Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) - Coggle Diagram
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum Hemorrhage)
ความหมาย
การเสียเลือดผ่านทางช่องคลอดภายหลังทารกคลอด มีจำนวนปริมาณเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตรเมื่อคลอดทางช่องคลอด หรือเมื่อมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือดร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ1ของน้ำหนักตัว
ชนิดของการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก(Early postpartum hemorrhage)
การตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง(Late postpartum hemorrhage)
การตกเลือดที่เกิดขึ้นภายหลัง 24 ชัวโมงหลังคลอดไปจนถึง
6 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุ
สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
2.การติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
7.มดลูกไม่เข้าอู่ ( Subinvolution)
4.มีการอักเสบของปากมดลูก ช่องคลอดและอวยัวะสืบพันธุ์ภายนอก หรือแผลที่เย็บ
5.มีเนื้องอกในโพรงมดลูก
3.มีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก
6.ไข่ปลาอุก
1.มีเศษรกค้าง
สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
Trauma : การฉีกขาดของปากมดลูก ช่องทางคลอด ฝีเย็บและบริเวณท่อปัสสาวะ
Tone : มดลูกหดรัดตัวไม่ดี Uterine atony
Thrombin : การแข็งตัวของเลือดผิดปกจิก เช่น โลหิตจาง โรคที่เกิดจากการขาดเกร็ดเลือด
Tissue : มีรกค้างหรือเศษรกค้าง
อาการและอาการแสดง
ระยะแรก
3.คลํามดลูกอาจพบว่าอยู่เหนือระดับสะดือหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติเนื่องจากมีเลือดขังอยู่ภายใน ในรายที่รุนแรงมาก มดลูกจะอ่อนปวกเปียก
2.มีอาการของการเสียเลือด ได้แก่ กระสับกระส่าย ซีด ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตตํ่า เหงื่อออก ใจสั่น ตัวเย็น รู้สึกกระหายนํ้า ระยะแรกจะหายใจเร็ว ต่อไปจะหายใจช้าลง มีอาการหนาว ถ้าอาการรุนแรงอาจช็อก และตายได้
1.มีเลือดออก ไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
ระยะหลัง 24 ชม
มีเลือดออกทางช่องคลอด มักจะเกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบใน
ระหวางวันที่ 4-9 หลังคลอด ส่วนอารอื่นๆ เหมือนระยะแรก
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด โรคประจำตัวอย่างละเอียด เช่น โรคโลหิตจาง ประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดหรือไม่
2.การคาดคะเนหรือการตวงวัดจํานวนเลือดที่ออกทางช่องคลอดภายหลังทารกเกิด
3.ตรวจร่างกายดูอาการแสดงของการเสียเลือด เช่น สัญญาณชีพได้แก่ ชีพจรเบาและความดันโลหิตตํ่า หรือหน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น มีอาการช็อก
ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูก ตรวจดูการฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก ตรวจดูบางส่วนของรกที่อาจจะค้างอยู่ ตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด
การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด (โดยการทํา Active management of the Third Stage of Labor )
รอ 1-3 นาทีแล้วใช้ clamp หนีบสายสะดือ แล้วตัดสายสะดือ (กรณีทำรกต้องการการช่วยเหลือ
เร่งด่วนไม่ต้องรอให้หนีบและตัดสายสะดือได้เลย)
ให้ oxytocin โดยหลังทารกคลอดไหล่หนา ถ้ามั่นใจว่ามีทารกคนเดียว ให้ฉีด oxytocin เข้ากล้ามเนื้อบริเวณแขนหรือหน้าขา
ทําคลอดรกโดยวิธี controlled cord traction
การพยาบาล
บันทึกสัญญาณชีพ
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะ หรือสวนให้ตามความจําเป็น
9.กระตุ้น breast feeding
ประเมินดูสาเหตุของการตกเลือด เช่น การมีเลือดออกทางช่องคลอด ลักษณะและจํานวน ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก การบวมเลือด (Hematoma) ของฝีเย็บ
คลึงมดลูก และกดไล่กอนเลือดที่อาจค้างอยู่ในมดลูก
5.ให้สารนํ้าและยาทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา
7.ดูแลให้ได้รับเลือดทางหลอดเลือดดํา ตามแผนการรักษา ช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง
6.เจาะ Hct. ตามแผนการรักษา เพื่อประเมินภาวะซีด
8.สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ซีด External และ Internal bleeding
การรักษา
รกฝังตัวแน่นผิดปกติ หรือ รกค้าง
ใหเลืออดทดแทนอย่างทันท่วงที ร่วมกับการตัดมดลูกอย่างรวดเร็ว
ล้วงรก
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony)
คลึงมดลูก
ให้ยากระตุ้น
Carbectocin (Duratocin)
misoprostol (Cytotec)
methylergonovine (Methergin)
sulprostone (Nalador)
Oxytocin
สวนปัสสาวะ
Bimanual uterine compression
ผ่าตัดมดลูก
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
ทําการเย็บซ่อมให้เรียบร้อย
เศษรกตกค้าง
ทําการขจัดเศษเนื้อเยื่อรก อาจจะโดยใช้นิ้วมือ หรือ
เครื่องมือขูดมดลูกขนาดใหญ่เพื่อลดโอกาสมดลูกทะลุ
ก้อนเลือดขังในช่องคลอด
กรีดที่ช่องคลอดแล้วควักเอาเลือด และก้อนเลือดออก