Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค …
แนวทางการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค
ฉบับวันที่ 9 มีนาคม 2564
การเฝ้าระวังในระบบปกติ โดยการตรวจทุกรายที่เข้าเกณฑ์หรือแพทย์เห็นควรให้ตรวจ แบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1.(Patient Under Investigation : PUI)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดในประชากร ดำเนินการในทุกจังหวัด โดยทำการเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และกลุ่มก้อนของผู้ป่วยทางเดินหายใจในชุมชน โดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) ส่งตรวจยืนยันทุกรายที่มีอาการตามนิยามผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI)
นิยามผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Investigation : PUI)
ฉบับวันที่14 พฤศจิกายน 2563
กรณีที่1 การเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่
37.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป
มีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการดังต่อไปนี้ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่นลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
ปัจจัยเสี่ยง
มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากต่างประเทศ ทุกเที่ยวบิน/ทุกช่องทางระหว่างประเทศ
มาตรการการกักกัน
กรณีตรวจไม่พบเชื้อ
กักกันตามมาตรการ
กรณีที่ 2 การเฝ้าระวังในผู้สงสัยติดเชื้อ/ผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
อาการอย่างน้อยหนึ่งอย่างดังต่อไปนี้ให้ประวัติว่ามีไข้/วัด อุณหภูมิกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยง
1) 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย มีประวัติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ดังต่อไปนี้
1.1) เดินทางไปยัง/มาจาก/หรืออยู่อาศัย ในประเทศที่มีการรายงานโรคในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
1.2) สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1.3) ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมตัว
ของกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือ ขนส่งสาธารณะ ที่พบผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
1.4) ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค
2) แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
มาตรการการกักกัน
กรณีตรวจไม่พบเชื้อ
กักกันตามมาตรการในกรณี1.1) ทุกกรณี1.2) และ 1.3) กรณีที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผุ้ป่วยที่ยืนยัน
กรณีอื่น ๆ ดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติของโรคที่เป็น
กรณีที่ 3 การเฝ้าระวังในบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
อาการและอาการแสดง
อาการอย่างน้อยหนึ่งอย่าง
ดังต่อไปนี้ให้ประวัติว่ามีไข้/วัดอุณหภูมิกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
ปัจจัยเสี่ยง
ปฏิบัติหน้าที่ในสถานบริการสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลคลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สถานที่
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร้านขายยา หรือเป็นสมาชิกทีม
สอบสวนโรค หรือปฏิบัติงานในสถานที่กักกันโรค โดยพิจารณาตามความเหมาะสม
มาตรการการกักกัน
กรณีตรวจไม่พบเชื้อ
ดูแลรักษาตามแนวทาง
เวชปฏิบัติของโรคที่เป็น
กรณีที่ 4 การเฝ้าระวังผู้มีอาการติดเชื้อระบบ
ทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน
อาการและอาการแสดง
ผู้มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน(cluster) ตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป ในสถานที่เดียวกัน
มาตรการการกักกัน
กรณีตรวจไม่พบเชื้อ
ดูแลรักษาตามแนวทาง
เวชปฏิบัติของโรคที่เป็น
ปัจจัยเสี่ยง
เป็นกลุ่มก้อนในสถานที่และ ช่วงสัปดาห์เดียวกัน โดยมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา
2.การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดในประชากร ดำเนินการทุกจังหวัด โดยทำการเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่ก่อนการทำหัตถการ ตามแนวทางประกาศของกรมการแพทย์ โดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) ส่งตรวจยืนยันทุกราย
3.การเฝ้าระวังในผู้เดินทางเข้าประเทศ และอยู่ในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด (Quarantine facilities)
วัตถุประสงค์
เพื่อค้นหาการติดเชื้อของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อให้การรักษา และควบคุมไม่ให้แพร่เชื้อไปยังชุมชนทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการแสดง
แนวทางการเฝ้าระวัง (พฤศจิกายน 2563)
กรณีState Quarantine (SQ) และ Alternative State Quarantine (ASQ) ให้เก็บตัวอย่างอย่างน้อย2 ครั้งโดยเก็บครั้งแรกในวันที่ 3–5 และครั้งที่สองในวันที่ 11–13 หลังจากเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
กรณีที่เป็น Alternative Hospital Quarantine (AHQ) ให้เก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง โดยเก็บครั้งแรกในวันที่ 0–1 ครั้งที่สองในวันที่ 7 และครั้งที่สามในวันที่ 11–13 หลังจากเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
4.การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ต้องขังแรกรับในเรือนจำ สถานพินิจ ผู้หลบหนีเข้าเมือง ศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจจับการระบาดของโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงได้อย่างทันเวลา และดำเนินการในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากโดยดำเนินการตามที่
โดยดำเนินการตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด ได้ 2 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
ผู้ต้องขังแรกรับในเรือนจำ ทัณฑสถาน สถานพินิจทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงผู้เดินทางจากต่างประเทศที่ต่อมาถูกตรวจพบว่าต้องคดีและอยู่ระหว่างรอส่งศาลข้ามจังหวัด
แนวทางการเฝ้าระวัง
ให้เก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) ในผู้ต้องขังแรกรับทุกราย จำนวน 2 ครั้ง โดยเก็บครั้งแรกในวันแรกรับ(วันที่ 1-3) และครั้งที่สองในวันก่อนกลับเข้าเรือนนอนปกติ (วันที่ 13-14)
ผู้ต้องกักแรกรับในศูนย์กักตัวผู้ต้องกักตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่งทั่วประเทศ
ให้เก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) ในผู้ต้องขังแรกรับทุกราย จำนวน 2 ครั้ง โดยเก็บครั้งแรกในวันแรกรับ(วันที่ 1-3) และครั้งที่สองในวันก่อนกลับเข้าเรือนนอนปกติ (วันที่ 13-14)
หลบหนีเข้าเมืองที่ถูกจับกุม
ให้เก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) จากผู้หลบหนีเข้าเมืองทุกรายที่ถูกจับกุม จำนวน 1 ครั้ง ในวันที่ตรวจจับได้หรือวันถัดไป
จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประเทศจีนจนมีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก การระบาดยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กรมควบคุมโรค จึงได้มีข้อกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
การเฝ้าระวัง Sentinel surveillance แบ่งได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยทางเดินหายใจและผู้ป่วยปอดอักเสบ
1) การเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการระบบทางเดินหายใจ (Acute respiratory tract infection (ARI))
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการทางเดินหายใจ อย่างน้อย 2 ข้อ
ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย
การเก็บตัวอย่างจากผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจตามนิยามที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก
เก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab (NPS) เก็บ 10 ราย/วัน โดยเริ่มวันแรกของวันทำการในแต่ละสัปดาห์จนครบปริมาณที่กำหนด หากไม่ครบให้เก็บต่อในวันถัดไปจนกว่าจะครบ
2) การเฝ้าระวังผู้ป่วยปอดอักเสบ
(Community acquired pneumonia (CAP))
ผู้ป่วยที่ไม่จำกัดเพศ อายุ สัญชาติ
มาด้วยอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย หรือมีผลการตรวจเอกซเรย์ปอดสงสัยว่ามีภาวะปอดอักเสบ
การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบ (Community Acquired Pneumonia, CAP)
โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง เสมหะ หรือ tracheal
suction
กรณีที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ส่งตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 จำนวน 10 ราย/สัปดาห์โดยให้เริ่มเก็บในวันทำการแรกของสัปดาห์หากไม่ครบให้เก็บต่อในวันถัดไปจนกว่าจะครบ
2.การเฝ้าระวังกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขด่านหน้าในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐที่ไม่เข้าเกณฑ์ PUI
เพื่อตรวจจับการระบาดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขด่านหน้าในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐที่ไม่เข้าเกณฑ์PUI ดำเนินการทุกจังหวัด
เจ้าหน้าที่คัดกรอง
พนักงานเปล
เจ้าหน้าที่ห้องตรวจ ARI ผู้ดูแลคนไข้ในแผนก RCU/ICU
แพทย์
พยาบาล
เภสัชกร
ทันตแพทย์
นักกายภาพ
และบุคลากรตามเห็นสมควร
วิธีการตรวจ
เก็บตัวอย่าง NPS หรือตัวอย่างน้ำลาย จำนวน 25 ตัวอย่าง/จังหวัดโดยตรวจตัวอย่างแบบ Pooled sample ด้วยวิธี RT-PCR (แต่หากพื้นที่มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจแบบ individual อยู่แล้ว อนุโลมให้สามารถนำผลมารายงานได้) ดำเนินการทุกๆ 2 สัปดาห
3.การเฝ้าระวังกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความเสี่ยงสูงในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด (SQ, ASQ,LQ, ALQ, AHQ, OQ)
เพื่อตรวจจับการระบาดในกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความเสี่ยงได้อย่างทันเวลาดำเนินการเฉพาะจังหวัดที่มีสถานกักกันซึ่งทางราชการกำหนด (SQ, ASQ, LQ, ALQ, AHQ, OQ)
วิธีการสุ่มตรวจ
ผู้คัดกรองผู้ต้องกัก
แม่บ้านทำความสะอาดห้องพัก/เก็บขยะ
งคนขับรถบัสรับส่งจาก
สนามบินมายังสถานกักกัน
วิธีการตรวจ
เก็บตัวอย่าง NPS หรือตัวอย่างน้ำลาย
จำนวน 5 ตัวอย่าง โดยตรวจตัวอย่างแบบ Pooled sample ด้วยวิธี RT-PCR (แต่หากพื้นที่มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจแบบ individual อยู่แล้ว อนุโลมให้สามารถนำผลมารายงานได้) ดำเนินการทุกๆ 2 สัปดาห์
4.การเฝ้าระวังกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่ด่านเข้าออกระหว่างประเทศทุกช่องทาง
เพื่อตรวจจับการระบาดในกลุ่มเสี่ยงได้อย่างทันเวลา ดำเนินการเฉพาะจังหวัดที่มีด่านระหว่างประเทศทุกช่องทาง
โดยสุ่มตรวจเจ้าหน้าที่ที่มีความเสี่ยงสูง
ผู้คัดกรองนักเดินทาง ผู้ตรวจเอกสาร
โดยพิจารณาตามหลักการตรวจแบบ 5-5 คือ
คัดเลือกด่านเข้าออกระหว่างประเทศทุกช่องทาง จำนวน 5 แห่งแต่ละแห่ง ให้เก็บตัวอย่าง NPS หรือตัวอย่างน้ำลาย จำนวน 5 ตัวอย่าง
โดยตรวจตัวอย่างแบบ Pooled
sample ด้วยวิธี RT-PCR (แต่หากพื้นที่มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจแบบ individual อยู่แล้ว อนุโลมให้สามารถ
นำผลมารายงานได้) ดำเนินการทุกๆ 2 สัปดาห์
5.การเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ในชุมชน
โดยพิจารณาตามหลักการตรวจแบบ 5-5-5 โดยให้ทุกจังหวัดพิจารณาคัดเลือกSetting ที่มีความเสี่ยงแต่ละจังหวัดตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด จากจำนวน 11 Setting ให้คัดเลือก Setting จำนวน 5 Setting แต่ละ Setting ให้คัดเลือก จำนวน 5 แห่ง
ให้เก็บตัวอย่าง NPS หรือตัวอย่างน้ำลาย จำนวน 5 ตัวอย่าง โดยตรวจตัวอย่างแบบ Pooled sample ด้วยวิธี RT-PCR (แต่หากพื้นที่มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจแบบ individual อยู่แล้ว อนุโลมให้สามารถนำผลรายงานได้) ดำเนินการทุกๆ 2 สัปดาห์
นางสาวสุรีรัตน์ เผ่าหอม เลขที่ 69
นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 26 ห้องB
แหล่งข้อมูล: สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข