Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจ, การช่วยเหลือเมื่อเด็กมีภาวะเขียว…
บทที่ 3 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจ
1.กลไกการไหลเวียนระบบโลหิต
:<3:
หัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง
Atrium ซ้าย – ขวา มีผนัง Atrial septum กั้น
Ventricle ซ้าย - ขวา มีผนัง Ventricular septum กั้น
ภายในหัวใจ 4 ห้อง มีลิ้น (Valve) ของหัวใจ 4 ลิ้นดังนี้
Tricuspid valve กั้นระหว่าง Atrium และ Ventricle ขวาVentricle ซ้าย
Bicuspid valve หรือ Mitral valve กั้นระหว่าง Atrium และ
Pulmonary valve กั้นระหว่าง Ventricle ขวา และ pulmonary artery
Aortic valve กั้นระหว่าง Ventricle ซ้าย และ Aorta
2.การไหลเวียนเลือดในร่างกาย แบ่งเป็น 2 ระบบ
:<3:
Pulmonary Circulation เป็นการไหลเวียนของเลือดผ่านปอด โดยนำเลือดดำผ่าน เวนตริเคิลขวาเข้าสู่ปอดเพื่อขับคาร์บอนไดออกไซด์และรับออกซิเจนภายหลังแลกเปลี่ยนก๊าซแล้วได้เลือดแดงกลับเข้าสู่เอเตรียมซ้าย ทาง pulmonary vein
Systemic Circulation เป็นการไหลเวียนทั่วระบบของร่างกาย โดยการนำเลือดแดง ที่มีความเข้มข้นของงออกซิเจนสูงออกจาก เวนตริเคิลซ้าย ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วไหลผ่านหลอดเลือด Superior vena cava, inferior vena cava และ coronary sinus เข้าสู่เอเตรียมขวา
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด(Congenital Heart Disease)
:<3:
1.1 โรคหัวใจที่ไม่มีอาการตัวเขียว ( A Cyanotic Type)
:fire:
1.1.1 Ventricular Septal Defect (VSD)
:star:
ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect - VSD)
:red_flag:
มีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง
ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังห้องล่างขวา ออกสู่หลอดเลือดแดงของปอด
ส่งผลให้หัวใจห้องซ้ายทำงานมากขึ้นจนหัวใจวายได้
ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปยังปอดมีมากขึ้น ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
อาการและอาการแสดง
:red_flag:
มีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะเวลาดูดนม (Excessive perspiration)
ตัวเล็กเลี้ยงไม่โต พัฒนาการอาจปกติหรือล่าช้า(Weight gain จะช้า และ development โดยเฉพาะ gross motor จะช้า น้ำหนักตัวจะถูกกระทบมากกว่าเมื่อเทียบกับส่วนสูง)
ติดเชื้อระบบหายใจได้บ่อย และมีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย น้ำหนักขึ้นมากผิดปกติ ปัสสาวะลดลง ตับโต บวมจากน้ำคั่ง
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหัวใจ VSD
:red_flag:
ขนาดเล็กมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ฟังเสียงหัวใจได้ยินเสียงฟู่ตั้งแต่อายุ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจตรวจพบเมื่อเด็กอยู่ในวัยก่อนเรียน
ขนาดกลาง จะมีอาการหายใจเร็ว หายใจลำบาก เหนื่อยหอบและเหงื่อออกบวมน้ำ
ขนาดใหญ่ มีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม ดังนั้นเวลาให้นมต้องให้แบบหยด (Dropper) มีเหงื่อออกมาก หายใจเร็ว มักมีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย เวลาร้องไห้มีเขียวได้
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด
ภาวะความดันภายในหลอดเลือดที่ปอดสูง
ภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการมีเลือดคั่งในปอด
ภาวะติดเชื้อที่หัวใจ เนื่องจากการมีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง
การดูแลรักษา
:red_flag:
1. การดูแลรักษาในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด
:
การดูแลเพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย
ดูแลให้เด็กรับประทานยาป้องกันภาวะหัวใจวายอย่างถูกต้อง ไม่หยุดยาหรือเปลี่ยนยาเอง
ดูแลเด็กให้รับประทานนมและน้ำตามปริมาณที่แพทย์กำหนด
ดูแลเด็กไม่ให้เด็กรับประทานอาหารรสเค็ม อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่ผงชูรสและอาหารที่มีส่วนผสมของผงฟูเพราะจะทำให้เกิดอาการบวมและหัวใจทำงานมากขึ้น
ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารหรือนมในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เด็กเล็กให้ดูดนมแต่ละมื้อห่างกัน 2-3 ชั่วโมงและใช้หัวนมที่มีรูใหญ่เพื่อลดการใช้แรงดูดนม เด็กโตควรจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานสูงระหว่างมื้อและควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อลดการใช้พลังงาน
ดูแลให้เด็กนอนหลับอย่างเพียงพอเพื่อให้หัวใจเต้นช้าลงและบีบตัวมีประสิทธิภาพมากเด็กเล็กควรนอนวันละ 10-15 ชั่วโมงหรือเด็กโตวันละ 8-12 ชั่วโมงโดยจัดให้นอนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดีและเย็นจะช่วยให้เด็กนอนได้นานมากขึ้น
ไม่ควรให้เด็กร้องไห้นาน ควรหาสาเหตุที่ทำให้เด็กร้อง สนองความต้องการหรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการเล่นหรือของเล่นที่เด็กชอบ
งดการเล่นที่ต้องใช้แรงมากและมีการแข่งขัน
ป้องกันไม่ให้เด็กท้องผูกโดยให้รับประทานผัก ผลไม้หรือน้ำผลไม้ทุกวัน
เช็ดตัวลดไข้ให้เด็กทุกครั้งเมื่อมีไข้และควรพาไปพบแพทย์ เพราะการที่เด็กมีไข้จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น การบีบตัวจึงไม่มีประสิทธิภาพและทำให้หัวใจวายได้
10.เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าเด็กหัวใจวายให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์หรือนำเด็กไปพบแพทย์ทันที
ป้องกันการติดเชื้อที่ปอด
โดยดูแลไม่ให้เด็กอยู่ใกล้ผู้ที่เป็นหวัดหรือไอเรื้อรัง
ป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ
ด้วยการรักษาความสะอาดปากและฟันเมื่อมีฟันผุควรปรึกษาทันตแพทย์และแจ้งให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจเพื่อให้ยาป้องกันการติดเชื้อก่อนและหลังทำฟัน
2. การดูแลรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดปิดรูรั่ว เป็นการทำผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่มีโดยผ่าตัดปิดรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจ หลังผ่าตัดจะมีแผลผ่าตัดบริเวณกลางหน้าอก ผู้ปกครองยังต้องดูแลป้องกันภาวะหัวใจวายให้เด็กหลังผ่าตัดระยะแรกและพาเด็กมาตรวจตามแพทย์นัดหลังผ่าตัด หากการผ่าตัดประสบความสำเร็จดีสามารถแก้ไขความผิดปกติได้หมด เด็กจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
3. การรักษาด้วยการสวนหัวใจ
ปัจจุบันสามารถใช้วิธีการสวนหัวใจทำการปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างได้เป็นผลสำเร็จดีด้วยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายร่มนำไปปิดตรงบริเวณรูรั่ว วิธีนี้สามารถรักษาได้เฉพาะในรายที่มีรูรั่วขนาดเล็กเท่านั้น หากมีรูรั่วขนาดใหญ่หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถวางอุปกรณ์ปิดรูรั่วได้จะต้องรับการผ่าตัดแก้ไขต่อไป
การพยาบาลหลังการรักษาด้วยการสวนหัวใจ
:red_flag:
ประเมินสภาพแรกรับ, stability ของผู้ป่วยโดยการวัด vital signs ทุก 15 นาที × 1 ชั่วโมง ทุก 30 นาที × 1 ชั่วโมง, ทุกชั่วโมงจน stableหลังจากนั้นทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินสภาวะพื้นฐานทางระบบประสาท(Neurovascular status)
เฝ้าระวังภาวะเลือดออก และการเกิดเลือดออกในเนื้อเยื่อ (hematoma) บริเวณแผลที่ทำการสวนหัวใจ
ดูแลให้นอนพักบนเตียงและการจำกัดการเคลื่อนไหวของแขน/ขาข้างที่สวนหัวใจ
ประเมินและเฝ้าระวังอุณหภูมิทั้ง coreและ peripheral temperature
ประเมินและตรวจดูบริเวณตำแหน่งที่ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
1.1.2 Atrial Septal Defect (ASD) :star:
ASD เป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว ที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น เอเตรียม (Atrial septum) คือมีรูรั่วที่ผนังเอเตรียมซ้าย – ขวา พบประมาณ ร้อยละ 7-11 ของโรคหัวใจแต่กำเนิด มักปิดได้เองในขวบปีแรกแต่ถ้าต้องผ่าตัดจะทำเมื่อทารก อายุ 5-1 0 ปี
ผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect - ASD)
:red_flag:
ผลจากการที่มีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบน
ทำให้เลือดไหลผ่านจากหัวใจห้องบนซ้ายผ่านรูรั่วไปห้องบนขวา
ตรวจพบได้จากเสียงฟู่ที่หัวใจและผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ส่วนใหญ่มักถูกตรวจพบโดยบังเอิญ
สาเหตุ
:red_flag:
ผนังกั้นหัวใจบนรั่วเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดในระบบไหลเวียนโลหิตของทารก ในครรภ์ปกติจะมีรูเปิดอยู่ เพื่อให้เลือดนั้นไม่ต้องผ่านปอด (ระหว่างอยู่ในครรภ์ เลือดจะถูกฟอกผ่านรก โดยปอดจะยังไม่ทำงาน) โดยเลือดจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายแล้วผ่านลงไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย แล้วเลือดก็จะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไปและเมื่อเด็กเกิดออกมา ช่องโหว่นี้จะถูกปิด ถ้าไม่ปิด เลือดก็จะไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังห้องบนขวา หรือไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้าย
อาการและอาการแสดง
:red_flag:
อายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่มีอาการ เมื่อโตขึ้นมักตรวจพบโดยบังเอิญ
หากมีความดันเลือดในปอดสูง หรือ ASD มีขนาดใหญ่ มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก มีอาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
ตรวจร่างกาย คลำได้หัวใจห้องล่างขวาโตและเต้นแรงกว่าปกติ อาจคลำ thrill และ ฟังเสียง murmur ได้บริเวณกระดูกอกด้านซ้ายบน
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
โรคหัวใจล้มเหลว
การติดเชื้อแบคทีเรียในหัวใจ
ลิ้นหัวใจรั่ว
การเติบโตช้า
หัวใจบีบตัวผิดจังหวะ
ความดันในปอดสูง
การตรวจวินิจฉัยโรค
:red_flag:
ในเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยเสียงหัวใจที่ผิดปกติด้วยหูฟัง โดยจะช่วยให้ได้ยินเสียงฟู่หัวใจ (murmur)ซึ่งเป็นเสียงของเลือดที่ไหลลอดผ่านรูแคบๆความดังของเสียงจะขึ้นกับขนาดของรูรั่ว และปริมาณเลือดที่ผ่านรูรั่ว เอกซเรย์เพื่อดูขนาดของหัวใจและดูว่ามีน้ำท่วมปอดหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นระริกหรือไม่ และตรวจว่ามีหัวใจห้องล่างโตมากขึ้นหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ดูการบีบตัวของหัวใจ และดูทิศทางการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ
การสวนหัวใจเป็นการใช้ท่อ หรือสายเพื่อวัดความดันในห้องหัวใจและเส้นเลือดปอด
การตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การรักษา
:red_flag:
ในผู้ป่วยที่มีรูรั่วขนาดเล็ก รูรั่วจะค่อย ๆ เล็กลงและปิดได้เอง และหากผู้ป่วยแสดงอาการภาวะหัวใจล้มเหลว จำเป็นต้องใช้ยารักษา เพื่อประคับประคองอาการ หากไม่ดูแลรักษาอาจเกิด Infective endocarditis
หากมีรูรั่วขนาดใหญ่หรือแสดงอาการรุนแรงมากขึ้น จะต้องทำการรักษาโดยการปิดรูเหล่านี้ แพทย์อาจจะทำการปิดโดยการผ่าตัดปิดรูรั่วโดยใช้เยื่อหุ้มหัวใจ หรือวัตถุสังเคราะห์ หรือไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้วัสดุปิดรูเหล่านี้ผ่านทางสายสวนหัวใจ
1.1.3 Patent ductus ateriosus (PDA) :star:
เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่เกิดจากการมีเส้นเลือดหัวใจเกินที่เรียกว่าเส้นเลือดพีดีเอ เส้นเลือดนี้จะเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดที่นำเลือดดำไปฟอกที่ปอดและเส้นเลือดแดงที่นำเลือดออกไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
โดยปกติเส้นเลือดนี้จะใช้ในการไหลเวียนเลือดของทารกขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดา แต่หลังคลอดระบบการไหลเวียนเลือดของทารกจะเปลี่ยนจากเดิม ทำให้ไม่ต้องมีการใช้เส้นเลือดพีดีเออีกต่อไป
เส้นเลือดนี้จะมีผนังหนาขึ้นจนเกิดเนื้อเยื่อพังผืดภายในเส้นเลือดแล้วอุดหลอดเลือดในที่สุดและต่อมาเส้นเลือดจะค่อย ๆ ลีบเล็กลง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ หากยังเปิดอยู่นานเกินกว่า 1 เดือน ถือว่าเป็นเส้นเลือดเกิน ทำให้มีเลือดไหลลัดวงจรโดยเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงใหญ่จะไหลผ่านเส้นเลือดนี้ไปรวมกับเลือดดำที่ไปปอดจึงทำให้มีเลือดไปปอดมากขึ้นแล้วทำให้ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายตามมาได้
มีช่องเปิดระหว่างหลอดเลือดหัวใจใหญ่ทั้งสองเส้น (Patent Ductus Arteriosus - PDA)
:red_flag:
ทารกแรกเกิดทุกคนจะมีช่องเปิดระหว่างหลอดเลือดหัวใจสองเส้น (Aorta และ Pulmonary Artery) และจะปิดเองภายในหนึ่งชั่วโมงหรือไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ในกรณีผิดปกติช่องเปิดนี้จะไม่ปิด ส่งผลให้เลือดแดงกับเลือดดำผสมกัน ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ PDA
:red_flag:
การคลอดก่อนกำหนด
มีภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด
มารดาที่มีการติดเชื้อหัดเยอรมันหรือการได้รับสารต่างๆ เช่น ยาแอมเฟตามีน ยากันชัก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
อาการ
:red_flag:
ในเด็กที่มีเส้นเลือดเกินขนาดเล็ก มักไม่มีอาการผิดปกติแต่เป็นการตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อเด็กมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นแล้วไปพบแพทย์ ในบางรายอาจมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาเล่นเมื่อเทียบกับเด็กอื่น
ในเด็กที่มีเส้นเลือดเกินขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ มักมีอาการหัวใจวาย โดยมีอาการเหนื่อยหอบ กระสับกระส่าย หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมากเวลาดูดนม ดูดนมได้น้อยหรือไม่ดูดนม ปัสสาวะออกน้อย น้ำหนักขึ้นช้า อาการมักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 2 เดือนหรือหลังจากนั้น เพราะตามปกติเมื่อเด็กอายุมากขึ้นความดันในปอดจะค่อย ๆ ลดต่ำลง จึงทำให้มีเลือดไปปอดมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
1.ภาวะหัวใจวาย
2.ภาวะความดันภายในหลอดเลือดที่ปอดสูง
ภาวะติดเชื้อที่ปอด
ภาวะติดเชื้อที่หัวใจ
การดูแล
:red_flag:
ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยให้รับประทานยาครบถ้วน ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ดื่มนมหรือน้ำตามปริมาณที่แพทย์แนะนำและพาเด็กไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
ป้องกันการติดเชื้อ โดยดูแลความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะปากและฟันให้สะอาดหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
การรักษา
:red_flag:
1.1 การให้ยาเพื่อปิดเส้นเลือด PDA ยาที่ใช้รักษาเพื่อปิดเส้นเลือดเกิน คือ ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) โดยยานี้มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดเกินค่อย ๆ หดตัวและปิดในที่สุด ผลข้างเคียงของยาอาจทำให้ไตวายได้ หากได้รับยานี้ต้องสังเกตการปัสสาวะของเด็กว่าเด็กมีปัสสาวะน้อยลงหรือมีสีผิดปกติ
1.2 การให้ยาเพื่อควบคุมและป้องกันภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจวายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีเส้นเลือดเกินขนาดกลางและขนาดใหญ่ แพทย์จะให้ยาไดจ็อกซิน (digoxin) เพื่อช่วยบีบตัวให้หัวใจบีบตัวได้ดีขึ้น และให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ยาลาซิกซ์ (Lasix) อัลแด็กโตน (Aldactone) เป็นต้น เพื่อลดการคั่งของน้ำในร่างกาย
การรักษาด้วยการผ่าตัด ในเด็กที่ไม่มีอาการหัวใจวายจะทำผ่าตัดเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะร่างกายมีความสมบูรณ์และรอให้เส้นเลือดเกินปิดเอง โดยเส้นเลือดเกินนี้อาจปิดเองได้ภายในอายุ 1 ปี ส่วนในรายที่มีอาการหัวใจวายจนไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาจะต้องผ่าตัดปิดเส้นเลือดเกิน
3.การรักษาด้วยการทำสวนหัวใจ ปัจจุบันสามารถปิดเส้นเลือดเกินได้โดยไม่ต้องทำผ่าตัด ด้วยการใช้วิธีการสวนหัวใจและใช้อุปกรณ์พิเศษที่มีเหมือนขดลวดขนาดเล็กที่สามารถขดตัวอยู่ในหลอดเลือดแล้วทำให้มีลิ่มเลือด
มาเกาะที่บริเวณขดลวดนี้จนอุดหลอดเลือดเกิน เลือดจึงไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือดนี้ได้อีกต่อไป
1.1.4 ภาวะ Eisenmenger
:star:
ผู้ป่วยจะมีอาการไอเป็นเลือด (Hemoptysis ) เจ็บหน้าอก(Chest pain) หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Arrhythmia ) หอบเหนื่อย เป็นลม หมดสติ และอาจถึงแก่ความตาย การรักษาพยาบาล ดูแลตามอาการ เนื่องจากเป็นภาวะที่ไม่สามารถช่วยให้หายได้ ดังนั้นต้องดูแลประคับประคองไปตลอดชีวิต อธิบายและให้กำลังใจแก่พ่อแม่ของเด็ก
1.1.5 Coarctation of Aorta (CoA)
:star:
CoA เป็น การตีบแคบของ aorta ส่วนใหญ่พบที่ตำแหน่ง ใกล้รอยต่อ ductus ateriosus หรือ aortic arch
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่พบในทารกและชนิดที่พบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
:red_flag:
1). ชนิดที่พบในเด็กทารกจะมีการตีบแคบของเส้นเลือดเอออร์ต้าในตำแหน่งเหนือรอยต่อกับเส้นเลือดเกิน โดยเส้นเลือดส่วนที่อยู่เหนือรอยตีบแคบมักมีขนาดเล็กเป็นช่วงยาว ทำให้เลือดแดงไหลผ่านไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างได้น้อยมาก จึงต้องอาศัยเส้นเลือดเกินเพื่อให้มีเลือดดำไหลผ่านไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างและเมื่อเส้นเลือดเกินมีขนาดเล็กลงเด็กจะมีอาการแสดงของโรคจึงตรวจพบได้ตั้งแต่วัยทารก
อาการสำคัญ
:red_flag:
1.มีความดันโลหิตที่แขนสูงมากกว่าขา เนื่องจากเลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายไหลผ่านบริเวณที่ตีบแคบนี้ไปได้น้อย
2.มีอาการเขียวเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย ในรายที่เส้นเลือดเกินยังเปิดอยู่ เลือดดำบางส่วนจะไหลผ่านเส้นเลือดเกินผ่านเอออร์ต้าส่วนปลายไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่าง ซึ่งทำให้มีอาการเขียวบริเวณปลายเท้า เนื่องจากเป็นเลือดดำจึงมีออกซิเจนน้อย
3.หัวใจวาย เนื่องจากเลือดแดงไหลออกทางเอออร์ต้าได้น้อยเป็นเวลานานทำให้มีการคั่งของเลือดแดงในหัวใจห้องล่างซ้าย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาตัวมากขึ้น หัวใจจึงบีบตัวได้ไม่เต็มที่และต้องบีบตัวบ่อยครั้งมากขึ้นเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายเพียงพอ ทำให้มีหัวใจวายตามมา
4.มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ในรายที่มีการตีบแคบมากและเส้นเลือดเกินเล็กลงหรือปิดไปจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เด็กจะมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรที่ปลายมือเท้าเบาลง ปลายมือเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ความดันโลหิตต่ำ
การดูแลรักษา
:red_flag:
ป้องกันภาวะเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ แพทย์จะให้ยาพรอสต้าแกลนดินแก่เด็กทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยขยายเส้นเลือดเกินนี้ไว้ไม่ให้หดเล็กแต่ต้องระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจทำให้เด็กหยุดหายใจและมีไข้ได้
ควบคุมภาวะหัวใจวาย ในกรณีที่เด็กมีอาการหัวใจวายแพทย์จะให้ยาเพื่อควบคุมภาวะหัวใจวาย ได้แก่ ยาไดจ็อกซิน ยาขับปัสสาวะ ควรดูแลให้เด็กได้รับยาอย่างถูกต้องและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการดูแลเด็กเพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย
ทำผ่าตัด เมื่อสามารถควบคุมอาการหัวใจวายได้แล้วแพทย์จะทำผ่าตัดโดยตัดส่วนที่มีการตีบแคบออก
2). ชนิดที่พบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะมีการตีบแคบของเส้นเลือดเอออร์ต้าในตำแหน่งที่อยู่หลังรอยต่อกับเส้นเลือดเกิน และหลังเส้นเลือดที่แยกจากเอออร์ต้าไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่าง ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ จึงตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อเด็กโตหรือเป็นผู้ใหญ่
อาการ
:red_flag:
1.มีความดันโลหิตสูงที่แขนมากกว่าขา เนื่องจากเลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายไหลผ่านบริเวณที่ตีบแคบนี้ไปได้น้อย
มีภาวะหัวใจวาย เนื่องจากเลือดแดงไหลออกทางเส้นเลือดเอออร์ต้าได้น้อยเป็นเวลานานทำให้มีการคั่งของเลือดแดงในหัวใจห้องล่างซ้าย
การดูแลรักษา
:red_flag:
การทำผ่าตัด แพทย์จะทำผ่าตัดให้เมื่อหลอดเลือดของเด็กมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่หรืออายุ 3 ปีขึ้นไป เพราะถ้าทำผ่าตัดเร็วเกินไปจะมีการตีบแคบซ้ำได้ เนื่องจากจุดที่เย็บตัดต่อจะไม่โตขยายตาม แต่ถ้าปล่อยให้เป็นอยู่นานจนอายุเกิน 5 ปี อาจทำให้มีความดันโลหิตสูงและมีภาวะหัวใจวายได้
การทำบัลลูน เป็นการสวนหัวใจด้วยสายสวนชนิดที่สามารถทำให้ปลายสายโป่งพองและถ่างขยายเส้นเลือดเอออร์ต้าได้
การใส่สเต็นท์ เป็นการสวนหัวใจเพื่อนำอุปกรณ์พิเศษที่มีลักษณะคล้ายโครงเหล็กขนาดเล็กถ่างขยายคาไว้บริเวณส่วนที่ตีบ การรักษาด้วยวิธีนี้ดีกว่าการทำบัลลูน เนื่องจากการตีบแคบจะหลงเหลืออยู่น้อยกว่า
1.1.6 Pulmonary Stenosis PS
:star:
PS เป็นโรคหัวใจที่มีการตีบของลิ้น pulmonary ซึ่งการตีบนั้นอาจตีบที่เนื้อเยื่อใต้ลิ้นหรือตรงตำแหน่งของลิ้น หรือเหนือตำแหน่งของลิ้นซึ่งเป็นการตีบของ pulmonary artery ก็ได้ทำให้เลือดดำออกจาก right ventricle ไปปอดลดลง
การไหลเวียนคือ เลือดดำไม่สามารถผ่านไปปอดได้ทาง เวนตริเคิลขวาแต่จะผ่าน foramen ovale ไปเอเตรียมซ้าย เวนตริเคิลซ้าย และออกเอออร์ต้า เลือดไปปอดได้ทาง PDA
ลิ้นหัวใจห้องล่างขวาตีบ (Pulmonary Valve Stenosis)
เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจห้องล่างขวาเปิดไม่เต็มที่เนื่องจากหนาตัว แข็ง หรือเชื่อมประสานกันอย่างผิดปกติ ทำให้หัวใจต้องทำงานมากกว่าเดิม
1.2.โรคหัวใจที่มีอาการตัวเขียว (Cyanotic Type)
:fire:
1.2.1 Tetra logy of Fallot (TOF)
:star:
TOF เป็นความผิดปกติ ของโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว ที่พบบ่อยที่สุดประกอบด้วยลักษณะที่มีความผิดปกติ 4 อย่างคือ
1.มี Pulmonary artery ตีบ
2.มี VSD หรือ ผนังกั้นช่องติดต่อระหว่าง Ventricle ซ้ายและขวา
มีตำแหน่งของลิ้นหัวใจที่ aortic เลื่อนไปทางด้านขวา Aortic Overriding
4.มีการหนาตัวของ Ventricle ข้างขวา Right ventricular hypertrophy
มีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องล่างร่วมกับหลอดเลือดหัวใจที่จะไปยังปอดตีบหรือลิ้นหัวใจตีบ (Tetralogy of Fallot - TOF)
:red_flag:
เป็นโรคชนิดซับซ้อนที่พบบ่อยที่สุดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
ปกติแล้วหัวใจจะส่งเลือดไปยังปอดเพื่อเอาเลือดไปฟอกให้มีออกซิเจนมากขึ้น
แต่กรณีนี้ลิ้นหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดเล็กกว่าปกติ เป็นเหตุให้เลือดที่จะต้องถูกส่งไปฟอกที่ปอดมีน้อยกว่าปกติ จึงรั่วผ่านผนังห้องหัวใจไปออกทางด้านซ้ายและเอาไปเลี้ยงร่างกายต่อ กลายเป็นว่าเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายเป็นเลือดดำ
เด็กจึงมีภาวะเขียว
พยาธิสภาพและสรีรวิทยา
:red_flag:
ปริมาณเลือดที่ไปรับออกซิเจนที่ปอดน้อยกว่าปกติ
มีเลือดไหลผ่านจาก ventricle ขวาไปยัง ventricle ซ้ายทางรูรั่วระหว่าง ventricle ทั้ง 2 เลือดจำนวนนี้จะไปผสมกับเลือดที่ถูกฉีดออกจาก Ventricle ซ้าย ทำให้เลือดใน aorta มีออกซิเจนน้อยกว่าปกติและทำให้ผู้ป่วยมีอาการเขียว
ถ้า systemic vascular resistance ต่ำลงเลือดที่ไหลผ่านจาก ventricle ขวาไปยัง ventricle ซ้ายทางรูรั่วระหว่าง ventricle ทั้ง 2 จะและเลือดที่ไปรับออกซิเจนที่ปอดจะลดลงทำให้ ผู้ป่วยเขียวมากขึ้นในทางตรงกันข้ามถ้าsystemic vascular resistance เพิ่มขึ้นผู้ป่วยก็จะเขียวน้อยลง
อาการและอาการแสดง
:red_flag:
1.ผู้ป่วยมักมีอาการในระยะปลายขวบแรก คือขณะเริ่มเดิน มีอาการเหนื่อยง่าย ซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับการตีบที่บริเวณลิ้น เด็กส่วนใหญ่ในตอนแรกจะมีอาการ เขียวขณะออกกำลัง เช่นการดูดนม การร้องไห้ และในเด็กที่เดินได้แล้วนั้นจะได้ประวัติว่าเด็กชอบนั่งยองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกเหนื่อย การเจริญเติบโตจะช้ากว่าปกติ
2.อาการอื่นๆที่สำคัญได้แก่ อาการเขียวมากขึ้นทันทีโดยที่อยู่ๆเด็กจะมีอาการหอบ และร้องมาก ตัวและปากเขียวมากกว่าปกติ หลังจากนั้นจะมีอาการตัวอ่อนแล้วก็หลับไป ในเด็กที่มีอาการมากอาจมีอาการตัวแข็ง ตาเหลือก ไม่รู้สึกตัว ชัก และอาจตายได้ เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะ Cyanotic spell หรือ ภาวะ Anoxic Spell เป็นภาวะที่เกิดจากการที่สมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน โดยจะเกิดได้ในขณะที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกกว่าปกติพบได้บ่อยในทารกอายุก่อน1เดือน ราว 1 – 2 ปี แต่พบน้อยเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี
3.อาการเขียวมากขึ้นทันทีนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ อายุ 2-3 เดือน มักเป็นในตอนเช้าหลังตื่นนอน สิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการ ได้แก่ การร้อง การดูดนม การขับถ่าย หรือการไอติดๆกันหลายครั้ง อาการแต่ละครั้ง อาจเป็นอยู่เป็นนาทีหรือชั่วโมง
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
1.สมองพิการ จาก cyanotic spells ที่เป็นบ่อยหรือนาน ๆ
2.Cerebrovascular accidents จากหลอดเลือดในสมองอุดตัน ในเด็กเล็กมักเกิดร่วมกับภาวะเลือดจาง ส่วนในเด็กโตมักเกิดจากการที่มีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติอย่างมาก
3.ฝีในสมอง มักพบในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี
4.Infective endocarditis
5.Thrombotic pulmonary vascular disease
6.ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
การดูแลรักษา
:red_flag:
ป้องกันภาวะเขียวกะทันหัน
ในรายที่ยังไม่ได้รับการทำผ่าตัดแพทย์จะให้ยาเพื่อป้องกันภาวะเขียวกะทันหัน
ดูแลให้เด็กได้รับยาโพรพาโนโลน (propranolol) ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเขียวกะทันหัน
ลดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะเขียวกะทันหัน ได้แก่
ไม่ปล่อยให้เด็กร้องไห้นาน ๆ
จัดกิจกรรมการเล่นที่ใช้แรงน้อยงดการเล่นที่ต้องแข่งขัน ไม่หลอกหรือเล่นด้วยการเล่นที่ทำให้เด็กตกใจ และสังเกตอาการเขียวกะทันหันขณะเล่น
ป้องกันเด็กขาดน้ำ เมื่อเด็กอาเจียนหรือท้องเสียหรือมีไข้ ต้องให้น้ำชดเชยเพื่อป้องกันเลือดหนืด
ดูแลให้เด็กนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ เด็กเล็ก วันละ 10-15 ชั่วโมงหรือเด็กโต วันละ 8-12 ชั่วโมง
ป้องกันภาวะซีด โดยให้เด็กรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่แดง นม ถั่วหรือวิตามินเสริมธาตุเหล็ก และรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี เช่น ผักและผลไม้ต่าง ๆ หรือน้ำผลไม้
ป้องกันไม่ให้เด็กท้องผูก
ป้องกันการติดเชื้อ
บันทึกการเกิดอาการเขียวกะทันหันของเด็กทุกครั้งและแจ้งให้แพทย์
ทราบเมื่อพาเด็กไปตรวจเพื่อให้แพทย์ปรับยาป้องกันภาวะเขียวกะทันหันและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและควรพาเด็กไปตรวจตามนัดทุกครั้ง
รักษาประคับประคองอาการ
:red_flag:
การทำบอลลูน เป็นการทำสวนหัวใจโดยใช้สายสวนชนิดพิเศษถ่างบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ
การผ่าตัดต่อเส้นเลือดเทียม
ผ่าตัดแก้ไขความพิการทั้งหมด
:red_flag:
TGV เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว ที่พบได้บ่อย ความผิดปกติก็คือ มีการสลับกันของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ โดย Aorta เป็นหลอดเลือดที่ออกจาก ventricle ข้างขวา และ pulmonary artery ออกจาก ventricle ข้างซ้ายเพราะฉะนั้นในโรคนี้จะไม่มี fibrous continuity ระหว่างลิ้นaorticและลิ้น mitral ความผิดปกตินี้อาจเรียกว่าdextro หรือ D-transpositionคือ Aortaอยู่หน้าและขวาต่อ pulmonary Artery เลือดดำจะออกสู่ Aortaเลือดแดงจะออกสู่ pulmonary arteryไปปอด ถ้าไม่มีทางติดต่อผู้ป่วยจะเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด แต่ผู้ป่วยมักมีทางติดต่อทำให้ร่างกายมีโอกาสได้รับเลือดแดไปเลี้ยงร่างกาย การรักษามักให้ Prostaglandin เพื่อเปิด PDA หรือผ่าตัดเปลี่ยนทางไหลเวียนเลือด
หลอดเลือดใหญ่ของหัวใจสลับขั้ว (Transposition of theGreat Arteries - TGA)
คือการที่หลอดเลือดดำและแดงของหัวใจสลับขั้วกันอย่างสิ้นเชิง จากขวาเป็นซ้าย จากซ้ายเป็นขวา
ความผิดปกตินี้ทำให้เด็กที่เกิดมามีภาวะเขียวเนื่องจากเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดถูกส่งกลับไปที่ปอด ขณะที่เลือดดำที่ถูกส่งมาที่หัวใจก็ถูกส่งไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ต่ออีก
2. โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease)
:<3:
2.1 Rheumatic Heart Disease (RHD) :star:
RDH โรคหัวใจรูมาติค เป็นกลุ่มอาการของการอักเสบที่เกิดขึ้น ตามหลังการติดเชื้อที่คอหรือต่อมทอนซิลจากเชื้อโรค hemolytic streptococcus group A
ลักษณะพิเศษของโรคนี้คือ เมื่อเคยเป็นโรคนี้แล้วมักจะเป็นซ้ำอีก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อข้อ และหัวใจพิการอย่างถาวรและถึงตายได้
มักพบความผิดปกติของลิ้นหัวใจMitral Stenosis (MS), Mitral Regurgitation (MR) และ Aortic Regurgitation (AR)
พบโรคนี้บ่อยในกลุ่มอายุ 5-15 ปีและพบในเพศหญิงมากกว่าผู้ชาย เล็กน้อย โรคนี้จะแสดงอาการหลังจากติดเชื้อที่คอแล้ว 1-5 สัปดาห์ พบประมาณ ร้อยละ 25 – 40 ของโรคหัวใจในเด็กทั้งหมด
การรักษา เน้นเรื่องการที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานอย่าง
ต่อเนื่อง และการพบแพทย์สม่ำเสมอ
โรคหัวใจรูห์มาติกแตกต่างจากโรคไข้รูห์มาติกอย่างไร
:red_flag:
โรคหัวใจรูห์มาติก เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากการเป็นไข้รูห์มาติกซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง แล้วทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจรูห์มาติกพบบ่อยในเด็กอายุ5-15 ปี การป้องกันการเกิดโรคหัวใจรูห์มาติกที่สาเหตุก็คือการป้องกันการเกิดไข้รูห์มาติก
Rheumatic Fever
:red_flag:
โรคไข้รูห์มาติก เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อเบต้าฮีโมไลติกสเตปโตคอคคัส กลุ่มเอ ซึ่งเป็นสาเหตุของคออักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบ อาจมีอาการจากการติดเชื้อครั้งแรกหรือมีอาการเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำ
ไข้รูห์มาติกมีอาการเป็นอย่างไร
:red_flag:
อาการไข้ เด็กจะมีไข้ติดกันอย่างน้อย 3 วัน
ปวดบวมตามข้อ โดยเฉพาะข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อศอก มักมีอาการปวดมากกว่า 1 ข้อ
มีผื่นแดงที่ผิวหนังรูปร่างคล้ายแผนที่ มีขอบหยัก ๆ อาจเป็นชั่วคราวแล้วหายไปก่อนมาพบแพทย์ มักพบผื่นแดงนี้ที่แขนหรือขา
มีตุ่มแข็งที่สามารถจับเคลื่อนไหวได้ใต้ชั้นผิวหนัง เป็นก้อนรี ๆ คล้ายเม็ดถั่วแดง โดยมักพบใกล้ ๆ ข้อต่าง ๆ
มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมด้วยโดยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจหอบ บวมที่หนังตา หน้า เท้าและขา
มีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหว สั่น เกร็งกระตุก
เกณฑ์รอง (Minor criteria)
:red_flag:
ไข้
ปวดข้อ โดยไม่มีข้อบวม
อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate) หรือซี รีแอกทีฟ โปรตีน (C reactive protein) เพิ่มขึ้นเม็ดเลือดขาวมากเกิน (Leukocytosis)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจแสดงลักษณะของภาวะหัวใจขัด (heart block) เช่น PR interval ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจยาวขึ้น
หลักฐานสนับสนุนการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส เช่น แอนติสเตร็ปโตไลซิน โอ ไทเทอร์ (Antistreptolysin O titre) หรือ DNAase.
เคยเป็นไข้รูมาติก หรือโรคหัวใจไม่แสดงอาการ (inactive heart disease)
การรักษา
:red_flag:
เก็บเสมหะจากคอส่งตรวจหาเชื้อเบต้าฮีโมไลติก สเตปโตคอคคัส กลุ่มเอ ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคไข้รูห์มาติก
ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)
ตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจโดย เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ให้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อเบนซาตินเพนนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ชนิดฉีดยาเพนนิซิลลิน วี (Penicillin V) ชนิดรับประทาน สำหรับรายที่แพ้ยา เพนนิซิลลิน วี จะให้ยาอีริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน
ในรายที่มีการอักเสบที่หัวใจและข้อ แพทย์จะให้รับประทานยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone)หรือแอสไพลิน(Aspirin) ร่วมด้วย
ในรายที่มีหัวใจวายร่วมด้วย แพทย์จะให้รับประทานยาไดจ็อกซิน ยาขับปัสสาวะ และยาขยายหลอดเลือด เพื่อรักษาภาวะหัวใจวาย
เด็กต้องนอนพักและงดการออกแรงเพื่อลดการอักเสบของหัวใจ
ภาวะแทรกซ้อน
:red_flag:
การเป็นไข้รูห์มาติกบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จะทำให้เป็นโรคหัวใจรูห์มาติก โรคนี้จะทำให้เด็กมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และลิ้นหัวใจถูกทำลายอย่างถาวรจนลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ แล้วทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือเกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งต้องรักษาด้วยการให้ยาเพื่อควบคุมอาการหัวใจวายและทำผ่าตัดเพื่อซ่อมลิ้นหัวใจหรือใส่ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งมีความเสี่ยงและอันตรายจากการผ่าตัดค่อนข้างมาก
เกณฑ์หลัก (Main criteria)
:red_flag:
ข้ออักเสบหลายข้อหลายตำแหน่ง (Migratory polyarthritis)
หัวใจอักเสบ (Carditis)
ตุ่มใต้ผิวหนัง (Subcutaneous nodules)
อีริทีมา มาร์จินาตัม (Erythema marginatum)
ซิดแนม โคเรีย (Sydenham's chorea)
การป้องกัน :red_flag:
ป้องกันการเป็นไข้รูห์มาติกซ้ำ ถ้าเคยเป็นไข้รูห์มาติกแล้วต้องป้องกันการเป็นซ้ำเพราะคนที่เคยเป็นไข้รูห์มาติกแล้วจะมีโอกาสเป็นซ้กได้ถึง 50-65% ดังนั้นจึงควรพาเด็กไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งและรับประทานยาอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์จะให้รับประทานยาป้องกันตลอดชีวิตหรืออาจพิจารณาหยุดยาเมื่ออายุ 25 ปี และไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีกเป็นเวลา 5 ปี
2.2 ภาวะหัวใจวาย Heart failure
:star:
คือ กลุ่มอาการที่แสดงถึงสภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
สาเหตุ
:red_flag:
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในเด็กมักเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนในผู้ใหญ่มักเกิดจากโรคของหลอดเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงหัวใจจึงทำให้ผู้ใหญ่ที่หัวใจวายมักเสียชีวิตทันที
อาการหัวใจวายในเด็ก
:red_flag:
หัวใจเต้นเร็วมากขึ้นในขณะพัก ซึ่งหมายถึงขณะที่เด็กสงบนิ่งหรือหลับ เพราะปกติชีพจรจะเร็วขึ้นได้หลังจากเด็กดูดนมหรือรับประทานอาหารหรือร้องไห้หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ มาใหม่ ๆ จึงไม่ควรจับชีพจรในระยะนี้ และควรจับชีพจรในขณะพักเพื่อให้ได้ชีพจรที่ถูกต้องตรงตามอาการของเด็ก
อายุแรกเกิด ถึง 1 ปี มีชีพจร มากกว่า 160 ครั้ง/นาที
อายุ 1 ปีขึ้นไป ถึง 3 ปี มีชีพจร มากกว่า140 ครั้ง/นาที
อายุ 3 ปีขึ้นไป ถึง 6 ปี มีชีพจร มากกว่า 120 ครั้ง/นาที
อายุ 6 ปีขึ้นไปถึง10 ปี มีชีพจร มากกว่า100 ครั้ง/นาที
อายุ 10 ปีขึ้นไป มีชีพจร มากกว่า 90 ครั้ง/นาที
หายใจเร็วมากขึ้น ในขณะพัก
อายุแรกเกิด ถึง 1 ปี หายใจ มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
อายุ 1 ปีขึ้นไป ถึง 3 ปี หายใจ มากกว่า 45 ครั้ง/นาที
อายุ 3 ปีขึ้นไป ถึง 6 ปี หายใจ มากกว่า 35 ครั้ง/นาที
อายุ 6 ปีขึ้นไปถึง10 ปี หายใจ มากกว่า 30 ครั้ง/นาที
อายุ 10 ปีขึ้นไป หายใจ มากกว่า 25 ครั้ง/นาที
ปัสสาวะออกน้อย โดยปัสสาวะออกน้อยกว่าครึ่งของน้ำและนมที่ได้รับ
เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากแม้ว่าอากาศไม่ร้อน หรือไม่ได้ไปวิ่งเล่นมาในเด็กโต
บวม โดยเฉพาะบริเวณเปลือกตา หน้าและปลายมือเท้า
มือและเท้าเย็น ซีด
รับประทานอาหารได้น้อย เด็กเล็กจะดูดนมได้ช้าใช้เวลาดูดนมนานมากกว่า 30 นาทีหรือดูดนมได้น้อยลง เหนื่อยมากขึ้นขณะดูดนม หัวโยกขณะดูดนม เด็กโตจะเบื่ออาหารรับประทานมากแล้วเหนื่อย หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การช่วยเหลือเบื้องต้น
:red_flag:
ดูแลให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูง เพื่อให้เด็กหายใจสะดวกสูดออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น
ดูแลให้เด็กพักผ่อน ถ้าเด็กร้องไห้ต้องปลอบให้สงบ เพราะถ้าเด็กร้องไห้จะทำให้เหนื่อยมากขึ้น
ดูแลให้เด็กอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดพัดลมให้มีการระบายอากาศ
โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์หรือนำเด็กไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้มากที่สุด
การป้องกัน
:red_flag:
ดูแลให้เด็กรับประทานยาตามขนาดและเวลาที่แพทย์สั่งไม่หยุดยาหรือเปลี่ยนยาเอง โดยเฉพาะยาที่ช่วยป้องกันหัวใจวาย ได้แก่ ยาไดจ็อกซิน และยาขับปัสสาวะ
ดูแลให้เด็กรับประทานนมและน้ำในปริมาณที่แพทย์แนะนำ การรับประทานนมและน้ำเกินกำหนดจะทำให้หัวใจเด็กต้องทำงานมากขึ้น
ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ ผักและผลไม้ งดอาหารรสเค็ม อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารที่มีส่วนผสมของผงฟูเพราะจะทำให้เกิดอาการบวมและหัวใจทำงานมากขึ้น
ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง ประมาณ 2-3 ชั่วโมง/ครั้ง เด็กเล็กใช้หัวนมที่มี รูใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยเพื่อลดการใช้แรงดูดนม เด็กโตควรจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานสูงระหว่างมื้อเช่น นม ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง เป็นต้น และควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อลดการใช้พลังงานในการย่อย
ดูแลให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เด็กเล็กวันละ 10-15 ชั่วโมงหรือเด็กโตวันละ 8-12 ชั่วโมงและจัดให้นอนในที่ที่ไม่มีเสียง แสง กลิ่น รบกวน อากาศถ่ายเทดีและค่อนข้างเย็นจะช่วยให้เด็กนอนได้นานขึ้น หัวใจก็ได้พักด้วยเช่นกัน
ไม่ปล่อยให้เด็กร้องนาน ควรหาสาเหตุที่ทำให้เด็กร้องไห้ สนองความต้องการหรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการเล่นหรือของเล่นที่เด็กชอบ การที่เด็กร้องนาน ๆ จะทำให้เด็กเหนื่อยมากขึ้น
จัดกิจกรรมการเล่นที่ใช้แรงน้อย งดการเล่นที่มีการแข่งขัน เพราะเด็กมักไม่ยอมหยุดเล่นแม้ว่าจะเหนื่อยก็ตาม
สังเกตการขับถ่ายของเด็กทุกวัน ต้องป้องกันไม่ให้ท้องผูกโดยให้เด็กรับประทานผัก ผลไม้หรือน้ำผลไม้ทุกวัน เพราะถ้าเด็กท้องผูกต้องออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระ จะทำให้เด็กเหนื่อยและหัวใจทำงานหนักมากขึ้น
ป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจด้วยการรักษาความสะอาด โดยเฉพาะช่องปากและฟันควรพาเด็กไปตรวจฟันปีละ 2 ครั้งและเมื่อมีฟันผุควรไปพบทันตแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจเพื่อให้ยาป้องกันการติดเชื้อก่อนและหลังทำฟัน เพราะการติดเชื้อที่หัวใจจะทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในหัวใจรวมทั้งลิ้นหัวใจถูกทำลาย ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
ยาที่ใช้ในโรคหัวใจ
:star:
1.Digitalis, Lanoxin ยาทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น เพิ่มปริมาเลือดที่ออกจากหัวใจ ลดภาวะเลือดคั่งในปอด หัวใจจะเต้นช้าลง ในผู้ใหญ่ ถ้าชีพจรน้อยกว่า 60ครั้ง/นาที ในเด็ก น้อยกว่า 80 ครั้ง/นาที หยุดยาแล้วรายงานแพทย์
Vasodilator ยาขยายหลอดเลือด ติดตาม BP
Diuretic: ยาขับปัสสาวะ แก้ไขภาวะบวม ลดปริมาณและโซเดียม มักให้ตอนเช้าและกลางวันไม่นิยมให้ตอนเย็นและ ติดตาม BP, I/O
Antibiotic ยาปฏิชีวนะ ให้ในรายที่ป้องกันการติดเชื้อก่อนทำหัตถการ
Indomethacin ช่วยปิดรูเปิดของ PDA
Aspirin ลดความหนืดของเลือด
สรุปปัญหาผู้ป่วยโรคหัวใจ
:star:
1.ภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ภาวะหายใจลำบาก
3.ภาวะหัวใจวาย ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
ภาวะ การเจริญเติบโตล้าช้า
6.ภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และเยื่อบุหัวใจ
ปัญหาจากการตรวจพิเศษหรือการผ่าตัด
วิตกกังวล จากโรคที่เป็นและการดูแล
ขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและการดูแลตัวเอง
การดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาโรคหัวใจและครอบครัว
:star:
การป้องกันโรคหัวใจแต่กำเนิด เช่นฉีดวัคซีน หัดเยอรมัน
การสังเกตทารกแรกเกิด เช่นเขียว ดูดนมแล้วเหนื่อย
การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจในโรงพยาบาล
การดูแลให้เด็กและครอบครัวได้รู้การวินิจฉัยด้วยวิธีการต่าง ๆ
การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด
การดูแลด้านจิตใจ พ่อ-แม่เด็กที่เป็นโรคหัวใจ
การเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อให้สามารถทนต่อกิจวัตรประจำวันได้
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในเด็กโรคหัวใจ :star:
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจน จาก ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง… ..เนื่องจากเลือดดำปนกับเลือดแดงไปเลี้ยงร่างกาย และหัวใจทำงานมากร่างกายขาดออกซิเจนเป็นเวลานานทำให้สร้างเม็ดเลือดแดงมาขึ้นมีผลให้ค่า Hct สูง เลือดข้น ขึ้นประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลงอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือ ติดเชื้อที่ เยื่อบุหัวใจ
ผู้ป่วยมีภาวะ การเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ และมีการพัฒนาการ ไม่ สมวัย เนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ร่างกาย และเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดฝีในสมอง และการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ จากการไหลเวียนของเลือดไม่ผ่านปอด และการไหลวนของเลือดในหัวใจหรือการที่มีเลือดดำส่วนหนึ่งไม่ผ่านการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ไม่ผ่านการกรองและกำจัดเชื้อโรค ถ้ามีการติดเชื้อในกระแสเลือดจะส่งผลให้เชื้อโรคผ่านตามกระแสเลือดไปตามร่างกาย รวมทั้งที่สมอง และอาจเกิดฝีในสมอง(Brian abscess)ได้
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง เนื่องจากภาวะเลือดข้นมากกว่าปกติ( การที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจร่างกายจะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานจะมีกลไกการปรับตัวไขกระดูกจะสร้างเม็ด เลือดแดงมากกว่าปกติ ทำให้ Hct สูง เกิดภาวะเลือดข้น )
ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของโรคที่เป็นและขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง (อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการผ่าตัด...)
การช่วยเหลือเมื่อเด็กมีภาวะเขียวกะทันหัน
จัดให้เด็กอยู่ในท่างอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอกมากที่สุด (Knee-chest position)เด็กเล็กอุ้มแล้วงอเข่าเด็กให้มากขึ้นกว่าปกติหรือจัดให้นอนงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอก ส่วนเด็กโตจัดให้นอนงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอกหรือนั่งยอง ๆ
ปลอบให้สงบถ้าร้องไห้ เพราะการที่เด็กร้องไห้จะยิ่งทำให้มีภาวะเขียวกะทันหันมากขึ้น
ดูแลเด็กให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
ถ้าอาการเขียวกะทันหันยังคงมีอยู่ และมีอาการหายใจเร็วหอบ ควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อทำรักษาต่อไป
การแก้ปัญหา ภาวะ Cyanotic spell
1.squatting หรือการนั่งยองๆ เป็นการทำเพื่อให้เกิดการพับของfemoral arteries และเพิ่ม systemic resistance ทำให้เลือดไปสู่ปอดมากขึ้นและ Right to left shunt ลดลงชั่วขณะ ซึ่งจะทำให้เด็กสบายขึ้นในเด็กวัยเรียนเมื่อเล่นแล้วรู้สึกเหนื่อยมักจะนั่งยองๆ
2.ในทารกอาจจัดให้นอนท่า knee chest position จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มี anoxic spell สบายขึ้น