Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตต่ำขณะตั้ง-pobpad, 1024 -…
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระดับความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์:!:
ความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์จะต่ำสุดในระยะ
ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 จนกระทั่งอยู่ในระดับ
เดียวกับขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ :warning:
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์(gestational hypertension)
วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์20 สัปดาห์ วินิจฉัยจะทำได้แน่นอนหลังคลอด
ไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 300 mg. ในปัสสาวะในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ความดันโลหิตกลับสู่ระดับปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด อาจถูกจัดกลุ่มเป็นภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว (transient hypertension)
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (chronic/ preexisting hypertension)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์
วินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ความดันโลหิตสูงเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ gestational trophoblastic diseases
วินิจฉัยความดันโลหิตสูงได้ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความดันโลหิตนั้นยังคงสูงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (preeclampsia)
ความดันโลหิตที่พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ภาวะความดันโลหิตสูงคงอยู่ไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (preeclampsia superimposed on
chronic hypertension)
สตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เมื่อตั้งครรภ์แล้วพบมี
ภาวะครรภ์เป็นพิษแทรกซ้อน
วินิจฉัยภาวะ superimposed preeclampsia ในสตรีความดัน
โลหิตสูงเรื้อรังที่ไม่เคยมีโปรตีนในปัสสาวะก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
สตรีความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะอยู่เดิม การวินิจฉัยให้ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก (Preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
การพิจารณาค่าความดันโลหิตที่สูง
การพบโปรตีนในปัสสาวะ
เกล็ดเลือดต่ำ
การทำงานของไตผิดปกติ
การทำงานของตับผิดปกต
อาการทางสมอง อาการทางตา
ภาวะน้ำท่วมปอด
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria)
ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ urine protein/creatinine
ration แทน
การตรวจด้วย urine dipstick มีความคลาดเคลื่อนสูง
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (severe preeclampsia)
ใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ยกเลิกเกณฑ์ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction) ร่วมในการประเมินเพื่อวินิจฉัย
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะ
ไม่รุนแรง
Diastolic BP < 110 mmHg
Systolic BP < 160 mmHg
โปรตีนในปัสสาวะ ไม่มี หรือมีผลบวก
ปวดศีรษะ ไม่มี
อาการทางสายตา ไม่มี
ปวดใต้ลิ้นปี่และชายโครงขวา ไม่มี
ปัสสาวะออกน้อย (oliguria) ไม่มี
ชัก (convulsion) ไม่มี
การทำงานของไตผิดปกติ
เกล็ดเลือดต่ำ ไม่มี
การทำงานของตับผิดปกติ สูงเล็กน้อย
น้ำท่วมปอด ไม่มี
ทารกเจริญเติบโตช้า ไม่มี
อาการที่เกิดพบเมื่ออายุครรภ์ ระยะหลังของการตั้งครรภ์
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
Diastolic BP ≥ 110 mmHg
Systolic BP ≥ 160 mmHg.
โปรตีนในปัสสาวะ ไม่มี หรือมีผลบวก
ปวดศีรษะ มี
อาการทางสายตา มี
ปวดใต้ลิ้นปี่และชายโครงขวา มี
ปัสสาวะออกน้อย (oliguria) มี
ชัก (convulsion) มี
การทำงานของไตผิดปกติ เพิ่มสูงขึ้น
เกล็ดเลือดต่ำ มี
การทำงานของตับผิดปกติ สูงมาก
น้ำท่วมปอด มี
ทารกเจริญเติบโตช้า มี
อาการที่เกิดพบเมื่ออายุครรภ์ ระยะแรกของการตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
สาเหตุของการชักยังไม่ทราบแน่ชัด
สาเหตุและพยาธิกำเนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ :red_flag:
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ (preclinical หรือ asymptomatic stage)
เกิดความผิดปกติที่รก ซึ่งมักเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์
ในภาวะครรภ์เป็นพิษ จะเกิดความผิดปกติของการฝังตัวของรก (abnormal placentation)
การฝังตัวของรกที่ผิดปกติจะมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษ
การฝังตัวที่มีผิดปกติมาก จะทำให้ความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษมากขึ้นตาม
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ (clinical stage)
รกที่ขาดออกซิเจน
proinflammatory และ antiangiogenic factors ทำให้เซลล์บุ
โพรงหลอดเลือดบาดเจ็บ และขาดเลือด
อาการแสดงทางคลินิกที่สำคัญ
ความดันโลหิตสูง
ภาวะมีโปรตีนในปัสสาวะ
อาการตามระบบของร่างกาย
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ :recycle:
ระบบไต (renal system)
ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลง ประกอบกับมีการ
ทำลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไต เกิด glomerular capillary endotheliosisส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลงภาวะนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด
ระบบหัวใจและปอด (cardiopulmonary system)
plasma albumin ลดลง และการรั่วของ capillaries นี้ทำให้ colloid osmotic pressure ลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมปอด และสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตจะรั่วออกไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการทำงานของหัวใจล้มเหลว (cardiac decompensation)
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด (hematologic and coagulation system)
เกิด
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดพยาธิสภาพในหลอดเลือดอาทำให้เกิด intravascular hemolysis คือมีการแตกและการทำลายเม็ดเลือดแดง
ระบบตับ (hepatic system)
การเกิด generalized vasoconstriction ทำให้เกิด hepatic ischemia และส่งผลให้ ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) สูงขึ้นจึงมีอาการปวดใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้อาเจียน blood glucose ลดลงรุนแรงอาจพบมีตับแตก (hepatic rupture)
รก และมดลูก (placenta and uterus)
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole ใน decidual ร่วมกับมี acute atherosis ทำให้หลอดเลือดตีบตัน และมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของ เกล็ดเลือด ทำให้เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูก การทำหน้าที่ของรกเสื่อมลง
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)
Magnesium Sulfate (MgSO4)
ใช้รักษาภาวะ preeclampsia
มีฤทธิ์ทำให้เกิดการขยายตัวของ หลอดเลือด เพิ่มการไหวเวียนเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกและไต
ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้เล็กน้อย
ส่งผลให้ความถี่ และความแรงของการหดรัดตัวของมดลูกลดลง
การบริหารยา
ให้ loading dose ด้วย 10% MgSO4 ปริมาณ 4-6 gm. ทางหลอดเลือดดำช้า ๆ นาน 15-20 นาทีด้วยอัตราไม่เกิน 1 gm. ต่อนาที
maintenance dose ด้วย 50% MgSO4 ปริมาณ 10-20 gm. ในสารละลาย
5% D/W 1,000 ml. หยดทางหลอดเลือดดำในอัตรา 2 gm. ต่อชั่วโมง
ควรให้ยานี้ต่ออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด หรือจนกระทั่งปัสสาวะออกมากกว่า 100 ml. ต่อ ชั่วโมง
กรณีเกิดการชักซ้ำ ควรให้ MgSO4 ซ้ำทางหลอดเลือดดำ ปริมาณ 2-4 gm. เป็นเวลานาน 5 นาที
ผลข้างเคียง
MgSO4 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวตามธรรมชาติไม่ดีเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
MgSO4 ขับออกทางไต ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้คือ magnesium toxicity หรือ ภาวะ hypermagnessemia
ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ปัสสาวะออกน้อย
ยาลดความดันโลหิต (antihypertensive dtrugs)
Hydralazine (Apresoline® หรือ Nepresol®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกขนาด 5 mg. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำใน 2 นาที แล้วประเมินความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังฉีด
จากนั้น 20 นาที หาก diastolic BP > 110 mmHg ให้ยาซ้ำได้อีก 10 mg. ทุก 20 นาที จนกว่าค่า diastolic BP อยู่ระหว่าง 90-100 mmHg
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
คลื่นไส้ อาเจียน
ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
จุกเสียดยอดอก
Labetalol (Avexor®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกที่ขนาด 20 mg. เข้าหลอดเลือดดำช้าๆ นาน 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิตซ้ำทุก 10 นาที
ความดันโลหิตยังไม่ลดให้ซ้ำได้ทุก 10-15 นาที ในขนาด 40, 80, 80, และ 80 mg. ตามลำดับ แต่ขนาดยารวมกันต้องไม่เกิน 220-300 mg
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ
คัดจมูก หายใจลำบาก
เหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภาวะหัวใจล้มเหลว
ข้อระวัง
ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลุกขึ้น
ควรนอนพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังได้รับยา
ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และเฝ้าระวัง neonatal bradycardia ในทารกแรกเกิด
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ preeclampsia without severe features
ดูแลให้นอนพักบนเตียง (bed rest) ในท่านอนตะแคงซ้าย
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลและติดตามประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
เฝ้าระวัง ติดตาม อาการและอาการแสดงของ preeclampsia ที่รุนแรงขึ้น
ดูแลให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย และชั่งน้ำหนัก
ดูแลติดตามการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
ประเมินและให้การประคับประคองสภาวะทางอารมณ์ และจิตใจอย่างเหมาะสม
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ preeclampsia with severe features
ดูแลให้นอนพักบนเตียงอย่างเต็มที่ (absolute bed rest) โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นจากภายนอก
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกในแต่ละวัน
ประเมินอาการนำก่อนการชัก
ดูแลให้ยาป้องกันชัก MgSO4 ตามแผนการรักษา และให้การดูแลภายหลังให้ยา
ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
ดูแลและส่งเสริมการขับสารน้ำออกจากร่างกาย โดยให้นอนตะแคงซ้าย บันทึกปริมาณสาน้ำเข้าและออกจากร่างกาย สังเกตอาการบวม
ติดตามประเมินระดับ oxygen saturation ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ (ร้อยละ 97)
ดูแลให้ทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
ดูแลให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงอย่างปลอดภัย
ประคับประคองด้านจิตใจ อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจถึงการดำเนินของโรค
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ eclampsia
ใส่ oral airway หรือ mouth gag เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้นและความสะดวกในการดูดเสมหะและน้ำลาย เพื่อป้องกันการสำลัก
จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง โดยใช้หมอนรองรับรอบด้านเพื่อป้องกันอันตรายจากการชัก
ให้ออกซิเจนขณะชัก และภายหลังชัก และประเมินความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับยาระงับชักตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง
รายงานแพทย์เมื่อมีอาการนำของการชักหรือขณะชัก และดูแลให้ได้รับยาระงับการชักตามแผนการรักษา
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะ การหดรัดตัวของมดลูก ความก้าวหน้าของการคลอด
เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อคลอดตามสถานการณ์
ดูแลป้องกันการชักซ้ำภายหลังคลอด
ให้การดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ดูแลทารกแรกเกิด ซึ่งอาจมีภาวะขาดออกซิเจน คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย