Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, image, image, image, image, image…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบน (URI)
โรคหวัด (Common cold)
สาเหตุและระบาดวิทยา
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยทุกอายุคือ rhinovirus ซึ่งมีมากกว่า100 ชนิด
รองลงมา ได้แก่coronavirus, parainfluenza virus เป็นต้น โรคหวัดมักพบในฤดูกาลที่มีอากาศเย็น และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ เช่น ฤดูหนาวเนื่องจากอุณหภูมิพอเหมาะต่อการเติบโตของไวรัส เยื่อบุโพรง จมูกที่แห้งจะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ง่าย
เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กมีโอกาส ติดเชื้อหวัดมากขึ้น
ลักษณะอาการทางคลินิก
ระยะฟักตัวของ rhinovirus ประมาณ 1-4 วัน ส่วน coronavirus ใช้เวลา ประมาณ 2-4 วัน โดยทั่วไปมักเกิดอาการภายหลังการสัมผัสเชื้อ 1-3 วัน
อาการของโรคหวัด ขึ้นกับอายุและชนิดของเชื้อไวรัส เด็กเล็กอาจมีไข้ และน้ำมูกเป็นอาการเด่น เด็กโตมักไม่มีไข้แต่อาจเริ่มด้วยอาการเจ็บคอหรือ ระคายคอ ต่อมามีน้ำมูกคัดจมูก ไอ อาการไอพบได้ประมาณสองในสามของผู้ป่วยเด็ก
โรคหวัดอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งหมด ที่เกิดจากเชื้อไวรัส หากเป็นการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
หากเป็นโรคหวัดธรรมดา เด็กจะมีน้ำมูกใสในวันแรก ต่อมาน้ำมูก อาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวเนื่องจาก polymorphonuclear cell (PMN) หลั่งสาร myeloperoxidase ออกมากำจัดเชื้อโรค การมีน้ำมูกสีเขียวหรือเหลืองจึง ไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเสมอไป
อาการแสดง
เยื่อบุจมูกบวมแดง อาจพบเยื่อบุตาแดง ต่อม น้ำเหลืองที่คอโต มีpost nasal drip ได้
โดยทั่วไปอาการของโรคหวัดมักไม่นานเกิน 7-14 วันถ้ามีอาการนาน เกิน 2 สัปดาห์ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะไซนัสอักเสบ หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ร่วมด้วย หรือเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ
การรักษา
การเช็ดตัว
ยา เช่น paracetamol
ระมัดระวังการใช้ibuprofen โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคไข้เลือดออก ระบาด
ไม่แนะนำให้ใช้แอสไพริน เนื่องจากมีรายงานการเกิด Reye’ssyn-drome ในเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรือสุกใสและได้รับยาแอสไพริน
การพยาบาล
ลดไข้ โดยการการเช็ดตัว กระตุ้นให้ดื่มน้ำ ถ้าไข้ไม่ลดให้ยาพาราเซตามอลตามแผนการรักษา
การระบายน้ำมูก
ลดอาการไอ กระตุ้นดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาวลิ้น
ดูแลร่างกายให้อบอุ่น
ดูแลให้พักผ่อน
สังเกตอาการที่ต้องพาไปพบแพทย์ หายใจหอบ หายใจเสียงดัง ชายโครงบุ๋ม ซึม ไม่ดื่มนมหรือน้ำ อาการป่วยมากขึ้น
โรคคออักเสบ / ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน(Acute pharyngitis/ tonsillitis/ pharyngotonsillitis)
สาเหตุและระบาดวิทยา
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่adenovirus, influenza virus,parainfluenzavirus, rhinovirus, respiratory syncytial virus (RSV)
ไวรัส อื่นที่พบรองลงมา คือ coxsackievirus, echovirus, herpes virus, Epstein-Barr virus (EBV)
ส่วนกลุ่มแบคทีเรีย เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ group A beta-hemolytic streptococci (GABHS) พบเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 20 ถึง 40
ที่พบ รองลงมา ได้แก่ group C, group G streptococci และ anaerobe มีรายงานว่า พบเชื้อ Fusobacterium necrophorum ในวัยรุ่น
กลุ่ม atypical pathogen ที่เป็นสาเหตุได้แก่Mycoplasma pneumoniae, Chlamydophila (or Chlamydia) pneumoniae แต่พบได้ไม่บ่อย
ลักษณะอาการทางคลินิก
ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง หรือทอนซิลบวมแดงจัด
ต่อมน้ำหลืองบริเวณคอส่วนหน้าบวมและกดเจ็บ
ไข้สูง > 38 องศาเซลเซียส
ไม่มีอาการไอ
อายุ3-14 ปี
การรักษา
รักษาตามอาการ
การลดไข้ในกรณีมีไข้ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้เช่นเดียวกับ การติดเชื้ออื่นๆ
การบรรเทาอาการเจ็บคออาจให้เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว สำหรับ ยาอมต่างๆ มักมียาชาเป็นส่วนประกอบ
การให้ยาต้านจุลชีพ การใช้ยาต้านจุลชีพในการติดเชื้อไวรัสพบว่าไม่มีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น การหวังผลป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน หรือลดระยะเวลาของอาการ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการลุกลามของเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง (suppurative complications) ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ, peritonsillar abscess(Quinsy),
para/retropharyngealabscess และการลุกลามของเชื้อไปยังเนื้อเยื่อ ชั้นลึกของบริเวณคอหรือไปส่วนอื่นๆ
ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการเกิดปฏิกิริยาทางระบบอิมมูนทำให้ เกิดการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ (non-suppurative complication) ได้แก่ acute glomerulonephritis, rheumatic fever และ rheumatic heart disease
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute rhinosinusitis)
สาเหตุและระบาดวิทยา
การอักเสบของ maxillarysinus และ ethmoidsinusเกิดได้ตั้งแต่วัยทารก
frontal sinus พบการอักเสบได้ในช่วงวัยเรียน
ส่วน sphenoid sinus มีความ สำคัญทางคลินิกหลังอายุ10 ปี6
หากมีการอักเสบของ sphenoid sinus มักไม่พบเพียงแห่งเดียวแต่จะพบการอักเสบของไซนัสอื่นๆ ร่วมด้วยเป็น pansinusitis
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบต่อเนื่อง (persistent upper respiratory symptoms) คือ มีน้ำมูกและไอที่ไม่ดีขึ้นติดต่อกันนานกว่า 10 วัน5 โดยน้ำมูกมักข้นเหลืองแต่อาจมีสีขาวหรือใสก็ได้4,12-14 หรืออาการแย่ลงหลังจาก เป็นไข้หวัดมาแล้ว 5-7 วันร่วมกับมีอาการไอแห้งหรือมีเสมหะจากน้ำมูกไหล ลงคอในเวลากลางวัน13 ผู้ป่วยอาจไอมากขึ้นในเวลากลางคืน แต่การไอเวลา กลางวันมีความจำเพาะต่อโรคไซนัสอักเสบมากกว่า
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบรุนแรง (severe upper respiratory symptoms) ได้แก่มีไข้สูงกว่า39 องศาเซลเซียส และน้ำมูกข้นเป็นหนองโดยเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และเป็นติดต่อกัน 3-4 วัน โดยที่สาเหตุของไข้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ที่อวัยวะอื่น บางรายอาจมีการบวมบริเวณรอบตาหรือกดเจ็บบนใบหน้า14 หรือ ปวดศีรษะมากร่วมด้วย
การตรวจร่างกาย
พบน้ำมูกเขียว แต่ในเด็กเล็กอาจพบว่ามีน้ำมูกใส
มักตรวจพบเสมหะขุ่นหรือลักษณะเป็นหนองที่ด้านหลังคอ (postnasal drip)
อาจมีไข้ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คอแดง
ในเด็กโตอาจกดเจ็บบริเวณไซนัสหรือ เคาะเจ็บที่บริเวณฟันกรามบน และอาจพบมีการบวมรอบตา
การรักษา
การรักษาประคับประคองตามอาการ
Antihistamine พิจารณาให้เฉพาะในกรณีที่มีภูมิแพ้ร่วมด้วย
Decongestant ช่วยลดการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้หนองในโพรง ไซนัสระบายออกง่ายขึ้นและผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น อาจนำมารักษาทั้งภาวะ เฉียบพลันและเรื้อรังโดยให้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ให้ระยะยาว เนื่องจาก อาจทำให้น้ำมูกข้นเหนียว นอกจากนี้ทำให้เส้นเลือดหดตัว จึงมีเลือดไปเลี้ยง เยื่อบุจมูกลดลง
Intranasal corticosteroids มีฤทธิ์ลดการอักเสบและการบวมของ เยื่อบุจมูกรอบๆ osteomeatalcomplex ทำให้การระบายหนองและถ่ายเทอากาศ ในโพรงไซนัสดีขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงว่ายาในกลุ่มนี้มีประโยชน์ในเด็ก ที่มีไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน
Nasal saline irrigation ยังไม่แนะนำในกรณีเป็นไซนัสอักเสบ เฉียบพลัน แต่การใช้น้ำเกลือนอร์มัลฉีดล้างในช่องจมูกวันละ 2 ครั้งใน กลุ่มที่เป็นเรื้อรังจะช่วยให้น้ำมูกเหนียวน้อยลงและช่วย mucociliary clearance ร่วมกับมีฤทธิ์ให้เส้นเลือดหดตัวได้เล็กน้อย ทำให้การระบายน้ำมูกดีขึ้น
การรักษาจำ เพาะ (specific treatment)
2.1 การรักษาระยะแรก
จากการศึกษาในผู้ใหญ่และเด็ก amoxicillin ยังเป็นยาที่ได้ ผลดีและเลือกใช้เป็นตัวแรก
2.2 กรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีโอกาสมีเชื้อดื้อยาสูง
ได้แก่เคยได้ยาต้านจุลชีพมาภายใน 30-90วัน หรือได้ยาต้านจุลชีพบ่อยๆ อายุต่ำกว่า 2 ปีหรืออยู่ในสถาน รับเลี้ยงเด็กอ่อน รวมทั้งเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัส กับควันบุหรี่ พิจารณาให้amoxicillin-clavulanate ขนาดสูง ยาต้านจุลชีพอื่นที่สามารถใช้ได้เช่น levofloxacin
ภาวะแทรกซ้อน
periorbitalcellulitis ทำ_ ให้มีอาการไข้รอบตาบวม
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อในเบ้าตา มีอาการตาบวม ตาโปน
การพยาบาล
ดูแลเด็กพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด
ดูแลเด็กให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบนาน 10 - 14 วัน หากตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง ลูกอาจรับประทานยาปฎิชีวนะ 6 - 8 สัปดาห์
ดูแลเด็กให้รับประทานยาลดบวมของเยื่อบุจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูกและอาการบวมของเยื่อบุจมูกทำให้น้ำมูกไหลเวียนได้ดีขึ้นจากช่องจมูก
ดูแลเด็กให้รับประทานยาละลายเสมหะเพื่อลดความเหนียวของน้ำมูกและลดอาการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงไซนัส
โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Acute otitis media)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ30-50 ของการเกิด AOM ในเด็ก เชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ respiratorysyncytialvirus(RSV), influenzavirus, adenovirus, rhinovirus, coronavirus, enterovirus, parainfluenzavirus type 1-3, human metapneumovirus
เชื้อแบคทีเรีย ที่พบเป็นสาเหตุของ AOM บ่อย ได้แก่ S. pneumoniae, H. influenzae, S. pyogenes, M. catarrhalis
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการของ AOM คล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ ไข้ไอ น้ำมูกไหล อาเจียน แต่อาการที่สำคัญ คือ การปวดหูในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้อาจมีดึงหู ทุบหูร่วมกับ ร้องกวน งอแงผิดปกติหรือไม่ยอมนอน ส่วนเด็กโตอาจมาด้วย อาการปวดหูเฉียบพลัน กินได้น้อย หรือปวดศีรษะ
ลักษณะอาการหูชั้นกลางอักเสบรุนแรง (severe otitis media)
อาการปวดหูระดับปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการปวดหูนานมากกว่า 48 ชั่วโมง หรือมีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 39 ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบแบบรุนแรง ได้แก่ อายุน้อย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ หรือมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
การรักษา
การรักษาตามอาการ อาการที่สำคัญ คือ อาการปวดหูโดยเฉพาะในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แรก และเป็นอาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์โดยเฉพาะในเด็กเล็ก แนะนำ ให้บรรเทาอาการปวดด้วยการใช้ยาแก้ปวด โดยจะเลือกใช้paracetamol หรือ ibuprofen ก็ได้
การรักษาจำ เพาะ ปัจจุบันพบว่าสาเหตุของการเกิด AOM ในเด็กนั้น ส่วนหนึ่งเกิด จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพ นอกจากนี้ยัง มีการศึกษาว่า การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ก็สามารถหายได้เองเช่นเดียวกัน ดังนั้นในแนวทางการรักษาในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จึงไม่แนะนำให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพตั้งแต่ เริ่มแรก ยกเว้นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
การพยาบาล
เมื่อเด็กมีอาการปวดหู หูอื้อ และมีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว แล้วจึงรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง
ในขณะที่มีหูน้ำหนวกไหลหรือเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง หมั่นใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดหูให้แห้งและระวังอย่าให้น้ำเข้าหู โดยการหลีกเลี่ยงการดำน้ำหรือเล่นน้ำในสระหรือแม่น้ำลำคลอง
ป้องกันเด็กไม่ให้เป็นหวัดหรือโรคของทางเดินหายใจส่วนต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการไอแบบปิดปากแน่นหรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ
ไม่ซื้อยาหยอดหูใด ๆ มาใช้เอง
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่หยุดยาเอง แม้ว่าอาการจะทุเลาลงแล้วก็ตาม เพราะอาจทำให้การรักษาได้ผลไม่เต็มที่ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง (LRI)
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute laryngotracheobronchitis viral croup)
ระบาดวิทยาของโรค
พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-3 ปี อาจพบได้ในเด็กที่อายุ น้อยกว่า 3 เดือนและเด็กโตที่อายุระหว่าง 12-15 ปี1-5 เด็กชายพบได้มากกว่า เด็กหญิงในอัตราส่วน 1.4:11
ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-6 วันผู้ป่วย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) มีอาการเล็กน้อย6 น้อยกว่าร้อยละ 5 ที่ต้องเข้ารับการ รักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเพียงร้อยละ 1-3 ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ9-11 โรคนี้มีอัตราเสียชีวิตต่ำ มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตประมาณ ร้อยละ 0.5 ของผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ10 และประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วย ที่มีอาการกลับเป็นซ้ำ
สาเหตุ
เชื้อที่พบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่คือไวรัสที่พบบ่อยที่สุด คือ parainfluenza viruses
ไวรัสอื่นๆ ที่พบเป็น สาเหตุ ได้แก่ influenza A และ B, respiratory syncytial virus (RSV), human metapneumovirus, human bocavirus, human coronavirus (HCoV-NL63), rhinovirus, adenovirus, enterovirus, measles และ herpes simplex type 1
เชื้อแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุของ croup ได้แต่พบน้อย ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae ซึ่งมักพบในเด็กโตและอาการไม่รุนแรงหรือเกิดจากการ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (superimposed infection) เช่น Streptococcus pyogenes, Streptococcus pneumoniae, Staphylococcus aureus, Haemophilus influenzae และ Moraxella catarrhalis
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัด เช่น น้ำมูก ไอเล็กน้อย และไขต่ำๆ (บางราย อาจมีไข้สูงถึง 40 ) นำมาก่อนประมาณ 12-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีอาการ ไอเสียงก้อง เสียงแหบ และหายใจได้ยินเสียง stridor ซึ่งมักเกิดในช่วงหายใจเข้า อาการมักเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืน ขณะกระสับกระส่ายหรือร้องไห้มาก
ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยอาการไอเสียงก้องจะหายไปใน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้น อาการต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนใหญ่หายภายใน 3-5 วัน มีเพียงส่วนน้อยที่หาย ภายใน 1 สัปดาห์15
ในรายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีอาการหายใจลำบากและตรวจ พบอาการแสดงต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว, จมูกบาน (nasal flaring), อกบุ๋ม (chest-wall retractions), ได้ยินเสียง stridor ทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก (continuous หรือ biphasic stridor), กระสับกระส่าย และมีอาการเขียวได้
croup score
croup score < 4 ระดับความรุนแรงน้อย (mild croup)
croup score 4-7 ระดับความรุนแรงปานกลาง (moderate croup)
croup score > 7 ระดับความรุนแรงมาก (severe croup)
การรักษา
เริ่มจากการประเมินความรุนแรงของโรคว่ารุนแรง ระดับไหน หาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มี ความผิดปกติของทางเดินหายใจมาก่อน เคยถูกใส่ท่อช่วยหายใจ มีโรคพื้นฐานที่ ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว เช่น neuromuscular diseases เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อพิจารณาแนวทางในการให้การรักษา การติดตาม การพิจารณา รับไว้ในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวัง ในส่วนของการรักษาประกอบด้วยการ รักษาทั่วไปและการใช้ยาเพื่อลดการบวมของทางเดินหายใจ ได้แก่ corticosteroids และ nebulized epinephrine
ภาวะแทรกซ้อน
ที่อาจพบ ได้แก่ ภาวะพร่องออกซิเจน, ภาวะหายใจล้ม เหลว, ภาวะขาดน้ำ, bacterial tracheitis, ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema), มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด, หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต68 โดยทั่วไปโรคนี้มีอัตรา เสียชีวิตต่ำหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
การพยาบาล แนะนำผู้ดูแล
เมื่อทราบว่าเด็กเป็น โรคครูป ให้เฝ้าดูอาการ 1-2 วันแรกอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตอาการป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตัน
ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ น้ำอะไรก็ได้ เช่น น้ำเปล่า น้ำส้ม นม เป็นน้ำเย็นเล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการบวมของกล่องเสียง
นำอ่างน้ำร้อนมาวางไว้ในห้อง หรือใช้กาต้มน้ำที่มีไอน้ำพุ่งออกมา ให้ลูกสูดไอน้ำอุ่น หรือใช้เครื่องทำความชื้น จะช่วยลดอาการบวมของกล่องเสียง แต่ระวังอย่าให้น้ำร้อนลวกลูกน้อย
ใช้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือแอนติฮีสตามีน โดยศึกษา การใช้ยาในเด็กใช้อย่างไรให้ปลอดภัยตามวัย เพื่อลดอาการบวมของกล่องเสียง หรือใช้ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้
ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (Acute epiglottitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Haemophilus influenzae type b เชื้ออื่นๆ ที่อาจ พบ ได้แก่ Haemophilus influenzae non-typeable, Haemophilus parainfluenzae, Staphylococcus aureus, Streptococcus pneumoniae หรือสามารถ พบเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง6 เชื้อไวรัสหรือ เชื้อราบางชนิด เช่น candida ก็สามารถก่อโรคได้
โรคนี้พบได้ทุกวัย แต่มักพบในเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-6 ปี โดยร้อยละ 80 พบอายุน้อยกว่า 5 ปี หลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันเชื้อ Hib อุบัติการณ์ ในเด็กลดลงมาก แต่ยังคงมีรายงานพบผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้ออื่นได้ โดยจะมี ลักษณะทางคลินิกแตกต่างไปบ้าง4 และมักพบในช่วงอายุที่สูงขึ้นในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยทำงาน
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมักมีไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก น้ำลายไหล พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย
หลังจากนั้นจะมีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นตามมา อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่ หายใจลำบาก บางครั้งลักษณะคล้ายถอน หายใจ หากอาการลุกลามถึงกล่องเสียงจะพบเสียงแหบร่วมด้วย
อาการหายใจ เสียงดัง (stridor) มักพบในระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการรุนแรง หากพบให้ระวัง ว่าอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ได้ (complete airway obstruction)
นอกจากนี้ผู้ป่วยมักอยู่ในท่านั่งเอนตัวไปข้างหน้าใช้แขน 2 ข้างยันพื้น เงยคอ ยื่นคางและอ้าปาก (tripod position) เพื่อช่วยให้การหายใจดีขึ้น ในรายที่มีอาการ รุนแรงอาจซึมลง เขียว เกิดภาวะหายใจล้มเหลว และเสียชีวิต
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ให้ออกซิเจนที่มีความชื้น
งดให้อาหารทางปากและพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
รบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการตรวจช่องคอโดยไม่จำเป็น
เตรียมท่อช่วยหายใจให้พร้อม โดยเตรียมขนาดเล็กกว่าปกติ 0.5-1 มม.
พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อมีข้อบ่งชี้ ทำในห้องผ่าตัดที่มีทีม วิสัญญีแพทย์ และอุปกรณ์สำหรับเจาะคอให้พร้อมในกรณีที่ใส่ท่อ ช่วยหายใจไม่สำเร็จ
การรักษาแบบจำเพาะ
การให้ยาต้านจุลชีพ ควรให้ยาที่เหมาะ สม และรวดเร็วที่สุด โดย
พิจารณาให้ยากลุ่ม cephalosporin เช่น cefuroxime (50-200 มก./กก./วัน), ceftriaxone (100 มก./กก./วัน), cefotaxime (100-150 มก./กก./วัน) เป็นต้น
ยังไม่มีการศึกษาชัดเจนถึงระยะเวลาในการให้ยา แต่ใน ทางปฏิบัติควรให้ยาเข้าหลอดเลือดดำจนผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ หลังจากนั้น 48 ชั่วโมงจึงเปลี่ยนเป็นยาต้านจุลชีพชนิดกินต่อเนื่องจนครบ 7-10 วัน
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบในระบบหายใจ ได้แก่ ปอดอักเสบ, ปอดแฟบ, pulmonary edema, ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ในรายที่อาการรุนแรงต้องใส่ ท่อช่วยหายใจอาจพบภาวะ laryngeal edema หรือ subglottic granulation หลังถอดท่อช่วยหายใจ
สำหรับภาวะแทรกซ้อนนอกระบบหายใจพบได้น้อยมาก ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ติดเชื้อ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
การป้องกันโรค
Invasive Hib คือ การติดเชื้อ Hib ตามอวัยวะต่างๆ และสามารถตรวจ พบจากการเพาะเชื้อใน sterile site เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบเชื้อ Hib จาก การเพาะเชื้อน้ำไขสันหลัง, ปอดอักเสบพบเชื้อจากการเพาะเชื้อน้ำเยื่อหุ้มปอด, acute epiglottitis พบเชื้อจากการเพาะเชื้อในเลือด, ข้ออักเสบติดเชื้อพบเชื้อจาก การเพาะเชื้อน้ำในข้อ เป็นต้น
มีรายงานการเกิด acute epiglottitis ในครอบครัว ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ invasive Hib เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ถึงแม้จะอาการหาย แล้ว ยังมีเชื้อฝังตัวอยู่ที่คอหอยและสามารถแพร่สู่คนใกล้ชิดได้ ดังนั้นเพื่อกำจัด พาหะของโรคจึงแนะนำให้ยาต้านจุลชีพชนิดกิน คือ rifampicin ขนาดยา 20 มก./กก./วัน ขนาดสูงสุด 600 มก. (สำหรับทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน ขนาดยา 10 มก./กก./วัน) นาน 4 วัน ไม่ควรให้ rifampicin แก่สตรีมีครรภ์)
หลอดลมคอติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial tracheitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
Bacterial tracheitis พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นในเด็กอายุ 1-7 ปี
ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีการติดเชื้อไวรัสในระบบหาใจมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง croup และไข้หวัดใหญ่
บางรายพบตามหลังการสูดสำลักเชื้อหลังจากเป็นไซนัส อักเสบ คออักเสบ หรือหลังผ่าตัดทอนซิล การติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันที่หลอดคออาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ เนื่องจากมีสารคัดหลั่งข้นเหนียวจำนวนมาก การติดเชื้ออาจลามไปที่ใต้กล่องเสียงและกล่องเสียง หรือแม้กระทั่งไปที่แขนง หลอดลมและปอดได้
เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุด คือ Staphylococcus aureus1-5 ทั้งที่ดื้อและ ไม่ดื้อต่อ methicillin (MRSA)
เชื้ออื่นๆ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae, group A streptococcus (Streptococcuspyogenes, GAS), alpha-
hemolytic streptococci, Haemophillus influenzae, Moraxella catarrhalis และเชื้อ ไม่พึ่งออกซิเจน (anaerobe)
ความรุนแรงขึ้นกับเชื้อไวรัสที่เริ่มและแบคทีเรียที่แทรกซ้อนตามมา
ลักษณะทางพยาธิวิทยาในผู้ป่วยที่เสียชีวิตพบการอุดกั้น ทางเดินหายใจอย่างรุนแรงบริเวณใต้กล่องเสียง เนื่องจากการบวมอักเสบ เนื้อ ตาย และเป็นหนอง
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมักจะเริ่มด้วยอาการ croup ไอเสียงก้อง เสียงแหบ ต่อมามีไข้สูง ไอ มี
เสมหะจำนวนมากหายใจลำบาก ตรวจพบ stridor ช่วงหายใจเข้า หรือทั้งเข้า และออก อาจเกิดขึ้นทันที หรือหลังจากอาการ croup ดีขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่จะนอน หงายได้ ไม่มีน้ำลายไหล และมักไม่มีปัญหากลืนลำบากเหมือนที่พบในผู้ป่วยฝา ปิดกล่องเสียงอักเสบ
การดูดเสมหะอาจช่วยให้ดีขึ้นชั่วคราว แต่อาจไม่เพียงพอ และบางรายจำเป็นต้อง
ใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากอาการรุนแรง มีภาวะหายใจ ล้มเหลว เขียวกระสับกระส่ายหรือซึม
การรักษา
การรักษาที่สำคัญมากและต้องพิจารณาเร่งด่วน คือ การดูแลทางเดิน หายใจให้เปิดโล่ง
ผู้ป่วยร้อยละ 50-90 จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเจาะคอ หลังจากใส่ท่อช่วยหายใจส่วนใหญ่จำเป็นต้องดูดเสมหะบ่อย
พิจารณาถอดท่อช่วยหายใจเมื่ออาการดีขึ้นหรือเสมหะลดน้อยลง ร่วมกับการ ทดสอบลมรั่วรอบท่อ (air leak)
ควรให้ออกซิเจนและสารน้ำให้เพียงพอ ติดตาม อาการใกล้ชิด
ไม่ควรให้ nebulized epinephrine และ steroids เนื่องจาก ไม่ได้ผลในการรักษา
การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพขึ้นกับเชื้อที่สงสัย ได้แก่ cloxacillin, vancomycin หรือ clindamycin ร่วมกับ third-generation cephalosporin หรือ ampicillin/sulbactam
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังได้รับยา พิจารณาเปลี่ยนยาถ้าไม่ดีขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว ควรให้ยา นานอย่างน้อย 10 วัน
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
โรคนี้พบได้ทุกอายุและพบได้ตลอดปี เชื้อที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนแปลงตาม อายุของผู้ป่วยและฤดูกาล
โดยอุบัติการณ์สูงสุดจะพบในฤดูหนาว เพศชาย มากกว่าเพศหญิง2 ในช่วงอายุ 6 ปีแรก
เชื้อไวรัส respiratory syncytial virus (RSV) และ parainfluenza virus type เป็นสาเหตุที่พบ
บ่อย โดย RSV มัก พบในเด็กเล็ก, influenza A และ B มักพบในเด็กโต, adenovirus type และ มักพบในกลุ่มทหารเกณฑ์และวัยรุ่น และ Mycoplasma pneumoniae มัก พบในเด็กวัยเรียน
สาเหตุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) เกิดจากไวรัส ได้แก่ influenza A, influenza B, parainfluenza
virus, RSV, coronavirus, adenovirus, rhinovirus และhuman metapneumovirus (hMPV)
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูกนำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน
ตามมาด้วยอาการของหลอดลม โดยมีอาการ ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอเฉียบพลัน
อาการระยะแรกจะไอแห้งๆ (dry and harsh cough) ผู้ป่วยบางรายมีไอเสียงก้อง (brassy cough) ต่อมาไอมากขึ้นและ มีเสมหะ (productive cough) โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุทางเดินหายใจ และ เซลล์เม็ดเลือดขาว (inflammatory cells) มีการหลั่ง peroxidase enzyme ทำให้สี ของเสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อน ในเด็กเล็กที่มีการกลืนเสมหะอาจมาด้วยอาการไอจนอาเจียน เด็กโต สามารถไอขับเสมหะได้แต่อาจไอมากจนมีอาการเจ็บหน้าอก ระยะนี้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์และมักมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์
การรักษา
การรักษาตามอาการ
การดื่มน้ำมากๆ อาจให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อทำให้ชุ่มคอและ บรรเทาอาการไอ
ไม่แนะนำให้ใช้ยากด อาการไอในผู้ป่วยเด็ก (cough suppression) เพราะทำให้ เกิดอาการง่วงซึม เสมหะแห้งเหนียวมากขึ้น และอาจเป็นอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
การให้ยากลุ่ม antihistamine, decongestant และ beta-2 agonist พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น allergic rhinitis, reactive airway disease เป็นต้น
การรักษาประคับประคอง
การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อระบายเสมหะ แนะนำให้ทำใน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอเอาเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
การรักษาจำเพาะ
เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของหลอดลมอักเสบเฉียบพลันเกิดจาก ไวรัส ดังนั้นการให้ยาต้านจุลชีพจึงไม่มีประโยชน์ ยกเว้น ในรายที่มีลักษณะบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาต้าน จุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ
การพยาบาล แนะนำผู้ดูแล ดูแลเด็ก
พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด
หลีกเลี่ยง ควัน, กลิ่นฉุน, ควันบุหรี่, สารเคมี, ฝุ่น, สารระคายเคืองต่างๆ ซึ่งจะทำให้การอักเสบในหลอดลมเป็นมากขึ้น
ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น และแห้ง ซึ่งจะทำให้ไอมากขึ้น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า การดื่มหรืออาบน้ำเย็น ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ในกรณีที่ใช้พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง
ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายขณะนอนให้เพียงพอ
ดูแลรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ อาจรับประทานยาลดไข้ [paracetamol หรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)], ถ้ามีอาการไอมาก จนรบกวนการนอน หรือเป็นที่น่ารำคาญ อาจรับประทานยาลดหรือระงับอาการไอ (cough suppressants or antitussives เช่น dextromethorphan, codeine) หรือยาขยายหลอดลม (bronchodilator) , ถ้ามีเสมหะมาก อาจรับประทานยาขับเสมหะ (expectorants) หรือ ยาละลายเสมหะ (mucolytics)
ปอดบวม, ปอดอักเสบ (Pneumonia)
สาเหตุและระบาดวิทยาของโรค
เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยของโรคปอดบวมในเด็กแตกต่างกันในแต่ละ อายุ ได้แก่ ไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุร้อยละ 60-70 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไวรัส ที่พบบ่อยได้แก่ respiratory syncytial virus, influenza, parainfluenza และ human metapneumoviru
สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียพบร้อยละ 5-8 เชื้อ แบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดในทุกกลุ่มอายุ (ยกเว้นทารกแรกเกิด) คือ Streptococcus pneumoniae เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ได้แก่ Staphylococcus aureus, group A streptococcus และกลุ่มของ atypical pathogen เช่น Mycoplasma pneumoniae, Chlamydophila pneumoniae
ในประเทศไทยมีการ ศึกษาในผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เป็นปอดบวมพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส (ร้อยละ 42) ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ respiratory syncytial virus
ลักษณะทางคลินิก
อาการสำคัญ คือ ไข้ ไอ หอบ
มีไข้ ยกเว้นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อ C. trachomatis ก็อาจไม่มีไข้ได้
หายใจเร็วกว่าปกติตามเกณฑ์อายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็น การตรวจที่มีความไว (sensitivity) สูงในการวินิจฉัยโรคปอดบวม
มีอาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน ในรายที่เป็นมากอาจ ตรวจพบริมฝีปากเขียวหรือหายใจมีเสียง grunting
ฟังเสียงปอด มักได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อาจได้ยิน เสียง wheeze ร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นปอดบวมจากไวรัสหรือ mycoplasma หรือได้ยินเสียง bronchial breath sound ในกรณีที่เนื้อปอดมีพยาธิสภาพ แบบ consolidation หรือได้ยินเสียงหายใจลดลงร่วมกับ vocal resonance ลดลงในผู้ป่วยที่มี pleural effusion ร่วมด้วย
การฟังเสียงปอดควรต้องพยายาม ให้เด็กหายใจเข้าให้ลึกที่สุด และฟังเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง ถ้าผู้ป่วยหายใจเร็ว หรือไม่ลึกพอ อาจฟังไม่ได้ยินเสียง crepitation ทั้งที่เป็นปอดบวม
อาจมี pleuritic chest pain ซึ่งเป็นอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เหมือนถูกเข็มแทง มีอาการมากเวลาหายใจเข้าลึกๆ เกิดจากมีน้ำหรือหนองใน ช่องเยื่อหุ้มปอด
ในเด็กเล็กอาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่จำเพาะ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อใน กระแสโลหิต เช่น ไม่ดูดนม ซึม หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ อาจตรวจไม่พบอาการ หายใจเร็วหรือ crepitation ได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (CBC) ควรส่งตรวจในรายที่ต้องนอน รักษาในโรงพยาบาล จำนวนเม็ดเลือดขาวที่มากกว่า 15,000 / ลบ.มม. ร่วมกับจำนวนpolymorphonuclear สูงอาจช่วยบ่งชี้ว่าสาเหตุของปอดบวม น่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจ acute phase reactants เช่น erythrocyte sedimentation rate (ESR), C- reactive protein (CRP), procalcitonin ไม่สามารถแยก สาเหตุของปอดบวมได้ชัดเจน จึงไม่ควรส่งตรวจเป็นประจำในผู้ป่วยทุกราย
ภาพรังสีทรวงอก
การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจหาเชื้อ atypical bacteria
การตรวจหาเชื้อไวรัส
การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test) หรือตรวจ interferon gamma ในเลือดมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่สงสัยสาเหตุจากเชื้อวัณโรค
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
การรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ ในรายที่มีอาการ เจ็บหน้าอก ปวดข้อ ปวดท้อง เจ็บหู ผู้ป่วยที่มี pleural pain อาจไม่ยอมหายใจ ลึกๆทำให้ไอได้ไม่มีประสิทธิภาพ การให้ยาแก้ปวดจะช่วยลดอาการปวดทำให้แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562 ผู้ป่วยสามารถไอได้ดีขึ้น ไม่ควรรบกวนเด็กโดยไม่จำเป็นเพื่อลดความ ต้องการออกซิเจนของร่างกาย
การรักษาจำเพาะ
ปอดบวมจากไวรัสไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้นไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) ในกรณีที่สงสัยว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อก่อโรค ควรให้ยา ต้านไวรัส
ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้ออื่นๆ และยังไม่สามารถแยกเชื้อได้ ชัดเจนพิจารณาให้ยาต้านจุลชีพโดยมีหลักเกณฑ์
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของปอดบวม
น้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (parapneumonic effusion or empyema thoracis)
ฝีในปอด (lung abscess)
การป้องกัน
เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบหายใจ
เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่และ
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน
การปฏิบัติตัวอื่นๆ เช่นเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อในระบบหายใจ อื่นๆ โดยทั่วไป
น้ำในเยื่อหุ้มปอดจากการติดเชื้อ (Parapneumonia effusion)
น้ำในเยื่อหุ้มปอดจากการติดเชื้อ
ระยะที่ 1 exudative stage มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดน้ำใส มีปริมาณเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย (simple parapneumonic effusion)
ระยะที่ 2 fibrinopurulent stage มี fibrin สะสมในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิด ผนังกั้นน้ำเป็นส่วนๆ (loculated pleural effusion) น้ำมีเม็ดเลือดขาวมากขึ้น และมีความหนืดมากขึ้น (complicated pleural effusion) จนกลายเป็นหนองใน ที่สุด (empyema)
ระยะที่ 3 organisational stage มี fibroblast มาสะสมที่เยื่อหุ้มปอด และภายในน้ำทำให้เยื่อหุ้มปอดหนาตัวขึ้น ไม่ยืดหยุ่น ปอดไม่สามารถขยายตัวได้ เต็มที่ ซึ่งหลังจากนี้มีโอกาสที่จะหายเองหรือไม่หาย กลายเป็นการอักเสบเรื้อรังได้
ลักษณะทางคลินิก
ประวัติ มีการติดเชื้อที่ปอดนำมาก่อน มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย ถ้ามีน้ำใน เยื่อหุ้มปอดปริมาณมากอาจทำให้เจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้าลึกๆ แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ปอดที่ได้รับการ รักษาด้วยยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมนานกว่า 48-72 ชั่วโมงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
การตรวจร่างกาย ทรวงอกด้านที่มีน้ำในเยื่อหุ้มปอดเล็กน้อยอาจได้ยิน เสียง pleural rub เมื่อน้ำมีปริมาณมากขึ้นจะได้ยินเสียงหายใจเข้าลดลง tactile และ vocal fremitus ลดลงเคาะทึบทรวงอกโป่งนูนหลอดลมและหัวใจถูกดันไป ด้านตรงข้าม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray)
อัลตราซาวด์ทรวงอก (chest ultrasonograpy)
เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (chest computed tomography, CT chest)
การเพาะเชื้อในเลือด (blood culture)
การย้อมสีแกรม (Gram stain)
การวิเคราะห์น้ำในเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid analysis)
การตรวจทาง serology
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ยาต้านจุลชีพ
การเจาะระบายน้ำในเยื่อหุ้มปอด
การใส่ท่อระบายน้ำในเยื่อหุ้มปอด
การใส่ยาละลายไฟบริน (fibrinolytic agent) ในเยื่อหุ้มปอด
การผ่าตัด
การนัดติดตามอาการ
โรคหอบหืดในเด็ก(Asthma)
การวินิจฉัยโรคหืดในเด็ก
1.ประวัติ มีอาการไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงวี้ด (wheeze)
การตรวจร่างกาย
2.1 ไอ เหนื่อยหอบ หายใจลําบาก หายใจมีเสียงวี้ด (wheeze) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอน หายใจเข้าหรือหายใจออกแรง ๆ (forced inspiratory/expiratory wheeze)
2.2 หน้าอกโป่ ง ถ้าเป็นเรื้อรังมานาน (increased A-P diameter)
2.3 มีอาการแสดงของโรคภูมิแพ้อื่นๆ ได้แก่ อาการของ allergic rhinitis, allergic conjunctivitis หรือ atopic dermatitis
การตรวจพิเศษเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย
3.1 การตรวจภาพรังสีทางทรวงอก (chest X-ray) ไม่จําเป็นต้องทําทุกครั้ง
3.2 การวัดสมรรถภาพการทํางานของปอด (pulmonary function test)
3.3 การตรวจเพื่อหาภาวะภูมิแพ้ เช่น การตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนัง (allergy skin prick test)
3.4 การตรวจความไวของหลอดลมต่อ methacholine หรือ histamine หรือต่อการออกกําลังกาย (bronchoprovocation test)
การรักษา
การรักษาขณะมีอาการหอบ
ให้ออกซิเจน
ให้ยาขยายหลอดลม ให้ผลเร็วกว่าการฉีด ถ้าไม่สามารถพ่นยาได้อาจใช้ยาฉีด เช่น adrenalin, aminophylline
ให้ยา corticosteroid ควรให้ทันทีขณะที่หอบมาก เป็นยาลดการอักเสบจะได้ผลหลังให้ยา 6-8 ชั่วโมง
รักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ปอดแฟบ
การรักษาโรคหืดระยะยาว
การควบคุมสิ่งกระตุ้นให้เกิดการแพ้
ให้ยาเพื่อรักษาภาวะหลอดลมหดเกร็ง
กายภาพบำบัดทรวงอก เช่น การฝึกการหายใจ การไออย่างมีประสิทธิภาพ
การออกกำลังกาย
เสียงหวีด (Wheeze)
หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchiolitis)
หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchiolitis) เป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อ ทำให้มีการอักเสบของหลอดลมฝอย (bronchiole) เกิดการบวม และหลุดลอกของเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ส่งผลให้การระบายเสมหะไม่มี ประสิทธิภาพ ร่วมกับมีการสร้างเสมหะเพิ่มมากขึ้น เกิดการอุดกั้นของทางเดิน หายใจส่วนล่าง มักเกิดในช่วงอายุ 1-2 ปีแรก พบบ่อยในเพศชาย มีความชุกใน ฤดูฝนและหนาว
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ respiratory syncytial virus (RSV) รองลงมา ได้แก่ human metapneumovirus (hMPV), influenza virus, rhinovirus, adenovirus และ parainfluenza virus พบการ ติดเชื้อไวรัสหลายชนิดร่วมกันได้ร้อยละ 10-30 ของเด็กเล็กที่มีอาการรุนแรง จนต้องรับไว้ในโรงพยาบาล โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงและภาวะ แทรกซ้อน อาทิ ภาวะหยุดหายใจ และหายใจล้มเหลว
การรักษา
การให้ออกซิเจน ควรพิจารณาให้ออกซิเจน เมื่อ SpO2 < 95% และหรือมีอาการหายใจ ลำบากโดยให้ออกซิเจนทาง nasal cannula, face mask หรือ head box ในปัจจุบันมีการศึกษาการให้ออกซิเจนด้วยวิธี heated humidified high flow nasal cannula (HHHFNC) พบว่ามีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการ ปานกลางถึงรุนแรง
การให้สารน้ำ (hydration) การให้สารน้ำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำมีความสำคัญ เบื้องต้นแนะนำ ให้สารน้ำทางปาก แต่ในผู้ป่วยที่มีอัตราการหายใจ > 60 ครั้ง/นาที และมีนน้ำมูก มาก ต้องระวังการสำลัก อาจพิจารณาให้ทาง nasogastric หรือ orogastric tube หรือให้ทางเส้นเลือด ไม่ควรให้สารน้ำในปริมาณมากเกินไป เพราะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะ syndrome of inappropriate antidiuretic hormone
การให้ยาพ่น
การดูดน้ำมูก ไม่ควรดูดน้ำมูกโดยการใส่สายดูดลึกเกินไป และดูดน้ำมูกตามความจำเป็น
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก
การหยุดหายใจ
ภาวะหายใจล้มเหลว
Syndrome of inappropriate antidiuretic hormone (SIADH)
ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ภาวะปอดแฟบ
การป้องกัน
การป้องกันการติดเชื้อ RSV ในโรงพยาบาล
ก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วย การสัมผัสสิ่งของของผู้ป่วยและภายหลังการ ถอดถุงมือ ควรล้างมือด้วย alcohol-base hand sanitizer หรือ สบู่และน้ำ ซึ่งมี ประสิทธิภาพในการลดการกระจายของเชื้อ RSV และช่วยป้องกันการติดเชื้อใน สถานพยาบาล (nosocomial infection) การใส่ถุงมือและเสื้อกาวน์ช่วย ลดการแพร่กระจายของเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อ RSV ในผู้ป่วยเด็กทั่วไป
ควรให้คำแนะนำผู้ปกครองให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อลดความเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจ
เสียงหวีดที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัส (Viral induced wheeze)
สาเหตุ
Intraluminal airway obstruction การเกิดการอุดกั้นของทางเดิน หายใจขนาดเล็ก จากเสมหะและสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ
Intramural airway obstruction เกิดจากการบวมของเยื่อบุทาง เดินหายใจ เมื่อมีการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส ทำให้เซลล์มีปฏิกิริยาอักเสบ (inflammation) ส่งผลให้พื้นทีตัดขวางของทางเดินหายใจเล็กลงอย่างมากจนเกิด เสียงหวีด
Bronchospasm การติดเชื้อบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการหดเกร็งของ กล้ามเนื้อหลอดลม (bronchial smooth muscle) จากภาวะหลอดลมไวเกิน (bronchial hyper-responsiveness)
แนวทางการรักษา
การพิจารณารับไว้ในโรงพยาบาล
อาการหรืออาการแสดงที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะซึม, พูดเป็นคำๆ, ระดับ- ออกซิเจนแรกรับต่ำกว่าร้อยละ 92 หรือ ฟังเสียงปอดได้เบา หรือไม่ได้ยิน
อาการไม่ดีขึ้นหรือยังหายใจเร็วหลังจากพ่นยาขยายหลอดลม 1-2 ครั้ง
มีภาวะขาดน้ำชนิดปานกลางรุนแรงร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี
ออกซิเจน แนะนำให้ออกซิเจน เพื่อรักษาระดับออกซิเจนให้ได้ ร้อยละ 95 ขึ้นไป
ยาขยายหลอดลม
สเตียรอยด์(systemic corticosteroids) พิจารณาให้เฉพาะใน รายที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลและมีอาการรุนแรง
Nursing Diagnosis
มีโอกาสเกิดภาวะเนื่อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ
การกำจัดเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการสร้างเสมหะมากขึ้น การไอไม่มีประสิทธิภาพ มีการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ และมีการเจ็บปวดในขณะไอ
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลม การบวมของหลอดลมหรือมีการสร้างเสมหะมากขึ้น
อุณหภูมิร่างกายสูงเนื่องจากมีการติดเชื้อ หรือภาวะขาดน้ำ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำในระบบหายใจ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมลดลง เนื่องจากมีความไม่สมดุลระหว่าง O2 supply และ O2 demand
มีโอกาสขาดสารน้ำและขาดสมดุลของ electrolyte เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากภาวะหายใจเร็ว เหงื่อออกมาก และได้รับสารน้ำลดลงจากอาการหายใจลำบาก
เสี่ยงต่อภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีอาการหอบเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
เด็กมีความกลัว วิตกกังวล เนื่องจากภาวะหายใจลำบากและต้องอยู่โรงพยาบาล
ครอบครัวอาจรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวล เนื่องจากอาการหายใจลำบากของเด็กและการรักษาที่ได้รับ
การส่งเสริมประสิทธิภาพการหายใจในเด็ก
หลักการทั่วไป
การจัดท่าเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง
การเคาะ ใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือ ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม ชิดกัน ที่เรียกว่า Cupped Hand
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 นาที หรือนานกว่านั้นถ้ายังมีเสียงเสมหะมาก
ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้การสั่นสะเทือนช่วย ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก
ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ (ทำได้เฉพาะเด็กที่รู้เรื่อง สามารถเข้าใจและทำตามคำอธิบายได้) ฝึกได้โดยให้เด็กหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็วและแรง
ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน
การจัดท่าเคาะปอด
ท่าที่ 1 ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก
ท่าที่ 2 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัด เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่
ท่าที่ 3 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย
ท่าที่ 4 ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาจากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย
ท่าที่ 5 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมา เล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย
ท่าที่ 6 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง จัดท่าศีรษะต่ำ 30o นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก
ท่าที่ 7ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง จัดท่าศีรษะต่ำ 30°นอนคว่ำ เคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า
การพยาบาลเด็กป่วยที่ได้รับออกซิเจน(Oxygen therapy)
การให้การรักษาด้วยออกซิเจนในโรงพยาบาล (Acute care setting)
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (PaO2 ในเลือด < 60 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 90% หรือทำรกที่มี PaO2 ในเลือด < 50 มม.ปรอท หรือ SpO2 < 88% ขณะหายใจในอากาศธรรมดาหรือ room air)
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจมีภาวะพร่องออกซิเจนแบบเฉียบพลัน
ผู้ป่วยที่มีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)
ผู้ป่วยหลังการดมยาสลบ โดยให้ในระยะเวลาสั้นๆ
ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง
1.ผลข้างเคียงของการให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง > 50% อาจทำให้เกิด absorptive atelectasis, oxygen toxicity และลดการทำงานของ cilia และเม็ดเลือดขาวได้
ในผู้ป่วยที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งอยู่นานๆ การแก้ภาวะ hypoxemia อาจกดการหายใจของ ผู้ป่วยได้
ในทำรกเกิดก่อนกำหนด ระดับ PaO2 ที่สูงกว่า 80 มม.ปรอท อำจทำให้เกิด retinopathy of prematurity
ในทารกที่เป็น ductus-dependent heart lesion การเพิ่มระดับ PaO2อาจทำให้ ductus arteriosus ปิดได้
การให้ออกซิเจนต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษกลุ่ม paraquat หรือเคยได้รับยาในกลุ่ม bleomycin
ผลข้างเคียงจากแหล่งกำเนิดออกซิเจน อาจเกิดการระเบิดหรือติดไฟได้
ผลข้างเคียงจำกอุปกรณ์ที่ให้ ขึ้นกับชนิดของอุปกรณ์ที่ให้ดังกล่าวข้างต้น
การประเมินและติดตามผู้ป่วย
ปรับปริมาณออกซิเจนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยติดตามอาการทางคลินิกหรือใช้เครื่อง pulse oximeter ร่วมด้วย
กรณีเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรให้ออกซิเจนเพื่อรักษาระดับค่ำความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด แดง (SpO2 ) ให้อยู่ระหว่าง 94%-98% สำหรับผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังที่มีแนวโน้มจะเกิด hypercapnic respiratory failure ค่ำ SpO2 ควรอยู่ระหว่าง 88%-92%
ปรับปริมาณออกซิเจนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยติดตามอาการทางคลินิกหรือใช้เครื่อง pulse oximeter ร่วมด้วย
กรณีเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรให้ออกซิเจนเพื่อรักษาระดับค่ำความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด แดง (SpO2 ) ให้อยู่ระหว่าง 94%-98% สำหรับผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังที่มีแนวโน้มจะเกิด hypercapnic respiratory failure ค่ำ SpO2 ควรอยู่ระหว่าง 88%-92%
การให้การรักษาด้วยออกซิเจนที่บ้าน (Home oxygen therapy)
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (SpO2 <90% ขณะหายใจในอากาศธรรมดา) โดยไม่ได้มีสาเหตุจาก cyanotic heart disease
ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีภาวะพร่องออกซิเจนขณะพัก แต่มีภาวะพร่องออกซิเจนเฉพาะเวลาที่มีกิจกรรมบางอย่าง เช่น ขณะหลับ ออกกำลังกาย ควรให้ออกซิเจนเฉพาะเวลาที่มีกิจกรรมดังกล่าว
การประเมินและติดตามผู้ป่วย
การเตรียมผู้ป่วย
ควรประเมินผู้ป่วยก่อนกลับบ้านว่าควรได้รับปริมาณออกซิเจนน้อยที่สุดเท่าใดจึงจะประหยัดและ เพียงพอสำหรับรักษาให้ระดับออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
โดยการติดตามวัดค่า SpO2 ด้วยเครื่อง pulse oximeter อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ให้ออกซิเจนทาง nasal cannula อย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง/วันทั้งในขณะหลับ ขณะตื่น ขณะร้องไห้ ขณะดูดนม และขณะออกกำลังกาย พร้อมกับการปรับอัตรา การไหลของออกซิเจนเพื่อให้ได้ค่ำ SpO2 ที่เหมาะสม
โดยควรให้ผู้ป่วยมีค่า SpO2 มากกว่าหรือเท่ากับ 92 % ตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มทำรกเกิดก่อนกำหนดควรรักษาระดับ SpO2 ที่ระหว่าง 92-94 %
การเตรียมครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้และดูแลเครื่องผลิตออกซิเจนและถังออกซิเจน วิธีการต่อ เครื่องทำความชื้น, nasal cannula และการปรับ flow meter รวมถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ สายต่อ และ nasal cannula
ผู้ดูแลต้องฝึกทักษะการสังเกตเมื่ออุปกรณ์เกิดขัดข้องในกรณีต่างๆที่สำคัญ ก่อนกลับบ้าน เช่น สาย nasal cannula หลุดหรืออุดตัน, ถังออกซิเจนหมด หรือวาล์วปิด ผู้ดูแลจำเป็นจะต้อง มีความสามารถในการประเมินอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะการสังเกตลักษณะสีผิวที่แสดงถึงภาวะการขาด ออกซิเจน และสามารถปรับออกซิเจนตามความเหมาะสมกับสภาวะที่เด็กต้องการได้
การติดตามผู้ป่วย
ภายหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ทีมบุคลากรทางการแพทย์ควรมีการติดตามประเมินผลหลัง กลับบ้านโดยการเยี่ยมบ้านและการติดต่อทางโทรศัพท์ แพทย์ควรนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลตาม ความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และสามารถขอคำแนะนำ ในการดูแลผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น
การลดออกซิเจน
เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น สามารถลดปริมาณการให้ออกซิเจนได้ โดยการติดตามระดับ SpO2 และอัตรา การเต้นของหัวใจ ให้ระดับ SpO2 ≥ 92% ตลอดเวลาและอัตราการเต้นของหัวใจไม่เร็วขึ้นขณะลดออกซิเจน
โดยทั่วไป จะลดปริมาณออกซิเจนที่ให้แก่ผู้ป่วยในเวลากลางวันก่อน ถ้ำผู้ป่วยอาการดี คงที่จึงลดปริมาณออกซิเจนที่ให้ขณะหลับ ควรติดตามค่า SpO2ขณะหลับอย่างต่อเนื่องตลอดคืน เพื่อให้ มั่นใจว่าสามารถหยุดการใช้ออกซิเจนขณะหลับได้จริง ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลงโดยหาสาเหตุอื่นไม่ด้ ควรพิจารณาให้ออกซิเจนกลับเข้าไปใหม่
บทบาทของพยาบาลในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรค
และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
1.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโรค การดูแลรักษาทั่วไป พยาบาลควรแนะนำและสอนวิธีการปฏิบัติ ที่ถูกต้องให้กับผู้ดูแล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ดูแลได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานยาตามแผนการรักษา
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
1) หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชน ที่มีคนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับเชื้อจากบุคคลอื่นได้
2) หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
3) หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรค ได้แก่ ฝุ่นละออง ควัน และควันบุหรี่
4.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจรักษาตามนัด
6.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
1) สอนและแนะนำวิธีการการล้างมือ
2) การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ การจัดการกับอาการในเบื้องต้นเมื่อมีอาการกลับเป็นซ้ำ
3) แนะนำการออกกำลังที่เหมาะสม
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม