Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) ต่อ, นางสาวนัจมีย์ สาหลี รหัส…
การตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum Hemorrhage)
ต่อ
การวินิจฉัยการตกเลือดระยะหลัง
อาการและอาการแสดง ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบระหว่างวันที่ 7 – 14 หลังคลอด ส่วนอาการอื่นๆ คล้ายกับการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ผลของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
ภาวะซีด อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม
ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย
เกิด Necrosis ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Sheehan’ s syndrome)
อาจเกิด diabetes insipidus
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
รายที่มีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูก ให้Oxytocin แล้วทำการขูดมดลูกด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากผนังมดลูกมีลักษณะนุ่ม และทะลุได้ง่าย
รายที่มีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก พิจารณาให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ
3.รายที่มีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือดหยุด ถ้าเนื้อเยื้อบริเวณแผลยุ่ยมาก เย็บแล้วเลือดไม่หยุด อาจต้องกดไว้หรือใช้ผ้าก๊อสอัดไว้ในช่องคลอดร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
ประวัติส่วนตัว เช่น ภาวะโลหิตจาง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ประวัติทางสูติศาสตร์
ประวัติความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์
การตรวจร่างกาย
การหดรัดตัวของมดลูก มักคลำได้นุ่ม ตรวจระดับยอดมดลูก อาจถึงระดับสะดือ หรือเหนือ ระดับสะดือ
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
การบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธ์
การมีรกหรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
มีเลือดสดออกทางช่องคลอด
ซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย
ความรุนแรงของการเสียเลือด การมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือด ลักษณะ สี กลิ่น
ความสามารถในการเข้าอู่ของมดลูก ประเมินจากระดับยอดมดลูก
อาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น
CBC, การตรวจหาหมู่เลือด และการตรวจเลือดเพื่อประเมินการแข็งตัวของเลือด เช่น Platelets, PT, PTT , Fibrinogen depression
การพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ได้รับการป้องกันการตกเลือดอย่างถูกต้อง
การป้องกันการเกิดภาวะ Hypovolemic shock
ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
การป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้ป่วยสามารถปรับตัวทางจิตสังคมหลังคลอดได้ตามปกติ
ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลและสามารถปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลังได้
แสดงบทบาทการเป็นบิดามารดาและมีความผูกพันกับทารกได้
สามารถปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้
ความวิตกกังวลลดลง (ร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว)
กิจกรรมการพยาบาล
การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด
ประเมินปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด เพื่อการเฝ้าระวังและเตรียมการช่วยเหลือ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
ระมัดระวังการทำคลอดทุกระยะให้ถูกวิธี โดยป้องกันการฉีกขาดบริเวณรอบปากช่องคลอด ไม่เร่งทำคลอดรกก่อนรกลอกตัว
ในรายที่คาดว่าจะมีการตกเลือดให้เตรียมสารน้ำ ยา และอุปกรณ์กู้ชีวิตให้พร้อมใช้งานได้ทันที
ตรวจหากลุ่มเลือดขณะตั้งครรภ์
ดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดอย่างใกล้ชิด ได้แก่การหดรัดตัวของมดลูก การสังเกตจำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกจากช่องคลอด และสัญญาณชีพ
การพยาบาลระยะหลังการตกเลือด
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้รับประทานอาหารและยาวิตามิน ธาตุเหล็ก ตามแผนการรักษา
ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาการหน้ามืดเมื่อลุกนั่ง
แนะนำการคลึงมดลูก
แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของน้ำคาวปลา ระดับยอดมดลูก การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
1) แนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ อาการของการติดเชื้อ มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
2) กระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับบุตร
การพยาบาลขณะตกเลือด
ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ เพื่อประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด ถ้าความดันเลือดต่ำ ชีพจรเบาเร็ว ควรสังเกตอาการอย่างอื่นที่บ่งชี้ถึงภาวะช็อค
จัดท่าให้นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองดีขึ้น
คลึงมดลูกให้แข็งตัวเป็นระยะ
ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ป้องกันการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกให้ออกซิเจน
ตรวจการมีเลือดออก และการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดของช่องคลอด ให้เย็บซ่อมแซม
ช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจหาเศษเยื่อหุ้มรกค้าง
บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับ จำนวนเลือดที่เสียไป จำนวนปัสสาวะที่ออก
ตรวจสอบผลการตรวจเลือด ติดตามค่า CBC
อธิบายพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ตลอดจนการรักษาพยาบาลให้ผู้คลอดทราบ
ติดตามปริมาณน้ำคาวปลา สี กลิ่น จากจำนวนผ้าอนามัย
การประเมินผลการพยาบาล
ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะตกเลือด
ผู้คลอดไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง แผลฉีกขาดได้รับการเย็บซ่อมแซม
ผู้คลอดไม่มีภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้คลอดได้รับการดูแลและสามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวัน และแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้
ผู้คลอดและญาติได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาการและการรักษาพยาบาล
ผู้คลอดปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการตกเลือดระยะหลังคลอด
มีก้อนเลือด หรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด
4.ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก
นางสาวนัจมีย์ สาหลี รหัส 611001021 :smiley: