Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบ ทางเดินปัสสาวะและต่อมไร้ท่อ, image,…
บทที่ 7 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบ
ทางเดินปัสสาวะและต่อมไร้ท่อ
Urinary tract infection (UTI)
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่กรวยไต ท่อไตกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ
1.การติดเชื้อแบบธรรมดา (Uncomplicated UTI) เป็นกาติดเชื้อโดยไม่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะเป็นสาเหตุนำ
2.การติดเชื้อแบบซับซ้อน (Complicated UTI)
copyright
ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ
1.ทางกระแสเลือด (blood stream) กลุ่ม salmonella/mycobacterium tuberculosis/staphylococus aureus พบได้บ่อยในวัยทารกและเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
2.ทางหลอดปัสสาวะ (ascending infection) เป็นทางที่พบบ่อยที่สุด จากเชื้อ E.coli ร้อยละ 90 เกิดจากการปนเปื้อนบริเวณเปิดท่อปัสสาวะ
การรักษา
จุดประสงค์ : รักษาการติดเชื้อ ระบุปัจจัยที่ทำให้มีการติดเชื้อเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้า การป้องกันสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อและการส่งเสริมประสิทธิภาพการทางานของไต
ดูแลการให้อาหารและน้ำ ยาลดไข้ แก้ไขภาวะความเป็นกรดโดยให้อาหารโปรตีนต่ำ
การให้ยาปฏิชีวนะ ดูจากผลการเพาะเชื้อและการตอบสนองต่อยาตัวใด เช่น Amoxycillin , Gentamycin, Amikacin
ในรายที่กลับเป็นซ้ำ ดื้อยาได้ง่าย Sulfonamide, Bactrim, Trimethroprim
ในรายที่ติดเชื้อเรื้อรังจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ Co-trimoxazole
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
-อายุและเพศ เพศหญิงติดเชื้อง่ายกว่าเพศชาย -การได้รับนมมารดา จะได้ภูมิคุ้มกันจากมารดา -การกลั้นปัสสาวะ -การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะตีบ -การทางานของกระเพาะปัสสาวะที่ผิดปกติ -การย้อนกลับของปัสสาวะเข้าไปในท่อไต -การมีสิ่งแปลกปลอม การคาสายสวน การมีนิ่ว
พยาธิสรีรวิทยา
ร่างกายจะมีการทำลายเชื้อโรคทันทีภายใน 30 นาที จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก กระเพาะปัสสาวะมีการระคายเคือง แบคทีเรียรวมตัวเป็นกลุ่มๆ (colonies) เกาะติดกับผนังเยื่อบุเซลล์ แล้วเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ สูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะ(urgency)ไม่ได้หากเข้าสู่ท่อไต เกาะติดกับผนังไต ทำให้ท่อไตขยาย เกิดการอุดตัน เกิดการไหลย้อนของปัสสาวะเข้าสู่ไตได้ง่ายขึ้น
อาการและอาการแสดง
ทารกแรกเกิด : ไข้ เบื่ออาหาร ไม่ดูดนม เลี้ยงไม่โต อาเจียน ซึม น้ำหนักลด ชัก ไม่รู้สึกตัว sepsis
ทารก (1 เดือน- 1 ปี) :ไข้สูง ร้องปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย เบ่งปัสสาวะขัด ร้องกวน โยเย ปัสสาวะเป็นเลือด
เด็กเล็ก (1 – 3 ปี): มีไข้สูง เบื่ออาหาร อาเจียน อุจจาระร่วง ปัสสาวะขัด หรือมีไข้สูง ชัก
เด็กวัยก่อนเรียน (3 – 6 ปี) :อาการจะบ่งชัดว่ามีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปวดท้องส่วนล่าง ปัสสาวะขัด ลำบาก
เด็กวัยเรียน : มีอาการเด่นชัด เช่น ไข้ ปวดท้อง สามารถบอกบริเวณที่ปวด ถ่ายปัสสาวะบ่อย ขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ กดเจ็บบริเวณชายโครงด้านหลัง
Acute
Pyelonephritis
การอักเสบของเนื้อไตและเยื่อบุภายในท่อส่วนที่เชื่อมต่อกับไต (เรียกว่า “กรวยไต”) เนื่องจาการติดเชื้อ
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่เชื้ออีโคไล (E.coli) เป็นเชื้อที่พบในอุจจาระของคนทั่วไปเชื้อโรคจะเข้าสู่กรวยไต โดยเริ่มจากการแปดเปื้อนที่ผิวหนังรอบๆ ปัสสาวะ ผ่านกระเพาะปัสสาวะ ย้อนขึ้นไปตามท่อไต เข้าไปในกรวยไต แล้วเชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจานวนจนก่อให้เกิดโรคขึ้นมา
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่นมาก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มักมีอาการปวดท้องปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง และปัสสาวะขุ่น บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะแสบขัด และออกกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
การวินิจฉัย
อาการเคาะเจ็บตรงบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง โดยการใช้กาปั้นทุบเบาๆ ตรงบั้นเอว 2 ข้าง จะพบว่าข้างที่มีกรวยไตอักเสบจะทุบเจ็บจนผู้ป่วยรู้สึกเสียวสะดุ้ง
ปัสสาวะมีลักษณะขุ่น ตรวจพบปริมาณเม็ดเลือดขาวการเพาะเชื้อปัสสาวะจะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ ในรายที่สงสัยว่าเป็นนิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต หรือมีภาวะผิดปกติของทางเดินปัสสาวะอื่นๆ ต้องทาการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวด์
การรักษา
รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ (กรณีที่ผู้ป่วยกินไม่ได้ หรืออาเจียน ) การให้ยาปฏิชีวนะ นาน 14 วัน
ในรายที่มีการรุนแรง หรืออาเจียน กินอะไรไม่ได้ แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือ และฉีดยาปฏิชีวนะ จนกว่าอาการดีขึ้นจึงจะเปลี่ยนมาใช้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับเชื้ออกทางปัสสาวะ บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารพวกโปรตีน พักผ่อนให้เพียงพอ
หลังจากอาการทุเลาจนหายเป็นปกติแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อหลงเหลืออยู่หรือกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
Acute Glomerulonephritis
ไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน (AGN)Oพบบ่อยที่สุด ช่วงอายุ 2-12 ปี พบมากที่สุด อายุ 6 ปีจะเกิดภายหลังการติดเชื้อ โดยถ้าติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน (ช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว เกิดจากการติดเชื้อในลาคอบ่อย) เพศชาย: หญิง 2:1 ถ้าเกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง พบบ่อยในฤดูร้อน เท่ากันทั้งสองเพศ
พยาธิสภาพ PSAGN
เป็นโรคที่เกิดจากอิมมูนคอมเพล๊ก
ติดเชื้อที่คอหอย ฟักตัว ประมาณ 8-14 วัน
ติดเชื้อที่ผิวหนัง ฟักตัว ประมาณ 14-21 วัน
ในช่วงระยะฟักตัว (latent period) ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อ รวมตัวเป็น antigen-antibody complex เป็นอนุภาคขนาดเล็ก หมุนเวียนในกระแสเลือด เรียกว่าcirculating immune complex (CIC)
รวมเป็นอนุภาคขนาดกลางถูกดักจับที่โกลเมอรูรัส
ระยะการเกิดโรค
ระยะฟักตัว หรือระยะแฝง (latent period) คือระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนถึงก่อนแสดงอาการของไตอักเสบ กินเวลา 8-21 วัน
ระยะไตอักเสบ
เริ่มแรก บวม ปัสสาวะเป็นเลือด ปริมาณปัสสาวะน้อยลง
รุนแรง ระยะที่มีอาการของความดันโลหิตสูง
Edema
พบได้ร้อยละ 70-90 บวมทันทีและบวมทั้งตัว ส่วนใหญ่บวมไม่มาก เห็นชัดที่บริเวณหนังตา (periorbital area) บวมแบบไม่กดบุ๋ม (non-pitting edema) แสดงถึงการมีน้ำและโซเดียมในหลอดเลือด โดยปกติบวมอยู่ประมาณ 2-3 วัน แต่อาจอยู่ได้นานกว่า 2 สัปดาห์
Oliguria
ปัสสาวะออกน้อยกว่า 100 มล./วัน พบได้ร้อยละ 26 เนื่องจากอัตราการกรองของโกลเมอรูรัสลดลงอย่างทันทีทันใด
Hematuria
Oพบได้ร้อยละ 30-70 จะมีประวัติปัสสาวะเป็นสีโคล่า สีชา สีสนิมหรือสีน้ำตาลแดง ส่วนใหญ่หายไปใน 2-3 วัน แต่อาจอยู่ได้นาน 4 สัปดาห์
Hypertension
พบได้ร้อยละ 80 อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางบางครั้งรุนแรงมากทาให้เกิดความผิดปกติของสมอง (Hypertensive encephalopathy) มีอาการปวดศีรษะ ตามองไม่เห็น อาเจียน นอนไม่หลับ ชักและโคม่า ความดันโลหิตไม่ควรสูงเกิน 3 สัปดาห์ ถ้านานเกินสงสัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง
Systemic symptoms
-อาการระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร 2-3 วันก็หาย
-ระบบประสาท เช่น ซึม ปวดศีรษะ ชัก เกิดจากความดันโลหิตสูง และอะโซเทเมีย (azotemia : ภาวะที่มี BUN ในกระแสเลือดสูง) มักหายไปใน 2-3 วัน
Circulatory congestion
เป็นผลจากมีการเพิ่มของปริมาตรน้ำนอกเซลล์ (expansion of extracellular fluid volume) ทำให้เกิดอาการนอนราบไม่ได้ (orthopnea) ไอจากการคั่งของน้ำที่ปอด (pulmonary edema and congestive heart failure) ถ่ายภาพรังสีพบว่าหัวใจมีขนาดโตขึ้น
อาการและอาการแสดง
-Edema บวมทั้งตัว เห็นชัดบริเวณใบหน้าและรอบตา (puffy face) -Oliguria ปัสสาวะออกน้อยกว่า 100 cc/day -Hematuria -Systemic symptoms อาการแสดงเฉพาะระบบ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร 2-3 วันก็หาย อาการทางระบบประสาท เช่น ซึม ปวดศีรษะ ชัก -Hypertension ไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์ น่าสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นไตเรื้อรังอยู่ก่อน -Circulatory congestion การคั่งของน้ำในระบบหมุนเวียนโลหิต การเพิ่มของน้ำนอกเซลล์ ทำให้เกิดอาการหอบ นอนราบไม่ได้ (orthopnea) ไอจากการคั่งของน้ำที่ปอด ฟังปอดได้ยินเสียงเรล
การรักษา
Oอาหาร จำกัดเกลือในรายที่บวมและความดันโลหิตสูง จากัดเกลือ 200-300 มก./วันและจำกัดโปแตสเซียมใน 1-2 วันแรกที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 200-300 มล./วัน โดยงดผลไม้ไข่เนื้อนม ในรายที่มีปัสสาวะน้อยเป็นระยะเวลานาน และมี BUN มากกว่า 75-100 มก. จำกัดโปรตีน โดยให้โปรตีนเพียง 0.5 ก./กก./วัน
การพักผ่อน bed rest ในรายที่มีความดันโลหิตสูงปานกลางถึงสูงมาก หรือบวมมาก
จำกัดน้ำเมื่อมีปัสสาวะออกน้อยและมีการคั่งของ BUN Creatinine
งดกิจกรรมทีออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น กีฬากลางแจ้งเป็นเวลา 1 ปี
อาการบวม จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ furosemide 1-2 มก./กก./ครั้ง ทางหลอดเลือดดำ
ความดันโลหิตสูง ปานกลางจำกัดเกลือ+ยาขับปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงมาก propanolol,hydralazine ถ้ามีอาการhypertensive encephalopathy ให้ nitropusside
Nephrotic syndrome
สาเหตุ
Congenital nephrotic syndrome ถ่ายทอดแบบ autosomal recessive อายุแรกเกิดหรือภายใน 3 เดือนแรก
primary nephrotic syndrome เด็กชายมากกว่าเด็กหญิง พบบ่อย 2-7 ปี
secondary nephrotic syndrome กลุ่มทราบสาเหตุ เกิดจากยา สารก่อให้เกิดการแพ้ การติดเชื้อ SLE, Henoch schoenlein purpura, เบาหวาน
อาการ
-การบวม -ระบบทางเดินอาหาร -การหายใจลำบาก -ความ-ดันโลหิตสูง -ผิวซีด แตก -เส้นผมหยาบและแห้ง ติดเชื้อง่าย พบบ่อยคือไฟลามทุ่ง (cellulitis) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ และ septicemia
หลักสำคัญในการดูแล
การจำกัดกิจกรรม การให้อาหาร การดุแลผิวหนัง
การป้องกันการติดเชื้อ การให้ภูมิคุ้มกันโรค
การรักษาอาการบวม ความดันโลหิตสูง
การดูแลด้านจิตใจของเด็กและครอบครัว
ต่อมไธรอยด์
ต่อมไทรอยด์ จะทำหน้าที่จับไอโอดีนจากอาหารที่รับประทานทานเข้าไป แล้วนำไปรวมกับกรดอะมิโน Tyrosine เพื่อสร้าง ไทรอยด์ฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4)
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด(Congenital Hypothyroidism)
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนที่เป็นภายหลังเกิด(Acquired Hypothyroidism)
Congenital Hypothyroidism
สาเหตุการพร่องไธรอยด์ฮอร์โมน แบบปฐมภูมิ (Primary Hypothyroidism)
1.1 ต่อมไธรอยด์มีขนาดเล็กกว่าปกติ หรืออยู่ผิดที่
1.2 การผลิตและหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
-แบบชั่วคราว จากสิ่งแวดล้อม เช่น มารดาขาดไอโอดีน หรือได้รับยาต้านไธรอยด์
-แบบถาวร จากพันธุกรรม เช่น การขาด TSH (แบบ autosomal recessive)
การพร่องไธรอยด์ฮอร์โมน แบบทุติยภูมิ และตติยภูมิ (Secondary และ Tertiary Hypothyroidism)
อาการและอาการแสดง
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
-ตัวเล็กเมื่อเทียบกับอายุ
-ตัวอ่อนปวกเปียก
-นอนหลับมาก ไม่ค่อยร้องกวน
-ตัวเหลืองนาน
-สะดือจุ่น
-ผิวลาย ผิวหนังแห้งหยาบ
-ลิ้นโตคับปาก
-กระหม่อมหน้า หลังกว้าง
-ขับถ่ายขี้เทาช้า
-ท้องอืด ท้องผูก
การรักษา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติและรีบรักษาให้เร็วที่สุด หากให้ thyroxin ช้าจะทาให้ปัญญาอ่อนได้
ข้อควรระวัง
ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า2 ปี ที่มีโรคหัวใจ และ Myxedema ควรเริ่มยาในขนาดน้อยๆและปรับขนาดของยาให้เหมาะสม เนื่องจากการเพิ่มยาในขนาดที่สูงทันที อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
การรักษาและติดตามให้มีระดับไธรอยด์ฮอร์โมนอยู่ในเกณฑ์ปกติ การเจริญเติบโต พัฒนาการ thyroid function test และอายุกระดูก
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนที่เป็นภายหลัง
สาเหตุปฐมภูมิ
1.เกิดจากการสูญสลายของต่อมไธรอยด์ตั้งแต่กำเนิด (Congenital Thyroid Dysgenesis) หรือต่อมไธรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ แต่แสดงอาการเมื่อเด็กโต
2.เกิดจากภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนภายหลัง เช่น
เนื้อเยื่อผลิตไธรอยด์ฮอร์โมนถูกทาลาย ได้แก่ ภาวะ
Hashimoto’s Thyroiditis
การผ่าตัดต่อมไธรอยด์
การติดเชื้อของต่อมไธรอยด์
การฉายแสง
อาการและอาการแสดง
-ร่างกายเตี้ยล้ำ การเจริญเติบโตช้ำ
-การเจริญเติบโตของกระดูกช้ำ
-ปัญญาทึบ ความจำด้อย
-ผมแห้งเปราะ ขนคิ้วบาง
ผิวหยาบซีดบาง เล็บบาง
-ท้องป่อง ท้องผูกเรื้อรัง อาการแสดงเหล่านี้จะหายไป หลังได้รับไธรอยด์ฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง จนระดับฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ
การวินิจฉัย
ชนิดปฐมภูมิ serum T4 /T3 ต่า/TSH สูง (ปฐมภูมิ) ทุติยภูมิ (TSH ต่ากว่าปกติ)
ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนชดเชย (Compensate hypothyroid) serum T4 /T3 ปกติ/TSH สูง เป็นความผิดปกติของต่อมใต้สมองและไฮโปธาลามัส
การรักษา Hypothyroidism ด้วยยา
การรักษา โดยการให้ยาไธรอกซิน โดยให้ชนิดรับประทานตามช่วงอายุเพื่อให้ระดับ
serum T4 /T3 กลับมาปกติ
Levothyroxine (injection)
Levothyroxine (oral)
Cytomel
เบาจืด
(Diabetes insipidus, DI)
เบาจืด คือโรคที่เกิดจากความล้มเหลวของ Posterior pituitary grand ในการหลั่ง ADH ทาให้เกิดความพร่องหรือขาด ADH ส่งผลให้ไตไมสามารถดูดน้ำกลับได้ ร่างกายไม่สามารถควบคุมปริมาณน้าและPlasma osmolarity ให้คงที่ได้
เบาจืดเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถทาให้ปัสสาวะ เข้มข้นได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
2.1 เบาจืดจากความผิดปกติของสมอง (Neurogenic หรือ Central DI)
สาเหตุ เกิดจากการขาด ADH
อาการและอาการแสดง
-ผู้ป่วยจะปัสสาวะ > 30-40 มล./กก./วัน และมี urine osmolarity < 300 mOsm/l
-Urine specific gravity < 1.010
-มีการสูญเสียน้ำทางปัสสาวะและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
การรักษาโรคเบาจืด
เบาจืดจากการผิดปกติทางสมอง
1.1 ถ้าผู้ป่วยไม่มี Concurrents loss อื่นๆ
-ให้เกิด Total fluid intake = urine output + insensible water loss
1.2 ให้ DDAVP เป็น long acting ADH โดยพ่นทางจมูกหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
1.3 ปริมาณสารน้ำใน 24 ชม. คานวณตามแคลอรีที่เด็กควรได้รับตามสูตร Holliday & Segar
1.4 สำหรับผู้ป่วยเบาจืดที่มี ADH บ้าง ควรให้ chlorpropamide เพื่อทาให้มีการตอบสนองต่อ ADH ดีขึ้น
เบาจืดจากความผิดปกติของไต
-โดยการจากัดเกลือ
-ให้ยาช่วยลดปริมาณปัสสาวะ เช่น Thiazides, Chlorothiazide, Hydrochlorothiazide ซึ่งช่วยการดูดซึมน้ำกลับที่ proximal tubule ลดการซึมกลับของโซเดียมที่ distal tubule และเพิ่มการขับโซเดียมในปัสสาวะ
การวินิจฉัย
1.จากอาการและอาการแสดง ปัสสาวะใส ปริมาณมากกว่า 4 cc/kg/hr ทั้งๆที่มีอาการขาดน้ำและกระหายน้ำมาก
2.ผลจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าSerum osmolarity > 280 mOsm/l
-มีซีรัมโซเดียมสูงกว่า 145 mEq/l
urine osmolarity < 300 mOsm/l
-Urine specific gravity = 1.001-1.005
หากเป็นเบาจืดจากการขาด ADH เมื่อให้DDAVP (1-Desmino-8-D-Arginine Vasopressin หรือ ADH) สังเคราะห์ จะทำให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และมีความเข้มข้นมากขึ้น
โรคเบาหวานในเด็ก
(Juvenile Diabetes)
อาการและอาการแสดง
-ปัสสาวะมาก (Polyuria)
-ดื่มน้ำมาก (Polydyspsia)
-กินจุ (Polyphagia)
-น้ำหนักลด (Weight loss)
ระดับ FBS > 126 mg%
GTT 2 hrs. > 140 mg%
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง อาจเกิดจากพันธุกรรม การติดเชื้อที่ทำให้ตับอ่อนถูกทำลาย
การรักษา
ไม่หายขาด แต่ปรับตัวได้คือการให้อินซูลินทดแทน ดูแลระดับน้าตาลให้ได้ค่าในช่วง 80-150 มก./ดล. มีค่า HbA1C < ร้อยละ 7 ร้อยละ 6-9 แสดงว่าควบคุมเบาหวานได้ดีมาก ร้อยละ 9-12 พอใช้ ร้อยละเกิน 12 ควบคุมไม่ดี
ภาวะแทรกซ้อน
แบบเฉียบพลัน
-Hypoglycemia
-Diabetic Ketoacidosis
(DKA)
การรักษาพยาบาล
การควบคุมระดับน้ำตาล(Glycemic control)
-การควบคุมระดับความดันโลหิต
-ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
-การใช้ยาอย่างถูกต้อง
ชนิดของอินซูลิน
Orapid-acting insulin เป็นอนุพันธ์ของอินซูลิน (insulin analogue) ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลง amino acid บางตัวบนสายอินซูลินได้แก่ insulin lispro
ลักษณะเด่น - เป็นอินซูลินชนิดใสที่เริ่มออกฤทธิ์เร็วภายใน 15-30 นาที แนะนาให้ฉีดก่อนรับประทาน 15 นาที นอกจากนี้ยังสามารถฉีดหลังรับประทานอาหารได้ไม่เกิน 15 นาที ใช้เป็น prandial insulin
*
สามารถให้อินซูลินชนิดนี้ทาง IV, SC., IM, CSII(continuous subcutaneous insulin infusion or insulin pump therapy)
OShort-acting insulin ได้แก่ regular insulin
ลักษณะเด่นเป็นอินซูลินชนิดใสที่เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30-60 นาที แนะนาให้ฉีดก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง อินซูลินชนิดนี้สามารถให้ทางหลอดเลือดดาได้
Intermediate-acting insulin เป็นอินซูลินที่มีลักษณะขุ่นและไม่สามารถฉีดเข้าทางหลอดเลือดดา
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการรักษาด้วยอินซูลิน
1.การแพ้อินซูลิน เกิดแดง บวม ร้อน คัน บริเวณผิวหนังที่ฉีด 2.การเสื่อมสลายของไขมันบริเวณที่ฉีด (Localized Lipoatrophy or Lipodystrophy 3.การเกิดภาวะโซโมยี่ ฟิโนมินอน (Somogyi phenomenon) เป็นภาวการณ์มีน้ำตาลในเลือดสูง ภายหลังได้รับอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางในขนาดสูง