Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำเนิดและวิวัฒการของกาแล็กซี่ :star:, :, 19BF4BD3-BC1A-4A41-AF1E…
การกำเนิดและวิวัฒการของกาแล็กซี่
:star:
กำเนิดกาแลกซี
ทฤษฎีบิ๊กแบง
ราวๆ13.7พันล้านปีก่อน เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) เพียงเสี้ยววินาที ทำให้ก่อกำเนิดอนุภาคพื้นฐานคือ ควาร์ก (Quark) อิเล็กตรอน (Electron) นิวทริโน (Neutrino) และโฟตอน (Photon) รวมถึงพลังงาน กระจายไปทั่วจักรวาล พร้อมกับการเกิดของ ปฏิอนุภาค (Anti-particle) จากการที่อนุภาคมีจำนวนมากกว่าปฏิอนุภาค ทำให้เกิดทั้งสสารและพลังงานในเอกภพของเรา ก่อนอุณหภูมิจะลดลงเหลือแค่ราวๆ 10,000 เควิน ก่อให้เกิด อะตอมของธาตุพื้นฐานในจักรวาล อย่า ไฮโดรเจน และฮีเลียม
ถูกเสนอขึ้นครั้งแรก ในปี 1927 โดย บาทหลวง ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ (Georges Lemaître) นักดาราศาสตร์เบลเยียม ด้วยความเชื่อที่ว่า เอกภพมีจุดเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ที่มีความหนาแน่นสูง เรียกว่า อะตอมดึกดำบรรพ์” (Primeval Atom) ก่อนจะเกิดการระเบิดและขยายตัวจนมีขนาดใหญ่อย่างเช่นในปัจจุบันนี้
ประเภทของกาแล็กซี่
กาแล็กซีมีรูปแบบ
กาแล็กซีรี
กาแล็กซีรีมีรูปร่างคล้ายทรงกลม แต่มีลักษณะแบนตรงกลางเล็กน้อยและมีปลายเรียว ประกอบไปด้วยดวงดาวที่มีอายุมาก มีมวลน้อย
กาแล็กซีกังหัน
กาแล็กซีกังหันแบบธรรมดา
มีลักษณะเป็นกระเปาะแบนและมีแขนเป็นรัศมีคล้าย ๆ กัน แต่ความหนาแน่นของแขนในแต่ละกาแล็กซีก็แตกต่างกัน
กาแล็กซีกังหันแบบมีคาน
กาแล็กซีกังหันแบบมีคานจะมีโครงสร้างคล้ายคานพาดผ่านกลางกาแล็กซี บริเวณคานนี้จะมีความสว่างของดาวฤกษ์และสสารอยู่
ลักษณะของกาแล็กซีประเภทนี้จะเป็นกระเปาะตรงกลาง ประกอบด้วยดวงดาวที่มีอายุมาก ส่วนด้านข้างมีลักษณะคล้ายจานแบน ประกอบไปด้วยฝุ่นละออง กลุุ่มแก๊ส และดาวอายุน้อย ซึ่งส่วนนี้จะเป็นจุดที่เกิดเป็นโครงของแขนกาแล็กซี ยื่นออกมาในลักษณะรัศมีกระจายไปรอบ ๆ กาแล็กซี
กาแล็กซีเลนส์
กาแล็กซีเลนส์แบบมีคาน
กาแล็กซีเลนส์แบบมีคานจะมีโครงสร้างคล้ายคานพาดผ่านกลางกาแล็กซี ซึ่งคล้ายกับกาแล็กซีกังหันแบบมีคานมาก ๆ เพียงแต่ไม่มีโครงสร้างที่เป็นแขนของกังหันเท่านั้น
กาแล็กซีเลนส์แบบไม่มีคาน
ไม่มีโครงสร้างที่เป็นแถบพาดผ่านกลางกาแล็กซี จึงคล้ายกับกาแล็กซีกังหันแบบไม่มีคาน แต่ไม่มีโครงสร้างที่เป็นส่วนแขนของกังหันนั่นเอง
ลักษณะคล้ายกับทั้งกาแล็กซีรีและกาแล็กซีกังหัน กล่าวคือมีลักษณะเป็นกระเปาะตรงกลางกาแล็กซีคล้ายกับกาแล็กซีกังหัน แต่ไม่มีโครงสร้างที่เป็นแขนที่ยื่นออกมา
กาแล็กซี่ไม่มีรูปแบบ
ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจนเพียงพอจะบอกได้ว่ามันเป็นรูปกังหันหรือทรงรี และบางครั้งอาจจะแสดงโครงสร้างแบบคานให้เห็น ประกอบไปด้วยกลุ่มแก๊ส ฝุ่นละออง ดาวฤกษ์ ดาวนิวตรอน หลุมดำ และองค์ประกอบอื่น ๆ
องค์ประกอบของกาแล็กซี่
การแล็กซี่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวสสารระหว่างดาว (แก๊สและฝุ่น)
1.กระจุกดาว คือกลุ่มดาวตั้งแต่สิบดวงไปจนถึงหลายสิบล้านดวง ในกาแล็กซี่ ทางช้างเผือกจะพบกระจุกดาวรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแล็กซี่ เช่น กระจุกดาวลูกไก่
สสารระหว่างดาว ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างไกลกันมาก ระหว่างดวง ดาวจึงมีสสารระหว่างดาว ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส (ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน)
เนบิวลา กลุ่มเมฆหมอกของแก๊สและฝุ่นของสสาร ที่อยู่ระหว่างดวงดาวในกาแล็กซ๊ มี 3 ชนิด
เนบิวลาสว่าง(Reflection nebula) เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีที่สะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์
Ref:
https://th.m.wikipedia.org
2.เนบิวลาเรืองแสง (Emission nebula)เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีระหว่างดวงดาวที่เปล่ง แสงออกมาจากตัวเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคโปรตอนนิวตรอนเป็นอะตอม ไฮโดรเจน
Ref:
https://www.digitaltrends.com
เนบิวลามืด(Dark nebula) เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากและหนาทึบ ซึ่งดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ที่ส่องมา
Ref:
https://www.eso.org
กาแลกซีทางช้างเผือก
นิยามและความหมาย ของกาแลกซี
อาณาจักรของดาว ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ มีขนาดประมาณหมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง กาแล็กซีทางช้างเผือกมีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง
ประเภทของกาแลกซีทางช้างเผือก
กาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน มีดาวฤกษ์ประมาณแสนล้านดวง มีมวลรวมประมาณ 9 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
จาน (Disk) ประกอบด้วยแขนของกาแล็กซี มีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่น แก๊สและประชากรดาวประเภทหนึ่ง
ส่วนโป่ง (Bulge) คือบริเวณใจกลางของกาแล็กซี
มีประชากรดาวประเภทหนึ่งที่เก่าแก่ และประชากรดาวประเภทสอง ซึ่งเป็นดาวเก่าแก่แต่มีโลหะเพียงเล็กน้อย
เฮโล (Halo) อยู่ล้อมรอบส่วนโป่งของกาแล็กซี มีองค์ประกอบหลักเป็น “กระจุกดาวทรงกลม กระจุกดาวทรงกลมแต่ละกระจุกประกอบด้วยดาวฤกษ์นับล้านดวง ซึ่งล้วนเป็นประชากรดาวประเภทสองซึ่งมีอายุมาก
: