Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาไทย -…
วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ
และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
ความหมาย
แผนการศึกษาแห่งชาติ
แผนงานหลักระยะยาวในการจัดการศึกษาของชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดและบริหารการจัดการศึกษาของชาติที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วิสัยทัศน์
ภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กร โดยเน้นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ถึงจุดหมาย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
แผนกลยุทธ์ที่เพิ่มเติมจากแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อกำหนดทิศทางและขอบเขตในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงการศึกษา
โครงการศึกษา พ.ศ. 2452
จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาสูงแล้วไปศึกษาต่อในยุโรปโดยไม่ต้องเสียเวลาเตรียมที่จะไปเข้ามหาวิทยาลัย
โครงการศึกษา พ.ศ. 2456
ปรับปรุงสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษาให้มีความสัมพันธ์กัน
โครงการศึกษา พ.ศ. 2450
การศึกษาสายสามัญแยกเป็นสายสามัญและสายพิเศษ
โครงการศึกษา พ.ศ. 2458
ให้มีการจัดสอนวิชาวิสามัญในระดับมัธยมศึกษา
โครงการศึกษา พ.ศ. 2445
แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ คือ ประถม มัธยม อุดมศึกษา
แบ่งประเภทการศึกษาเป็นสายสามัญและวิสามัญ
โครงการศึกษา พ.ศ. 2464
ระดับอุดมศึกษานั้นกำหนดให้มีระดับประกาศนียบัตรซึ่งต่ำกว่าปริญญาตรี
โครงการศึกษา พ.ศ. 2441
มีการจัดประเภทการศึกษา ระบบการศึกษา ให้มีระเบียบแบบแผนในการพัฒนาการศึกษา
ขยายการศึกษาให้แพร่หลาย
ทั้งประเทศเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศให้สูงขึ้น
แผนการศึกษาชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503
รัฐมุ่งให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพเพื่อเป็นพลเมืองดี สนองความต้องการของสังคมและบุคคล
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520
เป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมต่อเนื่องกันตลอดชีวิต
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494
ต้องการให้พลเมืองได้รับการศึกษาพอเหมาะกับอัตภาพเป็นพลเมืองดี
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนา
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479
ให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อจะได้ทำหน้าที่พลเมืองตามระบอบรัฐธรรมนูญได้เต็มที่
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559)
เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องต่อเนื่องกันทั่วประเทศ
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475
ให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาเหมาะกับอัตภาพของตนพอควรแก่ภูมิปัญญาและทุนทรัพย์
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)
นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคล
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
ส่งเสริมนโยบายด้านเครือข่ายการเรียนรู้ นโยบายระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
มุ่งดำเนินการการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียนให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)
มุ่งเน้นการสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในประชาคมโลกบนฐานแห่งความเป็นไทย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
มุ่งเน้นปรับปรุงด้านคุณภาพระบบการศึกษาให้สูงขึ้นและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารก็ได้เริ่มต้นขึ้นโดยการจัดตั้งกระทรวงศึกษาธการตามโครงสร้างใหม่
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519)
มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพและการขยายปริมาณการศึกษา ตลอดจนการผลิตกำลังคนระดับต่าง ๆ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนต้องใช้ความรู้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีสังคมไทย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514)
เน้นจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงความต้องการด้านต่าง ๆ
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
กำหนดวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษามีความสอดคล้องกัน เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509)
เน้นการจัดการศึกษาภาคบังคับให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน