Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก
การลุกลามของโรคที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การสูญเสียภาพลักษณ์ของตนเอง
การสูญเสียญาติหรือคนที่รัก ฯลฯ
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ(Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากที่ผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รัยรู้ ไม่ยอมรับความจริง
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ เป็นการเยียวยาจากการสูญเสียความรู้สึก
อารมณ์รุนแรง ก้ามร้าว ต่อต้าน รู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรม
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ระยะต่อจากความผิดหวัง ระยะนี้แฝงความรู้สึกผิด
รู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ไม่ได้ทำอะไรที่ค้างคใจ จะต่อรองตัวเองกับอื่นๆ
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติรับรู้ว่าเป็นสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละคนและสภาพแวดล้อม
มีอาการ ออกจากสังคม ไม่ค่อยพูด ภามคำตอบคำ หงุดหงิดง่าย ฯลฯ
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวด
หรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
ปรับตัวและเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทของพยาบาลหลังแจ้งข่าวร้าย
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยหรือญาติ เพื่อประเมินและสอบถามความรู้สึก
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธควรยอมรับพฤติกรรมลบของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที ควรให้ความเคารพผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค และแนวทางการรักษา
อธิบายให้ทรายถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักถึงการมีชีวิตอยู่
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยหรือญาติ ว่าแพทย์
และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
10.ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้องสิทธิ์
ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ป่วย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลปบบประคับประคอง(Palliative care)
ดูแลประคับประคองในผู้ป่วยช่วงท้ายๆของชีวิต
เป็นการดูแลแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ โดยยึดจากหลักศาสนาจริยธรรมของผู้ป่วย
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย(Comfort theory)
เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันที เพื่อบรรเทา สงบผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหาด้านต่างๆ
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขของผู้ป่วยตามทฤษฏี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย
เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย
การสอนแนะนำเป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ ให้กำลังใจ
ให้ข้อมูล ชี้แนะและรับฟังเป็นต้น
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบำบัด การนวด
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
การุณยฆาต เป็นการทำให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ โดยแพทย์ ทีมแพทย์ และญาติมีความเห็นว่ายุติธรรม
การยืดหรือการยุติการรักษายืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา = การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา = การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ = การฆ่าตัวตายโดยเจตนาและได้รับวามช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น ให้ความรู้ด้นเครื่องมือ จนผู้ป่วยฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
4.การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด = ผู้ป่วยวิกฤตมักจะได้รับความล้มเหลวของอวัยวะ ต้องอาศัยเครื่องมือแพทย์เพื่อช่วยให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้แต่ทางการแพทย์มีเครื่องมีจำนวนจำกัด
การบอกความจริง= แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อเตรียมตัวเตรียมใจ
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ= แหล่งที่มาของอวัยวะ พบว่าเป็นประเด็นทางจริยธรรม เช่น ได้มาจากการฆาตรกรรม
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่นสิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเพื่อชี้เเจ้งประเด็นที่ขัดเเย้ง
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
จะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
การประเมินด้านสังคม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
2.การประเมินระดับ Palliative Performance Scale (PPS)
การสื่อสาร เช่น เลี่ยงคำศัพท์ทางการแพทย์
การจัดอาการไม่สุขสบายต่างๆ ได้แก่ อาการปวด อาการท้องผูก เบื่ออาหาร อาการปากแห้ง อาการท้องมานน้ำหรือบวมในท้อง อาการไอ เหนื่อยหอบ อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ อาการบวม อาการคัน หรือแผลกดทับเป็นต้น
5.การดูแลทั่วไป ได้แก่ การได้รับสารน้ำต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย ความสะอาดของร่างกาย การหลับพักผ่อน ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย เป็นต้น
6.การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ได้แก่ ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ดีงาม การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งที่ผู้ป่วยยึดติด และสร้างบรรยากาศที่สงบที่เป็นส่วนตัว
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตใจ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วย
และครอบครัวมีความสงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า Advance Care Planning : ACP = กระบวนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สุขภาพและญาติเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยในอนาคต โดยผู้วางแผนการดูแลล่วงหน้าคือ บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรณีที่บาดเจ็บไม่สามารถให้การรักษาได้ พ่อแม่ผู้ปกครองหรือญาติสามารถตัดสินใจได้