Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหรือภาวะผิดปกติทางผิวหนัง - Coggle Diagram
โรคหรือภาวะผิดปกติทางผิวหนัง
กลุ่มการอักเสบ
Bacterial
ผิวหนังอักเสบ
Impetigo
Acute infection
S.aureus, Streptococci group A
ผื่นแดงและคัน ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ ฐานแดง ต่อมาเป็นตุ่มหนอง แตกกลายเป็นสะเก็ดเหลือง ลักษณะคล้ายรอยบุหรี่
ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
Ecthyma
Streptococci group A,
Staphylococci
เริ่มจากตุ่มแดง ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนองเล็กๆ มีฐานสีแดง ต่อมามีสะเก็ดหนาปกคลุม ลักษณะสะเก็ดสีคล้ำติดแข็ง ข้างใต้เป็นหนอง
ฝี
Abscess
Collection of pus in subcut.fat
S.aureus, anaerobe
Localized tender nodule/cyst, fluctuation
Lymphadenopathy
Lymphangitis
Carbuncle
Perifollicular inflammation
S.aureus
ปัจจัยก่อโรค: DM, obese, poor hygiene, ถอนขน
ผิวหนังอักเสบ
Cellulitis
Acute infection
Deeper layer: subcut.fat
S.aureus, Streptococcus
ผื่นแดงจัด ขอบผื่นไม่ชัดเจน และไม่ยกนูนจากผิวหนังปกติ
painful, inflammatory lesion
Critical sites: face, hand, foot, joint
complication: sepsis
การรักษา
ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ประคบด้วยน้ำอุ่น สะอาด/ NSS wet dressing
Proper hygiene/ clean wound/ I&D
swab, culture
Antibiotic: Dicloxacillin (250-500 mg) qid 7-14 day
Erythromycin (250-500 mg) qid 7-14 day
If trauma history: TT vaccine
Viral
Erythematous maculopapular rash
Measles
เชื้อ Rubeola virus ติดต่อโดยการหายใจติดต่อตั้งแต่ 4 วันก่อนขึ้นผื่น จนถึง 4 วันหลังเริ่มมีผื่นขึ้น
ระยะฟักตัว 10 – 12 วัน
ระยะไข้ 2 – 3 วัน ไข้ต่ำๆและ ไอ น้ำมูกไหล ตาแดง (conjunctivitis) ตรวจดูในปากจะพบ Koplik’s spots เป็นจุดขาวเล็กๆ ปนเทา ล้อมรอบด้วยผื่นสีแดง ซึ่งจะอยู่ที่เยื่อบุช่องปากตรงข้ามกับฟันกรามล่าง
ระยะผื่นออก มีไข้สูง 40 – 40.5 °C พบ maculopapular rash เริ่มเป็นที่ไรผม หลังหู ไล่ลงมาตาม คอ หน้าอก ท้อง และขาตามลำดับใช้เวลา 48-72 ชม.ผื่นที่อยู่บริเวณลำตัว จะรวมกันเป็นปื้น (confluent maculopapular rash) เมื่อผื่นลามถึงเท้าอาการไข้ จะลดลงภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากผื่นออกเต็มเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีคล้ำ (hyperpigmentation) หายไปภายใน 7 – 10 วัน
รักษาตามอาการ และแยกผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ
Rubella
เชื้อ Rubella virus ติดต่อโดยการหายใจ
ระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะที่ติดต่อกันมากคือ 5 วัน ก่อนมีผื่นขึ้น จนถึง 6 วันหลังผื่นขึ้น
ไข้ 37.5-38.5 c ปวดศีรษะ ปวดตา เจ็บคอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เป็นอยู่ 1-5 วันก่อนขึ้นผื่น
ผื่นขึ้น ผื่นมีลักษณะราบสีชมพู ขนาดเล็ก ไม่แผ่รวมเป็นแผ่นแบบหัด แต่จะอยู่กระจายตามหน้า คอ ลำตัว แขนขา
มีต่อมน้ำเหลืองที่หลังหู ข้างคอและท้ายทอยโต ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่ 24ชั่วโมง ก่อนผื่นออก
รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ผดผื่นคัน และแยกผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ
Roseola Infantum
เกิดจากเชื้อ Human herpes virus type 6 (HHV6) ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจและการสัมผัส ระยะฟักตัว 5-15 วัน
ไข้สูง 39.5-40.5 c ในระยะก่อนผื่นขึ้น 3-5 วัน ไข้ลด พบผื่นราบสีแดงขนาด 2-5 mm. ที่ลำตัว คอ แขน
ผื่นบางจุดมีลักษณะนูนเล็กน้อย หรือมีวงสีแดง ขาวๆอยู่รอบผื่นแดงคล้ายดอกกุหลาบ เป็นผื่นเล็กๆอยู่แยกกระจายกัน
Lab: CBC = WBC อยู่ในช่วง 8,000 /mm3โดยมี neutrophil เด่น ต่อมาในช่วงวันที่ 3 ของไข้ จำนวน WBC จะต่ำลงประมาณ 6000/mm3
ระยะมีไข้สูงให้ดื่มน้ำมากๆเช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้
ระยะผื่นขึ้น ไข้ลงแล้วให้ดื่มนม รับประทานอาหารได้
โรคมักหายได้เองภายใน 3-5 วันหรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
scrub typhus
เชื้อ Rickettsiae มีแมลงนำโรคได้แก่ ไร (mite) เห็บ (tick) หมัด (flea) และเหาตัว (body louse)
มีไข้สูงแบบ “intermittent” (39.5-40 องศาเซลเซียส)
นาน 2-3 สัปดาห์ ตาแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องอุจจาระร่วง
ตำแหน่งที่ถูกกัดจะเกิดเป็นแผล เรียกว่า Eschar ซึ่งจะพบเพียงรอยโรคเดียว (single lesion) มีลักษณะเป็นแผลขอบยกนูนแดง ขนาด 5-10 มิลลิเมตร ไม่มีหนอง ตรงกลางมีสะเก็ดสีดำ
การรักษา
ไม่รุนแรงให้ยา doxycycline loading dose ในวันแรก 2.2 มก./กก./ครั้ง 2 ครั้ง แล้วตามด้วย 2.2 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ให้เป็นเวลารวม 5 วัน
ถ้าอาการรุนแรง เช่น หอบ หัวใจวาย ไตวาย ต้อง refer ทันที
Vesiculopustular rash
varicella zoster virus
ติดเชื้อครั้งแรกจะเป็นโรคสุกใส (chickenpox) เมื่อภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง จะเกิดเป็น งูสวัด (zoster)
ปวดเมื่อยตามัว มีผื่นขึ้นพร้อมกับวันที่เริ่มมีไข้หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เป็นผื่นราบสีแดงก่อน จากนั้น 2-3 ชม.ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน และตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก (2-3 mm.) ตุ่มจะขึ้นที่ลำตัวก่อน แล้วลุกลามไปที่ใบหน้า หนังศีรษะ แขนขา
ในเด็กอาจมีไข้ต่ำๆ (37.5-38.5 c) หรือไม่มีไข้ ในผู้ใหญ่มักพบมีไข้สูง (39-40 c)
ผื่นจะเริ่มเป็น macule ต่อมาเปลี่ยนเป็น papule และ vesicle ตามลำดับ
Lab: การตรวจน้ำใน vesicle จะพบ multinucleated giant cell โดยวิธี Tzanck smear
แยกผู้ป่วยจนพ้นระยะติดต่อ (ระยะติดต่อตั้งแต่ 24 ชม.ก่อนมีผื่นขึ้น จนตุ่มตกสะเก็ดหมดแล้วหรือประมาณ 6 วันหลังตุ่มขึ้น)
รักษาตามอาการ ถ้าตุ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Dicloxacillin, Erythromycin
Herpes simplex infection
Herpes simplex virus type I,II or Human herpes virus I,II การติดต่อโดย contact transmission
ตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 mm. ขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มรอบจะเป็นผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำใสจะกลายเป็นสีเหลืองขุ่น แล้วแตกออกภายใน 2-3
มีอาการคันเล็กน้อย พบเป็นได้บ่อยบริเวณริมฝีปาก แก้ม จมูก หู ตา อวัยวะเพศ
การรักษา
รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาต้านไวรัส Acyclovir ผู้ใหญ่ขนาด 400 mg วันละ 3-5 ครั้ง 7-10 วัน เด็กขนาด 15 mg/kg วันละ5 ครั้ง นาน 7 วัน
อาการไม่ชัดเจน หรือเป็นที่ตา หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองอักเสบ ตับอักเสบ ให้ส่งพบแพทย์
Hand foot and mouth disease
ไวรัสกลุ่ม Enterovirus เช่น coxsackievirus A16 enterovirus 71 ติดต่อโดยสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูกหรือน้ำจากในตุ่มน้ำใส และ ติดต่อทาง fecal – oral
ไข้ 38-39 c อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ตรวจในช่องปากพบจุดนูนแดง หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ขึ้นอยู่ตามเยื่อบุปาก ลิ้น และเหงือก
แตกเป็นแผลตื้นๆขนาด 4-8 mm. จะพบผื่นลักษณะเป็นจุดแดงราบ ตุ่มนูน หรือตุ่มน้ำที่มือ เท้า ฝ่ามือฝ่าเท้า แก้มก้น ขนาด 3-7 mm.
หายได้เองโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน เน้นการรักษาตามอาการ โดยเฉพาะการลดไข้ ลดอาการเจ็บปวดจากแผลในปาก
มีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรง ชัก หรือหายใจหอบ รีบส่งโรงพยาบาลด่วน
แยกผู้ป่วยประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าตุ่มแผลจะหายดี และให้ปิดปากจมูกด้วยผ้าเวลาไอจาม
Fungal
Tinea versicolor
เชื้อ Malassezia
ลักษณะของผื่นเป็นวงเล็กๆ เริ่มจากรอบรูขุมขนและขยายรวมกัน เป็นปื้นใหญ่ ขอบเขตชัด
ผื่นมีได้หลายสี ตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีแดงจนถึงสีน้ำตาล พบได้บ่อยบริเวณหน้าอก หลัง ไหล่ ต้นคอและต้นแขนอาจมีอาการคันเล็กน้อย
Tinea pedis
ลักษณะผื่นจะไม่ชัดเจน มักจะแสดงออกของผิวแห้งมาก บางครั้งพบขุยสีขาวหรือผิวหนังเปื่อยได้ ส่วนมากมักจะมีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง
Onychomycosis
มักพบลักษณะของเล็บที่ผิดรูปร่าง ผิวเล็บไม่เรียบเป็นหลุมหรือคลื่น เล็บแตกหักง่าย สีเล็บผิดปกติ และพบขอบเล็บมีการอักเสบ บวมแดงได้
การรักษา
ป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ: การรักษาความสะอาด
ยาทา: Clotrimazole cream
ระวังการแพร่กระจายสู่คนในครอบครัว
Parasitic
Scabiasis
Sarcoptes scabiei ตัวไร
คันที่ง่ามมือ/เท้า ฝ่ามือ รักแร้ และคันมากในเวลากลางคืน พบเม็ดมีน้ำใสหรืออักเสบเป็นหนอง พบรอยนูนคดเคี้ยว (burrow) คล้ายเส้นด้ายสั้นๆ
Test: KOH
รักษาพร้อมกันทั้งบ้าน ทำความสะอาดของใช้
10-25% Benzyl benzoate ทาทั่วตัว 1 ครั้ง และทาซ้ำอีกครั้งใน 1 สัปดาห์
ในรายที่คันมาก อาจให้ยา antihistamine
Pediculosis capitis
เหา
มีอาการคันศีรษะมาก พบตัวเหาและไข่เหา
การรักษา
หวี สางผม ขน
รักษาความสะอาด
รักษาผู้ติดเชื้อข้างเคียง
25% Benzyl benzoate หมักผมข้ามคืน หมัก 3 คืนติดต่อกัน
25% Benzyl benzoate ทาทิ้งไว้ 24 ชม. ควรทำซ้ำอีกครั้งใน 1 สัปดาห์
Pediculosis pubis
โลน
มีตุ่มแดง มีรอยบุ๋มตรงกลาง คันมาก และอาจเกาจนเป็นตุ่มหนอง
Non Infection
Urticaria
Acute: < 6 week, food, drug
Chronic: > 6 week, physical, chronic infection, stress, autoimmune
เป็นวงนูนแดง (wheal and flare) ส่วนใหญ่มีอาการคัน ลักษณะรอยโรคลมพิษจะนูน บวม แดง เป็นปื้น
Rash < 24 hr
-Severe: anaphylaxis
การรักษา
สืบค้นสาเหตุ แนะนำหลีกเลี่ยง
antihistamine: CPM, loratadine, cetirizine
ยาทา: calamine lotion
Dermatitis
Atopic Dermatitis
Family history of allergy
Chronic relapsing course
Classify: infantile, childhood, adulthood
มีอาการคันมากผิวหนังแห้ง อักเสบ และมีการกำเริบเป็นระยะๆ
การรักษา
avoid hot, sweat, dry environmen
Soap: pH 5.5- Moisturizer
Good use steroid cream
Wet dressing
Contact Dermatitis
Irritant, allergic
มีผื่นแดง คัน เป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ มีน้ำเหลืองไหล และมีสะเก็ดเกรอะกรัง ตามรอยลักษณะของสิ่งที่แพ้
การรักษา
หาสาเหตุ แล้วหลีกเลี่ยง
use steroid cream
ยาแก้คัน
NSS wet dressing
ผื่นแพ้ยา
ประวัติการใช้ยา
การแพ้ไม่รุนแรง เช่น ผื่นแดงจางๆ คัน
การแพ้รุนแรง เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 วันถึง 2 เดือน หลังได้รับยา เช่น มีผื่นตุ่มน้ำพอง เจ็บแสบผิวหนัง มีการอักเสบของหลายระบบ
การรักษา
สืบค้นหายาต้นเหตุ
หยุดยาทันที
ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
เนื้องอก
หากสงสัย refer เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
TYPES OF SKIN LESIONS
Macule (<0.5cm.)
แบนราบ คลำไม่ได้ขนาดน้อยกว่า 0.5 cm
Patch (>0.5cm.)
แบนราบ คลำไม่ได้ขนาดมากกว่า 0.5 cm.
Papule (<0.5cm.)
คลำได้ ขนาดเล็กกว่า 0.5 cm
Nodule (>0.5cm.)
ก้อนอยู่ในชั้นหนังแท้ หรือชั้นไขมัน ขนาดใหญ่กว่า 0.5 cm.
Scale (ขุย)
การสร้างเคราตินที่ผิดปกติ
แล้วหลุดลอก
Crust (สะเก็ด)
น้ำเหลือง (serum) แห้ง
ร่วมกับเศษเซลล์