Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
ความหมาย
ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต;อความรู้สึก การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย เช่น การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา การกลับเป็นซ้ำของโรค ความพิการ การเสียชีวิต
ผู้แจ้งข่าวร้าย เป็นหน้าที่สําคัญของแพทย์ ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ผู้ป่วยและญาติจะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง
ระยะโกรธ (Anger)
ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะรู้สึกว้าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทําบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น เช่น ออกห่างสังคม เก็บตัว ไม่ค่อยพูด
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
บทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค อาการ
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ปวยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตายหมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น
การดูแลระยะท้าย คือ ารดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญ
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นนช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
พ.ศ. 2550 มาตรา12 ระบุไว้ว่า “ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะขอรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ”
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา (relief) สงบ ผ่อนคลาย (ease) และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา ครอบคลุมบริบทด้านร่างกาย จิตใจ-จิตวิญญาณ สังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบาย
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย
การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง เช่น ให้ข้อมูล ช่วยเหลือ ชี้แนะ
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบําบัด การนวด
ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอําลากันและกัน
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ
การทําการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง
ซึ่งแพทย์จะต้องมีข้อพิจารณา 3 ประการ คือ 1) เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส 2) สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง 3) บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
มีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจํากัด ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรจึงควรคํานึงถึงการเกดประโยชน์มากที่สุด
การบอกความจริง เพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท5ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มีการทํา Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง ละมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการการรักษาแบบ palliative care
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
ทรัพยากรมีจํากัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต ควรเงียบสงบ
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน หลักการพยาบาลแบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก
ระบบการแพทย์เฉพาะ เช่น แพทย์แผนไทย
การผสมผสานกายจิต เช่น สวดมนต์ ทําสมาธิ
อาหารและสมุนไพร
พลังบําบัด เช่น สัมผัสบําบัด โยเร
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol
การเริ่มประชุมครอบครัวควรทําอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
อาการปวด
อาการปวดรุนแรงมากจะให้ยามอร์ฟีน
เทคนิคการผ่อนคลายต่างๆร่วมด้วย เช่น การทําสมาธิ ฟังบทสวด การนวด ฟังเพลงบรรเลงเบาๆ
อาการท้องผูก
การดูแลที่ดีที่สุด คือการปsองกัน ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทําได้
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย
อาการปากแห้งเจ็บในปาก กลืนลําบาก
Mouth care 2 ครั้ง/วัน
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
ควรป้องกันสาเหตุที่ทําให้ไอ ระวังการสําลักขณะได้รับอาหาร ให้ได้รับน้ำในปริมาณมากในรายที่ไม่มีข้อจํากัด เพื่อช่วยละลายเสมหะ
ควรจัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อยเพื่อให้หน้าอกขยายได้ง่ายดูแลให้ได้รับออกซิเจน และยาเพื่อช่วยระงับอาการเหนื่อยหอบ
ควรจัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวกใช้ผ้ารองซับและหมั่นเปลี่ยนผ้ารอง โดยดูแลความสะอาดสม่ำเสมอ
ควรดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดูแลจัดท่ายกบริเวณตําแหน่งที่บวมให้สูง
ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกาใส เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม ควรใช้สบู่อ่อนๆ และอูณหภูมิของน้ำไม่ควรอุ่นจัด ดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนัง
ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำเพื่อให้นอนสบายและเพื่อมีการกระจายน้ำหนักตัวไม่กดลงจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป
การดูแลทั่วไป
ควรดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ําอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความสงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา
ควรระวังการพูดคุยเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยคือ การพยากรณ์โรคแบบไม่มีอคติ (bias) ควรให้คําแนะนําไปตามจริง
ควรทําโดยผู้ชํานาญมีประสบการณ์และทักษะการสื่อสาร
รู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช่เฉพาะโรค
ทําการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสําคัญเป็นระยะๆ
ต้องย้ำว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลการตอบสนองไม่เป็นไปตามคาดหวัง
รับฟังอย่างตั้งใจ และเริ่มอธิบายญาติเห็นถึงความทุกข์ทรมานของการรักษาที่ผ่านมา
เตือนให้ญาติคํานึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุกๆ การตัดสินใจ เป็นการตัดสินใจที่สมมุติว่าผู้ป่วยสามารถบอกเองได้
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)