Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบน (URI)
โรคหวัด (Common cold)
สาเหตุและระบาดวิทยา
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยทุกอายุคือ rhinovirus
รองลงมา ได้แก่coronavirus, parainfluenza virus เป็นต้น โรคหวัดมักพบในฤดูกาลที่มีอากาศเย็น และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กมีโอกาส ติดเชื้อหวัดมากขึ้น
ลักษณะอาการทางคลินิก
ระยะฟักตัวของ rhinovirus ประมาณ 1-4 วัน ส่วน coronavirus ใช้เวลา ประมาณ 2-4 วัน
เด็กเล็กอาจมีไข้ และน้ำมูกเป็นอาการเด่น เด็กโตมักไม่มีไข้แต่อาจเริ่มด้วยอาการเจ็บคอ
โรคหวัดอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งหมด
อาการแสดง
เยื่อบุจมูกบวมแดง อาจพบเยื่อบุตาแดง ต่อม น้ำเหลืองที่คอโต มีpost nasal drip ได้
การรักษา
การลดไข้
การเช็ดตัว
ระมัดระวังการใช้ibuprofen โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคไข้เลือดออก ระบาด
ไม่แนะนำให้ใช้แอสไพริน เนื่องจากมีรายงานการเกิด Reye’ssyn-drome ในเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรือสุกใสและได้รับยาแอสไพริน
การพยาบาล
ลดไข้ โดยการการเช็ดตัว กระตุ้นให้ดื่มน้ำ ถ้าไข้ไม่ลดให้ยาพาราเซตามอลตามแผนการรักษา
สังเกตอาการที่ต้องพาไปพบแพทย์ หายใจหอบ หายใจเสียงดัง ชายโครงบุ๋ม ซึม ไม่ดื่มนมหรือน้ำ อาการป่วยมากขึ้น
ลดอาการไอ กระตุ้นดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาวป้ายลิ้น
การประเมิน
ไม่มีไข้ อุณหภูมิกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หายใจโล่ง ไม่มีเสมหะอุดกั้น
รับประทานอาหารได้มากขึ้น
โรคคออักเสบ / ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน(Acute pharyngitis/ tonsillitis/ pharyngotonsillitis)
สาเหตุและระบาดวิทยา
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่adenovirus, influenza virus,parainfluenzavirus, rhinovirus, respiratory syncytial virus (RSV)
ส่วนกลุ่มแบคทีเรีย เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ group A beta-hemolytic streptococci (GABHS) พบเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 20 ถึง 40
กลุ่ม atypical pathogen ที่เป็นสาเหตุได้แก่Mycoplasma pneumoniae, Chlamydophila (or Chlamydia) pneumoniae แต่พบได้ไม่บ่อย
ลักษณะอาการทางคลินิก
ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง หรือทอนซิลบวมแดงจัด
ต่อมน้ำหลืองบริเวณคอส่วนหน้าบวมและกดเจ็บ ไม่มีอาการไอ
ไข้สูง > 38 องศาเซลเซียส
การรักษา
การรักษาตามอาการ
การลดไข้ในกรณีมีไข้ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้เช่นเดียวกับ การติดเชื้ออื่นๆ
การบรรเทาอาการเจ็บคออาจให้เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว
การให้ยาต้านจุลชีพ
ภาวะแรกซ้อน
เกิดจากการลุกลามของเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง (suppurative complications) ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ, peritonsillar abscess(Quinsy),
para/retropharyngealabscess
เกิดปฏิกิริยาทางระบบอิมมูนทำให้ เกิดการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ (non-suppurative complication) ได้แก่ acute glomerulonephritis, rheumatic fever และ rheumatic heart disease
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute rhinosinusitis)
สาเหตุและระบาดวิทยา
การอักเสบของ maxillarysinus และ ethmoidsinusเกิดได้ตั้งแต่วัยทารก
frontal sinus พบการอักเสบได้ในช่วงวัยเรียน
ส่วน sphenoid sinus มีความ สำคัญทางคลินิกหลังอายุ10 ปี6 เดือน
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบต่อเนื่อง มีน้ำมูกและไอที่ไม่ดีขึ้นติดต่อกันนานกว่า 10 วัน โดยน้ำมูกมักข้นเหลืองแต่อาจมีสีขาวหรือใสก็ได้
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบรุนแรง ไข้สูงกว่า39 องศาเซลเซียส และน้ำมูกข้นเป็นหนองโดยเกิดขึ้นพร้อมๆกัน อาจมีการบวมบริเวณตา
การตรวจร่างกาย
พบน้ำมูกเขียว แต่ในเด็กเล็กอาจพบว่ามีน้ำมูกใส
มักตรวจพบเสมหะขุ่นหรือลักษณะเป็นหนองที่ด้านหลังคอ
อาจมีไข้ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คอแดง
การรักษา
การรักษาประคับประคองตามอาการ
การรักษาจำเพาะ (specific treatment)
ภาวะแทรกซ้อน
periorbitalcellulitis ทำ ให้มีอาการไข้รอบตาบวม
การติดเชื้อในเบ้าตา มีอาการตาบวม ตาโปน ไม่สามารถกลอกตาได้ตามปกติ
แนวทางการป้องกันไซนัสอักเสบ
การป้องกันโดยการดูแลไม่ให้ติดหวัด
ควบคุมอาการในผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการแพ้อากาศ
ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อการป้องกัน เนื่องจากพบว่ามี ปัญหาเชื้อดื้อยามากขึ้น
การพยาบาล
ดูแลเด็กพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด
ดูแลเด็กให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบนาน 10 - 14 วัน หากตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง ลูกอาจรับประทานยาปฎิชีวนะ 6 - 8 สัปดาห์
ดูแลเด็กให้รับประทานยาลดบวมของเยื่อบุจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูกและอาการบวมของเยื่อบุจมูกทำให้น้ำมูกไหลเวียนได้ดีขึ้นจากช่องจมูก
ดูแลเด็กให้รับประทานยาละลายเสมหะ
โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Acute otitis media)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส
respiratorysyncytialvirus(RSV), influenzavirus, adenovirus, rhinovirus, coronavirus, enterovirus, parainfluenzavirus type 1-3
เชื้อแบคทีเรีย
S. pneumoniae, H. influenzae, S. pyogenes, M. catarrhalis
ปัจจัยเสี่ยง
ประวัติมีการเจ็บป่วย ทางระบบหายใจ มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นหูชั้นกลางอักเสบ กลุ่มที่มีภาวะกรดไหลย้อน ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการ ดาวน์การใช้จุกนมปลอม รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
ลักษณะอาการทางคลินิก
ไข้ไอ น้ำมูกไหล อาเจียน แต่อาการที่สำคัญ คือ การปวดหูในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้อาจมีดึงหู ทุบหูร่วมกับ ร้องกวน งอแงผิดปกติหรือไม่ยอมนอน
ลักษณะอาการหูชั้นกลางอักเสบรุนแรง
อาการปวดหูระดับปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการปวดหูนานมากกว่า 48 ชั่วโมง
หรือมีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 39
การรักษา
การรักษาตามอาการ
แนะนำ ให้บรรเทาอาการปวดด้วยการใช้ยาแก้ปวด โดยจะเลือกใช้paracetamol หรือ ibuprofen ก็ได้
การรักษาจำเพาะ
ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จึงไม่แนะนำให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพตั้งแต่ เริ่มแรก ยกเว้นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
การพยาบาล แนะนำผู้ดูแลในการดูแลเด็ก
ไม่ซื้อยาหยอดหูใด ๆ มาใช้เอง
เมื่อเด็กมีอาการปวดหู หูอื้อ และมีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล
ในขณะที่มีหูน้ำหนวกไหลหรือเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
วิธีป้องกันหูชั้นกลางอักเสบ
ควรให้ทารกกินนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ
ระมัดระวังอย่าให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุกับหู หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหูและบริเวณใกล้เคียง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุและฉีกขาดได้
หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมปลอม เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหูชั้นกลางอักเสบประมาณ 1.6-3 เท่า
ระมัดระวังอย่าให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เช่น โรคหวัด ไซนัสอักเสบ
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง (LRI)
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute laryngotracheobronchitis viral croup)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
เชื้อที่พบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่คือไวรัสที่พบบ่อยที่สุด คือ parainfluenza viruses
เชื้อแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุของ croup ได้แต่พบน้อย ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัด อาการ ไอเสียงก้อง เสียงแหบ และหายใจได้ยินเสียง stridor
ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยอาการไอเสียงก้องจะหายไปใน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นอาการต่างๆจะค่อยๆดีขึ้น
รายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีอาการหายใจลำบากและตรวจ พบอาการแสดงต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว, จมูกบาน (nasal flaring), อกบุ๋ม (chest-wall retractions), ได้ยินเสียง stridor ทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
การประเมินความรุนแรงของโรค
croup score 4-7 ระดับความรุนแรงปานกลาง (moderate croup)
croup score > 7 ระดับความรุนแรงมาก (severe croup)
croup score < 4 ระดับความรุนแรงน้อย (mild croup)
การรักษา
การติดตาม การพิจารณา รับไว้ในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวัง ในส่วนของการรักษาประกอบด้วยการ รักษาทั่วไปและการใช้ยาเพื่อลดการบวมของทางเดินหายใจ ได้แก่ corticosteroids และ nebulized epinephrine
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะพร่องออกซิเจน, ภาวะหายใจล้ม เหลว, ภาวะขาดน้ำ, bacterial tracheitis, ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema), มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล็กอยู่ในที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มี อาการหวัดหรือติดเชื้อในระบบหายใจ
ผู้ป่วย croup ทุกรายที่รับไว้ในโรงพยาบาล นอกจาก standard precaution แล้วต้องใช้ contact precaution ร่วมด้วย โดยเฝ้าระวังการปนเปื้อน
ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวมีอาการหวัด หรือติดเชื้อในระบบหายใจควรให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกและล้างมือทุกครั้งก่อน สัมผัสเด็ก
การพยาบาล แนะนำผู้ดูแล
เมื่อทราบว่าเด็กเป็น โรคครูป ให้เฝ้าดูอาการ 1-2 วันแรกอย่างใกล้ชิด
ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ
ใช้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือแอนติฮีสตามีน โดยศึกษา การใช้ยาในเด็กใช้อย่างไรให้ปลอดภัยตามวัย เพื่อลดอาการบวมของกล่องเสียง หรือใช้ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้
ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (Acute epiglottitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Haemophilus influenzae type b
โรคนี้พบได้ทุกวัย แต่มักพบในเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-6 ปี โดยร้อยละ 80 พบอายุน้อยกว่า 5 ปี หลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันเชื้อ Hib
พยาธิกำเนิด
เชื้อแบคทีเรียจะลุกลามเข้าสู่บริเวณ supraglottic ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณ นั้นเกิดการอักเสบแบบ cellulitisทำให้มีการ สะสมของเซลล์อักเสบและสารน้ำต่างๆ เกิดการบวมได้มาก
เซลล์อักเสบส่วน ใหญ่จะเป็นเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonuclear
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมักมีไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก น้ำลายไหล พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย
มีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นตามมา อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง
อาการหายใจ เสียงดัง (stridor)
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ให้ออกซิเจนที่มีความชื้น
งดให้อาหารทางปากและพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เตรียมท่อช่วยหายใจให้พร้อม โดยเตรียมขนาดเล็กกว่าปกติ 0.5-1 มม.
การรักษาแบบจำเพาะ
การให้ยาต้านจุลชีพควรให้ยาที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด โดยพิจารณาให้ยากลุ่ม cephalosporin
ภาวะแทรกซ้อน
ปอดอักเสบ, ปอดแฟบ, pulmonary edema, ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
การป้องกันโรค
แนะนำให้ยาต้านจุลชีพชนิดกิน คือ rifampicin ขนาดยา 20 มก./กก./วัน ขนาดสูงสุด 600 มก. (สำหรับทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน ขนาดยา 10 มก./กก./วัน) นาน 4 วัน ไม่ควรให้ rifampicin แก่สตรีมีครรภ์)
หลอดลมคอติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial tracheitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
Bacterial tracheitis พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นในเด็กอายุ 1-7 ปี
ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีการติดเชื้อไวรัสในระบบหาใจมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง croup และไข้หวัดใหญ่
เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุด คือ Staphylococcus aureus1-5 ทั้งที่ดื้อและ ไม่ดื้อต่อ methicillin (MRSA)
ลักษณะทางคลินิก
เริ่มด้วยอาการ croup ไอเสียงก้อง เสียงแหบ ต่อมามีไข้สูง ไอ มีเสมหะจำนวนมากหายใจลำบาก ตรวจพบ stridor ช่วงหายใจเข้า
การรักษา
การดูแลทางเดิน หายใจให้เปิดโล่ง
พิจารณาถอดท่อช่วยหายใจเมื่ออาการดีขึ้นหรือเสมหะลดน้อยลง ร่วมกับการ ทดสอบลมรั่วรอบท่อ (air leak)
การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพขึ้นกับเชื้อที่สงสัย ได้แก่ cloxacillin, vancomycin หรือ clindamycin ร่วมกับ third-generation cephalosporin หรือ ampicillin/sulbactam
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
เชื้อไวรัส respiratory syncytial virus (RSV) และ parainfluenza virus type เป็นสาเหตุที่พบ
บ่อย โดย RSV มัก พบในเด็กเล็ก, influenza A และ B มักพบในเด็กโต, adenovirus type และ มักพบในกลุ่มทหารเกณฑ์และวัยรุ่นและ Mycoplasma pneumoniae มัก พบในเด็กวัยเรียน
พยาธิกำเนิด
โดยทั่วไปมักเริ่มจากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อนและมีการแพร่ กระจายของเชื้อที่เป็นสาเหตุจากด้านบนลงมาด้านล่าง ทำให้เกิดการอักเสบ ร่วมกับมีการทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัด
ตามมาด้วยอาการของหลอดลม โดยมีอาการ ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด
ผู้ป่วยบางรายมีไอเสียงก้อง (brassy cough) ต่อมาไอมากขึ้นและ มีเสมหะ (productive cough) โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น
การรักษา
การรักษาตามอาการ
การให้ยากลุ่ม antihistamine, decongestant และ beta-2 agonist
การดื่มน้ำมากๆ อาจให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อทำให้ชุ่มคอและ บรรเทาอาการไอ
การรักษาประคับประคอง
การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อระบายเสมหะ
การรักษาจำเพาะ
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ปอดแฟบ
การพยาบาล แนะนำผู้ดูแล ดูแลเด็ก
พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด
ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น และแห้ง
หลีกเลี่ยง ควัน, กลิ่นฉุน, ควันบุหรี่, สารเคมี, ฝุ่น, สารระคายเคืองต่างๆ ซึ่งจะทำให้การอักเสบในหลอดลมเป็นมากขึ้น
การป้องกัน
การได้รับวัคซีนที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ (influenza) และไอกรน (pertussis)
ปอดบวม, ปอดอักเสบ (Pneumonia)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
ไวรัส ที่พบบ่อยได้แก่ respiratory syncytial virus, influenza, parainfluenza และ human metapneumoviru
แบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดในทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นทารกแรกเกิด) คือ Streptococcus pneumoniae
ลักษณะทางคลินิก
ฟังเสียงปอด มักได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อาจได้ยิน เสียง wheeze ร่วมด้วย
อาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน
อาจมี pleuritic chest pain ซึ่งเป็นอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เหมือนถูกเข็มแทง มีอาการมากเวลาหายใจเข้าลึกๆ เกิดจากมีน้ำหรือหนองใน ช่องเยื่อหุ้ม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (CBC
การตรวจ acute phase reacta
ภาพรังสีทรวงอก
การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจหาเชื้อ atypical bacteria
การตรวจหาเชื้อไวรัส
การทดสอบทูเบอร์คูลิน
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ให้ยาพ่นขยายหลอดลมในรายที่ฟังปอดได้ยินเสียง wheeze หรือ rhonchi
การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physical therapy)
การรักษาตามอาการ
การรักษาจำเพาะ
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของปอดบวม
น้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
ฝีในปอด
การป้องกัน
เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบหายใจ ได้แก่ conjugated pneumococcal vaccine, Hib vaccine และวัคซีนป้องกันโรค ไอกรน
น้ำในเยื่อหุ้มปอดจากการติดเชื้อ (Parapneumonia effusion)
ลักษณะทางคลินิก
ประวัติ มีการติดเชื้อที่ปอดนำมาก่อน มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย ถ้ามีน้ำในเยื่อหุ้มปอดปริมาณมากอาจทำให้เจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้าลึกๆ แน่นหน้าอก
ร่างกาย ทรวงอกด้านที่มีน้ำในเยื่อหุ้มปอดเล็กน้อยอาจได้ยิน เสียง pleural rub
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray)
อัลตราซาวด์ทรวงอก (chest ultrasonograpy)
. เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
การเพาะเชื้อในเลือด (blood culture)
การย้อมสีแกรม (Gram stain)
การวิเคราะห์น้ำในเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid analysis)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Streptococcus pneumoniae, Staphylococcus aureus, Haemophilus influenzae
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ยาต้านจุลชีพ
การเจาะระบายน้ำในเยื่อหุ้มปอด
การใส่ท่อระบายน้ำในเยื่อหุ้มปอด
การใส่ยาละลายไฟบริน (fibrinolytic agent) ในเยื่อหุ้มปอด
การผ่าตัด
การนัดติดตามอาการ
โรคหอบหืดในเด็ก(Asthma)
คำนิยาม
Airway inflammation
inceased airway responsiveness to a variety of stimuli
Reversible or partial reversible airway obstruction
เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคหืด
มีภาวะการอุดกั้นของหลอดลม
ภาวะการอุดกั้นของหลอดลมดังกล่าวอาจจะหายไปได้หรือดีขึ้นเอง หรือหลังจากได้รับการ รักษา (reversible airway obstruction)
ได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการอุดกั้นของทางเดินระบบหายใจอื่นๆออกไปแล้ว
การวินิจฉัยโรคหืดในเด็ก
ประวัติ มีอาการไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงวี้ด
การตรวจร่างกาย
การตรวจพิเศษเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย
การตรวจภาพรังสีทางทรวงอก (chest X-ray)
การวัดสมรรถภาพการทํางานของปอด (pulmonary function test)
การรักษา
การรักษาขณะมีอาการหอบ
ให้ยาขยายหลอดลม ให้ผลเร็วกว่าการฉีด ถ้าไม่สามารถพ่นยาได้อาจใช้ยาฉีด เช่น adrenalin, aminophylline
ให้ยา corticosteroid ควรให้ทันทีขณะที่หอบมาก เป็นยาลดการอักเสบจะได้ผลหลังให้ยา 6-8 ชั่วโมง
การรักษาโรคหืดระยะยาว
กายภาพบำบัดทรวงอก เช่น การฝึกการหายใจ การไออย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ยาเพื่อรักษาภาวะหลอดลมหดเกร็ง
เสียงหวีด (Wheeze)
หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchiolitis)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ respiratory syncytial virus (RSV)
อาการและอาการแสดง
มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
หายใจเร็ว
หายใจลำบาก
wheezing or crackles
การรักษา
การให้ออกซิเจน
การให้สารน้ำ
การให้ยาพ่น
การดูดน้ำมูก ไม่ควรดูดน้ำมูกโดยการใส่สายดูดลึกเกินไป และดูดน้ำมูกตามความจำเป็น
ภาวะแทรกซ้อน
การหยุดหายใจ
ภาวะหายใจล้มเหลว
Syndrome of inappropriate antidiuretic hormone (SIADH)
ภาวะปอดแฟบ
การป้องกัน
การป้องกันการติดเชื้อ RSV ในโรงพยาบาล ใส่ถุงมือและเสื้อกาวน์ช่วย ลดการแพร่กระจายของเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อ RSV ในผู้ป่วยเด็กทั่วไป ควรให้คำแนะนำผู้ปกครองให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
เสียงหวีดที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัส (Viral induced wheeze)
สาเหตุ
Intraluminal airway obstruction
Intramural airway obstruction
Bronchospasm การติดเชื้อบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการหดเกร็งของ กล้ามเนื้อหลอดลม
แนวทางการรักษาผู้ป่วย viral induced wheezeระยะเฉียบพลัน
การพิจารณารับไว้ในโรงพยาบาล
อาการไม่ดีขึ้นหรือยังหายใจเร็วหลังจากพ่นยาขยายหลอดลม 1-2 ครั้ง
มีภาวะขาดน้ำชนิดปานกลางรุนแรงร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี
ออกซิเจน แนะนำให้ออกซิเจน เพื่อรักษาระดับออกซิเจนให้ได้ ร้อยละ 95 ขึ้นไป
ยาขยายหลอดลม
สเตียรอยด์(systemic corticosteroids) พิจารณาให้เฉพาะใน รายที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลและมีอาการรุนแรง
การวินิจฉัยการพยาบาล
เด็กมีความกลัว วิตกกังวล เนื่องจากภาวะหายใจลำบากและต้องอยู่โรงพยาบาล
ครอบครัวอาจรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวล เนื่องจากอาการหายใจลำบากของเด็กและการรักษาที่ได้รับ
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลม การบวมของหลอดลมหรือมีการสร้างเสมหะมากขึ้น
มีโอกาสขาดสารน้ำและขาดสมดุลของ electrolyte เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากภาวะหายใจเร็ว เหงื่อออกมาก และได้รับสารน้ำลดลงจากอาการหายใจลำบาก
การส่งเสริมประสิทธิภาพการหายใจในเด็ก
จัดท่าเคาะปอด
ท่าที่1
ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก
ท่าที่2
ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัด เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่
ท่าที่3
ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้าจัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย
ท่าที่ 4
ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาจากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย
ท่าที่ 5
ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมา เล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย
ท่าที่ 6
ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง จัดท่าศีรษะต่ำ 30o นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก
ท่าที่7
ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง จัดท่าศีรษะต่ำ 30°นอนคว่ำ เคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า
การพยาบาลเด็กป่วยที่ได้รับออกซิเจน
การให้การรักษาด้วยออกซิเจนในโรงพยาบาล (Acute care setting)
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด
ผู้ป่วยหลังการดมยาสลบ โดยให้ในระยะเวลาสั้นๆ
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (PaO2 ในเลือด < 60 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 90% หรือทำรกที่มี PaO2 ในเลือด < 50 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 88% ขณะหายใจในอากาศธรรมดาหรือ room air)
การประเมินและการติดตามผู้ป่วย
ปรับปริมาณออกซิเจนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยติดตามอาการทางคลินิกหรือใช้เครื่อง pulse oximeter ร่วมด้วย
กรณีเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรให้ออกซิเจนเพื่อรักษาระดับค่ำความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด แดง (SpO2 ) ให้อยู่ระหว่าง 94%-98% สำหรับผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังที่มีแนวโน้มจะเกิด hypercapnic respiratory failure ค่ำ SpO2 ควรอยู่ระหว่าง 88%-92%
ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจนต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษกลุ่ม paraquat หรือเคยได้รับยาในกลุ่ม bleomycin
นทำรกเกิดก่อนกำหนด ระดับ PaO2 ที่สูงกว่า 80 มม.ปรอท อำจทำให้เกิด retinopathy of prematurity
ผลข้างเคียงจากแหล่งกำเนิดออกซิเจน อาจเกิดการระเบิดหรือติดไฟได้
ผลข้างเคียงจากอุปกรณ์ที่ให้ ขึ้นกับชนิดของอุปกรณ์ที่ให้ดังกล่าวข้างต้น
การให้การรักษาด้วยออกซิเจนที่บ้าน (Home oxygen therapy)
การประเมินและติดตามผู้ป่วย
การเตรียมผู้ป่วย
การเตรียมครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย
การติดตามผู้ป่วย
การลดออกซิเจน
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (SpO2 <90% ขณะหายใจในอากาศธรรมดา) โดยไม่ได้มีสาเหตุจาก cyanotic heart disease
ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีภาวะพร่องออกซิเจนขณะพัก แต่มีภาวะพร่องออกซิเจนเฉพาะเวลาที่มีกิจกรรมบางอย่าง เช่น ขณะหลับ
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแล เด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโรค การดูแลรักษาทั่วไป พยาบาลควรแนะนำและสอนวิธีการปฏิบัติ ที่ถูกต้องให้กับผู้ดูแล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ดูแลได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานยาตามแผนการรักษา
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาให้คำแนะนำในการดูแลให้ออกซิเจนอย่างถูกต้องเหมาะสม
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจรักษาตามนัด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม