:red_flag:Tinea versicolor (เกลื้อน)
:pencil2:ลักษณะทางคลินิก : ระยะเริ่มแรกของโรค จะเป็นจุดเล็กๆ มีขุยบางๆ จุดจะกระจัดกระจายไปทั่ว หรือเป็นที่บริเวณรูขุม ขน ต่อมาจุดจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นผื่นราบ วงสี จางกว่าผิวหนังปกติ เกิดเป็นรอยด่าง (Hypopigmentation) พบได้หลายสี เช่น ขาว น้ำตาล แดง ดำ, ลักษณะพิเศษ คือ ไม่คัน (อาจคันได้บ้างในบางคน) แต่ลามกว้างออกได้ มีขอบเขตชัดเจนแน่นอน และเป็นมากบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น เช่น ลำตัว ต้นแขน ต้นขา, สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur มักจะพบเกลื้อนในคนที่มีภูมิต้านทานของร่างกายต่ำ
:pencil2:ผลการตรวจ : ขูดขุยที่ผิวหนังจากด้านในของขอบ Active borders โดยขูดออกไปด้านนอกวงผื่นนำไปตรวจ KOH preparation พบ Septatehyphae และ Arthrospores หรือพบ Culturefor fungus ได้ผลบวกกรณีที่การติดเชื้อ เป็นลักษณะ Majocchi’s granuloma บางครั้งการวินิจฉัยต้องอาศัยการตัดชิ้นเนื้อพบ Perifolliculargranuloma หรือพบ Hyphae ของรา
:pencil2:การรักษา :
1.)ยาทาภายนอก ได้แก่
-Selenium sulfide ใช้ฟอกตัว ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาทีแล้วล้างออก โดยให้ใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ระวังอาจเกิดอาการแสบหรือผิวหนังลอกหากทิ้งไว้นานเกินไป ส่วนการป้องกันการเกิดโรคซ้ำให้ใช้ยาเดือนละ 1 ครั้งหรือใช้ Zinc pyrithione
-Ketolytic agent เช่น Whitfield’s ointment, Prooylene glycol in water 40-50% โดยการทำให้ผิวหนังชั้นนอกที่มีเชื้อราหลุดไป
-Mild fungicide เช่น Sodium thiosulfate 20-30%, Precipitation sulfur ointment 3-6%
-ยาทาที่มี Imidazole derivatives ผสมในรูปแบบต่างๆ เช่น Bifonazole, Clotrimazole, Econazole, Miconazole, Terbinafine, Sertaconazole ใช้ทาบริเวณใบหน้าหรือข้อพับต่างๆ