Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว - Coggle Diagram
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
ความหมายของการอ่านออกเสียง
การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงตามอักษร ถ้อยคำ และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไวใ้ห้ถูก ต้อง ชัดเจน เป็นทเี่ข้าใจแก่ผู้ฟัง การอ่านออกเสียงถือเป็นการสื่อความหมายที่ก่อให้เกิด “ทักษะ” ดังต่อไปนี้
เกิดทักษะในการเปล่งเสียงให้ชัดเจน
เกิดทักษะในการใช้อวัยวะที่ออกเสียงได้ถูกต้อง
เกิดทักษะในการออกเสียงควบกล้าได้ถูกต้อง ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกิดทักษะในการวิเคราะห์คำที่อ่านมากขึ้น
เกิดทักษะในการเปล่งเสียงตามรูปตัวอักษรควบกล้าได้อย่างคล่องแคล่ว
หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านออกเสียงร้อยแก้วมีดังนี้
ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความ เพื่อแบ่งวรรค ตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม
อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึงกัน ไม่ดังหรือ ค่อย จนเกินไป
อ่านให้คล่อง ฟังรื่นหูและออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธีชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะตัว ร ล หรือ คำควบกล้าต้องออกเสียงให้ชัดเจน
อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูอย่างธรรมชาติที่สุด เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้าหนักความสำคัญของ ใจความใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง โกรธ
การอ่านในที่ประชุมต้องจับหรือถือบทอ่าน
อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง รู้จักใส่อารมณ์เหมาะสมตามเนื้อเรื่อง ขณะที่อ่านควร สบสายตาผู้ฟังในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ
ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยแก้ว
ศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจสาระสำคัญของเรื่อง อารมณ์และวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อถึงผู้อ่าน
มีสมาธิในการอ่าน ไม่อ่านผิด อ่านตก อ่านเพิ่ม หรืออ่านผิดบรรทัด กวาดสายตาจากซ้ายไปขวา อ่านไป อีกบรรทัดได้อย่าว่องไวและแม่นยำ
อ่านด้วยน้าเสียงที่เป็นธรรมชาติ เหมือนเสียงพูด มีลีลาและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน เน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการให้เกิดภาพพจน์
.อ่านออกเสียงดังพอประมาณ ไม่ตะโกน หรือเสียงเบาเกินไป ถ้าอ่านออกเสียงผ่านไมโครโฟน ควรยืนให้ สง่างาม ปากห่างจากไมโครโฟนพอเหมาะ เพื่อมิให้เสียงหายใจเข้าไมโครโฟน
ในระหว่างที่อ่านควรกวาดสายตาตามตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นสบตาผู้ฟัง อย่างเหมาะสม และ เป็นธรรมชาติ
อ่านคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขระวิธี ชัดวรรค ชัดถ้อย ชัดคำ โดยเฉพาะคำ ร ล หรือคำควบกล้า
แบ่งวรรคตอนในการอ่าน และอ่านเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง
คุณค่าของบทร้อยแก้ว
ผู้ฟังได้อรรถรสจากถ้อยคำภาษาวรรณศิลป์
ได้เพิ่มพูนความรู้จากผู้เขียนเรียบเรียง
การอ่านด้วยน้าเสียงไพเราะชัดเจน มีจังหวะวรรคตอน ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
สืบทอดวัฒนธรรมภาษาให้ยั่งยืนสืบไป