาการ croup ไอเสียงก้อง เสียงแหบ ต่อมามีไข้สูง ไอ มีเสมหะจำนวนมากหายใจลำบาก ตรวจพบ stridor ช่วงหายใจเข้า หรือทั้งเข้า และออก อาจเกิดขึ้นทันที หรือหลังจากอาการ croup ดีขึ้นแล้ว
การรักษา
การรักษาที่สำคัญมากและต้องพิจารณาเร่งด่วน คือ การดูแลทางเดิน หายใจให้เปิดโล่ง
ควรให้ออกซิเจนและสารน้ำให้เพียงพอ ติดตาม อาการใกล้ชิด
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูกนำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน
การรักษา
การดื่มน้ำมากๆ อาจให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อทำให้ชุ่มคอ
ไม่แนะนำให้ใช้ยากด อาการไอในผู้ป่วยเด็ก (cough suppression) เพราะทำให้ เกิดอาการง่วงซึม เสมหะแห้งเหนียวมากขึ้น และอาจเป็นอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน (standard precaution) และการป้องกันเชื้อโรคที่ติดต่อโดยการสัมผัสทั้งทาง ตรงและทางอ้อม (contact precaution)
การได้รับวัคซีนที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อ
ปอดบวม (Pneumonia)
มีอาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน ในรายที่เป็นมากอาจ ตรวจพบริมฝีปากเขียวหรือหายใจมีเสียง grunting
ฟังเสียงปอด มักได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อาจได้ยิน เสียง wheeze ร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นปอดบวมจากไวรัสหรือ mycoplasma หรือได้ยินเสียง bronchial breath sound
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของปอดบวม
น้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (parapneumonic effusion or empyema thoracis)
ฝีในปอด (lung abscess)
การป้องกัน
เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบหายใจ
เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่และ
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน
น้ำในเยื่อหุ้มปอดจากการติดเชื้อ (Parapneumonic effusion)
ระยะที่ 1 exudative stage มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด
ระยะที่ 2 fibrinopurulent stage มี fibrin สะสมในเยื่อหุ้มปอด
ระยะที่ 3 organisational stage มี fibroblast มาสะสมที่เยื่อหุ้มปอด และภายในน้ำทำให้เยื่อหุ้มปอดหนาตัวขึ้น
การรักษา
ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ให้ออกซิเจน หากมีอาการหอบเหนื่อยหรือ SpO2 น้อยกว่า 92%
โรคหอบหืดในเด็ก(Asthma)
มีภาวะการอุดกั้นของหลอดลม
ภาวะการอุดกั้นของหลอดลมดังกล่าวอาจจะหายไปได้หรือดีขึ้นเอง หรือหลังจากได้รับการ รักษา (reversible airway obstruction)
การรักษา
ให้ออกซิเจน
ให้ยาขยายหลอดลม ให้ผลเร็วกว่าการฉีด ถ้าไม่สามารถพ่นยาได้อาจใช้ยาฉีด เช่น adrenalin, aminophylline
เสียงหวีด (Wheeze)
เสียงหวีด (wheeze) เป็นเสียง high-pitches, soft musical sound พบ ได้บ่อยในเด็กทุกช่วงอายุ โดยเกิดจากลมหายใจซึ่งผ่านทางเดินหายใจใน ช่องทรวงอก (intrathoracic airway) ที่แคบลง ทำให้ลมที่ผ่าน มีความเร็วสูง กว่าปกติ (turbulent flow) เกิดเป็นเสียงหวีด
หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchiolitis)
เป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อ ทำให้มีการอักเสบของหลอดลมฝอย (bronchiole) เกิดการบวม และหลุดลอกของเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ส่งผลให้การระบายเสมหะไม่มี
การรักษา
การให้ออกซิเจน ควรพิจารณาให้ออกซิเจน เมื่อ SpO2 < 95%
การให้สารน้ำ (hydration) การให้สารน้ำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำมีความสำคัญ เบื้องต้นแนะนำ
การดูดน้ำมูก ไม่ควรดูดน้ำมูกโดยการใส่สายดูดลึกเกินไป และดูดน้ำมูกตามความจำเป็น
เสียงหวีดที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัส (Viral induced wheeze)
อาการหรืออาการแสดงที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะซึม, พูดเป็นคำๆ, ระดับออกซิเจนแรกรับต่ำกว่าร้อยละ 92 หรือ ฟังเสียงปอดได้เบา หรือไม่ได้ยิน
อาการไม่ดีขึ้นหรือยังหายใจเร็วหลังจากพ่นยาขยายหลอดลม 1-2 ครั้ง
มีภาวะขาดน้ำชนิดปานกลางรุนแรงร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี
การส่งเสริมประสิทธิภาพการหายใจในเด็ก : การทำกายภาพบำบัดทรวงอก
การจัดท่าเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง
การเคาะ ใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือ ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม ชิดกัน ที่เรียกว่า Cupped Hand
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ
ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังอาหาร
การจัดท่าเคาะปอด
ท่าที่ 1 ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก
ท่าที่ 2 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัด เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่
ท่าที่ 3 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย
ท่าที่ 4 ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาจากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย
ท่าที่ 5 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมา เล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย
ท่าที่ 6 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง จัดท่าศีรษะต่ำ 30o นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก
ท่าที่ 7ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง จัดท่าศีรษะต่ำ 30°นอนคว่ำ เคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า
การพยาบาลเด็กป่วยที่ได้รับออกซิเจน(Oxygen therapy)
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (PaO2 ในเลือด < 60 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 90% หรือทำรกที่มี PaO2 ในเลือด < 50 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 88% ขณะหายใจในอากาศธรรมดาหรือ room air)
ผู้ป่วยที่มีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)
ผู้ป่วยหลังการดมยาสลบ โดยให้ในระยะเวลาสั้นๆ
การเตรียมผู้ป่วย
ควรประเมินผู้ป่วยก่อนกลับบ้านว่าควรได้รับปริมาณออกซิเจนน้อยที่สุดเท่าใดจึงจะประหยัดและ เพียงพอ
โดยการติดตามวัดค่า SpO2 ด้วยเครื่อง pulse oximeter อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ให้ออกซิเจนทาง nasal cannula อย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง/วัน
. การเตรียมครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้และดูแลเครื่องผลิตออกซิเจนและถังออกซิเจน
การติดตามผู้ป่วย
การลดออกซิเจน
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโรค การดูแลรักษาทั่วไป
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานยาตามแผนการรักษา
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจรักษาตามนัด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม