Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่างร้าย Breaking a bad news
คือ การแจ้งข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ข่าวร้ายที่พบในผู้ป่วยวิกฤต คือ การได้รับการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ผลเลือดติดเชื้อ HIV เป็นมะเร็งระยะลุกลามไม่สามารถรักษาได้
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ผู้แจ้งข่าวร้ายต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้ายการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์
ปฎิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฎิเสธ Denial
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฎิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
ระยะโกรธ Anger
ข่าวร้ายที่ได้รับความโกรธอาจขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว อาจมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง Bargaining
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวัง หรือข่าวร้ายที่ได้รับ มักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย จะต่อรองกับตนเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า Depression
เมื่อผ่านทั้ง 3 ระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น เช่นถอยห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูด ถามคำตอบคำ
ระยะยอมรับ Acceptance
เป็นปฎิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
พยาบาลมีบทบาท ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ขอองครอบครัว
รับฟังด้วยความตั้งใจเห็นใจเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ยอมรับพฤติกรรมทางลบโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ให้ความเคารพ เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรคแนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ข้อมูลอาการที่เปลี่ยนแปลง การดำเนินโรค
ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบัน
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้รับหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตจากผู้รับการพยาบาล ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ แจ้งให้แพทย์ผู้ให้การรักษาทราบและพิจารณาหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว
กรณีแพทย์รับหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ประกอบแผนการรักษาพยาบาล ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯบันทึกไว้ในบันทึกทางการพยาบาล โดยต้นฉบับหนังสือแสดงเจตนาฯมอบให้กับผู้รับการพยาบาลและเก็บสำเนาหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ในเวชระเบียน
กรณีแพทย์ไม่รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงเหตุผลการคืนหนังสือแสดงเจตนา
ผู้รับบริการขอทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯดำเนินการดังนี้
จัดให้ผู้รับบริการพบแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อให้แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาฯและการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานโดยผู้จัดทำไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ
บันทึกข้อมูลไว้ในบันทึกทางการพยาบาล โดยต้นฉบับหนังสือแสดงเจตนาฯมอบให้กับผู้รับบริการ และเก็บสำเนาหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ในเวชระเบียน
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย คือ ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มักมีการดำเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไมาสามารถกลับคืนสู่ปกติ
ภาวะใกล้ตาย คือ ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น มีค่าคะแนน PPS น้อยกว่า 30
การดูแลแบบประคับประคอง คือ วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ
การดูแลระยะท้าย หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง Palliative care
การดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม การทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขภาพ Comfort theory
ทฤษฎีความสุขสบาย
เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบ ผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้
บรรเทาหมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
ความสงบ ผ่อนคลาย หมายถึง ความไม่สุขสบายหายใปหรือสงบผ่อนคลาย
อยู่เหนือปัญหา หมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี แบ่งได้ดังนี้
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่างๆ
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือ
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทำถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้ารจิตวิญญาณ เช่น จินตนบำบัด การนวด
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ตายดี ในช่วงท้าบของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
การุณยฆาต เป็นการทําให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมาน
จากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดําเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทําการุณยฆาตโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia) คือ การทําให้ผู้ป่วยถึงแกชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรคโดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
การุณยฆาต จึงไม่จัดว่าเป็นการตายที่ดีนอกเสียจากผู้ป่วยนั้น ได้ใช้สิทธิการตาย ตามกฎหมายที่รับรองและแสดงเจตนาไว้ถูกต้องแพทย์ก็สามารถให้การดูแลรักษาตามความ ประสงค์ของผู้ป่วยให้เกิดการตายได้ โดยไม่มีผลผิดทางกฎหมายและจริยธรรม
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
2.1 การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustainingtreatment) หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
2.2 การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life-sustainingtreatment) หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์(Physician-assistedsuicide)
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ
หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้ จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือ ทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจํากัด ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรจึงควรคํานึงถึงการเกิดประโยชน์มากที่สุด
การบอกความจริง (Truth telling)
การบอกความจริงถือเป็นอีกประเด็นเชิงจริยธรรมที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วย
และญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย และผู้ป่วยอาจจะยังมีสติและ เวลาในการทําพินัยกรรมก่อนตาย รวมถึงการแสดงเจตนาในการปฏิเสธการรักษา
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีวิวัฒนาการในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืดยาวออกไปประเด็นเชิงจริยธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ ซึ่งพบว่าการซื้อขายอวัยวะเป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่สําคัญอีกประการของโลกปัจจุบัน
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินจริยธรรมในโรงพยาบาล จัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ความรู้ความสามารถของตน ชี้แจงต่อหน่วยงานหรือถอนตัวจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งของการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ สิทธิ์และศักดิ์ในการยอมรับ
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และการทําตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยวิกฤต เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแล ตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทํา Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีสหวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการดุแลผู้ป่วยและครอบครัว
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชิน กับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการ เตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทําให้ญาติเสียใจมาก และมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการการรักษาแบบ palliative care ต่างจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการ ดูแลแบบ palliative มาก่อนหน้านี้
ความไม่แน่นอนของอาการ การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพอาจเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้น เหมือนเดิมได้ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป
Multidisciplinary team ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษารวมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองคืรวม ถ้าไม่มีแพทย์ท่านใดดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย เนื่องจากทีม สุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจํากัด เนื่องจากเตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจํากัดการใช้จึงควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ไม่ใช่ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติทุกราย โดยไม่คํานึงถึงทรัพยากรที่มีจํากัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง แต่สิ่งแวดล้อมใน ไอซียูส่วนใหญมักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่ สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
เพื่อบูรณาการแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบ palliative care เข้าไปในเนื้องานที่ทําอยูในแต่ละวัน
การปรึกษาทีมpalliative careของโรงพยาบาลนั้นๆมาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
เนื่องจากผู้ป่วยวิกฤตเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลาย การกําหนดเกณฑ์สําหรับการปรึกษาทีม palliative care จึงมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษา
การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลแบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกสําหรับผู้ป่วยวิกฤตระยะท้ายและใกล้ตายโดยการรักษาชีวิตและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน การคงไว้ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะที่สําคัญของร่างกาย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพ การดูแลด้านจิตสังคมของผู้ป่วยและญาติ
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
1.1 การประเมินอาการทางด้านร่างกาย
ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก ไอ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตต่ำลง ผิวหนังจะเริ่มเย็น
ระบบหายใจ อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง ใช้กล้ามเนื้อในการช่วยหายใจ
ระบบประสาท มีความไวต่อแสงจ้ามากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ง่วงซึมมาก
ระบบการควบคุมหูรูด ไม่สามารถกลั้นปัสสาะวะและอุจจาระได้ มีการแตกของผิวหนัง
ระบบขับถ่าย ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะสีคล้ำ ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
1.2 การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทาด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า
ภาวะวิตกกังวล
ภาวะสับสน
1.3 การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว โดยบทบาทจะส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของสมาชิกใน
ครอบครัวหรือศักยภาพในการจัดการปัญหาต่าง ๆ
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว เพื่อค้นหาความต้องการที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ป่วยและ ครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยบรรลุวัตถุประสงค์
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver) ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่บ้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม ท่ามกลางคนที่รัก ผู้ดูแลและครอบครัวจะต้องเข้าใจและยอมรับความต้องการของผู้ป่วย การเตรียมผู้ดูแล เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านจึงมีความจําเป็น
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การประเมินเรื่องที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกําหนดความ พร้อมในการรับผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
1.4 การประเมินด้านจิจวิญญาณ
ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต เป้าหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา เพื่อให้ได้รับการให้อภัย ความรัก ความหวัง ความไว้วางใจ
การประเมินระดับ Palliative performance Scale PPS
เพื่อใช้ระเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การ ให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและ ความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการอบรม ฝึกฝนของทีมสุขภาพ การสื่อสารที่ตรงและเป็นจริงทําให้ครอบครัวผู้ป่วยพึงพอใจ หลักการในการสื่อสารในไอซียู คือ
1.ควรมีแผนพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด จาก
การศึกษาพบว่าการสนทนาที่แพทย์เป็นฝ่ายฟัง จะสร้างความพอใจให้กับญาติมากกว่าที่แพทย์เป็นฝ่ายพูด
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู การเริ่มประชุม
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อาการปวด ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆ ได้ครบถ้วนตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนํา และคอยสังเกตว่า ยาได้ผลหรือ ไม่ หรือผู้ป่วยมีอาการอยางไรภายหลังการกินยา และคอยพูด คุย ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทางอารมณ์
อาการท้องผูก การดูแลที่ดีที่สุด คือ การป้องกันควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ําอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทําได้
เบื่ออาหารการดูแลควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ควรเลื่อนมื้ออาหารจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือถ้าไม่ดีขึ้นควรรายงานแพทย์
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลำบาก การดูแล ควรดูแลทําความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง คือ เมื่อตื่นนอนเช้า และก่อนนอน ถ้าแปรงฟันไม่ได้ ในรายที่หมดสติให้ใช้น้ําเกลือบ้วนปากบ่อย ๆ หรือใช้กระบอกฉีดยา ฉีด น้ําเกลือทําความสะอาดในปาก ผู้ป่วยที่มีสติควรให้ผู้ป่วยจิบน้ําบ่อยๆ หรืออมน้ําแข็งก้อนเล็กๆ เพื่อให้ปากชุ่ม ชื้น ควรให้อาหารอ่อน หรือ อาหารเหลวอาหารน้ํา ขึ้นกับภาวะกลืนอาหารของผู้ป่วย รสอาหารไม่จัด เพื่อให้กลืนได้ง่าย
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง เกิดจากภาวะหรือโรคที่ผู้ที่ผู้ป่วยเป็น มีการลุกลามมากขึ้น การดูแล ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิม เพื่อบรรเทาอาการ หากอาการแน่น อึดอัดมาก
อาการไอ การดูแลควรป้องกันสาเหตุที่ทำให้ไอ ระวังการสำลักขณะได้รับอาหาร ให้ได้รับน้ำในปริมาณที่มากในรายที่ไม่มีข้อจำกัด เพื่อช่วยละลายเสมหะ
อาการบวม การดูแล ควรดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดูแลจัดท่ายกบริเวณตำแหน่งที่บวมให้สูงขึ้น
การเกิดแผลกดทับ การดูแล ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำเพื่อให้นอนสบายและเพื่อมีการกระจายน้ำหนักตัวไม่กดลงจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป
การดูแลทั่วไป
ประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ําอย่างเพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย ได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว
4.1 ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา โดยควรเริ่มก่อนถึงวาระสุดท้าย อาจต้องบอกความจริงเรื่องโรค และให้เวลาฟังความ รู้สึกจากผู้ป่วย ข้อนี้ต้องอาศัยสัมพันธภาพที่ดีของผู้ดูแลด้วย
4.2 ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม อาจน้อมนําได้หลายวิธี เช่น นําสิ่งที่ผู้ป่วยเคารพนับถือมาไว้ที่ห้องเพื่อให้ระลึกนึกถึง ชวนให้สวดมนต์ตามหลักศาสนา
4.3 การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ ได้แก่ ภาระกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่มี ผู้จัดการ หรือมีความรู้สึกผิดบางอย่างอยู่ในใจ
4.4 แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ ผู้ป่วยมักยังยึดติดกับบางสิ่งบางอย่าง ทําให้เกิดความกังวล ควบคู่กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รัก ผู้ดูแลต้องแสดงให้ผู้ป่วยมั่นใจว่า มีผู้จัดการสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้เรียบร้อยได้
4.5 สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณมีทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาจเป็นสิ่งที่เป็นพลังความเชื่อ ความหวังที่ผลักดันให้ทําสิ่งที่ดีงาม การทําจิตใจสงบระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว
การประชุมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสําคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับ ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรค
แนวทางแก่ทีมสุขภาพในการประชุมครอบครัว ควรทําการพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนและการคุย เป้าหมายการรักษา สาเหตุที่ควรใช้หัตถการต่าง ๆ มาเป็นข้อบ่งชี้ในการเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายการรักษา
การทําประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา โดยข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้
ข้อควรระวัง อย่างยิ่งในการพูดคุยเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยคือ การพยากรณ์โรคแบบไม่มีอคติ (bias) ควรให้คําแนะนําไปตามจริง คือ ครอบครัวอาจจะมีความหวังที่จะดีขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ควร มีการเตรียมรับมือในกรณีที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
7.1 Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขคือ หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดเพื่อแสดงให้ คนอื่นทราบว่าตนเองไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
7.2 Proxy คือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ใน วาระสุดท้ายของตน
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
ทําการปิดครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จาเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ําเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)
เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วยให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคําแนะนําการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย