Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต,…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนิน
ชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ผู้แจ้งข่าวร้าย
แพทย์เจ้าของไข้ และทีมผู้รักษาผู้ป่วย
บทบทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติป่วยด้วยความตั้งใจ
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติในการดูแลผู้ป่วย
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ความรู้สึกผิดไว้ด้วย
อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของ
แต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
ยอมความเป็นจริง มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนิน
ชีวิตต่อไปได้
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย
ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
ภาวะใกล้ตาย
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
การดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ palliative care เน้นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกขTทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
การดูแลระยะท้าย (End of life care)
การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการ
ดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม
ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป็นทฤษฎีเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
1) บรรเทา (relief) หมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
2) ความสงบ ผ่อนคลาย (ease) หมายถึง ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
3) อยู่เหนือปัญหา (transcendence) หมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัด
หรือหลีกเลี่ยงได้
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัว
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis)
ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่าง ๆ
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและ
ช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
ด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) พยาบาลกระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข็มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบำบัด การนวด
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death)
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
1. การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ (mercy killing or euthanasia)
การทำให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
1.1 การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia)
การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้เข้าใจถึงอาการ การดำเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
1.2 การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia)
การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
2. การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
2.1 การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withholding of life-sustaining
treatment)
การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
2.2 การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining
treatment)
การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
3. การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
4. การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้ จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือ
ทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัด
5. การบอกความจริง (Truth telling)
การบอกความจริงถือเป็นอีกประเด็นเชิงจริยธรรมที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย
6. การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่
ของตน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยวิกฤต เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแลตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทำ Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและ
ครอบครัว
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว การสื่อสาร และการจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
การรักษาชีวิตและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน การคงไว้ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพ การดูแลด้านจิตสังคมของผู้ป่วยและญาติ
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
1.1 การประเมินอาการทางร่างกาย ได้แก่ ประเมินอาการไม่สุขสบาย ความสามารถในการทำกิจกรรม
ของผู้ป่วย
1.2 การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
1) ภาวะซึมเศร้า (Depression) 2) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) และ 3) ภาวะสับสน (Delirium)
1.3 การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัวและความรักความผูกพันกับสมาชิกในครอบครัว
1.4 การประเมินด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต เปsาหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา เพื่อให้ได้รับการให้อภัย ความรัก ความหวัง ความไว้วางใจ
การประเมินระดับ Palliative Performance Scale (PPS)
เพื่อใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การสื่อสารในผู้ป่วยวิกฤติมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว เช่น หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์ บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เป็นต้น
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การดูแลแบบ palliative care คือ การใส่ใจประเมินอาการ
และจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่ เช่น อาการปวด ท้องผูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้นจะต้องดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกทางเพื่อช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยทรมาน (Symptom management)
การดูแลทั่วไป
การดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
1 ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
2 ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
3 การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
4 แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
5 สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
การทำจิตใจสงบระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม การช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวค้นหาสิ่งที่เป็นพลังชีวิตของผู้ป่วยและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสมของแต่ละคน
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
การประชุมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้า ใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค แนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
7.1 Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด เพื่อแสดงให้ทราบว่าตนเองไม่ประสงค์จะรับการรักษาเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
7.2 Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาลในการดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อทบทวนเปsาหมายและแผนการรักษา รวมทั้งความต้องการของผู้ป่วยเป็นระยะ
การคอยช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การรวบรวมเอกสาร เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วยในวาระสุดท้ายเป็นไปตามที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะ
เป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ถูกรบกวน
การเตรียมตัวผู้ป่วย
1) ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
2) ยุติการเจาะเลือด
3) ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
4) ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
5) ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
6) ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)
7) อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลาน
8) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทำให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้ (post-traumatic stress disorder)
นางสาวณัฐลิตา ช่างฝั้น 6101210569 Sec.A เลขที่ 25