Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กระบบติดเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กระบบติดเชื้อ
โรคสุกใส
(Chickenpox/Vericella)
เชื้อไวรัส Varicella virus หรือHuman herpes virus type 3เชื้อเข้าไปอยู่ที่ dorsal root gangia เชื้อเข้าสู่เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุตาจากการหายใจหรือสัมผัสโดยตรง
ระยะฟักตัว
10-21 วัน
อาการนำ
มีไข้ต่ำๆพร้อมกับผื่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร 1-2 วัน ปวดท้องเล็กน้อย
ลักษณะผื่น
เริ่มจากจุดแดงราบ(macule) ขนาด 2-3mm. แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มนูน(papule)อย่างรวดเร็วภายใน 8-12 ชม. และตุ่มน้ำใส(vasicle) ต่อมาเป็นตุ่มหนอง(pustule) แห้งตกสะเก็ด (crust)
ลักษณะเฉพาะคือ
: พบผื่นระยะต่างๆในเวลาเดียวกัน
โรคแทรกซ้อน
การติดเชื้อแบคที่เรียที่ผิวหนัง
ปอดอักเสบ ข้ออักเสบ กระดูกอักเสบ
สมองอักเสบ
Reye's syndrome
Hemorrhagic chickenpox
Disseminated varicella
ยาต้านไวรัส
คือ Acyclovir (Zovirax) ทั้งชนิดกินและชนิดทา ชนิดฉีดให้ 200 mg 5 dose/day ทุก 4 ชม. เป็นเวลา 5 วัน
การพยาบาล
แยกผู้ป่วยไว้จนกว่าแผลตกสะเก็ดหมด
ตัดเล็บมือให้สั้น ใส่ถุงมือในเด็กเล็ก
อาหารธรรมดา
สังเกตภาวะแทรกซ้อน
วัคซีนป้องกันโรคสุกใส ถ้าสัมผัสโรคไม่เกิน 3 วัน ป้องกันโรคได้
มากกว่า 90%
โรคหัด(MEASLES/RUBEOLA)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส(paramyxovirus)
ระยะฟักตัว
ประมาณ10วันหลังจากได้รับเชื้อจนกระทั่งมีไข้
หรือประมาณ14วัน จนกระทั่งปรากฏผื่น
ระยะเวลาติดต่อ
ประมาณ 8-12 วัน คือ 4วันก่อนผื่นขึ้นจนถึง 4 วันหลังผื่นขึ้น ติดต่อทางอากาศและสัมผัสน้ำมูก
การระบาดของโรค
ตลอดทั้งปี วัยเด็กมักเป็นโรคหัดอายุ
1-7 ปี อายุน้อยกว่า 6 เดือนมักไม่พบว่าเป็นโรคหัด
อาการและอาการแสดง
อาการนำ: ไข้สูงอ่อนเพลียไอน้ำมูกน้ำตาไหลเยื่อบุตาอักเสบกลัวแสงหนังตาบวมทอนซิลโตและแดงในวันที่ 2-3 ตรวจพบ Koplick's spot ลักษณะเม็ดขาวเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดบนเยื่อบุกระดุ้งแก้มที่แดงจัดหายไปหลังตื่นขึ้นประมาณ 2 วัน
ระยะออกผื่น: ประมาณวันที่ 3-5 หลังจากเป็นไข้ (T = 39.5-40.5 c) ตาแดงจัดผื่น (Maculo-papular rash) เริ่มจากหลังใบหูและโคนผมที่ต้นคอใบหน้าลำตัวแขนและขาต่อมน้ำเหลืองม้ามโต
ระยะผื่นจางหาย : ประมาณวันที่ -8 ของโรค ไข้เริ่มลดลงและหายไปภายใน 2-3 วันอาจมีอาการไอ เมื่อ
ผื่นถึงเท้าแล้วผื่นจางหายไปเหลือเป็นรอยสีคล้ำ
โรคแทรกซ้อน
สมองอักเสบ (Encepalitis/ ไข้ อาเจียน ซึม้ ซัก และระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง
ปอดอักเสบ (Broncho-pneumonia)
หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media)
เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis)
ลำไส้อักเสบ (Enteritis)
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
เป็นโรคหัดขณะตั้งครรภ์ าจทำให้เด็กตายคลอดหรือคลอดก่อนกำหนดได้
การรักษา
เป็นโรคที่หายได้เองไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่มีความจำเป็นให้ยาต้านจุลชีพ
ให้พักผ่อน ยาลดไข้ และให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ต้องให้ยาต้านจุลชีพทีเหมาะสม
การป้องกัน
การป้องกันการให้ภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันโรคหัดได้ทันที โดยให้Gamma globulin ฉีดเข้ากล้ามเนื้อภายใน 5 วันหรือน้อยกว่า 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ ให้ในเด็กเล็ก เด็กที่เจ็บป่วยเรื้อรัง หญิงมีครรภ์และผู้ที่มีระบบอินมูนบกพร่อง อยู่นาน 3-6 สัปดาห์บกพร่อง อยู่นาน 3-6 สัปดาห์
วัคซีนที่ทำจากเชื้อมีชีวิตฉีดเข้าใต้ผิวหนังครั้งเดียว ควรให้ในเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 1 ขวบ แอนติบอดี้จะเกิดประมาณ 12 วันหลังฉีด ถ้าให้ก่อนสัมผัสโรคทันทีหรือให้หลังสัมผัสโรคภายใน 48 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 72 ชั่วโมง จะสามารถป้องกันโรคในเด็กอายุ 6-12 เดือน ควรฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุเกิน 12เดือน ไม่จำเป็นต้องฉีดเสริม
โรคหัดเยอรมัน
(Rubella)
ไข้ออกผื่น ไม่รุนแรงในเด็ก แต่สำคัญ สตรีตั้งครรภ์เป็นโรคหัดเยอรมันในระยะเริ่มตั้งครรภ์ได้ 3-4 เดือน เชื้อไวรัสผ่านไปทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ สมอง
เชื้อ rubella เป็น RNA ไวรัสอยู่ในตระกูล Togaviridae และในกลุ่ม rubi-virus
พยาธิสภาพ
พบความผิดปกติมากมายได้ทุกส่วนของร่างกายผลจากไวรัสทำลายเซลล์โดยตรง ทำให้เกิด mitotic arrest คือจำนวนเซลล์ในอวัยวะต่างๆน้อยลง ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้าเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง พยาธิสภาพที่ตา เกิดเป็นต้อกระจกเลือกออกในcochlea กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจพบจ้ำเลือดและภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
ระยะติดต่อ
คือ 2-3 วันก่อนมีผื่นขึ้นจนไปถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น ทารกที่ติดเชื้อในครรภ์ เชื้อไวรัสอยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี
-
ระยะฟักตัว
14-21 วัน เฉลี่ย 16-18 วัน
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัด
การแยกเด็กแบบ Respiratory Isolation ตั้งแต่มีอาการถึง 5-7
วัน หลังผื่นขึ้น
Tepid sponge
การดูแลทั่วๆไป ผิวหนัง ตา หู ปากฟันและจมูก
ระยะไข้สูง ให้อาหารอ่อน หรืออาหารเหลว ดื่มน้ำมากๆ
สังเกตอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ข้ออักเสบให้แอสไพริน กรณีเกร็ดเลือดต่ำ และเลือดออกไม่หยุด อาจต้องใช้ยาสเตียรอยด์ ให้เกร็ดเลือด หรืออิมมูโนกลอบูลิน
โรคคอตีบ
(Diphtheria)
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย Corynebactrium diphtheriae (C.diphtheriae) รูปทรงแท่ง ย้อมติดสีแกรมบวก
ระบาดวิทยา
พบในคนเท่านั้น ในจมูกหรือลำคอ โดยไม่มีอาการ ติดต่อกันทางไอ จามรดกัน พูดคุยระยะใกล้ชิด เชื้อเข้าทางปากหรือการหายใจ หรืออาจใช้ภาชนะร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
ไข้ต่ำ ๆ อาการคล้ายหวัด ไอเสียงก้อง เจ็บคอรุนแรง เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตและบริเวณรอบ ๆ รุนแรงคอบวม "Bullneck" บางรายมีการกดทับเส้นเลือดดำ ju gular ทำให้ใบหน้ามีสีดำคล้ำจากเลือดคั่ง มักมีอาการของ toxicemiaอาการไข้สูง ซึม ชีพจรเบาเร็ว มือเท้าเย็น อาจเสียชีวิตจากภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้
โรคแทรกซ้อน
การอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน พบในเด็กเล็กวันที่ 2-3 ของโรค กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเต้นเร็วหรือช้า มี gall op หัวใจล้มเหลว มีการเปลี่ยนแปลง ST-Tมีความผิดปกติของ conduction และ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอพบอัตราการเสียชีวิตในรายที่มี heart block
การรักษา
การให้ Diphtheria Antitoxin (DAT) ต้องรีบให้เร็วที่สุด เพื่อไปทำลาย Exotoxin ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท
ให้ยาปฏิชีวนะเพนนิชิลิน เป็นเวลา 14 วัน หรือ Erythromycin แทน
ถ้าทางเดินหายใจตีบ ต้องเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้
ต้องมีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นระยะเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2
การป้องกัน
ต้องมีการแยกผู้ป่วยจากผู้อื่น อย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2 ครั้ง และต้องให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน
ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย จึงควรติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยการเพาะเชื้อจากลำคอและติดตามอาการ 7 วัน ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อนหรือได้รับไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ เป็นเวลา 7 วันพร้อมเริ่มให้วัคซีน พร้อมให้ Diphtheria Antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย
(ในเด็กทั่วไป โดยให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 4 ครั้ง เมื่ออายุ 2,4.6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออาย 4-6 ปี (ต่อไปอาจกระตุ้นทุก 10 ปี)
โรคคางทูม
(Mumps)
เป็นการอักเสบของต่อมน้ำลาย : Parotid gland พบมากในเด็กอายุ 6-10 ปี (< 3 ปีมักไม่พบ)
สาเหตุ
Paramyxovirus (อยู่ในน้ำลาย/เสมหะ)
การติดต่อ
ไอ จาม หายใจรดกัน 1-2 วัน ก่อนเริ่มมีอาการจนถึง 9
วันหลังจากต่อมน้ำลายพาราติดเริ่มบวม
ระยะฟักตัว
12-25 วัน
อาการ
ไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ขากรรไกรบวมแดงปวด ร้าวไปที่หูขณะกลืน เคี้ยว อ้าปาก อาการบวมจะค่อยๆยุบหายไปใน 7-10 วัน
โรคแทรกซ้อน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ * พบบ่อย
หูชั้นในอักเสบ ไตอักเสบ
ส่วนน้อยพบ orchitis (ลูกอัณฑะอักเสบ : ไข้สูง อัณฑะบวม ปวด อาจเป็นหมันได้)
การรักษา
รักษาตามอาการ : ให้นอนพัก ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ ปวด บวม : ประคบ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
อัณฑะอักเสบ : ให้ prednisolone 1 mg/kg/day
การป้องกัน
ให้วัคซีนป้องกันคางทูม
โรคติดเชื้อ
HIV/AIDS ในเด็ก
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส HIV
ระยะฟักตัว
ประมาณ 2-3 เดือน แสดงอาการภายใน 5 ปี
การติดต่อ
จากแม่สู่ลูก
การได้รับเชื้อ ได้รับเลือด
การมีเพศสัมพันธ์
อาการ
Major sign
ท้องร่วงเรื้อรัง มากกว่า 1 เดือน
มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ
Minor sign
ต่อมน้้าเหลืองทั่วไปโต
แม่เป็นเอดส์
การป้องกัน รักษา
ให้ยาต้านไวรัส คือ AZT โดยให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานทุก 12 ชม. เมื่ออายุครรภ์ ครบ 32-34 สัปดาห์ และเพิ่มเป็นทุก 3 ชม. เมื่อเจ็บครรภ์จนกระทั่งคลอด
เลือกท้าการผ่าตัดอกทางหน้าท้องก่อนเจ็บครรภ์คลอดและน้้าเดิน
งดให้นมแม่ ให้นมผสมแทน
การดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวี โรคมือเท้าปาก
ให้ BCG และ IPV แทน OPV
ไม่ให้ทั้งสองชนิด (ACIP)
ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever: DHF)
อาการ
มีอาการไข้อย่างเฉียบพลันและสูงลอย 2-7 วัน และร่วมกับมีอาการอย่าง น้อย 2 ข้อ คือ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ/ปวด กระดูก ผื่น เลือดออก(จุดจ้้าเลือด เลือดก้าเดา)
มีเกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000
มีอาการเลือดออก อย่างน้อย Positive tourniquet test ร่วมกับอาการ เลือดออกอื่นๆ
Hct.เพิ่มขึ้นเท่ากับหรือมากกว่า 20% เทียบกับ Hct.เดิม หรือมีหลักฐาน การรั่วของพลาสมา เช่น มีระดับโปรตีน/อัลบูมินในเลือดต่ำ
การดำเนินโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะไข้สูง (Febrile stage): ส่วนใหญ่ไข้สูงลอย T>38.5 ºC (27 วัน)
ระยะวิกฤตหรือช็อก (Critical stage)
ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage)
ความรุนแรงของไข้เลือดออกเดงกี
Grade I: ตรวจทูนิเกท์เทสต์ให้ผลบวก (Positive tourniquet test)
Grade II: มีเลือดออก เช่น จุดจ้้าเลือดออกตามตัว, มีเลือดก้าเดา, อาเจียน ถ่ายอุจจาระสีด้า, Hct เพิ่มมากกว่าร้อยละ 20, BP ยังปกติ
Grade III: ผู้ป่วยช็อก, มีชีพจรเบาเร็ว, pulse pressure แคบ, BP ต่ำ, ตัวเย็น, เหงื่อออก, กระสับกระส่าย
Grade IV: ช็อกรุนแรง, วัด BP หรือ Pulse ไม่ได้
การพยาบาล
การเช็ดตัวลดไข้
การให้ผงเกลือแร่ ORS น้อยๆบ่อยๆ
การทำความสะอาดร่างกาย
การบันทึกสัญญาณชีพทุก 15-30 นาที
การบันทึกสัญญาณชีพทุก 15-30 นาที
การดูผลเกร็ดเลือด ถ้า Hct สูง เกร็ดเลือดต่่า เป็นสัญญาณอันตราย
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดด้า สังเกตภาวะหอบ หายใจล้าบาก การสังเกต ปัสสาวะ
การรักษา
ระยะไข้สูง
ให้ยาลดไข้ ห้ามให้แอสไพริน มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือด ถ้าอาเจียนอาจให้ยาระงับการอาเจียนและให้ผงเกลือแร่ ORS น้อยๆบ่อยๆ
ระยะช็อก
มุ่งแก้อาการช็อกและอาการเลือดออก ให้สารน้้า ไม่ควรให้นานเกิน 24-48 ชั่วโมง จนสัญญาณชีพดีขึ้น
ระยะพักฟื้น
เป็นช่วงสารน้้ากลับเข้าสู่หลอดเลือด จ้าเป็นต้องหยุดหรือลดให้ สารน้้าทางหลอดเลือดดำ
วัณโรค
(Tuberculosis)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis
อาการ
ระยะแรกไม่แสดงอาการ
TT (PPD test) : positive (2-10 สัปดาห์)
1-6 เดือนต่อมา ต่อมน้้าเหลืองโต ปอด อวัยวะอื่นๆ
มาด้วยการเจ็บป่วยตามอวัยวะที่เป็นโรค ไข้ อ่อนเพลีย น้้าหนักลด เบื่ออาหาร เหงื่อออกกลางคืน ปอดอักเสบ เป็นต้น
การรักษา
Combine drug อย่างน้อย 3 อย่าง (pyrazinamide, streptomycin,
เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี TT ผลบวก ให้ INH นาน 2-4 เดือน
เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี วัณโรค
แยกผู้ป่วย 1-2 เดือนจนเสมหะไม่พบเชื้อ
อาหารโปรตีนสูง วิตามินสูง
พักผ่อนให้เพียงพอ
วัคซีน BCG
การวินิจฉัย
ประวัติสัมผัสโรค
ภาพถ่ายรังสีปอด
การทดสอบทูเบอร์คูลิน ได้ผลบวก
การย้อมสีทนกรด
การวิจฉัยชิ้นเนื้อจากต่อมน้้าเหลือง เยื่อหุ้มปอด
การตรวจ CT scan, MRI
การทำ TT (PPD test) ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคแต่ไม่มีอาการ
บาดทะยัก
(Tetanus)
สาเหตุ
การติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani เป็นเชื้อกรัมลบ เจริญได้ดีในสภาพที่ไร้ออกซิเจน สปอร์มีความคงทนมาก สามารถทนในน้ำเดือด 100 'C ได้นานถึง 20 นาที ในที่ไร้แสงและความร้อนจะทนอยู่ได้นานหลายปี ๆ และทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าแบคทีเรีย
การติดต่อ
ทางบาดแผล ลักษณะลึก เป็นแผลปีด ทำให้ออกชิเจนเข้าไปไม่ถึง เช่น ถูกของแหลมต่ำ โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้า ลึก สกปรก มีเนื้อตาย หูน้ำหนวก ในทารกแรกเกิดทางสะดือ
พยาธิสภาพ
เทตะโนไลชิน (tetanolysin)
ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกในสัตว์แต่ไม่ก่อโรคในคน
เทตะโนสปาสมิน (tatanospasmin)
มีผลต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยจับกับneural ganggliosides ที่ myoneural junction ของกล้ามเนื้อเรียบ และneuronal membrane ในไขสันหลัง
อาการและอาการแสดง
ระยะที่บาดแผลมีเชื้อบาดทะยัก (wound bacterial stage) สามารถรักษาให้หายขาดได้โดย ทำความสะอาดบาดแผลและทำลายเชื้อโรค
ระยะที่เชื้อบาดทะยักสร้างท็อกชินและเข้าสู่กระแสเลือด(tetanotoxemic stage)ในระยะนี้ท็อกชินยังไม่ได้เกาะติดกับระบบประสาทส่วนกลาง สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยให้แอนตี้ท็อกชิน และทำความสะอาดบาดแผลและยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อโรค
ระยะสุดท้ายของบาดทะยัก (neurologic stage) เด็กจะชักเกร็ง กระตุก อาการจะเริ่มในระหว่างวันที่ 5-12 หลังได้รับเชื้อ กล้ามเนื้อจะค่อยเกร็ง โยเริ่มจากขากรรไกรแข็ง กลืนลำบาก อ้าปากไม่ขึ้นเกร็งประมาณ 5-10 วินาที คือ ลำตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ หลังแอ่o ศีรษะตกไปด้านหลัง แขนขาเหยียดออก มือกำแน่น ใบหน้าแบบแสยะยิ้ม อาจมีอาการหายใจลำบาก เขียว ขาดออกซิเจน เกิดภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเสียชีวิต
การรักษา ให้การรักษาแบบประคับประคอง
ให้ tetanus antitoxin (TAT) ทางหลอดเลือดดำ และให้ toxiod หรือ TIG(tetanus immnoglobulin)
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น peniccilin, methacillin, gentamycin
ควบคุมอาการชัก ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น phenobarbital, chlorpromazine,diazepam ให้ประมาณ 2 สัปดาห์
การป้องกัน
ล้างแผลให้สะอาดเมื่อมีบาดแผล ฟอกสบู่เช็ดด้วยแอลกฮอล์
ให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและtetanus antitoxinหรือtoxiod ในรายที่แผลใหญ่หรือสกปรกในรายที่เคยได้รับวัคชีนมาครบ และครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี
การป้องกันบาดทะยักในทารกแรกเกิด โดยให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักแก่หญิงมีครรภ์โดยห่างกัน 1 เดือนเข็มสุดท้ายควรให้ก่อนคลอดอย่างน้อย 1 เดือน ควรได้ครบ 2 ครั้งจะสร้างภูมิคุ้มกัน
การพยาบาล
มีภาวะบกพร่องของการหายใจ เนื่องจากมีการหดเกร็งของกล่องเสียงและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
มีโอการเป็นบาดทะยักซ้ำ เนื่องจากไม่มีภูมิต้านทานโรค
โรคผิวหนังมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
โรคแผลพุพอง (Impetigo)
โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
การรักษา
ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค วันละ 2-3 ครั้ง และ wet dressing
ให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อ เช่น Cloxacillin,
erytromycin,amoxicillin,cefazolin,cephalexin
Hygine care
หลีกเลี่ยง skin trauma
ไอกรน
(Pertussis, Whooping cough)
สาเหตุ
เกิดจาก "เชื้อไอกรน" ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า "บอร์เดเทลลาเพอร์ทัสซิส" (Bordetella pertussis) อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย
พยาธิสภาพ
Bordetella pertussis มีหลายชนิดที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรค บางชนิดทำให้เชื้อเกาะติดกับเยื่อบุของขนพัดโบกของทางเดินหายใจ การอักเสบของเยื่อบุ เกิดการตายที่หลอดลมเล็ก ทำให้เกิดbronchopneumonia กิดการอุดตันบริเวณ bronchiolar และปอดแฟบ CRมีเลือดคั่งในเยื่อบุทางเดินหายใจ
การติดต่อ
ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะติดเชื้อจากผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกันได้เกือบทุกราย (โอกาสสูงถึง 80 -100%) และถึงแม้จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเป็นปกติก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20% ส่วนใหญ่ในเด็กจะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่หรือคนในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (Carrier) หรือมีอาการไม่มาก โดยติดต่อเข้าทางเดินหายใจโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองของน้ำลายหรือเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจาม
ระยะฟักตัวของโรค
ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 5-21 วัน (ส่วนใหญ่ประมาณ 5-10 วัน) ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค
ระยะติดต่อ
: ตั้งแต่เริ่มมีอาการ (ระยะเป็นหวัด) จนถึง 3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการไอรุนแรง (Paroxysmal phase)
อาการของโรคไอกรน
ระยะเป็นหวัด
หรือ ระยะเยื่อเมือกทางเดินหายใจอักเสบ (Catarrhal phase) ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคหวัดธรรมดาทั่วไป คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูกไหล จาม ไอเล็กน้อย อ่อนเพลีย ตาแดง น้ำตาไหล โดยอาการไอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งระยะนี้จะกินเวลานานประมาณ 1-2สัปดาห์ (ส่วนใหญ่ประมาณ 7 -10 วัน ในระยะนี้ส่วนใหญ่จะยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่ผู้ป่วยจะไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้ง ๆ
ระยะไอรุนแรง หรือ ระยะอาการกำเริบ
(Paroxysmal phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงและหลังการไอสิ้นสุดลงจะมีเสียงลักษณะเฉพะ (เสียงวู้ป) เกิดขึ้น ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะไม่มีไข้แล้ว
ระยะฟื้นตัว หรือ ระยะพักฟื้น
(Convalescent phase) รับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักตัวขึ้น และอาการไอจะค่อย ๆ ลดลง ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์ แต่ถ้ามีโรคแทรกช้อน ทำให้มีอติดต่อกันนานถึง 3 เดือน จึงเรียกว่า ไอ 3 เดือน หรือไอร้อยวัน
การรักษา
ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการชัดเจนว่าเป็นโรคไอกรน (มีอาการไอเกิดขึ้นติดกันเป็นชุด ๆ ในช่วงสุดท้ายของการไอจะมีเสียงดังวู้ปหรือวู้ หลังการไอมีอาเจียนตามมา และส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ ยกเว้นในรายที่มีโรคปอดอักเสบแทรกซ้อน)
ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้กรรักษาแบบผู้ป่วยนอกและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลับไปรับประทานเองที่บ้าน
ให้เด็กอยู่ในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ เพื่อให้เสมหะใสและขับออกได้ง่าย
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ เช่น การออกแรง การถูกฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันไฟ หรืออากาศที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้ในระยะแรก (ระยะเป็นหวัด)
วิธีป้องกัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคชีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTPvaccine) รวม 5 เข็ม โดยในเข็มแรกให้ฉีดตั้งแต่อายุ 2 เดือน, เข็มที่ 2 อายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 อายุ6 เดือน, เข็มที่ 4 อายุ 18 เดือน และเข็มที่ 5 เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี
ปัจจุบันแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) จำนวน1 ครั้ง แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 27 -36 สัปดาห์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนในระดับที่สูงและสามารถให้ภูมิคุ้มกันนี้ผ่านไปยังทารกในครรภ์เพื่อป้องกันโรคไอกรนได้
โรคไข้ซิก้า
(Zika fever)
สาเหตุ
เชื้อไวรัสชิก้า (Zila Virus-ZIKV) มียุงลายบ้านเป็นพาหะสำคัญ (AedesA egyp ti) นำพาเชื้อไวรัส มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเส้บเจอี
อาการ
ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่น ตาแดง ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลง
ภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก
การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์หรือคลอด กรณีที่แม่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่อาจส่งผ่านไวรัสไปสู่ทารก
ในครรภ์
การแพร่เชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์
การแพร่เชื้อผ่านการบริจาคเลือด
การรักษา
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานยาพาราเชตามอล ในกรณีที่เป็นไข้หรือมีอาการปวด
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวัง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกอย่างใกล้ชิด
โรคมือ เท้า และปากเปื่อย
Hand Foot Mouth Disease
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus
การติดต่อ
ทาง fecal-oral
ทางการหายใจ
อาการและอาการแสดง
เริ่มจากการมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ มีผื่น
ผื่นเริ่มจากจุดนูนแดงเล็กๆ เจ็บ ต่อมาเป็นตุ่มขนาด 3-7 mm. ไม่เจ็บแห้งใน 1 สัปดาห์
มีแผลหรือผื่นในช่องปาก: ลิ้น เยื่อบุช่องปาก เหงือก เพดาน ริมฝีปาก เป็นตุ่ม ใสขนาด 1-3 mm. แล้วแตกเป็นแผล
รอยโรคที่ปาก
ในผู้ป่วยทั้งหมด มีรอยโรคจ้านวน 5-10 แห่ง พบได้ทุกบริเวณในปาก พบบ่อย คือ เพดานปาก ลิ้น และเยื่อบุกระพุ้งแก้ม
รอยโรคระยะเริ่มต้น ลักษณะเป็นรอยแดง อาจนูนเล็กน้อย ขนาด 2-8 mm. เปลี่ยนเป็นตุ่มน้้าสีเทาขนาดเล็กขอบแดง
ช่วงที่รอยโรคเป็นตุ่มน้้าจะสั้น จึงมักตรวจไม่พบในระยะนี้
รอยโรคที่ผิวหนัง
อาจเกิดขึ้นพร้อมหรือหลงัรอยโรคทปี่าก จ้านวนตั้งแต่ 2-3 แห่งไปจนถึง 100 แห่ง
พบที่มือบ่อยกว่าเท้า ลักษณะเป็นรอยแดงๆ อาจนูนเล็กน้อยขนาด 2-10 mm. ตรงกลางสีเทา
บางรอยโรคมีลักษณะเป็นตุ่มน้้าใสขอบแดง มีกระจายขนานไปกับแนวของผิวหนัง อาจเจ็บหรือไม่ก็ได้
การรักษา
รักษาแบบประคับประคองและบรรเทาอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เป็น โรคที่สามารถหายเองได้เอง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน ลดอาการ เจ็บปวด จากแผลในปาก โดยป้ายยาชาบริเวณที่เป็นแผลก่อนรับประทาน อาหาร
ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้รักษาตามอาการ
การป้องกัน
แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยเน้น contact isolation เป็นหลัก มีรายละเอียด ดังนี้
แยกเด็กไม่ให้ร่วมกิจกรรมกับเด็กอื่น เช่น ว่ายน้้า ไปโรงเรียน ใช้สนามเด็กเล่น เป็น เวลา 1 สัปดาห์
ผู้ดูแลล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ สัมผัสกับน้้าลาย/น้้ามูกเด็ก
ท้าความสะอาดพื้นห้องน้้า สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่ อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยน้้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปในบ้าน
เชื้ออยู่ในอุจจาระได้นาน 6-12 สัปดาห์
โรคผิวหนังมีการติดเชื้อไวรัส
หูด (Warts)
สาเหตุ
หูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ “ฮิวแมน แปปิโลมา ไวรัส” (Human Papilloma Virus – HPV)
การรักษา
1.ด้วยยาใช้ภายนอก การรักษาด้วยความเย็น
2.การใช้แสงเลเซอร์ การรักษาด้วยระบบอิมมูน
3.การผ่าตัด ใช้สารเคมี
หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)
สาเหตุ
เป็นไวรัสที่มีชื่อวา่ “เอ็มซีวี”
การรักษา
การสะกิดออก
ใช้สารละลายขุย
ให้ยา cinmethidine ให่ยาทา
โรคผิวหนังมีการติดเชื้อรา
โรคกลาก (Dermatophytosis)
ลักษณะทางคลินิก
โรคกลากที่ศีรษะ (tinea capitis)
โรคกลากที่ล้าตัว (tinea corporis)
โรคกลากที่ใบหน้า (tinea faciei)
โรคกลากที่ขาหนีบ (tinea cruris)
โรคเกลื้อน (tinea vesicolor)
สาเหตุ:
เชื้อ dimorphic yeast malassezia furfur
การรักษา:
ท้าความสะอาดผิวหนัง ยาทาต้านเชื้อรา รับประทานยา
โรค Candidiasis
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่ม genus candida พบบ่อยมาก
สาเหตุ:
เชื้อ candida albicans
ต้าแหน่ง
: ช่องปาก ผิวหนัง
โรคผิวหนังจากเชื้อปรสิต
โรคหิด (scabies)
สาเหตุ
: เกิดจากตัวหิด
การวินิจฉัย
: ตรวจ KOH
ลักษณะ:
ผื่นนูนแดง ขนาดเล็ก หรือตุ่มน้้าใส ขนาดเล็ก
เหาศีรษะ (Head louse)
ลักษณะ:
คันศีรษะ เกาจนถลอก
การวินิจฉัย
:ตรวจหาไข่เหา
การรักษา
: การตัดผมสั้น ท้าความสะอาด เครื่องนอน สระผมด้วยแชมพูยา ใช้เม็ด น้อยหน่าต้าหมักผม หวีเอาไข่เหาออก การ ให้ยาปฏิชีวนะ
โรคผิวหนังอักเสบ
Atopic dermatitis
อาการและอาการแสดง
มักกำเริบในฤดูหนาว ทำให้ผิวแห้ง หรือฤดูร้อน เหงื่อออกมาก การติดเชื้
การรักษา
ระยะเฉียบพลัน ผื่นแดง บวม ตุ่มน้ำและมีน้ำเหลืองไหลทำความสะอาดด้วยน้ำยา Burrow's solution 1:40 หรือน้ำละลายด่างทับทิม 1:4000 หรือ 0.9%NSS วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อแห้งดีแล้วหยุดเช็ดหลังจากนั้นทาด้วยครีมสเตียรอยด์ชนิดอ่อนหรือปานกลาง
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อแบคที่เรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราร่วมด้วย
Seborrheic dermatitis
Infantile Seborrheic dermatitis ผิหนังอักเสบเนื่องจากไขมันมากในทารก มักเกิดขึ้น ใน2-3 สัปดาห์หลังแรกเกิดเกิดจากต่อมไขมันขับไขมันในทารก มักเกิดขึ้น ใน2-3 สัปดาห์หลังแรกเกิด เกิดจากต่อมไขมันขับไขมันออกมามากเกินไป หรือไขมันเมื่อแรกเกิด (vernix caseosa) ถูกชำระล้างออกไม่หมด มักพบบริเวณหนังศีรษะ คิ้ว บริเวณรอยพับระทว่างจมูกกับแก้ม คาง หลังหูซอกรักแร้
การรักษา
ใช้สำลีชุบน้ำมันมะกอก หรือวาสลิน เช็ดออกเบา 1 แล้วฟอกผิวทำความสะอาดให้ทั่ว ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
Diaper dermatitis
สาเหตุ
เกิดจากความเปียกชื้น ผิวหนังสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะเป็นเวลานาน โดยไม่ทำความสะอาด
อาการ
ผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำใส บวม เป็นขุย บริเวณหน้าท้องด้านล่าง หัวเหน่า หน้าขา กัน และ
บริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม
การรักษา
ทาด้วยครีมสเตียรอยด์ชนิดอ่อนหรือปานกลาง ทานาน 3-4 วัน แผลติ้น ทำแผลเปียกด้วย
Burrow's solution 1:40 เมื่อแผลแห้งทาด้วย zinc oxide paste
Roseola Infantum
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human herpesvirus ype 6 (HHV-6) และ Human
herpesvirus ype 7 (HHV-7)
อาการที่พบในเด็กที่มีอายุ 2-3 ปี มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HHV-7
การติดต่อ :
เชื้อชนิดนี้จะมีอยู่ในเสมหะและน้ำลายของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด
การพยาบาล
ได้รับสารน้ำอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากเบื่ออาหาร
เด็กโตและบิดามารดาอาจวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์
เนื่องจากสะเก็ดแผลผุพอง
อาจเกิดการซักจากไข้สูง
เสี่ยงต่อการกลับมาเป็นโรคซ้ำ จากการได้รับสิ่งกระตุ้นสารก่อภูมิแพ้
เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากผิวหนังมีรอยฉีกขาดจากการมีผื่น แผลบริเวณผิวหนัง