Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ - Coggle Diagram
ผู้มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์
โรคทางอารมณ์ (Mood disorder)
เป็นกลุ่มโรคทางจิตเวชที่ภาวะอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างมาก และเป็นอย่างต่อเนื่อง โดยพบเป็น 2 กลุ่มอาการ คืออารมณ์ซึมเศร้าและครึกครื้น อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสลับกัน
ลักษณะสำคัญ
อาการสำคัญ
โดยพบเป็น 2 กลุ่มอาการ คือมีอารมณ์ซึมเศร้า (depression) หรืออารมณ์ครึกครื้น (mania) อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสลับกัน
อารมณ์ซึมเศร้า (depression)
มีอารมณ์หงุดหงิด เศร้า ร่วมกับอาจมีอาการมีความสนใจในสิ่งต่างๆลดลง เฉื่อยชา ท้อแท้ สิ้นหวัง จนถึงอยากตาย
อารมณ์ครึกครื้น (mania)
มีอารมณ์เบิกบานมาก หรือบางครั้งอาจมีลักษณะหงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ คิดเร็ว พูดเร็วขึ้น วอกแวกง่าย
ปัญหาที่พบ
1.บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปอย่างมาก
2.มีผลต่อการพูดคุย หรือสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น
3.มีผลต่อความคิด ความสนใจ
4.กระทบต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก
ลักษณะการดำเนินของโรค
ส่วนใหญ่มีอาการเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วงมักเป็นนาน 1-6 เดือน อาการมักหายได้ในแต่ละช่วง แต่มักเกิดอาการช้ำ
คำคัพท์
• Episode เวลานับตั้งแต่มีอาการครบตามเกณฑ์วินิจฉัย จนถึงช่วง recovery นับเป็น 1
• Response ระยะที่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีอาการดีขึ้น
• Remission ระยะที่ได้รับการรักษา ไม่เกิน 2 เดือน และไม่มีอาการเลย
• Recovery ระยะที่ไม่มอาการเลย มากกว่าหรือเท่ากับ 2 เดือน
• Relapse ช่วงที่กลับมามีอาการมากขึ้นก่อนถึงระยะ full remission
• Recurrence หลังระยะ recovery กลับมามีอาการ (เกิด episode ใหม่)
กลุ่มโรคซึมเศร้า
(Depression disorder)
คือ โรคที่มีอาการซึมเศร้าเป็นอาการหลัก โดยไม่มีอาการของช่วงครึกครื้นร่วมด้วยเลย
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
• พันธุกรรม
• สารสื่อประสาท
• การทำงานของต่อมไร้ท่อ
• การทำงานของสารที่มีผลต่อร่างกาย
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม
• ทฤษฎีเกี่ยวกับความคิด
• ทฤษฎีบุคลิกภาพ
• ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
• เหตุการณ์ในชีวิตและทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียด
การบำบัดรักษา
• การบำบัดด้านร่างกาย
-การรักษาด้วยยา
-การรักษาด้วยไฟฟ้า
-การจำกัดพฤติกรรม
• การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
• การบำบัดด้านจิตใจหรือการทำจิตบำบัด
กลุ่มอาการอารมณืสองขั้ว
(Bipolar and related disorder)
คือ มีอาการเด่นของอารมณ์ครึกครื้น ร่าเริง คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากขึ้น โดยอาการอาจเป็นสลับกับช่วงที่มีอาการซึมเศร้า
การบำบัดรักษา
• การบำบัดด้านร่างกาย
-การรักษาด้วยยา
-การรักษาด้วยไฟฟ้า
-การจำกัดพฤติกรรม
• การบำบัดด้านจิตใจหรือการทำจิตบำบัด
• การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด