Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด, นางาสวศุภสุตา โกยสมบูรณ์ รหัสนักศึกษา 611001050…
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
- การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด
- ประเมินปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด เพื่อการเฝ้าระวังและเตรียมการช่วยเหลือ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
- ระมัดระวังการทำคลอดทุกระยะให้ถูกวิธี โดยป้องกันการฉีกขาดบริเวณรอบปากช่องคลอด ไม่เร่งทำคลอดรกก่อนรกลอกตัว
- ในรายที่คาดว่าจะมีการตกเลือดให้เตรียมสารน้ำ ยา และอุปกรณ์กู้ชีวิตให้พร้อมใช้งานได้ทันที
- ตรวจหากลุ่มเลือดขณะตั้งครรภ์
- ดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดอย่างใกล้ชิด ได้แก่การหดรัดตัวของมดลูก การสังเกตจำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกจากช่องคลอด และสัญญาณชีพ
- ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ เพื่อประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด ถ้าความดันเลือดต่ำ ชีพจรเบาเร็ว ควรสังเกตอาการอย่างอื่นที่บ่งชี้ถึงภาวะช็อค
- จัดท่าให้นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองดีขึ้น
- คลึงมดลูกให้แข็งตัวเป็นระยะ
- ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
- ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ป้องกันการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ออกซิเจน
- ตรวจการมีเลือดออก และการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดของช่องคลอด ให้เย็บซ่อมแซม
- ช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจหาเศษเยื่อหุ้มรกค้าง หญิงหลังคลอดที่มีเศษรกค้างมักได้รับการรักษาโดยการขูดมดลูกเอาเศษรกออก หรือขูดเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ และบริเวณพื้นที่ที่มีเลือดออก เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี
- พยาบาลควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ ตรวจสัญญาณชีพหลังการขูดมดลูก หมั่นตรวจจำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด การหดรัดตัวของมดลูก และกระเพาะปัสสาวะ
- บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับ จำนวนเลือดที่เสียไป จำนวนปัสสาวะที่ออก
- ตรวจสอบผลการตรวจเลือด ติดตามค่า CBC
- อธิบายพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ตลอดจนการรักษาพยาบาลให้ผู้คลอดทราบและเข้าใจเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
- ติดตามปริมาณน้ำคาวปลา สี กลิ่น จากจำนวนผ้าอนามัย
- การพยาบาลระยะหลังการตกเลือด
- ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
- ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ดูแลให้รับประทานอาหารและยาวิตามิน ธาตุเหล็ก ตามแผนการรักษา
- ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาการหน้ามืดเมื่อลุกนั่ง
- แนะนำการคลึงมดลูก
- แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของน้ำคาวปลา ระดับยอดมดลูก การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
1) แนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ อาการของการติดเชื้อ มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
2) กระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับบุตร
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- มารดาเกิดการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
-
ข้อมูลสนับสนุน
S: หญิงหลังคลอดบอกว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดเปื้อนผ้าถุงจำนวนมาก
O: ขณะคลึงมดลูก กดไล่ลิ่มเลือด พบก้อนเลือดโต ขนาด 2x3 เซนติเมตร จำนวน 3-4 ก้อน ปริมาณเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดประมาณ 500 มิลลิลิตร และเสียเลือดขณะคลอด 500 มิลลิลิตร
O: Hct. 24%
O: BP. 90/60 mm.Hg. P 110 ครั้ง/นาที, หายใจ 40 ครั้ง/นาที
O: ตรวจร่างกายพบเยื่อบุตาซีด เหงือกและริมฝีปากซีด
เกณฑ์การประเมินผล
- มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง
- เลือดออกจากช่องคลอดน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร
- สัญญาณชีพปกติ B.P. ไม่ต่ำกว่า 90/60 mm.Hg., P 60-100 ครั้ง/นาที, R 16-20 ครั้ง/นาที
- ไม่มีอาการแสดงของการตกเลือด ได้แก่ ใจสั่น ตัวเย็น ความดันโลหิตลดต่ำลง เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
- คลึงมดลูกจนหดรัดตัวกลมแข็ง และไล่ก้อนเลือดที่อาจค้างอยู่ในมดลูก ซึ่งเป็นสามเหตุที่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เมื่อมดลูกหดรัดตัวดีขึ้นให้สังเกตการณ์หดรัดตัวของมดลูกต่อไปอีก ทุก 15 นาที ในหนึ่งชั่วโมงแรก
- ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง โดยการสวนคาสายปัสสาวะไว้ เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก และบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง
- หากมีการเสียเลือดรีบรายงานแพทย์ ดูแลให้ได้รับเลือด (PRC) 20 ยูนิต ทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง พร้อมหาทีมการพยาบาลช่วยเหลือเพิ่มโดยด่วน และจัดให้ทีมคลึงมดลูกตลอดเวลาเวลา พร้อมวางกระเป๋าน้ำแข็งบนหน้าท้อง
- สังเกตลักษณะและจำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด เพื่อประเมินความรุนแรงของการตกเลือด
- ติดตามสัญญาณชีพทุก 15 นาที พร้อมประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และการเสียเลือดเพื่อประเมินภาวะ Shock เช่น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำลง เหงื่อออก ตัวเย็น
การประเมินผล
- มดลูกหดรัดตัวแข็งดี ไม่นุ่ม คลำได้ชัดเจน
- เลือดออกทางช่องคลอดชุ่มผ้าอนามัย ครึ่งผืน
- สัญญาณชีพปกติ ชีพจร 114 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 100/60 มิลลิเมตรปรอท รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง
- มารดาวิตกกังวล กลัวอันตรายจากการตกเลือดหลังคลอด
-
กิจกรรมการพยาบาล
- อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะของโรคและแผนการรักษาพยาบาล พร้อมกับเปิดโอกาสให้มารดาซักถามปัญหา ข้อสงสัยต่างๆ รวมทั้งให้ความมั่นใจและให้กำลังใจมารดา
- กระตุ้นให้มารดาระบายปัญหาและความวิตกกังวล เพื่อทราบความต้องการของมารดา
- คอยให้กำลังใจมารดาด้วยการอยู่เป็นเพื่อน และให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลและเป็นกันเอง
- อนุญาตให้ญาติและสามีเข้าเยี่ยมได้ในระยะรอคลอดและหลังคลอด 2 ชั่วโมง
-
-
-
-
กระบวนการพยาบาล
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
- ประวัติส่วนตัว เช่น ภาวะโลหิตจาง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- ประวัติทางสูติศาสตร์ เช่น การคลอดเร็ว หรือระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน ได้รับยาที่มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก เช่น ยาสลบ Oxytocin และ MgSO4 การทำสูติศาสตร์หัตถการ
มีประวัติเคยตกเลือดหลังคลอด มดลูกแตกหรือการผ่าตัดมดลูก การทำคลอดรกขณะที่รกยังไม่ลอกตัว
- ประวัติความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ Aminionitis และทารกตายในครรภ์ ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะครรภ์แฝดน้ำ หรือการตั้งครรภ์แฝด
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ โดยเฉพาะการตรวจดู
- การหดรัดตัวของมดลูก มักคลำได้นุ่ม ตรวจระดับยอดมดลูก อาจถึงระดับสะดือ หรือเหนือ ระดับสะดือ
- การฉีกขาดของช่องทางคลอด
- การบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธ์
- การมีรกหรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
- มีเลือดสดออกทางช่องคลอด
- ซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย
- ความรุนแรงของการเสียเลือด การมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือด ลักษณะ สี กลิ่น
- ความสามารถในการเข้าอู่ของมดลูก ประเมินจากระดับยอดมดลูก
- อาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย
- การตรวจทางช่องคลอด พบเศษเยื้อหุ้มรกที่ปากมดลูก
-
วัตถุประสงค์การพยาบาล
- ได้รับการป้องกันการตกเลือดอย่างถูกต้อง
- การป้องกันการเกิดภาวะ Hypovolemic shock
- ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
- การป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
- ผู้ป่วยสามารถปรับตัวทางจิตสังคมหลังคลอดได้ตามปกติ
- ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลและสามารถปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลังได้
- แสดงบทบาทการเป็นบิดามารดาและมีความผูกพันกับทารกได้
- สามารถปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้
- ความวิตกกังวลลดลง (ร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว)
ตกเลือดหลังคลอด
ภาวะที่มีการเสียเลือดหลังคลอด ตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป หรือเมื่อมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือด ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เนื่องมาจากปริมาณและความเข้มข้นของเลือดในร่างกายผู้คลอดแต่ละคนไม่เท่ากัน ผู้ที่มีรูปร่างเล็กหรือมีภาวะโลหิตจาง แม้สูญเสียเลือดไม่ถึง 500 มิลลิลิตร ก็อาจมีภาวะช็อกได้
-
การประเมินผลการพยาบาล
- ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะตกเลือด
- ผู้คลอดไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง แผลฉีกขาดได้รับการ
- เย็บซ่อมแซม
- ผู้คลอดไม่มีภาวะติดเชื้อหลังคลอด
- ผู้คลอดได้รับการดูแลและสามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวัน และแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้
- ผู้คลอดและญาติได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาการและการรักษาพยาบาล
- ผู้คลอดปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
-