Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาต้านเศร้า - Coggle Diagram
ยาต้านเศร้า
กลุ่ม
1.ยากลุ่ม tricyclic antidepressants (TCA) หรือ nonselective inhibition of norepinephrine and serotonin
-
ผลข้างเคียงของยา
ประสาทส่วนปลาย
-
ผลต่อหัวใจหลอดเลือด เลือด เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachycardias)
-
-
การพยาบาล
- ติดตามประเมินระดับของยาในเลือดและการเต้นของหัวใจโดยระดับยาในเลือดของกลุ่ม TCA ที่ใช้ในการรักษาคือ 300 mg / ml และถ้าเกิน 450 mg / ml จะเป็นระดับที่มีพิษต่อร่างกาย และหากเกิน 1,000 mg / ml จะเป็นระดับที่มีพิษรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้และหากมีภาวะเป็นพิษของยาให้ใช้ยาแก้พิษ ได้แก่ physostigmine (antilirium)
- ดูแลบรรเทาความไม่สุขสบายจากผลข้างเคียงของการใช้ยา โดยผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ตาพร่ามัว ปวดตา ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ให้ดูแลตามอาการเพื่อบรรเทาอาการที่ไม่สุขสบาย สำหรับผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการง่วงซึมแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการขับรถ อาการเพ้อ สับสน หรืออาการแมเนีย แนะนำให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ และการฆ่าตัวตายให้ติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพราะยาต้านเศร้าจะเพิ่มแรงจูงใจในการฆ่าตัวตายเนื่องด้วยยาต้านเศร้าจะเพิ่มพลังให้ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้ามาก สามารถที่จะทำตามความคิดในการฆ่าตัวตายได้จึงเป็นสิ่งที่พยาบาลจะต้องให้การดูแลติดตามอย่างใกล้ชิดหลังผู้ป่วยได้รับยาต้านเศร้า
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยาและผลข้างเคียงของยา ได้แก่ ยาจะเกิดประสิทธิผลในการรักษาโดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ไม่ควรหยุดยาทันทีเพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และความรู้สึกไม่สบายตัว หากมีอาการปวดตาให้ปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีอาการต้อหินได้ เป็นต้น
- ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
ยาต้านเศร้าเป็นยาที่มีประสิทธิผลในการรักษาโรคซึมเศร้า โรคตื่นตะหนก โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวสังคม การรับประทานอาหารผิดปกติและอาการผิดปกติภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ และเป็นยาที่มีความปลอดภัยไม่ก่ออันตรายถึงชีวิต แม้จะใช้ยาเกินขนาด
ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ fluoxetine (prozac), sertraline (zoloft), paroxetine (paxil), citalopram (celexa), escitalopram (lexapro), และ fluvoxamine (luvox)
ผลข้างเคียงที่พบจะไม่รุนแรง ได้แก่ ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่ม นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่ได้ หงุดหงิด ปวดศีรษะ วิงเวียน มือสั่น และความต้องการทางเพศลดลง
การพยาบาล
- บรรเทาอาการไม่สุขสบายที่เกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น หงุดหงิด เป็นต้น โดยการรักษาตามอาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา paroxetine, fluoxetine, citalopram, sertraline, และ escitalopram ให้ติดตามผลข้างเคียงเกี่ยวกับความต้องการทางเพศลดลง เพราะอาจนำไปสู่การตัดสินใจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาได้ โดยอาจแนะนำให้สังเกตขนาดยาที่ใช้ที่ทำให้ความต้องการทางเพศดีขึ้นหรือแนะนำในการลดขนาดยาหรือเปลี่ยนยาที่ใช้รักษา เป็นต้น
- แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการซีโรโตนินในทารกแรกเกิด ได้แก่ การกดทางเดินหายใจ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มือสั่น และน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
- ยากลุ่ม inhibition of enzymes (MAOIS)
เป็นยาที่ไปปิดกั้นเอนไซด์ในการสังเคราะห์นอร์อิพิเนฟฟิน ซีโรโตนิน และโดปามีน การปิดกั้นเอนไซด์จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยในการรักษาอาการซึมเศร้าซึ่งเป็นผลมาจากการมีสารสื่อประสาทเหล่านี้ต่ำกว่าปกติยากลุ่มนี้แม้จะใช้รักษาอาการซึมเศร้าได้ แต่มักใช้เป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษาเพราะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง
ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ phenelzine (nardil) และ tranylcypromine (parnate) เป็นยาที่ดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหารและถูกทำลายทางตับ
ผลข้างเคียงที่พบ ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ให้ติดตามประเมินความดันโลหิตและป้องกันอันตรายจากการหกล้มและบาดเจ็บ มีอาการอื่น ๆ เช่น ปากแห้ง ท้องผูก เป็นต้น ให้รักษาตามอาการเพื่อลดความไม่สุขสบาย การทำงานผิดปกติของตับและเม็ดเลือด ให้เจาะเลือดเพื่อติดตามการทำงานของตับและนับเม็ดเลือดหากมีความผิดปกติให้หยุดยา
การพยาบาล
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยาและผลข้างเคียง
การได้รับยา MAOIs สามารถเกิดปฏิกริยากับอาหารและยาบางชนิดและทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในการรับประทาน ได้แก่ อาหารที่มีไทรามีนสูง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์นม ชีส ผลไม้ และผัก (เช่น อโวคาโด กล้วย ถั่วปากอ้า เนื้อสัตว์ เช่น ตับไก่ เนื้อปลา ตับ ไส้กรอก เนื้อหมัก ปลาหมัก อาหารอื่น ๆ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อคโกแล็ต น้ำเต้าหู ยีสต์ เป็นต้น) และยาบางชนิด เช่น แอมแฟตามีน โคเคน เมทิลเฟนิเดท เป็นต้น)
- หากมีภาวะความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง ควรหยุดยาและปรึกษาแพทย์ และติดตามประเมินสัญญาณชีพและหากมีการใช้ยาเกินขนาดสิ่งที่ควรปฏิบัติ ได้แก่ ในระยะแรกควรมีการล้างท้อง การประเมินสัญญาณชีพและบรรเทาอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ เช่น หากมีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ เป็นต้น
การออกฤทธิ์
-
สัปดาห์ที่ 1-3 ยาจะช่วยให้ทำกิจกรรมต่างๆได้ขึ้น มีความต้องการทางเพศ เพิ่มการรู้คิดและความจำ การเคลื่อนไหวทางกายดีขึ้น
-
-
-