Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage), นางสาวปัณฑิตา คำใจ เลขที่ 27…
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum hemorrhage)
ความหมาย
ภาวะที่มีการเสียเลือดหลังคลอด ตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป หรือเมื่อมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือด ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว
ทั้งนี้เนื่องมาจากปริมาณและความเข้มข้นของเลือดในร่างกายผู้คลอดแต่ละคนไม่เท่ากัน ผู้ที่มีรูปร่างเล็กหรือมีภาวะโลหิตจาง แม้สูญเสียเลือดไม่ถึง 500 มิลลิลิตร ก็อาจมีภาวะช็อกได้
ชนิดของภาวะตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก/ระยะปฐมภูมิ (Early or immediate postpartum hemorrhage)
สาเหตุ
1) การหดรัดตัวของมดลูก (Tone)
การเจ็บครรภ์คลอดที่เนินนาน หรือ การคลอดเร็วเกินไป
กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายมากผิดปกติ ได้แก่ ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกตัวโต คลอดบุตรหลายครั้ง โดยเฉพาะมากกว่า 5 ครั้ง
การใช้ยาสลบในกระบวนการคลอดโดยฮาโลเทน ซึ่งทำให้มดลูกคลายตัวได้
การชักนำการคลอดหรือการเร่งคลอดโดยการให้ Oxytocin ภายหลังทารกคลอดแล้วรีบหยุด Oxytocin จะมีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีเนื่องจากมดลูกอ่อนกำลังลง
การคลอดยาก หรือ การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากภาวะรกเกาะต่ำ หรือ รกลอกตัวก่อนกำหนด
การติดเชื้อของมดลูก ทำให้มีการอักเสบ บวม มี สารคัดหลั่ง ส่งผลให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
มารดามีภาวะทุพโภชนาการ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีประวัติการตกเลือดหรือประวัติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอของกล้ามเนื้อมดลูกบางชนิด
1) Hour – glass contraction
กล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนมีการหดรัดตัวแต่กล้ามเนื้อส่วนล่างอ่อนปวกเปียก เมื่อรกที่เกาะอยู่กล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนลอกตัว จะทำให้มีเลือดออกได้มาก
2) Constriction ring
การที่กล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนและส่วนล่าง จะขวางกั้นรกไว้ แม้รกจะลอกตัวแล้ว โดยที่มดลูกส่วนบนมีการคลายตัว จึงมีเลือดออกได้มากและขังอยู่ในมดลูกส่วนบนได้
มีก้อนเลือดหรือมีเศษรกค้าง
มีเนื้องอกในโพรงมดลูก หรือ เคยได้รับการผ่าตัดมดลูก
2) การฉีกขาดของช่องทางคลอด (Trauma)
การฉีกขาดของปากมดลูก ช่องคลอด ฝีเย็บและบริเวณรอบท่อปัสสาวะ รวมถึงการบวมเลือดซึ่งมีการสะสมของเลือดในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีปัจจัยเสริม ได้แก่
การทำคลอดและการช่วยคลอดที่ไม่ถูกต้อง การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด ในขณะที่ปากมดลูกเปิดยังไม่หมด
การคลอดเร็วผิดปกติ ทำให้ช่องทางคลอดปรับตัวหรือขยายตัวไม่ทัน เกิดการฉีกขาด
การตัดฝีเย็บที่ไม่ถูกวิธี
ปัญหาเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของทารก ทำให้เกิดมดลูกแตกได้
มดลูกบางกว่าปกติ จากการผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดหลายครั้ง เคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง แผลฉีกขาดที่เกิดที่มดลูก อาจฉีกต่อลงมาที่ปากมดลูกและช่องคลอดได้
4) ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Thrombin)
เป็นสาเหตุการตกเลือดหลังคลอดทันที ได้แก่ ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ โรคเลือดต่างๆ เช่น โลหิตจาง โรคเลือดที่เกิดจากการขาดเกล็ดเลือด
3) รกหรือเศษรกค้างภายในโพรงมดลูก (Tissue)
การมีรกค้าง หรือมีเศษรกค้าง อาจมีปัจจัยเสริมให้มีเศษรกค้าง ได้แก่
การทำคลอดรกผิดวิธี เช่น การดึงสายสะดือ การล้วงรก
ความผิดปกติของรก เช่น รกมีขนาดใหญ่ หรือ รกเกาะลึกร่วมกับการทำคลอดรกผิดวิธี
การมีรกน้อย เช่น Placenta succenturiata รกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะลอกตัวหมด แต่ถ้าทำคลอดรกผิดวิธี จะเกิดการตกค้างของรกน้อยได้
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delay postpartum hemorrhage)
เป็นการตกเลือดระยะที่เกิดขึ้นภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปแล้วจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุ
มีก้อนเลือด หรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดภายหลังคลอดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก ผู้ป่วยมักมีอาการของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย มดลูกเข้าอู่ไม่ดี
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอดมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณแผลภายในช่องคลอด
ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก มักเกิดภายหลังคลอด 4 สัปดาห์
การวินิจฉัยการตกเลือดระยะหลัง
สามารถวินิจฉัยการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง ได้จากอาการและอาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบระหว่างวันที่ 7 – 14 หลังคลอด ส่วนอาการอื่นๆ คล้ายกับการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ผลของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
ภาวะซีด อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม
ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย
เกิด Necrosis ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Sheehan’ s syndrome)
อาจเกิด diabetes insipidus
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
รายที่มีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูก ให้Oxytocin แล้วทำการขูดมดลูกด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากผนังมดลูกมีลักษณะนุ่ม และทะลุได้ง่าย
รายที่มีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก พิจารณาให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ
รายที่มีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือดหยุด ถ้าเนื้อเยื้อบริเวณแผลยุ่ยมาก เย็บแล้วเลือดไม่หยุด อาจต้องกดไว้หรือใช้ผ้าก๊อสอัดไว้ในช่องคลอดร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
การวินิจฉัยการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
อาการและอาการแสดง
การมีเลือดออก ซึ่งอาจไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด หรืออาจไม่มีเลือดออกมาให้เห็นแต่ขังอยู่ข้างใน มีลักษณะแตกต่างกัน
เกิดเลือดคั่งที่เอ็นยึดมดลูก จะไม่ปรากฏเลือดไหลออกมาให้เห็นภายนอก
มดลูกปลิ้นก็จะพบว่ามีเลือดพุ่งออกมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก และอาจมีลิ่มเลือดสีแดงคล้ำปนออกมาด้วย
การฉีกขาดของช่องทางคลอด เลือดที่ไหลออกมาจะเป็นสีแดงสด
การฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยจะพุ่งแรงตามจังหวะของชีพร และจะไหลไม่หยุดแม้จะทำให้มดลูกแข็งตัวแล้ว
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ส่วนใหญ่เลือดจะมีสีคล้ำ ลิ่มเลือดปนและเลือดจะหยุดไหลเมื่อมดลูกหดรัดตัวดี
หากมีเศษรกค้าง ส่วนใหญ่จะเกิดการตกเลือดหลังคลอดทันที ถ้าเศษรกเล็กมากๆจะตรวจไม่พบ อาจทำให้เกิดการตกเลือดช่วง 6 – 10 วันหลังคลอดได้
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี จะคลำได้มดลูกนุ่ม ไม่ตึงตัว เนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่ภายในโพรงมดลูก ระดับของมดลูกจะสูงและโต อาจถึงระดับสะดือหรือเหนือสะดือได้
มดลูกหดรัดตัวดีแต่ยังมีเลือดออกจากช่องคลอดมาก อาจเป็นอาการและอาการแสดงที่เกิดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอด
อาการแสดงของภาวะตกเลือด
หน้าซีด
ชีพจรเต้นเร็ว
ระยะแรกจะหายใจเร็ว ต่อมาจะหายใจช้า ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลี ความดันโลหิตต่ำ หมดสติและถึงแก่ชีวิตได้
การตรวจร่างกายเฉพาะที่
พบมีการหดรัดตัวของมดลูก คลำหน้าท้องพบยอดมดลูกอยู่เหนือระดับสะดือ หรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากมีเลือดขังอยู่ภายใน ในรายที่รุนแรงมากจะพบมดลูกอ่อนปวกเปียก
พบการฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก
ตรวจดูชิ้นส่วนของรกที่อาจค้างอยู่ โดยการตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียด หรือ การใช้มือตรวจภายในโพรงมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อหาสาเหตุการตกเลือดหลังคลอด จากความผิดปกติในการแข็งตัวเป็นลิ่มของเลือด
Prothrombin time (PT)
Partial thromboplastic time (PTT)
Clotting time
Platelet count
ผลจากการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ระยะทันทีภายหลังคลอด ผู้คลอดจะมีอาการใจสั่น ซีดลง ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ช็อก มีการขาดออกซิเจน เกิดภาวะอวัยวะล้มเหลว ได้แก่ ไตวาย หัววาย มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดจากภาวะไฟปริโนเจนในเลือดต่ำและอาจตายได้
ต่อมาผู้คลอดจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ปริมาณน้ำนมของมารดาไม่เพียงพอ สำหรับเลี้ยงทารก อ่อนเพลีย ซีด สุขภาพทรุดโทรม และภาหลังพบว่าอาจจะเกิด Anterior pituitary necrosis ซึ่งเซลล์ของต่อมใสมองตายและเป็นผลทำให้การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อเกิดความบกพร่องขึ้น ได้แก่
ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ ทำให้มีอาการไม่มีน้ำนมหลังคลอด เต้านมเหี่ยว ระดูขาดและขนของอวัยวะเพศร่วง อ่อนเพลีย ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า Sheehan’s Syndromes
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
การตกเลือดก่อนรกคลอด
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ คือ 5% D/W หรือ 5% D/NSS หรือ Ringer lactase solution (RLS) 1,000 ml. ร่วมกับ Oxytocin 10 – 20 unit โดยเร็ว
เจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด พร้อมทั้งขอเลือด เตรียมไว้อย่างน้อย 2 Unit
ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ เพื่อวัดปริมาณของปัสสาวะที่ออกมา และลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ยา Oxytocin 10 – 20 unit เข้าทางกล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ เมื่อไหล่หน้าหรือศีรษะทารกคลอดแล้ว
ทำคลอดรกโดยวิธี Cord traction ถ้ารกไม่คลอดให้ล้วงรกภายใต้ยาระงับความรู้สึกหรือยาระงับความเจ็บปวด หรือ ฉีด Pethidine 50 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
ตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียด
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
ถ้าจำเป็นให้ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำอีก เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก (ยกเว้นรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูง)
การตกเลือดภายหลังรกคลอด
กรณีมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
สวนปัสสาวะออกให้หมด แล้วคาสายสวนไว้ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ 5%D/W หรือ 5% D/NSS หรือ Ringer lactase solution (RLS) 1,000 ml. ร่วมกับ Oxytocin 10 – 20 unit ผสมอยู่ (กรณีที่ยังไม่ได้ให้) และขอเลือดเตรียมไว้ 2 – 4 unit
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
วางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้อง และคลึงให้มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา
กรณีมีการฉีดขาดของช่องทางคลอด
ถ้ามดลูกหดรัดตัวดีแล้ว แต่ยังมีเลือดไหลออกมาเรื่อยๆ และสีค่อนข้างแดงสด ให้ใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นภายในช่องคลอด และปากมดลูกได้ชัดเจน
ตรวจหารอยฉีกขาด บริเวณที่พบได้บ่อยคือ มีการฉีกขาด ต่อจากแผลฝีเย็บและบริเวณด้านข้างของปากมดลูก ให้เย็บรอยฉีกขาดเหล่านั่นจนเลือดหยุด
การดูแลหลังตกเลือด
ภายหลังเกิดการตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในระยะ 24 – 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยปฏิบัติดังนี้
ตรวจวัดชีพจร ความดันโลหิต การหายใจ และระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
ตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด และอาจต้องให้เลือดเพิ่มเติมถ้าจำเป็น
คำนวณหา Intake และ Output เพื่อป้องกันการให้สารน้ำมากหรือน้อยเกินไป
ให้ยาปฏิชีวนะประเภทครอบคลุมเชื้อได้กว้างขวาง
ให้ยาบำรุงเลือด และอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
นางสาวปัณฑิตา คำใจ เลขที่ 27 รหัส 611001026