Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสม - Coggle Diagram
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสม
4.1 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
Anemia
โรคโลหิตจางจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมีน้อยเกินไป ภายในเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยโปรตีนชื่อ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกาย
สาเหตุ
ในร่างกายของคนเรา ธาตุเหล็ก วิตามินบี-12 และโฟเลต เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย โดยปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายจะผลิตเฉลี่ยแทนที่ต่อวัน 0.8 ถึง 1% ของทุกวัน
อาการ
มีอาการมึน หรือวิงเวียนศีรษะ หากยืนหรือลุกอย่างรวดเร็ว
มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ เช่น ชอบของเย็น อยากกินดิน และกินของสกปรก
ไม่ค่อยมีสมาธิและมีอาการเหนื่อยล้า
ท้องผูก
วิธีการรักษา
สาเหตุของโรคโลหิตจากมาจากการขาดวิตามิน B-12 ธาตุเหล็ก และโฟเลต ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจ จำเป็นต้องฉีดวิตามิน B-12 เข้าไปในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่ได้ถูกดูดซึมวิตามิน B-12 จากอาหารโดยตรแพทย์อาจะให้คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
Thalassemia
ที่เกิดจาก เม็ดเลือดแดงผิดปกติโดยการถ่ายทอดจากพ่อ – แม่ ทางกรรมพันธุ์ธาลัสซีเมีย
ลักษณะ
ตาเหลือง
ดั้งจมูกแฟบ
ซีดโลหิตจาง
ตัวเล็กผิดปกติ
หน้าผากโหนก
อาจไม่มีความเจริญทางเพศ
ผิวหนังคล้ำเพราะมีธาตุเหล็กมากในร่างกาย
ท้องโตเพราะม้ามตับโต
อาจมีแผลเรื้อรังที่ขา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
ควรกินผักสด ไข่ และนมเป็นประจำ
ดื่มน้ำชาหลังอาหารเพื่อช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
ตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะฟันผุง่าย
งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือใช้แรงมาก
ไม่ควรซื้อวิตามินซีกินเอง
หากมีอาการปวดท้องที่ชายโครงด้านขวารุนแรง มีไข้ และเหลืองมากขึ้นแสดงว่าถุงน้ำดีอักเสบ ควรไปพบแพทย์
อาจเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงได้ง่าย เมื่อมีไข้สูง ควรเช็ดตัว กินยาลดไข้และรีบไปพบแพทย์
อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่งไม่แออัด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ
Hemophilia
เป็นโรคเลือดออกผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วโลก โดยสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการขาดโปรตีนที่มีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวที่เรียกว่า แฟคเตอร์
อาการของโรค
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก คือ มีระดับแฟคเตอร์ต่ำกว่า 1% มักเริ่มแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่เล็ก โดยเห็นเป็นจ้ำเขียวตามร่างกาย จะมีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อได้เองโดยไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกใดๆ
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง คือ มีระดับแฟคเตอร์ 1%-5% จะมีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อเมื่อได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจมีเลือดออกในข้อเองโดยไม่ได้รับการกระแทกได้
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงน้อย คือ มีระดับแฟคเตอร์ 5%-40% อาจจะไม่แสดงอาการจนเมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัดจึงแสดงอาการเลือดออกมากให้เห็น
รักษา
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ในร่างกาย ในปัจจุบันจึงยังไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากเลือดออกได้
4.2 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางนีโอพลาสม
Leukemia
อาการ
เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก
การรักษา
เคมีบำบัด
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
การดูแล
ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือการระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปรุงสุกด้วยความร้อน ล้างผักให้สะอาด ปอกเปลือกผลไม้ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหาร
ดูแลสุขอนามัย และความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียด
Lymphoma
เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง (Lymphoma System) จัดเป็นส่วนนึงของระบบภูมิคุ้มกันประกอบประด้วยอวัยวะน้ำเหลือง อันได้แก่ ม้าม,ไขกระดูก, ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส, ภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง
ชนิดของมะเร็ง
ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent)
ชนิดรุนแรง (Aggressive)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
อายุ
เพศ
การติดเชื้อ
ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย
โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease)
การสัมผัสสารเคมี
อาการ
การพบก้อนที่บริเวณต่างๆของร่างกาย
ไข้ หนาวสั่น
มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
ต่อมทอนซิลโต
อาการคัยทั่วร่างกาย
ปวดศรีษะ
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี
การรักษาด้วยการฉายรังสี
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
การเฝ้าติดตามโรค
การดูแลตนเอง
การทำความสะอาดร่างกาย
ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
การออกกำลังกาย
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การรับประทานอาหาร
Wilm’s tumor
สาเหตุ
ในเด็กส่วนใหญ่ สาเหตุของโรคมะเร็งไตในเด็กไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เด็กบางคนซึ่งพบได้น้อยอย่างมาก จะพัฒนาโรคมะเร็งไตในเด็กร่วมกับสภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดบางอย่าง เช่น ภาวะม่านตาในดวงตาหายไป
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบมากที่สุดคือหน้าท้องบวมซึ่งมักจะไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด บางครั้งผู้ปกครองหรือผู้ดูแลอาจคลำก้อนในช่องท้องได้ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่พอสมควร บางครั้งเนื้องอกอาจมีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อยและอาจทำให้ระคายเคืองต่อไต นำไปสู่อาการเจ็บปวด
การรักษา
การผ่าตัด
ยาเคมีบำบัด
การฉายรังสีรักษา
Neuroblastoma
อาการของ
Neuroblastoma ที่เกิดในช่องท้อง
ท้องเสียหรือท้องผูก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ คลำพบก้อนแข็งใต้ผิวหนังส่วนหน้าท้อง
Neuroblastoma ที่เกิดในคอหรือช่องอก
เกิดอาการบวมที่ใบหน้า คอ แขน และหน้าอก รู้สึกปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ไอ มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือการกลืน หายใจมีเสียงหวีด
สาเหตุ
เซลล์ประสาทที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีชื่อเรียกว่านิวโรบลาสท์ โดยขณะทารกในครรภ์เติบโตขึ้น นิวโรบลาสท์จะพัฒนาเป็นเซลล์ประสาท ใยประสาท และเซลล์บริเวณแกนกลางของต่อมหมวกไต
การรักษา
การทำเคมีบำบัด
การฉายแสง
การผ่าตัดเอาเนื้องอกออก
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด