Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก, อ้างอิง : กชณิภา ผลพฤกษ์(2563)…
การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
ความหมาย
การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการทำหน้าที่ของบุคคล ทำให้เกิดความสามารถ ใหม่ๆ ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม แบ่งดังนี้
ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม (Personal - social development)
ด้านสติปัญญาและจริยธรรม (Cognitive and moral development)
ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย Gross motor development
ด้านภาษา (Language development)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพัฒนาการเด็ก
ทฤษฎีจิต-สังคม
เด็กวัยหัดเดิน ควรส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง เช่น เลือกเสื้อผ้า รับประทานอาหาร เด็กวัยก่อนเรียน ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เด็กวัยเรียน ควรให้ความสนใจ ชมเชย ให้กำลังใจในสิ่งที่เด็กทำ เด็กวัยรุ่น ควรสนับสนุนให้แสดงบทบาทตามที่ตนเองอยากเป็น ให้ค้นหาตนเอง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
การสอนเด็กให้เข้าใจ หรือเรียนรู้จะต้องดูตามความสามารถของเด็กแต่ละวัย เช่น เด็กวัยก่อนเรียนต้องให้เห็นรูปแบบชัดเจนโดยใช้ คำสั้นๆ และทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็น
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
เด็กทารกต้องให้ได้รับการดูด ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมดูดมือ ถ้าพบเด็กอายุ3 – 6 ปี เล่นอวัยวะเพศของตนเอง ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติตามวัย ซึ่งเป็นระยะที่เด็กมีความพึงพอใจทางอวัยวะสืบพันธ์
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์
แบบแผนพฤติกรรมของเด็กที่พัฒนาในแต่ละช่วงอายุและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เป็น เกณฑ์ในการ พิจารณาการจัดกิจกรรม รวมทั้งการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก มาใช้ประกอบในการ ฝึกหัดเด็กในเรื่องของ พฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าจะทำได้ผลดีต่อเมื่อเด็กมีความพร้อม
การประเมินพัฒนาการ
วิธีการประเมินพัฒนาการเด็ก
การเตรียมสถานที่สำหรับประเมินพัฒนาการเด็ก
การเตรียมเด็ก เด็กควรมีความพร้อมสำหรับการประเมิน
สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ประเมินกับเด็กและพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
ชี้แจงพ่อ แม่หรือ ผู้ปกครองให้เข้าใจว่าจะทดสอบความสามารถของเด็กในด้านต่าง ๆตามพัฒนาการในปัจจุบัน
ขณะทดสอบพัฒนาการ ถ้าเด็กร้องไห้ ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองอุ้มปลอบให้เด็กสงบจึงเริ่มประเมิน จัด ให้เด็กเล็กนั่งตักผู้ปกครอง
คำนวณอายุเด็ก วิธีการคำนวณ: เริ่มจาก วัน เดือน และปีที่ทำการประเมิน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยภายใน
ยีนส์และพันธุกรรม ความผิดปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ อายุของเด็ก เพศ
ปัจจัยภายนอก
โครงสร้างของครอบครัว การเลี้ยงดูของ บิดามารดา วัฒนธรรม การอบรมสั่งสอน
ทฤษฎีพัฒนาการเด็ก
ทฤษฎีจิต-สังคม
ขั้นความเป็นตัวของตัวเองแย้งกับความละอายใจและไม่แน่ใจ
ขั้นความคิดริเริ่มแย้งกับความรู้สึกผิด
ขั้นความไว้วางใจแย้งกับความไม่ไว้วางใจผู้อื่น
ขั้นขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกด้อย
ขั้นอัตลักษณ์แห่งตนกับความสับสนในบทบาทตนเอง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ระยะพัฒนาการก่อนเกิดความคิดอย่างมีเหตุผล
ระยะพัฒนาการความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นรูปธรรม
ระยะพัฒนาการทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว
ระยะพัฒนาการความเข้าใจอย่างมีเหตุผล
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ขั้นอวัยวะเพศ
ขั้นแฝง
ขั้นทวาร
ขั้นพอใจเพศตรงข้าม
ขั้นปาก
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์
พฤติกรรมทางการปรับตัว
พฤติกรรมทางด้านภาษา
พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว
พฤติกรรมทางสังคม – ตัวบุคคล
หลักการประเมินพัฒนาการเด็ก
ประเมินพัฒนาการโดยใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการโดยผู้ทำการประเมินต้องมีความชำนาญใน การใช้เครื่องมือเพื่อให้การประเมินถูกต้อง และควรให้โอกาสเด็กทำข้อทดสอบมากกว่า 1 ครั้ง
การประเมินพัฒนาการ เริ่มต้นโดยสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ประเมินกับเด็กและพ่อแม่ ผู้ปกครอง และซักถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ผู้ประเมินจะต้องสรุปผลการประเมิน ลงบันทึกและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กพร้อมทั้งให้ คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการ
สถานที่ในการประเมินมีความเหมาะสมไม่คับแคบและไม่มีสิ่งกระตุ้นความสนใจ
ใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานในการประเมิน
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
เรียนรู้วิธีการคัดกรองและค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงพร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือได้ทันที
ตระหนักว่าเด็กทุกคนต้องการการส่งเสริมพัฒนาการ
มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องพัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก
มีความรู้ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแต่ละวัย สามารถให้คำแนะนำและคำปรึกษาให้เหมาะสม
เมื่อพบเด็กที่มีความเสี่ยง หรือมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ควรให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ ได้รับการดูแลต่อเนื่องต่อไป
การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
!
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 2เดือน
ควรเปลี่ยนท่านอนให้เด็กบ่อย ๆ
ให้เด็กมองหน้าผู้อุ้ม หรือของเล่น สีสดใสระยะห่าง ประมาณ 8 นิ้ว โดยเอียงหน้าไปมาช้า ๆ ให้เด็กมอง ตาม
พูดคุยกับเด็กหรือร้องเพลงเบาๆ ให้ฟัง
เปลี่ยนท่านอนบ่อย ๆ เช่น ตะแคง คว่ำ - อุ้มเด็กให้หลังพิงกับอกผู้อุ้ม
ให้เด็กเล่นของเล่นที่ใช้กำ และ เขย่ามีเสียงดัง - พูดคุยกับเด็กเสมอ
หาสาเหตุเมื่อเด็กร้อง และ ตอบสนองความต้องการ
หาสาเหตุเมื่อเด็กร้อง และ ตอบสนองความต้องการ
*การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 5-6เดือน
วางของเล่นห่างตัวเด็กแล้ว กระตุ้นให้เด็กคลานไปหยิบของ
ให้เด็กถือบล็อกไม่สีสดใสขนาด 1 × 1 นิ้ว แล้วนำมาเคาะกัน
หัดให้เด็กจับขวดนมดื่มเอง
หยอกล้อ พูดคุยกับเด็ก เลียน เสียงตาม เช่น หม่ำ-หม่ำ - อุ้ม กอด แสดงความรักกับเด็ก
*การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 7-9เดือน
วางของเล่นห่างตัวเด็กแล้ว กระตุ้นให้เด็กคลานไปหยิบของ
ให้เด็กเล่นหยิบของใส่ในตะกร้าพาไปพบปะคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ สมาชิกในบ้าน
เล่นบ้าย-บาย จ๊ะเอ๋ กับเด็ก
ให้เด็กถือขนมปังรับประทานเอง ควรเป็นชนิดที่ละลายในปาก ระวัง ติดคอ สำลัก
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก10-12เดือน
ใช้ของเล่นมีล้อเพื่อให้เด็กหัดก้าว เดิน - จูงเด็กเดินบ่อย ๆ โดยอาจจูง 2 มือก่อน แล้วจูงมือเดียว
หัดให้เด็กดื่มน้ำจากแก้ว และจับ ช้อนตักอาหาร
ให้เด็กชี้บอกเมื่อพูดชื่อคน สัตว์ สิ่งของ
ให้เด็กดูรูปภาพในหนังสือ เรียกชื่อให้เด็กฟัง - เรียกชื่อเด็ก และพูดคุยกับเด็ก บ่อย ๆ
ให้เด็กจับดินสอสี และขีดเขียน บนกระดาษ
ให้เด็กหยิบของใส่ภาชนะ
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก3 ปี
เล่นเตะฟุตบอลและโยนบอลโดย ยกมือเหนือศีรษะ
ให้เดินบนสะพานไม่แผ่นเดียว เตี้ยๆ หรือปิดเทปกาวเป็นเส้นตรง ให้เด็กเดินบนเทปกาวเพื่อฝึกการ ทรงตัว โดยมีผู้ใหญ่ดูแลใกล้ชิด
ให้เด็กขี่จักรยาน 3 ล้อ
ให้เด็กขีดเขียนลายเส้นตามแบบ เช่นระบายสี ปะกระดาษลงในภาพ
สอนให้เด็กช่วยเหลือตัวเองให้ มากที่สุด เช่น รับประทานอาหาร ด้วยตัวเอง แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้า และ ช่วยงานบ้านง่ายๆ เช่น รินน้ำ ทิ้ง ขยะลงถัง
ผู้ใหญ่ควรชื่นขมเด็กเมื่อเด็ก สามารถทำได
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก13-15เดือน
ให้เล่นของเล่นที่มีล้อลากจูง
เล่นโยนฟุตบอลกับเด็ก
ให้เด็กเล่นต่อก้อนไม้เป็นชั้น ๆ หรือวางถ้วยพลาสติกขนาดต่าง ๆ ซ้อนกันเป็นชั้น
ให้เด็กตักอาหาร หรือหยิบอาหาร เอง
เปิดโอกาสให้เด็กได้เดินสำรวจ รื้อค้นสิ่งของ โดยดูแลไม่ให้เกิด อันตราย
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก16-24เดือน
ให้เล่นของเล่นที่มีล้อลากจูงเล่นโยนฟุตบอลกับเด็ก
ให้เด็กเล่นต่อก้อนไม้เป็นชั้น ๆ หรือวางถ้วยพลาสติกขนาดต่าง ๆ ซ้อนกันเป็นชั้น
ให้เด็กตักอาหาร หรือหยิบอาหาร เอง
เปิดโอกาสให้เด็กได้เดินสำรวจ รื้อค้นสิ่งของ โดยดูแลไม่ให้เกิด อันตราย
พูดคุย ชี้บอกชื่อวัตถุสิ่งของ หรือ ให้ดูจากรูปภาพ
ชี้บอกชื่ออวัยวะให้เด็กพูดตาม
ให้เล่นเกมหยอดบล็อกรูปทรง เรขาคณิต
เริ่มฝึกการขับถ่ายอุจจาระ (18 เดือน)
เล่นเตะฟุตบอล ปา หรือขว้างลูก บอลกับเด็ก
ให้เด็กวิ่งเล่น ปีนป่าย กระโดด โดยผู้ใหญ่คอยดูแล
ให้เล่นต่อบล็อกไม้ ปั้นแป้ง ขีด เขียนลายเส้น ระบายสี
เริ่มเสริมสร้างวินัย เช่น การเก็บ ของเข้าที่
ตอบคำถาม โดยไม่ตำหนิ เมื่อเด็ก ซักถาม
เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือ ตนเองในกิจวัตรประจำวันให้มาก ที่สุด
อ้างอิง : กชณิภา ผลพฤกษ์(2563).เอกสารประกอบการสอนหน่วยที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
นางสาว ภัทรพร บุญปรอด 6217701001026 ห้อง1