Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต, นาย…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ความหมาย
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การกลับเป็นซ้ำของโรค
ความพิการ การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง
การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย การเสียชีวิต
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ความหมาย
การแจ้งข่าวร้ายมีความสำคัญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้ป่วยและญาติ เช่น มีความเครียด สับสน กังวลใจ บั่นทอนทำลายความหวัง กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วย เป็นประเด็นด้านกฎหมายและจริยธรรม เมื่อแจ้งข่าวร้ายแล้วอาจมีปฏิกิริยาที่ไม่สามารถคาดเดาของผู้ป้วยและญาต
ผู้ที่แจ้งข่าวร้าย ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษาผลการรักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ปฏิกิริยาตอบสนองภายหลังการรับรู้ข่าวร้ายแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามทฤษฎีของ
Elisabeth Kubler-Ross (1969)
1.ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
2.ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ ความโกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว
ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน “ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา”
3.ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร
จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเมินได้จากการพูด เช่น “อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน”
4.ระยะซึมเศร้า (Depression)
ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ เช่น ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคำตอบคำ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรืออาจร้องไห้
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต้อไปได้
บทบาทพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
2.รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
3.ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
4.ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
5.ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
7.สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งความหมายของชีวิตจะช่วยให้ครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีความหมายในหนทางที่เป็นจริง
6.อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรคการดำเนินโรค อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
8.จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
9.ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
10.ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
11.ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
12.ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได
13.ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล
-สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนเเรงได้
-มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
-มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
-ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
-หมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
-ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
-กลัวตาย
-หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
-เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสำคัญต่อตน
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผููป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.
2550 มาตรา 12 ระบุไว้ว่า
บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะขอรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
หากไม่ได้รับการบำบัดแก้ไขตั้งแต่แรก อาการและปัญหาเหล่านั้นจะกลายเป็นเรื่องยากในการบริหารจัดการในวันท้ายๆของชีวิต
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย
(comfort theory)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี แบ่งได้ดังนี้
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบำบัด การนวด
1.มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่าง
2.การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
เน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล ซึ่งได้ให้ความหมายของความสุขสบายว่า เป็นภาวะที่บุคคล
ได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบ ผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา ครอบคลุมบริบทด้าน ร่างกาย ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ สังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บรรเทา (relief) หมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่
ทุเลาเบาบางลง
ความสงบ ผ่อนคลาย (ease) หมายถึง ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
อยู่เหนือปnญหา (transcendence) หมายถึงหมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
1.การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy illing or euthanasia)
การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia
การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการและทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ
(Voluntary euthanasia)
การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตายธรรมชาติ
โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ซึ่งแพทย์จะต้องมีข้อพิจารณา 3 ประการ
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
2.การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment)
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment)
3.การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
4.การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
การบอกความจริง (Truth telling)
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
จัดกิจกรรมส;งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
1.มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
3.มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
1.Professional culture
2.ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
3.ความไม่แน่นอนของอาการ
4.Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
6.ทรัพยากรมีจำกัด
7.สิ่งแวดล5อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
2.การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข5าเกณฑ
3.การดูแลแบบผสมผสาน
แพทย์แผนไทยแพทย์แผนจีน
การผสมผสานกายจิต เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ โยคะ
อาหารและสมุนไพร เช่น อาหารสุขภาพ
พลังบำบัด เช่น สัมผัสบำบัด โยเร
1.ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
ประเมินอาการไม่สุขสบาย
อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะสับสน (Delirium)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
การประเมินด้านสังคม
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver) ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่บ้าน
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การประเมินเรื่องที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative PerformanceScale (PPS)
เพื่อใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
การดูแลตนเอง
กิจกรรมและความรุนแรงขอโรค
การกินอาหาร
ความรู้ สึกตัว
จุดประสงค์ของการใช้ PPS
ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
2.เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
5.ใช้ในการวิจัย
1.เพื่อสื่อสารอาการปnจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
บริบทในหอผู้ป่วยวิกฤติ
การสื่อสาร
1) ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว เพื่อให้
ครอบครัวได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
2) ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
3) หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
4) ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
5) มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
6) บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
7.ปลอยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด จากการศึกษาพบว่าการสนทนาที่แพทย์เป็นฝ่ายฟัง
8) บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol
9)เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียูการเริ่มประชุมครอบครัวควรทำอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
การจัดการอาการไม้สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อาการปวด ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนำ
อาการท้องผูก ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทำได
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผ่อนคลาย
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลำบาก ควรดูแลทำความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง คือ เมื่อตื่นนอนเช้า และก่อนนอน
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการไอ ให้ได้รับน้ำในปริมาณมาก ในรายที่ไม่มีข้อจำกัด เพื่อช่วยละลายเสมหะ
อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรจัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อยเพื่อให้หน้าอกขยายได้ง่าย ดูแลให้ได้รับออกซิเจน และยาเพื่อช่วยระงับอาการเหนื่อยหอบ
อาการกลั้นปnสสาวะไม่ได้ ควรจัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก ใช้ผ้ารองซับและหมั่นเปลี่ยนผ้ารอง (ผ้าอ้อม) ระวัง ขาหนีบ และทวารหนัก
อาการบวม ดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดูแลจัดท่ายกบริเวณตำแหน่งที่บวมให้สูง
อาการคัน ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม ควรใช้สบู่อ่อนๆ และอูณหภูมิของน้ำไม่ควรอุ่นจัด ดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนัง
การเกิดแผลกดทับ ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำเพื่อให้นอนสบาย
การดูแลทั่วไป
ประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างกาย
ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย
ควรจำกัดการเยี่ยม หรือตามความต้องการของ
ผู้ป่วย ควรงดการรบกวนผู้ป่วย
การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจอกับสิ่งดีงาม อาจน้อมนำได้หลายวิธี
นำสิ่งที่ผู้ป่วยเคารพนับถือมาไว้ที่
ห้องเพื่อให้ระลึกนึกถึง
ชวนให้สวดมนต์ตามหลักศาสนา
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
อาจเป็นสิ่งที่เป็นพลังความเชื่อ ความหวังที่ผลักดันให้ทำสิ่งที่ดีงาม การทำจิตใจสงบระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม
การช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวค้นหาสิ่งที่เป็นพลังชีวิตของผู้ป่วยและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสมของแต่ละคน
มีแนวทางดังนี้
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ เช่น การประกอบพิธีตามศาสนา
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความสงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นการให้ข้อมูลในการบรรเทาความเจ็บป่วยให้กับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ ตลอดจน ทางด้านการดูแลด้านจิตวิญญาณ
ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เตรียมใจ ให้หมดห่วง หมดกังวล รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ
การทำประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา
ข้อควรระวัง อย่างยิ่งในการพูดคุยเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยคือ การพยากรณ์โรคแบบไม่มีอคติ (bias) ควรให้คำแนะนำไปตามจริง
การประชุมครอบครัวควรทำโดยผู้ชำนาญมีประสบการณ์และทักษะการสื่อสาร ควรเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้ามาประชุมด้วยโดยพร้อมเพรียง
สิ่งสำคัญก่อนทำการประชุมครอบครัว ผู้นำประชุมครอบครัวต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ตัดสิน ญาติไม่ตำหนิญาติ
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล้วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด
เพื่อแสดงให้คนอื่นทราบว่าตนเองไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
เป็นหนังสือที่เคารพสิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต (the right to self-determination) อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่นานอารยประเทศยอมรับและเป็นสิทธิในชีวิตร่างกายซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให่มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาลในการดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การสื่อสาร โดยการสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาต เพื่อทบทวนเป้าหมายและแผนการรักษา รวมทั้งความต้องการของผู้ป่วยเป็นระยะ
การคอยช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้า โดยการจัดหาตัวอย;างของแบบฟอร์ม living will การอธิบายขั้นตอน วิธีการทำ รวมทั้งอธิบายข้อมูล
การรวบรวมเอกสาร ได้แก่ สำเนาหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวและเก็บไว้ในเวชระเบียนและแจ้งให้ญาติผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยทราบ เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วยในวาระสุดท้ายเป็นไปตามที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การเตรียมตัวผู้ป่วย
1) ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัด ออกซิเจนปลายนิ้ว
2) ยุติการเจาะเลือด
3) ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
4) ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
5) ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
6) นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
7) ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
8) ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
9) ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
10) ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะเป็นต้น
11) อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
12) ประเมินความสุขสบายของผู้ป้วยและเป็นการทำให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย
ไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้” เป็นต้น แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและจิตใจผู้สูญเสีย
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้(post-traumatic stress disorder)
นาย จิรวัฒน์ ปันเบี้ยว รหัสนักศึกษา 6101210408 เลขที่ 17 secB