Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการ วิทยาการระบาด, นางสาวกนกวรรณ ไร่สงวน เลขที่ 5A - Coggle…
แนวคิดและหลักการ
วิทยาการระบาด
แนวคิด
Hippocrates
" ไม่มีโรคใดๆเป็นโรค
ที่มาจากสวรรค์ และทุกโรคมีผลมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น
"( No disease was sacred and that disease resulted
from natural cause)”
ระบาดวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
ศึกษาการกระจายของโรคใน
ชุมชน ค้นหาสาเหตุของโรค ปัญหาอนามัยชุมชน การควบคุมและป้องกันโรคที่
เกิดขึ้นทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
การวินิจฉัยชุมชน ตามลักษณะบุคคล เวลา
สถานที่ การคาดคะเน แนวโน้มของการ
เจ็บป่วยการตายด้วยโรคหรือปัญหา
อนามัยชุมชน ตลอดจนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่
สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) บุคคล (Host) และสิ่งแวดล้อม (Environment)
ระบาดวิทยา
คือ การศึกษาการกระจาย และสิ่งกำหนดของการเกิดโรคหรือปัญหาด้าน
สุขภาพในประชากรรวมถึงการใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นในการป้องกัน
และควบคุมโรค
ความเชื่อพื้นฐาน(Assumption)
ปัญหาสาธารณสุข เช่น โรค ภัย ไข้
เจ็บส่วนใหญ่เป็น
เรื่อง ธรรมชาติ
ปัญหาสาธารณสุข บางครั้งเกิดโดยบังเอิญ หรือหา
คำอธิบายไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากสาเหตุที่
อธิบายได้โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นหลายๆรายในสถานที่
และเวลาใกล้กัน (Cluster)
ธรรมชาติของระบาดวิทยา (Nature of Epidermiology)
เป็นองค์ความรู้ (Body of knowledge)
หรือผลจากการศึกษาทาง
ระบาดวิทยาที่มีการรวบรวมไว้ เป็นสิ่งที่อธิบายให้เข้าใจถึงลักษณะการเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ในด้านการเกิดการกระจายและสิ่งกำหนดของโรคนั้นๆ
สิ่งที่เป็นองค์ความรู้อาจอยู่ในรูป
ของข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เป็นตัวเลขสถิติ และรายงานต่างๆ
รายงานของการศึกษาวิจัย
เป็นวิธีการสำหรับศึกษา (Method of study)
2.1ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology)
เป็นการศึกษาลักษณะการ
เกิดโรคในชุมชนเพื่อให้ทราบว่าเกิดโรคอะไร เกิดกับใคร ที่ไหน และเกิดเมื่อไร
2.2ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (Analysis Epidemiology)
เป็นขั้นตอนต่อจากการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา กล่าวคือ เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ให้ทราบถึงลักษณะเฉพาะของปัญหา
เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่
เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
แบ่งออกเป็น
Cohort Study คือ การศึกษาไปข้างหน้าโดยการเฝ้าระวังผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ศึกษาโรค สาเหตุของโรค โดยมีการติดตามและสังเกตการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหนึ่งครั้งขึ้นไป
Case control Study คือ การศึกษาย้อนหลังโดยเริ่มจากผลที่เกิดขึ้น
Cross- Sectional Study คือ การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ต่างๆกับโรค
2.3 ระบาดวิทยาเชิงทดลอง (Experimental Epidemiology)
เป็นการศึกษาโดยใช้การ
ทดลองทางคลินิกคือการทดลองในชุมชนเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยสาเหตุ เช่น ทดสอบผลของยาวัคซีนป้องกันโรค เป็นต้น
นางสาวกนกวรรณ ไร่สงวน เลขที่ 5A