Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติหลอดเลือด และการไหลเวียน - Coggle Diagram
ความผิดปกติหลอดเลือด และการไหลเวียน
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis)
ความหมาย
การอักเสบของเยื่อบุหลอดเลือดพร้อมกับการเกิดลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดบางส่วน การอักเสบมักเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดบริเวณขา (femoral Thrombophlebitis) และการอักเสบของหลอดเลือดดำอุ้งเชิงกราน (Pelvic Thrombophlebitis)
สาเหตุ
การบาดเจ็บของหลอดเลือด
เกิดการคั่งของเลือด
การแข่งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ
การประเมินและการวินิจฉัย
1 การซักประวัติ
ประเมินความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ เช่น ประวัติเคยมีการอักเสบของหลอดเลือดดำมาก่อน เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน สูบบุหรี่ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ โลหิตจาง มีภาวะอ้วน BMI เกิน มารดาคลอดยากเบ่งคลอดนานโดยจัดถ้าขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) เป็นเวลานานเป็นต้น
2 การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายจะพบอาการแสดง เช่น มีไข้ มีหลอดเลือดดำขอดพองบริเวณขา เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และมีการติดเชื้อที่มดลูก ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคำไม่ได้บานปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan's sign positive)กล้ามเนื้อน่องเกร็งปวดตื้อๆที่น้องอยู่ที่ขา เป็นต้น
3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจเลือดติดตามการแข็งตัวของเลือด การอัลตร้าซาวด์ (doppler ultrasonography)การเอกซเรย์ดูเส้นเลือด (venography) เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
1 แบ่งตามชนิดของหลอดเลือดดำที่เกิดการอักเสบ
1.1 กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณส่วนผิว (superficial venous thrombosis) จะมีอาการปวดน่องเล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดำที่ขาจะแข็ง
1.2 กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep venous thrombosis) มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลำไม่ได้ กดหลอดเลือดดำส่วนลึกลึกดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวน้องจะรู้สึกปวดมาก (Homan's sign positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็งปวดตื้อๆ ที่น่องหรือที่ขามีอาการบวมบริเวณขาเนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน
2 แบ่งตามตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
2.1 การอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณขา (femoral thrombophlebitis) โดยปกติมักเกิดประมาณ 10 วันหลังคลอด ซึ่งพบอาการดังนี้ มีไข้ หนาวสั่นไม่สุขสบาย ปวดเมื่อยร่างกายมักจะมีอาการปวดบวมที่ขาเนื่องจากสร้างลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขาส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกขาข้างที่เป็นจะมีอาการแข็งเจ็บปวด แดงร้อนและบวมผิวหนังบริเวณที่ถูกยืดจากการบวมของขามักมีลักษณะตึงและมีสีขาวซีด
2.2 การอักเสบของหลอดเลือดดำที่อุ้งเชิงกราน (pelvic thrombophlebitis) มักเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในระยะหลังคลอดโดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อมักพบอาการ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดบริเวณหน้าท้อง ส่วนล่าง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นต้น
พยาธิสภาพ
หลอดเลือดดำอักเสบ สาเหตุบางส่วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ เช่น การยืดขยายของมดลูกที่กดลงบนหลอดเลือดดำการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดออกเชิงกรานที่ขยาย ระหว่างการตั้งครรภ์แต่ในระยะหลังคลอดมดลูกลดขนาดลง เลือดที่ไหลผ่านลดลงทันที จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของเลือด รวมทั้งระหว่างการคลอดเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำเมื่อหลอดเลือดดำถูกทำลายจึงส่งผลให้เกิดการสร้างลิ่มเลือด
การรักษา
1 ให้ยาต้านการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (anticoagulants therapy) ส่วนมากมักให้ heparin ทางหลอดเลือดดำ
2 ยาปฏิชีวนะแพทย์อาจจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
3 การผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงไม่ตอบสนองจากการรักษาด้วยยาแพทย์อาจพิจารณาให้ ผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก
4 ยาบรรเทาปวด ในรายที่ปวดมากอาจให้ยาระงับปวด
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลายการทำงานของสมองหยุดชะงัก
BE-F-A-S-T
Balance =การทรงตัว
Eye=การมองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว
Face=ใบหน้าอ่อนแรง ปากเบี้ยว
Arm=แขนขาอ่อนแรง
Speech=พูดไม่ออก พูดไม่ชัด
Time=พบแพทย์เร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้
ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ
อายุ
เพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล ขึ้นลำบาก
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
เดินเซทรงตัวลำบาก
ชนิดของหลอดเลือดสมอง
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack :TIA)
มีอาการคล้ายโรคสมองขาดเลือด แต่มีอาการชั่วคราวมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว จะมีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตามมาจึงถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke)
ภาวะเลือดออกในสมองส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการมีเลือดคั่งในเนื้อสมองทำให้เนื้อสมองตายมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดมีความเปราะและโป่งพอง สาเหตุอื่นๆที่พบได้ เช่น ภาวะปกครองของหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น โรคเลือด โรคตับ การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การได้รับสารพิษ การใช้สารเสพติด
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke)
ภาวะสมองขาดเลือด พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้รูของหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลงหรืออาจเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจหรือการปิดแตกของผนังหลอดเลือดหลุดออกมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง
การรักษา
การรักษาทางยา
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
การให้ยาละลายลิ่มเลือดที่เรียกว่า Thrombolytic
การรักษาโดยการผ่าตัด
Carotid endarterectomy
แพทย์จะเปิดหลอดเลือดแดงและผ่าเอาคราบออกและทำการซ่อมแซมหลอดเลือด
ใส่สายสวนเพื่อขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด
ใส่สายสวนไปยังบริเวณที่มีลิ่มเลือด และคล้องเอาลิ่มเลือดออกมา
ใส่สายสวนบริเวณที่มีลิ่มๆ และให้ยาละลายลิ่มเลือด
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน
(Peripheral arterial occlusive disease : PAD)
ความหมาย
เกิดจากมีการอุดตันของหลอดเลือดแดงทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังขาลดลงส่งผลมีแผลที่ขาหรือเท้าซึ่งแผลจะหายช้า
อาการและอาการแสดงลักษณะสำคัญ 6 P คือ
1 อาการปวดขา (pain)
2 ซีด(palor)
3 คำชีพจรไม่ได้(puseless)
4 มีอาการชา(paresthesia)
5 กล้ามเนื้ออ่อนแรง(paresis)
6 อุณหภูมิผิวหนังเย็น(poikilothermia)
การวินิจฉัย
1 การซักประวัติ
2 การตรวจร่างกาย ประกอบด้วยการดูลักษณะของผิวหนัง การคํานวณอุณหภูมิและชีพจร
3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาการอุดตันของหลอดเลือด ABI (ankle-brachial index)
การตรวจ doppler ultrasound/duplex scan
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงหรือการทำลายผนังหลอดเลือด
หลอดเลือดแดงตีบแข็งเกิดเป็นผังผืดไปเกาะสะสมทำให้รูของผนังเส้นเลือดแดงตีบเล็กลงเลือดไหลผ่านได้น้อยลง
การติดเชื้อ การอักเสบ อุบัติเหตุ การกระทบกระแทกหรือการยืดขยายของหลอดเลือดทำให้มีการทำลายผนังหลอดเลือด
การเปลี่ยนแปลงปริมาตรหรือการไหลเวียนเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด
ปัจจัยเสริม ได้แก่ อายุมากกว่า 40 ปี โรคเบาหวาน มีระดับสารโฮโมซิสเตอีนมีระดับสาร (hyperhomocysteinemia) ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่ขาขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตาย
การพยาบาล
รักษาร่างกายให้อบอุ่น หลีกเลี่ยงอากาศเย็นเพราะจะทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัว
ส่งเสริมการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
แนะนำให้ทำจิตใจให้สดชื่นหลีกเลี่ยงความเครียดทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่กระตุ้นการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ ได้แก่ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
การงดสูบบุหรี่
รับประทานอาหารให้เหมาะสมลดอาหารไขมัน
แนะนำให้ออกกำลังกายช่วยทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาตึงเอาออกซิเจนไปใช้
แนะนำการดูแลเท้าด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำการใช้ยาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
Varicose vein
อาการ
บวมหลังเท้า ผิวบาง แห้งและค่อนข้างแข็ง คัน
ปวดเท้า ปวดหนักๆตื่นๆ
เห็นเส้นเลือดดำพอง
การพยาบาล
บริหารข้อเท้า เหยียบเท้าและกระดูกเท้าทำสลับกัน
ใช้ elastic bandage พันตั้งแต่ข้อเท้าถึงเข่า
ยกขาสูงครั้งละ 10-15 นาทีวันละ 3-4 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ
ห้ามนั่งไขว่ห้าง
Hypertension
พยาธิสภาพ
ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปกติของคนเราคือ 120/80มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 ราคาสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นลูกที่มีอันตรายสูง
ประเภทโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension or Essential Hypertension) มากที่สุดประมาณร้อยละ 90-95 ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานเกลือมาก โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงชนิดนี้มักพบมากในวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ และมักมีประวัติทางครอบครัว หรือกรรมพันธุ์ เช่น มีพ่อแม่พี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นรูปนี้อยู่และส่วนใหญ่มักเป็นกับคนอ้วน
โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ความดันโลหิตสูงชนิดนี้พบจำนวนน้อย และสามารถรักษาให้หายขาดได้ มักเกิดจากการได้รับยาหรือฮอร์โมนบางชนิดและโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่
อาการ
ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ มักพบเมื่อตรวจคัดกรองโรค
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ
ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ
ตามัว มือเท้าชา
อาจมีเลือดกำเดาไหล
การป้องกัน
ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตรวจสุขภาพประจำปี
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่สูบบุหรี่
การวินิจฉัยโรค
ดูจากการวัดค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยเป็นหลัก
ซักประวัติ
ตรวจแลปเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง
การตรวจร่างกาย
การรักษา
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง
รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดี
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การให้ยารักษาความดัน:ACE inhibitors,Beta blockers, Diuretic
Deep Vein Thrombosis
ความหมาย
Deep Vein Thrombosis (DVT) คือ โรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือดดำลึกที่ขา ทำให้เกิดอาการปวดขา ขาบวมรวมทั้งอักเสบโดยนิ่มๆอาจหลุดออกจากหลอดเลือดดำลึกที่ขาขึ้นไปยังหัวใจและปอด : ทำให้เลือดไปเลี้ยงและอาจเกิดหัวใจหยุดเต้นได้
สาเหตุ
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือโรคอ้วน
รับประทานยาคุมกำเนิด
สูบบุหรี่
การตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
กดเจ็บ
บริเวณผิวหนังแดงคล้ำ
ปวดขา
ชาบริเวณขา
ขาบวม
ไม่สามารถคำชีพจรที่ขาได้
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง
การฉีดสารทึบรังสี (venogram)
clinical target volume (CTV) การตรวจหลอดเลือดดำด้วยเอกซเรย์
ภาวะแทรกซ้อน
ลิ่มเลือดไปอุดที่หลอดเลือดดำของปอด
(Pulmonary embolism)
หลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง
(Chronic venous insufficiency)
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินซึ่งทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การขยับขา ข้อเท้า เพื่อเพิ่มการไหลของเลือด
ประคบอุ่น เพื่อทำให้เลือดขยายตัว ซึ่งทำให้การไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยยกเท้าสูงเล็กน้อยเพื่อช่วยลดการปวดบวมและป้องกันการคลังของหลอดเลือด แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการบีบนวดบริเวณขา เพื่อไม่ให้ลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณอื่น