Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาการติดเชื้อ - Coggle Diagram
บทที่ 2 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาการติดเชื้อ
2.1 การพยาบาลเด็กป่วยโรคติดเชื้อที่ป้องกันด้วยวัคซีน
หัด
คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้ร่วมด้วย โดยโรคหัดเกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง
อาการ
อาการเป็นไข้ตัวร้อน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัดในระยะเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มักตัวร้อนและอาจมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
อาการผื่นขึ้นตามร่างกาย เมื่อผู้ป่วยออกอาการได้ 3-5 วัน จะเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง
สาเหตุ
โรคหัดจัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง การติดโรคนั้นเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ จากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วย
การรักษา
ารดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย อยู่ในที่แห้งอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อลดอาการไอบ่อยและเจ็บคอ และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์
หัดเยอรมัน
เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่อากาศจากการไอจามของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไวรัสหัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงสองชั่วโมงในอากาศหรือบนพื้นผิวสิ่งของที่มือของผู้ป่วยที่มีเชื้อติดอยู่สัมผัส
อาการ
ระยะติดเชื้อและฟักตัวของโรค (Infection and incubation): เชื้อไวรัสหัดใช้เวลาฟักตัว 10 ถึง 14 วันหลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้เด็กจะยังไม่แสดงอาการของโรคออกมา
ระยะก่อนออกผื่น ยังไม่แสดงอาการของโรคอย่างเด่นชัด (Nonspecific signs and symptoms): โรคหัดมักเริ่มด้วยอาการที่คล้ายไข้หวัด เด็กจะมีไข้ มักตามมาด้วยการไอแห้งๆ น้ำมูกไหล ตาแดง ไม่สู้แสงและเจ็บคอ มักพบจุดสีเทาขาว มีขอบสีแดงอยู่ภายในกระพุ้งแก้มบริเวณใกล้กับฟันกรามล่าง เรียกว่า ตุ่มค็อปลิค (Koplik’s spots ) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด ระยะเวลาก่อนออกผื่นนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 วัน
ระยะเวลาออกผื่น (Acute illness and rash): ผื่นจะมีสีแดง ขนาดเล็กและแบนราบ อาจเกิดขึ้นติดกันหลายจุดจนกลายเป็นปื้นขนาดใหญ่ที่ไม่มีรูปทรงแน่นอน มักไม่มีอาการคัน โดยผื่นจะเริ่มขึ้นที่บริเวณหลังหู บริเวณชิดขอบผม และกระจายลงมาตามลำคอ แขน ลำตัว ขาและเท้าตามลำดับ ผื่นใช้เวลาลามจากใบหน้าถึงเท้าประมาณ 2 ถึง 3 วัน ในเวลาเดียวกันไข้จะขึ้นสูงถึง 40 – 41 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นผื่นจะค่อยๆจางลงโดยเรียงตามลำดับจากหน้าไปสู่ขาและเท้า ผื่นจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำตาลแดงและค่อยๆลอกออกเป็นแผ่นบางๆจนหายไปในเวลา 7 ถึง 10 วัน
ระยะติดต่อ (Communicable period): ผู้ป่วยโรคหัดสามารถแพร่กระจายไวรัสหัดไปสู่คนอื่นเป็นเวลา 8 วัน ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีผื่นขึ้นและ 4 วันหลังจากมีผื่นขึ้น
การรักษา
ให้ดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนมากๆ พยายามให้เด็กกินอาหารที่เน้นโปรตีน หากมีไข้ให้กินยาพาราเซตามอลในปริมาณตามที่แพทย์แนะนำและเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ
คางทูม
เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ที่ติดเชื้อไวรัสจากคนสู่คน โดยสัมผัสละอองน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อได้จากการไอหรือจาม ไวรัสจะเคลื่อนจากระบบทางเดินหายใจไปยังต่อมน้ำลายบริเวณข้างหู เมื่อต่อมนี้เกิดการอักเสบจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและบวมแดง
อาการ
มีไข้สูง (38 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงกว่า)
ปากแห้ง
เบื่ออาหาร
ปวดศีรษะ
ปวดตามข้อ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคคางทูมเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า มัมส์ (Mumps) เป็นไวรัสที่อยู่ในอากาศ สามารถแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม เหมือนโรคหวัด
การรักษา
ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจนกว่าอุณหภูมิในร่างกายจะลดลงเป็นปกติ
รับประทานยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลหรือไอบูโปรเฟน และไม่ควรใช้ยาแอสไพรินกับเด็ก
หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว
ประคบร้อนหรือประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการปวดบวมที่บริเวณต่อมน้ำลาย
รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว เช่น โจ๊กหรือซุป
คอตีบ
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีความรุนแรง มักจะมีผลต่อเยื่อบุจมูกและลำคอ หรืออาจเกิดกับผิวหนังได้ในบางราย โดยคอตีบเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางการไอและจาม หรือการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคคอตีบ
อาการ
เป็นแผลและมีเยื่อบุสีเทาเกิดขึ้นที่ในลำคอและบริเวณต่อมทอนซิล
มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
หนาวสั่น
รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
มีอาการปวดศีรษะ
มีน้ำมูก
มีอาการเจ็บคอ ไอ เสียงแหบ
ต่อมน้ำเหลืองในคอบวม
กลืนอาหารลำบาก หรือรู้สึกเจ็บเวลากลืน
หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคคอตีบ คือ Corynebacterium Diphtheriae โดยเชื้อตัวนี้มักพบว่ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อขึ้นบริเวณเยื่อบุที่คอ
การรักษา
การใช้ยาต้านพิษ (Diphtheria Antitoxin) ใช้ยาต้านพิษเพื่อหยุดพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่กำลังโจมตีร่างกาย เมื่อแพทย์คาดว่าคนไข้เป็นโรคคอตีบ แพทย์จะฉีดยาต้านพิษนี้เข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ
การใช้ยาปฏิชีวนะ โรคคอตีบสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลิน (Penicillin) เพื่อฆ่าและกำจัดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย
ไอกรน
เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Bordetella pertussis (B. pertussis) เป็นโรคที่ปัจจุบันพบน้อยเพราะมีวัคซีนป้องกันโรค ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาการของโรคไอกรน
หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น แต่ถ้าหากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้
การรักษาโรคไอกรน
คือการให้ยาปฏิชีวนะ โดยยารักษาจะได้ผลดีเมื่อให้ผู้ป่วยในช่วง 2-3 วันแรกที่มีอาการ หากผู้ป่วยได้รับยาหลังจากนั้นการรักษาอาจไม่เป็นผลดีนัก ดังนั้นควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเมื่อมีอาการเริ่มต้น
การป้องกันโรคไอกรน
คือการฉีดวัคซีน กลุ่มแรกเป็นการให้วัคซีนในเด็กทารกแรกเกิด โดยปกติแล้ววัคซีนไอกรนจะบรรจุรวมอยู่ในวัคซีนเข็มรวมป้องกันทั้งหมด 3 โรค ได้แก่ ไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก
บาดทะยัก
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “คลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium tetani)” มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบของสปอร์ (Spore) ที่ทนทานต่อความร้อนและยาฆ่าเชื้อหลายอย่าง เป็นเชื้อโรคที่พบได้ทั่วไปในดิน ตามพื้นหญ้า ทราย ฝุ่นละอองตามถนน ในลำไส้ของคน และสัตว์
อาการและอาการแสดง
จากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-21 วัน เฉลี่ย 8 วัน 1) บาดทะยักในทารกแรกเกิด อาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 4-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้ คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม
การรักษา
1.กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กไม่ดูดนมและไม่อ้าปากแสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง
2.การรักษาเฉพาะให้ Tetanus antitoxin (TAT) เข้าหลอดเลือดหรือให้ Tetanus immune globulin (TIG) เข้ากล้าม
3.ให้การรักษาตามอาการ ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก
อีสุกอีใส
สาเหตุ
เป็นโรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส Varicella – Zoster virus หรือ Human herpes virus type 3 ในประเทศไทยมักเกิดการระบาดในช่วงต้นปี คือตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พบได้ทุกกลุ่มอายุ โดยมากมักเกิดในเด็ก อาการในเด็กมักไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับอาการในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ที่มักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่า ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
อาการ
หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการในระยะเวลาประมาณ 10-21 วัน อาการที่พบคือ มีไข้ (มักมีไข้ประมาณ 37.8 – 38.9 C แต่อาจพบไข้สูงถึง 41.1 C ได้ ไข้จะลดลงหลังจากมีผื่น 2 – 4 วัน) ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดท้องเล็กน้อย อาการเหล่านี้มักเกิดก่อนมีผื่น 1 – 2 วัน
วิธีการรักษา
ถ้ามีไข้ ให้เช็ดตัวลดไข้ ร่วมกับให้ยาลดไข้กลุ่มพาราเซทามอล ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางสมองและตับทำงานผิดปกติอย่างรุนแรงได้
ถ้ามีอาการคัน ควรได้รับยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการ ไม่ควรเกา เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และเป็นแผลเป็นได้ จึงควรตัดเล็บให้สั้น
ผู้ป่วยควรแยกตัวจากผู้อื่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายโรค ไม่ควรใกล้ชิดกับผู้อื่นโดยเฉพาะ หญิงมีครรภ์ ทารก และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
โรคสุกใสสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ในเด็กที่ไม่มีข้อห้ามในการรับวัคซีนชนิดนี้ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12 – 15 เดือน ขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งที่อายุ 4 – 6 ปี หรืออาจฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3เดือน ซึ่งภูมิต้านทานจะขึ้นดีกว่าการฉีด 1 เข็ม และเมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มพบว่าร้อยละ 99 ของผู้รับวัคซีนจะเกิดภูมิต้านทานต่อโรค ผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนหนึ่งยังอาจเกิดโรคสุกใสได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เช่น อาจไม่มีไข้ หรือจำนวนผื่นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่เคยได้รับวัคซีน
วัณโรค
วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่เป็นที่ปอด ส่วนในเด็กอาจเป็นที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก เป็นต้น
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) ย้อมติดสีแดง ซึ่งจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อ จะไม่มีอาการของโรคเมื่อทดสอบทูเบอร์คิวลินได้ผลบวก (ซึ่งเป็นการแสดงว่าเด็กติดเชื้อวัณโรค) การตรวจ X-rays ของปอดก็จะไม่พบผิดปกติในระยะแรก ถ้าเด็กมีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี โรคจะยังไม่เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับเชื้อ
การรักษา
ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค
2.2 การพยาบาลเด็กป่วยโรคติดเชื้ออื่นๆ
ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ Dengue virus โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเชื้อไข้เลือดออกจะมีระยะฟักตัวอยู่ในยุงประมาณ 5-8 วัน เมื่อยุงไปกัดคนก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัดทำให้คนที่ถูกยุงกัดเป็นไข้เลือดออก
ดูแลอย่างไร เมื่อเป็นไข้เลือดออก
ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและตรวจรักษา
หากมีไข้ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้หากเป็นไข้เลือดออก ห้ามใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพริน
ผู้ป่วยควรได้รับน้ำทดแทน เพราะการที่มีไข้สูงเบื่ออาหารและอาเจียนทำให้ร่างกายขาดน้ำ
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อค หรือ มีเลือดออก ปวดท้องบริเวณยอดอก หรือ ลิ้นปี่
เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขี้น จะเริ่มมีความอยากอาหารควรให้เป็นอาหารอ่อน ประเภทข้าวต้ม
จะป้องกันไข้เลือดออก
ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกแห่งในบ้านและรอบบริเวณบ้าน
ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน เนื่องจากยุงลายมักชอบออกหากินในเวลากลางวัน
เอดส์
เอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ได้ เป็นโรคที่เกิดในคนเท่านั้น โดยเชื้อเอชไอวี นี้จะทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ
เอชไอวีสามารถติดต่อกันได้
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย
การติดต่อทางเลือด
การติดต่อจากมารดาสู่ทารก
รักษา
ในปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี จนทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงใกล้เคียงกับคนปกติได้ แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด จึงจำเป็นต้องกินยารักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การเริ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ติดเชื้อที่ผิวหนัง
โรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก มักจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังอยู่นาน เป็นได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป จนถึงช่วงวัยรุ่น หรือในผู้ใหญ่
ลักษณะของผื่นแพ้
ในเด็กเล็ก ( 1 ปีแรก ) จะมีผื่นแดงที่หน้า,คอ,แขน+ขา บริเวณศอก+เข่า เด็กจะมีอาการคันมากขึ้นอาจจะมีสะเก็ดหรือน้ำเหลืองไหลเยิ้มที่ผื่นได้
ปัจจัย
1.สารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม คลอรีนในสระว่ายน้ำ สบู่หอม ครีมบำรุงผิวหรือโลชั่นต่าง ๆ
2.ภาวะติดเชื้อ จากแบคทีเรียหรือเชื้อรา เช่น การเกามากจนเป็นแผล ตุ่มหนองหรือมีผื่นแดงเป็นวงขอบยกนูน และคันมากจากเชื้อรา
3.อากาศร้อน หรือการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก และอากาศหนาวเย็นทำให้ผิวหนังแหงมากขึ้น
4.ความเครียด วิตกกังวล การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ในเด็กที่ย้ายโรงเรียนใหม่หรือช่วงใกล้สอบ
5.อาหารบางชนิด ที่มักแพ้ได้บ่อยในเด็กเล็ก ๆ เช่น นมวัว ไข่ขาว ถั่ว อาหารทะเล
การรักษา
1.หลีกเลี่ยงปัจจัย หรือตัวกระตุ้นต่าง ๆ ข้างต้น
2.การใช้ยาทากลุ่ม Steroid อย่างอ่อน
3.การให้ยารับประทานพวก Antihistamine
4.ในกรณีที่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น ตุ่มหนอง เป็นแผลหรือผื่นแดงมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
Hand Foot Mouth Disease
เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) หลายชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 และ คอกแซคกี้ไวรัส (Coxsackie virus)
พบบ่อยในเด็กทารก และ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ใน
การแพร่ติดต่อ
ส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยเชื้อติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และเกิดจากการไอจาม
อาการของโรค
หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้
การรักษา
ผู้ปกครอง ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ
ส่วนใหญ่โรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน หายได้เองใน 7-10 วัน แต่เชื้อไวรัสบางชนิด
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาชาแก้เจ็บแผลในปาก
ไข้ซิกา
โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกาเป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง
อาการ
ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกาใช้เวลาเฉลี่ย 4-7 วันหลังโดนยุงกัด (สั้นสุด 3 วันและยาวสุด 12 วัน) อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง และเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกาโดยเฉพาะ การรักษาทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด