Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
ข่าวร้าย หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะโกรธ (Anger)
ความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ ความโกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
“ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา”
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
“ไม่จริงใช่ไหม” “คุณหมอแน่ใจรึเปล่าว่าผลการตรวจถูกต้อง”
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำสิ่งที่ค้างคา
“อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน” “ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ออกห่างจากสังคมรอบข้าง มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และหน้าที่การงาน
ระยะยอมรับ (Acceptance)
ยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้นมองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้นปรับตัวเรียนรู้เพื่อให้ดาเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
ให้ความเคารพ เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ข้อมูลอาการที่เปลี่ยนแปลง การดำเนินโรค
ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบัน
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
ช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย)เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกาลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
กลัวตาย
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสาคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ผู้แจ้งข่าวร้าย
แพทย์เจ้าของไข้
ทีมรักษาผู้ป่วย
ทีม Palliative Care
ตัวอย่างข่าวร้ายในผู้ป่วยวิกฤต
การได้รับการเจาะคอ
การใส่ท่อช่วยหายใจซ้า
ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อHIV
เป็นมะเร็งระยะลุกลามไม่สามารถรักษาได้
การเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจทำให้เสียชีวิต
การสูญเสียญาติหรือคนเป็นที่รัก
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยูู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดำเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนนPalliative performance scale (PPS)น้อยกว่า 30
การดูแลระยะท้าย (End of life care) หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
นิยามของ palliative care ไม่ใช้การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช้การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย
. การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟnงและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบำบัด การนวด
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
การประเมินด้านสังคม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
ใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
การดูแลตนเอง
การกินอาหาร
ความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การดูแลทั่วไป
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
. ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
การบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน