Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจ - Coggle Diagram
บทที่ 3 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจ
3.1 การพยาบาลเด็กที่มีความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด
Ventricular Septum Defect
VSD เป็นความผิดปกติของหัวใจที่มีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle, RV) และซ้าย (left ventricle, LV) เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่พบบ่อยที่สุด พบอุบัติการณ์ 2-6 คนต่อทารก
อาการและอาการแสดง:
ขึ้นกับขนาดของรูรั่วและแรงต้านทานหลอดเลือดในปอด ในกรณีที่รูรั่วมีขนาดเล็ก (small VSD) เด็กจะไม่มีอาการใดๆ มักตรวจร่างกายพบโดยบังเอิญ ส่วนในเด็กที่มีรูรั่วขนาดกลางหรือใหญ่ (moderate or large VSD) จะมีภาวะหัวใจวาย โดยจะมีอาการได้ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า
การรักษา
การรักษาจำเพาะ การผ่าตัดหรือปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ ซึ่งมีข้อบ่งชี้ดังนี้
2.2 การสวนหัวใจพบสัดส่วนของปริมาณเลือดไปปอด (Qp) มากกว่าร่างกาย (Qs) โดยอัตราส่วนมากกว่า 2:1
2.3 มีภาวะแทรกซ้อนจาก VSD เช่น ผู้ป่วย small VSD ที่มี AR, subaortic หรือ subpulmonic stenosis, มีการติดชื้อที่ลิ้นหัวใจและความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง
2.1 มีภาวะหัวใจวายและไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
การรักษาทั่วไป ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวาย
Patent Ductus Ateriosus
PDA เป็นความผิดปกติที่มีหลอดเลือด ductus arteriosus ยังเปิดอยู่หลังเกิด ซึ่งเป็นหลอดเลือดเกินเชื่อมระหว่าง aorta และ PA สาเหตุเกิดจาก aortic arch ข้างซ้ายคู่ที่ 6 ไม่ฝ่อไป9 พบบ่อยรองลงมาจาก VSD โดยพบร้อยละ 5-10 ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
การรักษา
การรักษาทั่วไป ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวาย
การรักษาจำเพาะ คือการปิด PDA ได้แก่
a.การให้ยา prostaglandin synthetase inhibitor
b.ทำ PDA ligation ในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ไม่สามารถให้ยา
การปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ ใช้รักษาผู้ป่วย PDA ทีมีน้ำหนักมากกว่า 6 กก.
Coarctation of Aorta
เป็นภาวะที่มีการตีบตันของ aorta ส่วนใหญ่เกิดที่ aortic isthmus ใต้ left subclavian artery แบ่งออกได้ 3 ชนิดคือ 1) preductal type มีการตีบก่อนถึง ductus arteriosus มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เล็ก ๆ 2) interrupted aorta เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด มีการขาดติดต่อระหว่าง aortic arch กับ descending aorta 3) postductal type มีการตีบใต้ต่อ ductus arteriosus โดยทั่วไปแล้วกลุ่มนี้จะมีชีวิตโตจนถึงเป็นผู้ใหญ่ได้ โดยทั่วไป
Tetralogy of Follot
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงแรกเกิด แต่มักตรวจพบแรกเกิดจากการที่ตรวจได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ (Heart murmur) ส่วนใหญ่อาการแสดงจะพบในหกเดือนแรกโดยอาการที่พบได้แก่
เขียว (cyanosis) ตำแหน่งที่สังเกตได้คือ ริมฝีปาก เล็บ ลิ้น เยื่อบุในช่องปากและ conjunctiva
การรักษา
จากตัวโรค การรักษาหลักคือการผ่าตัดแก้ไขเนื่องจากมีโครงสร้างผิดปกติหลายส่วน อย่างไรก็ตามระหว่างช่วงที่รอการผ่าตัดแพทย์สามารถให้การดูแลและให้คำแนะนำเพื่อช่วยลดอาการเขียวและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
Atrial Septum
Defect
เป็นความผิดปกติของหัวใจที่มีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนขวา (RA) และซ้าย (LA) มักมีรูรั่วเดียวแต่ก็อาจพบรูรั่วหลายรูได้ ลักษณะรูรั่วอาจมีรูปร่างกลมหรือรี พบร้อยละ 8-10 ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
การรักษา
1.ผู้ป่วยที่มี primum ASD, sinus venosus ASD และ coronary sinus ASD ทุกราย ต้องได้รับการผ่าตัดทำ direct closure หรือ patch closure เนื่องจากไม่สามารถปิดได้เอง
2.ผู้ป่วย secundum ASD ที่มีขอบของรูรั่ว ASD มากกว่า 5 มม. และมีแรงต้านทานหลอดเลือดในปอดน้อยกว่า 8 WU.m2 รักษาด้วยการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ
3.2 การพยาบาลเด็กป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง
Rheumatic Heart Disease
สาเหตุ
โรคนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนของคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื้อว่า บีตาฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (beta-hemolytic Streptococcus group A) ซึ่งอาจพบได้ประมาณร้อยละ 0.3-3 ของ ผู้ป่วยที่เป็นคออักเสบหรือทอลซิลอักเสบจากเชื้อชนิดนี้
อาการ
มักเกิดหลังคออักเสบหรือ ทอนซิลอักเสบประมาณ 1- 4 สัปดาห์ ทำให้มีอาการอักเสบของข้อต่าง ๆ และมักมีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
การรักษา
หากสงสัยเป็นไข้รูมาติก ควรแนะนำผู้ป่วยไป ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
การป้องกัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาคออักเสบ หรือทอนซิลอักเสบ จากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอด้วยยาปฏิชีวนะให้ได้ครบ10 วันเป็นอย่างน้อย
3.3 การพยาบาลเด็กที่มีภาวะหัวใจวาย
ด้านโภชนาการ ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในเด็กที่มีอาการหัวใจวาย มีอาการหอบบวมควรให้อาหารลดเค็ม ให้น้ำพอสมควร
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น
การออกกำลังกาย ในกลุ่มเด็กที่ไม่มีอาการทำได้เช่นปกติ (ยกเว้นบางกรณี เช่น มีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจบางชนิด หรือลิ้นหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้เด็กจะไม่มีอาการเมื่ออยู่เฉยๆ
การป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อจากฟันหรือช่องปาก ต้องดูแลสุขภาพฟันให้ดี รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน หรือการผ่าตัดบางชนิดตามคำแนะนำของแพทย์
ควรมีความเข้าใจอย่างดียิ่งในการให้ยาทางโรคหัวใจในรายที่จำเป็น เช่น ก่อนและหลังการผ่าตัด หรือในเด็กบางรายที่จำเป็นต้องได้ยาตลอดชีวิต เช่น เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจหรือเป็นโรคหัวใจบางชนิดที่ไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้