Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
(Hypertensive disorders of pregnancy)
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แบ่งเป็น4 ชนิด
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (chronic/ preexisting hypertension)หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยที่ความดันโลหิตสูง88เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ gestational trophoblastic diseases หรือหากวินิจฉัยความดันโลหิตสูงได้ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความดันโลหิตนั้นยังคงสูงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก(preeclampsia) หมายถึง กลุ่มอาการ (syndrome) ของความดันโลหิตที่พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และภาวะความดันโลหิตสูงคงอยู่ไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์(gestational hypertension)หมายถึงภาวะความดันโลหิตสูงที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์20 สัปดาห์โดยไม่มีโปรตีนในปัสสาวะหรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า300 mg. ในปัสสาวะในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และความดันโลหิตกลับสู่ระดับปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (preeclampsia superimposed on chronic hypertension) หมายถึง สตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เมื่อตั้งครรภ์แล้วพบมีภาวะครรภ์เป็นพิษแทรกซ้อน
4.2.1 ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก(Preeclampsia) ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับการตั้งครรภ์ (pregnancy specific syndrome)
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia วิทยาลัยสูติแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการแบ่งเกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsiaออกเป็น 2 ประเภทคือ
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะไม่รุนแรง (preeclampsia without severe features)
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง (preeclampsia with severe features)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก แต่กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ urine protein/creatinine ration แทน ส่วนการตรวจด้วย urine dipstick มีความคลาดเคลื่อนสูง จึงควรใช้สองวิธีข้างต้นแทน การตรวจโดย urine dipstick นิยมใช้ในการคัดกรองเบื้องต้นในคลินิกฝากครรภ์ทุกครั้งที่สตรีตั้งครรภ์มาตรวจครรภ์ แบ่งเป็น 5ระดับ ดังนี้
+2= 100มิลลิกรัม%
+3= 300มิลลิกรัม%
+1= 30มิลลิกรัม%
+4= มากกว่า 1000มิลลิกรัม% (1กรัม)
Trace= มีเพียงเล็กน้อย (น้อยกว่า 300มิลลิกรัม/ลิตร)
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (severe preeclampsia) โดยใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง รวมทั้งยกเลิกเกณฑ์ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction) ร่วมในการประเมินเพื่อวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
การทํางานของไตผิดปกติ
การทํางานของตับผิดปกติ
เกล็ดเลือดต่ํา
อาการทางสมอง
การพบโปรตีนในปัสสาวะ
อาการทางตา
การพิจารณาค่าความดันโลหิตที่สูง
ภาวะน้ําท่วมปอด
4.2.2 ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia) หมายถึงภาวะชักแบบ generalized convulsions หรือ grandmal seizures ที่มีลักษณะเป็นการชักเกร็งแบบชักกระตุก (tonic-clonic) ที่เกิดขึ้นใน preeclampsia หรือ gestational hypertension อุบัติการณ์ของการชักเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะ 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด
สาเหตุของการชักยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
vasogenic edema
endothelial damae
cerebralvasospasm ร่วมกับ local ischemia
hypertensive encephalopathy ร่วมกับ hyperperfusion
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบตับ (hepatic system)การเกิด generalized vasoconstriction ทําให้เกิด hepatic ischemia และส่งผลให้ ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) หรือ serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และ alanine aminotransferase (ALT) หรือ serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงขึ้นในบางรายอาจมีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ (disseminated intravascular coagulopathy: DIC) ร่วมด้วย บางรายพบ periportal hemorrhagic necrosis หรือ subcapsular hepatic necrosis หรือ hematoma
ระบบประสาท (neurological system)จากการที่เยื่อบุหลอดเลือดถูกทําลาย อาจทําให้เกิดการแตกของหลอดเลือดฝอย มีเลือดออกมในสมองเป็นจุดเลือดเล็กๆ หรือเป็นก้อนใหญ่ (petechial hemorrhage) และผลจากหลอดเลือดหดเกร็ง (vasospasm) ทําให้เกิด cortical brain spasm และเกิด cerebral ischemia ส่งผลให้มีสมองบวม (cerebral edema) อาจพบอาการปวดศีรษะ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง มี hyperreflexia หรือมีอาการชักเกร็ง-ชักกระตุก (seizure) นอกจากนี้อาจเกิด vasogenic edema และ coma ได้ ซึ่งต้องแยกจาก intracranial hemorrhage
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด (hematologic and coagulation system)เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ําเฉียบพลัน และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ ลดลงด้วย โดยอาจเกิดจากกลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือเกล็ดเลือดไปจับตัวเกาะกลุ่มตามเยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกทําลาย นอกจากนี้พยาธิสภาพในหลอดเลือดอาจทําให้เกิด intravascular hemolysis คือมีการแตกและการทําลายเม็ดเลือดแดง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงเคลื่อนผ่านหลอดเลือดที่มีการหดเกร็งและมีขนาดเล็กลง ซึ่งนําไปสู่ภาวะ hemoglobulonemia และ hyperbillirubinemia
ระบบการมองเห็น (visual system)จากการหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตา (retinal arteriolar vasospasm) ทําให้เกิด retinaledema เกิดอาการตาพร่ามัว (blurred vision) การมองเห็นผิดปกติ และอาจทําให้เกิดการหลุดของจกตา (retinal detachment) ในบางรายที่มีพยาธิสภาพของสมองส่วนท้าย occipital lobe อาจทําให้เกิดอาการตาบอด (cortical blindness) ได้
ระบบหัวใจและปอด (cardiopulmonary system)ในภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงจะมี plasma albumin ลดลง เนื่องมาจากเกิด proteinuria และการรั่วของ capillariesนี้ทําให้ colloid osmotic pressure ลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ําท่วมปอด และสารน้ําในระบบไหลเวียนโลหิตจะรั่วออกไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่างๆ (generalized edema) ส่งผลให้ intravascular volume ลดลง เลือดมีความหนืดมากขึ้น (hemoconcentration) มีค่า hematocrit สูงขึ้น
รก และมดลูก (placenta and uterus)จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole ใน decidual ร่วมกับมี acute atherosis ทําให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและมดลูก (uteroplacental perfusion) ลดลง และมีการแตกทําลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของเกล็ดเลือด ทําให้เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูก การทําหน้าที่ของรกเสื่อมลง เกิดภาวะ uteroplacental insufficiency มีผลให้เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction: FGA ในกรณีที่ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะชักนําให้เกิด fetal acidosis, mental retardationหรือ death ได้ ในบางรายอาจเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด เนื่องจาก placental ischemia และ infarction
ระบบไต (renal system)จากการที่ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลงประกอบกับมีการทําลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไต เกิด glomerularcapillaryendotheliosis ทําให้ glomerularinfiltration rate ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และระดับ serum uric acid และ creatinine เพิ่มขึ้น
สาเหตุและพยาธิกําเนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ (preclinical หรือ asymptomaticstage)เป็นระยะที่เกิดความผิดปกติที่รก
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ (clinical stage)รกที่ขาดออกซิเจนจะมีการหลั่งสารต่างๆออกมาในกระแสเลือด ที่สําคัญคือ proinflammatory และ antiangiogenic factors ทําให้เซลล์บุโพรงหลอดเลือดบาดเจ็บ และขาดเลือด เกิดความผิดปกติในการทําหน้าที่ของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด (endothelial dysfunction
ระดับความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์
โดยทั่วไประดับความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์จะต่ํากว่าขณะที่ไม่ตั้งครรภ์และจะต่ําสุดในระยะไตรมาสที่2ของการตั้งครรภ์หลังจากนั้นจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่3 จนกระทั่งอยู่ในระดับเดียวกับขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
ความหมายของภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension: PIH) หมายถึงภาวะความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ และ/หรือมีอาการบวม โดยรวมแล้วหมายถึงภาวะ gestational hypertension, preeclampsia และ eclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด (postpartum hypertension) หมายถึง สตรีที่มีความดันโลหิตปกติขณะตั้งครรภ์ (normotensive gestation) แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรก ภาวะนี้พบได้น้อย แต่เป็นภาวะที่ต้องตระหนัก เฝ้าระวัง ติดตาม และเป็นปัจจัยทํานายการเกิดความดันโลหิตสูงเรื้อรังในอนาคต
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) หมายถึง ภาวะที่ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic BP) อย่างน้อย 140 mmHg.หรือค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic BP) อย่างน้อย 90 mmHg.หรือทั้งสองค่า โดยวัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภายหลังการพัก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ปัจจุบันสาเหตุที่แท้จริงในการเกิด preeclampsia ยังไม่ทราบแน่ชัด สําหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้
ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2ขึ้นไปหรืออ้วน
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดที่มีจํานวนทารกมาก จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าครรภ์แฝดสอง
สตรีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ทั้งสตรีที่ไม่เคยผ่านการคลอด และเคยผ่านการคลอดมาแล้ว
ประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมารดา พี่สาว น้องสาว เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมาอย่างน้อย 10 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน (type I หรือ type II) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด (thrombophilia) และโรคภูมิแพ้ตัวเอง
systemic lupus erythematosus (SLE)
antiphospholipid antibody syndrome (APS
ประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า
ความผิดปกติทางสูติกรรม เช่น กลุ่มอาการถุงน้ํารังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome: PCOS) การทําเด็กหลอดแก้ว ภาวะที่รกทํางานมากกว่าปกติ (hyperplacentosis) จากการเพิ่มมวลของรก หรือรกใหญ่กว่าปกติ
ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกบวมน้ำ
ครรภ์แฝด
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน (nulliparity)
ภาวะโภชนาการบกพร่อง
วิตามินอี
ขาดแคลเซียม
ขาดวิตามินซี
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
2.3 การประเมินอาการบวม ปกติการบวมมักสังเกตเห็นในระยะไตรมาสที่3 และส่วนใหญ่จะปรากฏชัดเจนในระยะ2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด ระดับของอาการบวมมี 4 ระดับ
2+ = บวมที่ขาทั้ง 2 ข้างบริเวณlower extremities ค่อนข้างมาก
3+ = บวมชัดเจนบริเวณใบหน้ามือผนังหน้าท้องส่วนล่างและบริเวณsacrum
1+ = บวมเล็กน้อยบริเวณเท้าและหน้าแข้ง
4+= บวมชัดเจนทั่วทั้งตัวมีascites เนื่องจากมีการสะสมของน้ําบริเวณperitoneal cavity
2.4 ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม (pitting edema) มี 4 ระดับ
2+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 4 มิลลิเมตรและหายไปภายใน 10-15 วินาที
3+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 6 มิลลิเมตรและหายไปใช้เวลา > 1 นาที
1+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 2 มิลลิเมตรและหายไปอย่างรวดเร็ว
4+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 8 มิลลิเมตรและหายไปใช้เวลา 2-3 นาที
2.2 การประเมินระดับรีเฟล็กซ์ (grading reflexes) มี 5 ระดับคะแนน
ระดับ 2 = มี reflex ปกติ
ระดับ 3 = มี reflex ไวกว่าปกติ บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะโรค
ระดับ 1 = มี reflex ลดลงหรือน้อยกว่าปกติ
ระดับ 4 = มี reflex ไวมาก hyperactive มีการชักกระตุก บ่งชี้ว่ามีภาวะโรค
ระดับ 0 = ไม่มี reflex หรือ ไม่มีการตอบสนอง
2.5 ประเมินการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักการเพิ่มของน้ําหนักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญในระยะตั้งครรภ์ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละคน โดยพิจารณาแบ่งกลุ่มตามมวลน้ําหนัก(BMI)
ค่าระหว่าง19.8 -26.00 น้ําหนักปกติ
ค่าระหว่าง26.00 –29.00 น้ําหนักตัวมาก
ค่าน้อยกว่า19.8 ถือว่าน้ําหนักตัวน้อย
ค่ามากกว่า29.00 เป็นกลุ่มอ้วน(obese)
2.1 การประเมินความดันโลหิต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
liver function test
renal functiontest
platelet count
cogulation profile
CBC
การซักประวัติ
1.1 ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
โรคไต
โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
1.2 ประวัติอาการและอาการแสดงของภาวะ preeclampsia
เจ็บใต้ชายโครงขวา
อาการบวม
ตาพร่ามัว
การเพิ่มของน้ําหนัก
ปวดศีรษะ
การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษเพื่อทํานายการเกิด preeclampsia
4.3 Isometric exercise เป็นการทดสอบโดยให้สตรีตั้งครรภ์เกร็งกล้ามเนื้อแขน หากความดันโลหิตสูงขึ้นภายหลังการทดสอบ แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
4.4Doppler velocimetry เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงในมดลูก เพื่อช่วยทํานายผลการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี ภาวะครรภ์เป็นพิษจากuterine arteries
4.2 Roll over test เป็นการทดสอบที่ทําเมื่ออายุครรภ์อยู่ระหว่าง 28-32 สัปดาห์ วัดความดันโลหิตขณะอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย 15 นาที จากนั้นให้เปลี่ยนมาอยู่ในท่านอนหงายนาน 1 นาที ถ้าค่า diastolic pressure ขณะนอนหงายสูงกว่าขณะนอนตะแคงซ้าย20 mmHgหรือมากกว่าหมายถึงผลเป็น positive ซึ่งจะมีพัฒนาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ
4.5Specific blood testingเช่น การตรวจหาระดับ angiogenic factors, placental growth factor (PIGF), soluble fms-like tyrosine kinase-1 receptor (sFlt-1)จากเลือดมารดา
4.1 Angiotensin sensitivity test เป็นการทดสอบโดยฉีดสาร angiotensin II เข้าทางหลอดเลือดดํา และวัดระดับความดันโลหิต ในสตรีที่มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ จะพบว่าความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
4.6Mean arterial blood pressure (MAP) ถ้าพบว่ามีค่าเฉลี่ยมากกว่า 90 mmHg. แสดงว่าสตรีตั้งครรภ์รายนั้นมีความเสี่ยงสูง การคํานวณค่า MAP จากสูตร
MAP = [ (2 X diastolic BP+systolic BP) / 3]
อาการและอาการแสดง
ภาวะ preeclampsia
อาการแสดง
3.Eclampsia คือ มีอาการชักแบบชักทั้งตัว
4.เลือดออกในสมอง
2.น้ําท่วมปอด
5.ตาบอดจากพยาธิสภาพของครรภ์เป็นพิษในสมอง
1.Systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ Diastolic BP ≥ 110 mmHg.
อาการ
เกล็ดเลือดต่ํา มี platelet count < 100,000 ต่อไมโครลิตร
ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การทํางานของตับผิดปกติ ระดับเอนไซม์ AST และ/หรือ ALT สูงกว่า 70 IU/L หรือมากกว่า 2 เท่าของค่าเดิม
HELLP syndromeเป็นภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นกลุ่มอาการที่แสดงถึงความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษ กลุ่มอาการ HELLP นี้ไม่นิยมใช้อาการหรืออาการแสดงในการวินิจฉัย แต่ใช้เฉพาะผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น ดังนี้
5.2 Elevated liver enzymes (EL) คือ การเพิ่มของเอนไซม์ตับ วินิจฉัยจากค่า serum AST สูงกว่า 70 หรือ ALT สูงกว่า 50 IU/L
5.3 Low platelet (LP) คือเกล็ดเลือดต่ํา ค่า platelet cout ≤ 100,000 ต่อไมโครลิตร
5.1 Hemolysis (H) คือ การแตกหรือสลายของเม็ดเลือดแดง วินิจฉัยจากระดับ serum lactate dehydrogenase (LDH) > 600 IU/L และ/หรือ มี schistocytes ใน peripheral blood smear และ/หรือ serum billirubin ≥ 1.2 mg/dL.
ภาวะไตวาย serum creatinine ≥1.1 mg/dL. หรือปริมาณปัสสาวะออกน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ภาวะ Eclampsia
2.3 ระยะชักเกร็ง (Stage of contraction หรือ tonic stage)มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ลําตัวเหยียด ศีรษะหงายไปด้านหลัง มือกําแน่น แขนงด ขาบิดเข้าด้านใน และตาถลน ถ้ากล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจหดรัดตัวมาก อาจมีการหยุดหายใจ หน้าเขียว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 15-10 วินาที
2.4 ระยะชักกระตุก (Stage of convulsion หรือ clonicstage)จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างแรง มีการกระตุกของขากรรไกร อาจกัดลิ้นบาดเจ็บ มีน้ําลายฟูมปาก ใบหน้าบวมสีม่วง ตาแต้มเลือด หนังตาจะปิดและเปิดสลับกันอย่างรวดเร็ว อาจสูญเสียความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ การที่ร่างกายเกร็งกระตุกอย่างแรง อาจทําให้เกิดแรงดีดตัว จึงอาจตกเตียงหรือกระทบถูกของแข็ง เกิดกระดูกหักได้ การเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อจะค่อยๆเบาลงจนหายไป ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที
2.2 ระยะเริ่มแรกของอาการชัก (Stage of invasion)มีอาการกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและมุมปากกระตุก ริมฝีปากเบี้ยว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาที
2.5 ระยะหมดสติ (coma หรือ unconscious)เกิดภายหลังการชักกระตุก นอนนิ่งไม่เคลื่อนไหวอยู่ในสภาพหมดแรง อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นบางครั้ง ทําให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งเกิดภาวะ repiratory acidosis ร่างกายมีการปรับโดยการหายใจเร็ว (hyperventilation) จากการคั่งของ latic acid อาจมีอาการเขียว (cyanosis) เนื่องจากขาดออกซิเจน อาจมีอาการหมดสติ ทําให้ระยะนี้ใช้เวลาต่างกันไปในแต่ละราย หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการชักซ้ําได้อีกในเวลาที่ถี่ขึ้น
2.1 ระยะก่อนชัก (Premonitoring stage)อาจมีอาการหรืออาการแสดงบอกล่วงหน้า (aura)
ตามองนิ่งอยู่กับที่
ศีรษะหมุนไปด้านหนึ่งจนตึง
กระสับกระส่าย
รูม่านตาขยาย
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
น้ําท่วมปอด หรือปอดบวมน้ํา
เลือดออกในสมอง (cerebral henorrhage)
ไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง
เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ หรือตับวาย (hepatic failure)
หัวใจล้มเหลว จากการมี venous return เพิ่มอย่างรวดเร็ว
เกล็ดเลือดต่ํา
หัวใจขาดเลือด
การหลุดของเรตินา (retina detachment) ทําให้ตาบอดชั่วคราวได้
เลือดแข็งตัวผิดปกติ(DIC)
หลอดเลืออุดตัน (deep venous thrombosis)
รกลอกตัวก่อนกําหนด
อันตรายจากการชัก
กัดลิ้น
ข้อเคลื่อน
สําลักเศษอาหารเข้าหลอดลม
กระดูกหัก
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์
ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด
ทารกตายในครรภ์เฉียบพลันหรือตายในระยะแรกเกิด
ทารกโตช้าในครรภ์
กรณีที่ได้รับการรักษาด้วย magnesium sulfate ในระยะคลอด ซึ่งยานี้ผ่านรกไปสู่ทารกได้ ทารกแรกเกิดอาจมีรีเฟล็กซ์ และการหายใจไม่ดี แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปภายใน 3-4 วัน
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)
Magnesium Sulfate(MgSO4)
การบริหารยา
จากนั้น maintenancedose ด้วย 50% MgSO4 ปริมาณ 10-20 gm. ในสารละลาย 5% D/W 1,000 ml. หยดทางหลอดเลือดดําในอัตรา 2 gm. ต่อชั่วโมง
ควรให้ยานี้ต่ออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด หรือจนกระทั่งปัสสาวะออกมากกว่า 100 ml. ต่อ ชั่วโมง
เริ่มให้ loading dose ด้วย 10% MgSO4 ปริมาณ 4-6 gm. ทางหลอดเลือดดําช้าๆ นาน 15-20 นาทีด้วยอัตราไม่เกิน 1 gm. ต่อนาที
กรณีเกิดการชักซ้ํา ควรให้ MgSO4 ซ้ําทางหลอดเลือดดํา ปริมาณ 2-4 gm. เป็นเวลานาน 5 นาที
ผลข้างเคียง
MgSO4 ขับออกทางไต ในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการหดรัดตัวจนปัสสาวะออกน้อยลง อาจทําให้เกิดการสะสมของ magnesium ในกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้คือmagnesium toxicity หรือ ภาวะ hypermagnessemia
ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง อุณหภูมิร่างกายต่ําลง ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว สับสน ท้องผูก ผลข้างเคียงที่เกิดกับทารกแรกเกิดหลังมารดาได้รับยา 2 ชั่วโมง ได้แก่ ซึม ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ดี ตัวอ่อนปวกเปียก
MgSO4ออกฤทธิ์ทําให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงทําให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวตามธรรมชาติไม่ดีเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด หรือเมื่อต้องการให้ยุติการตั้งครรภ์ ดังนั้นในการยุติการตั้งครรภ์ มักใช้ยา oxytocin ช่วยกระตุ้นการหดรัดตัว
ยาลดความดันโลหิต (antihypertensive dtrugs)
2.2 Labetalol (Avexor®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกที่ขนาด 20 mg. เข้าหลอดเลือดดําช้าๆ นาน 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิตซ้ําทุก 10 นาที
หากความดันโลหิตยังไม่ลดให้ซ้ําได้ทุก 10-15 นาที ในขนาด 40, 80, 80, และ 80 mg. ตามลําดับ แต่ขนาดยารวมกันต้องไม่เกิน 220-300 mg.
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ความดันโลหิตต่ํา เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลําบาก เหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภาวะหัวใจล้มเหลว
ข้อควรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลุกขึ้น ควรนอนพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังได้รับยา เฝ้าระวังและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และเฝ้าระวัง neonatal bradycardia ในทารกแรกเกิด
2.3 Nifedipine (Adalat®)
การบริหารยา
ไม่ควรให้ยาแบบอมใต้ลิ้น เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตต่ําจนเกิดอันตรายได้
หากระดับความดันโลหิตยังที่วัดซ้ํายังอยู่ที่ระดับ 140/100 mmHg. ระดับยาที่ได้รับไม่ควรเกิน 120 mg/24 hr.
ให้ในรูปแบบยารับประทานเท่านั้น นิยมให้ยาขนาด 10-20 mg. และให้ยาซ้ําได้ทุก 15-30 นาที โดยขนาดยามากที่สุดที่รับได้ต้องไม่เกิน 50 mg.
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ ท้องผูก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือการที่ค่าความดันโลหิตลดต่ําลงอย่างรวดเร็ว หากใช้ยานี้ร่วมกับ MgSO4จะเสริมฤทธิ์กัน ทําให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ
ข้อควรระวังในการใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 เนื่องจากยามี teratogenic effects นอกจากนี้ยายังสามารถผ่านน้ํานมได้ จึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในมารดาหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยน้ํานมมารดา
2.1 Hydralazine (Apresoline®หรือ Nepresol®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกขนาด 5 mg. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําใน 2 นาที แล้วประเมินความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังฉีด
หลังจากนั้น 20 นาที หาก diastolic BP >110 mmHgให้ยาซ้ําได้อีก 10 mg. ทุก 20 นาที จนกว่าค่าdiastolic BPอยู่ระหว่าง 90-100 mmHgควรระวังไม่ให้ diastolic BP ลดต่ํากว่า 90 mmHg. เพราะทําให้การไหลเวียนโลหิตไปอวัยวะต่างๆลดลง และทารกในครรภ์เกิดภาวะ fetal distress ได้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ําเสมอ จุกเสียดยอดอกซึ่งอาจทําให้สับสนกับอาการที่เกิดขึ้นจากพยาธิสภาพของ preeclampsia with severe features
แนวทางการรักษา
การรักษา preeclampsia with severe features
2.9 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ตรวจแยกโรค หากไม่พบ molar pregnancy และ fetal hydrops ให้ประเมิน fetal growth parameters และ AFI
2.10 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid เพื่อช่วยเสริมการสร้างสาร surfactant ของปอดทารก
2.8 หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีลักษณะรุนแรงแล้ว ไม่จําเป็นต้องตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
2.11 ขั้นตอนการตรวจข้างต้น ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอาการทางคลินิก จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้การรักษาแบบเฝ้าระวัง (expectant management) หรือยุติการตั้งครรภ์
2.7 ส่งตรวจblood testing ดังกล่าวข้างต้น
2.12 หลีกเลี่ยงการใช้ยาขับปัสสาวะ เนื่องจากมี intravascular volume น้อย และยาอาจทําให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะ hypoxia ได้ง่าย พิจารณาให้เฉพาะรายที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว หรือน้ําท่วมปอด จํากัดปริมาณสารน้ําทางหลอดเลือดดํา ยกเว้นมีการสูญเสียสารน้ําออกไปมาก และหลีกเลี่ยง hyperosmotic agents
2.6 ประเมินความดันโลหิตทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ จากนั้นประเมินทุก 1 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด
2.13 การแก้ไขภาวะ hemoconcentration ควรให้สารน้ําประเภท crystalloid หรือสารละลายเกลือแร่ นิยมเริ่มต้นด้วยการให้ 5% glucose in lactated ringer’s solutio
2.5 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ diastolic BP ≥ 110 mmHg
2.14 Preeclampsiawith severe features ที่การเจ็บครรภ์คลอด ห้ามให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด (tocolytic drugs) ในทุกอายุครรภ์
2.4 ประเมินอาการแสดงของ Mg toxicity เป็นระยะ อย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ได้แก่
2.4.2 อัตราการหายใจ ≤ 14 ครั้ง/นาที
2.4.3 ปัสสาวะ ≤ 100 มิลลิลิตร ต่อ 4 ชั่วโมง หรือ ≤ 25 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง
2.4.1 Patellar หรือ knee-jerk พบว่า reflex หายไป
2.15 การลดความเจ็บปวด ยาที่ใช้ ได้แก่ Meperidine (Pethidine®) 50-75 mg. อาจให้ร่วมกับ Promethazine (Phenergan®) 25 mg. ทางหลอดเลือดดําช้าๆ ให้ซ้ําได้ทุก 4-6 ชั่วโมง หากมีวิสัญญีแพทย์ พิจารณาให้ continuous epidural anesthesia
2.3 เริ่มให้ยา magnesium sulfate (MgSO4) ทางหลอดเลือดดําทันที เพื่อป้องกันการชัก
2.16 ในการรักษาแบบเฝ้าระวัง ให้ตรวจ NST ทุกวัน หากผลเป็น non-reassuring ให้ทํา BPP และให้ตรวจ blood test ทุกวัน หากพบกลุ่มอาการ HELLP ให้ยุติการตั้งครรภ์ทันที ส่วนใหญ่จะให้การรักษาแบบเฝ้าระวังประมาณ 10 วัน ก่อนที่โรคจะไม่สามารถคุมได้ และต้องยุติการตั้งครรภ์
2.2 ให้การพักผ่อนอย่างเต็มที่บนเตียง พักรักษาอยู่บนเตียง(absolute bed rest)
2.17 การยุติการตั้งครรภ์ มักเริ่ม induction ภายหลังจากที่ดูแลรักษาอาการต่างๆ คงที่แล้วโดยการเจาะถุงน้ําคร่ําและให้ oxytocin ซึ่งต้องระวัง antidiuretic effect ด้วย เพราะอาจทําให้เกิด water intoxication ได้ แพทย์มักพิจารณาช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ แต่ในรายที่การคลอดไม่ก้าวหน้าหรือเกิดภาวะ fetal distress แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดคลอด
2.1 ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
การรักษา eclampsia
3.6 ตรวจสอบภาวะ oliguria หรือ anuria โดยคาสายสวนปัสสาวะ และวัดปริมาณปัสสาวะทุกชั่วโมง
3.7 ไม่ควรใช้ยา diazepam เนื่องจากจะกดระดับความรู้สึก
3.5 ติดตามและตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ควบคุมสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจ ให้ออกซิเจนทาง canular หรือ face mask
3.8 Eclampsia ที่มีการเจ็บครรภ์คลอด ห้ามใช้ยา tocolytic drug ในทุกกลุ่มอายุ
3.4 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะชักและหลังชัก โดยทําให้ทางเดินหายใจโล่ง อาจใส่ oral airway หรือ mouth gag เตรียมเครื่องดูดเสมหะ งดน้ําและอาหารทางปาก และลดสิ่งกระตุ้น
3.9 เริ่มกระบวนการ augmentation of labor พิจารณาช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ
3.3 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ diastolic BP ≥ 110 mmHg.
3.10 เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
3.2 หากชักในขณะได้ MgSO4 อยู่ ให้เจาะเลือดเพื่อตรวจหา Mg level ทันที ส่วนในรายที่มีการเจ็บครรภ์คลอดแล้ว ให้ load ซ้ําได้อีก 2-4 g. โดยไม่ต้องรอผล Mg level
3.11 ให้ magnesium sulfate ต่อไปจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
3.1 ควบคุมการชักและป้องกันการชักซ้ําโดยให้ MgSO4 loading dose ตามด้วย maintenancedose ให้ทางหลอดเลือดดํา
การรักษา preeclampsia without severe features
1.5 ประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.6 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินหรือยืนยันอายุครรภ์ แยกโรค molar pregnancy และ fetal hydrops ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ปกติให้ติดตามประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
1.4ให้นอนพัก (bed rest) ไม่จําเป็นต้องให้ยากล่อมประสาท
1.7 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid เพื่อกระตุ้น fetal lungmaturity
1.3 ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ควรตรวจอย่างน้อย 3 วัน หรือตรวจ urine protein creatinine index (UPCI)
1.8 ให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึก intake และ output และชั่งน้ําหนักทุก 2 วัน
1.2 ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ติดตามสังเกตอาการและอาการแสดงทุกวัน เจาะเลือดส่งตรวจCBC, Plt.count, peripheral blood smear เพื่อตรวจหา red blood cells morphology, serum BUN, creatinine, uric acid, LDH, AST, ALT, total และ direct billirubin
พิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ ในกรณีต่อไปนี้
2) ยืนยันด้วย BPP ผลเป็น non-reassuring fetal testing
3) อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ ร่วมกับอาการเจ็บครรภ์ มีน้ําเดิน มี non-reassuring fetal testing หรือ severe FGR
1) โรคมีการเปลี่ยนแปลงเป็น preeclampsia with severe features
4) อายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ ให้พิจารณายุติการตั้งครรภ์ เมื่อตรวจพบว่าปากมดลูก มีความพร้อม (Bishop score ≥ 6) หากปากมดลูกไม่มีความพร้อม ให้เตรียมปากมดลูกแล้วกระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอด (induction of labor) เมื่อปากมดลูกพร้อม หรือพิจารณาผ่าตัดคลอดตามข้อบ่งชี้
1.1 ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ preeclampsia with severe featuresมีดังนี้
2.6 ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา เช่น hydralazine
2.6.2 หากความดันโลหิตลดต่ําลงมาก ให้รายงานแพทย์ โดยเฉพาะความดันโลหิต diastolic BP ไม่ควรลดต่ํากว่า 90-100 mmHg. เพราะจะทําให้การไหลเวียนโลหิตของมดลูกและรกไม่เพียงพอ
2.6.3 หลีกเลี่ยงการสวนอุจจาระ และการตรวจภายใน
2.6.1 ประเมินสัญญาณชีพทุก 5-15 นาที จนครบครึ่งชั่วโมงโดยเฉพาะ PR, RR, BP
2.6.4 สังเกตอาการนําของการชัก และเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินในการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่ เครื่องดูดเสมหะ เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจน และอื่นๆ
2.7 ดูแลและส่งเสริมการขับสารน้ําออกจากร่างกาย โดยให้นอนตะแคงซ้าย บันทึกปริมาณสาน้ําเข้าและออกจากร่างกาย สังเกตอาการบวม ชั่งน้ําหนัก และดูแลการได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
2.5 ดูแลให้ยาป้องกันชัก MgSO4ตามแผนการรักษา และให้การดูแลภายหลังให้ยา
2.5.5 ตรวจระดับ serum magnesium ทุก 4-6 ชั่วโมง และปรับขนาดยาที่ให้ทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา โดยให้ระดับ serum magnesium อยู่ระหว่าง 4-7 mEq/L (4.8-8.4 mg/dL)
2.5.6 หากค่า serum creatinine ≥1.0 mg/dLให้ส่งตรวจระดับ serum magnesium
2.5.4 ประเมินปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง ปัสสาวะไม่ควรออกน้อยกว่า 25 ml. ต่อชั่วโมง เนื่องจาก MgSO4ขับออกทางไต
2.5.7 ประเมินอาการ magnesium toxicity โดยระยะแรกจะมีอาการร้อนวูบวาบ กระหายน้ํา เหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก และ DTR ลดลง ในระยะหลังจะกดประสาทส่วนกลาง ซึม หายใจช้าลง การเต้นของหัวใจผิดปกติ หยุดหายใจ และการทํางานของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนล้มเหลว
2.5.3 ประเมิน DTR เป็นระยะทุก 2-4 ชั่วโมง เนื่องจาก MgSO4มีผลให้ DTR ลดลง
2.5.8 เตรียม 10% calcium gluconate หรือ 10% calcium chloride 1 กรัม เป็น antidote ของ MgSO4
2.5.2 ประเมินการหายใจทุก 1 ชั่วโมง อัตราการหายใจไม่ควรต่ํากว่า 14 ครั้งต่อนาที
2.5.9 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะ เพราะ MgSO4 ทําให้การหดรัดตัวของมดลูกลดลง โดยประเมินในระยะรอคลอดทุก 30-60 นาที
2.5.1 ประเมินอาการร้อนบริเวณที่ฉีด ร้อนวูบวาบทั้งตัว อาการคลื่นไส้ อาเจียนขณะให้ยา
2.5.10 หยุดให้ยาเมื่อครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
2.8 ติดตามประเมินระดับ oxygen saturation ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ (ร้อยละ 97)
2.4 ประเมินอาการนําก่อนการชัก
2.9 ดูแลให้ทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
2.9.1 ติดตามประเมินสภาวะของทารกในครรภ์เป็นระยะประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ประเมินอัตราและแบบแผนการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
2.9.2 ให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีภาวะ hypermagnesemia คือ ร้องเบา กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก รีเฟล็กซ์ลดลง และมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ควรเตรียม 10% calcium gluconate เพื่อแก้ไขภาวะนี้
2.3 บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกในแต่ละวัน
2.10 ดูแลให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงอย่างปลอดภัย
2.10.2 ดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของยากระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอดตามแผนการรักษา
2.10.3 ดูแลและเตรียมการช่วยคลอด โดยดูแลการเบ่งคลอด การหดรัดตัวของมดลูก สัญญาณชีพ การขับถ่ายปัสสาวะ และการป้องกันการตกเลือด
2.10.1 เฝ้าคลอดอย่างใกล้ชิด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
2.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง
2.11 ประคับประคองด้านจิตใจ อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจถึงการดําเนินของโรค ขั้นตอนการรักษาพยาบาล และปลอบโยนให้กําลังใจ
2.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียงอย่างเต็มที่ (absolute bed rest)โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นจากภายนอก ทั้งแสงและเสียงรบกวน เพื่อลดการกระตุ้นของสมองส่วนกลาง ให้การพยาบาลอย่างมีระบบเท่าที่จําเป็นในเวลาเดียวกัน และดูแลให้ได้รับยา sedative ตามแผนการรักษา
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ eclampsia
3.8 สังเกตและบันทึกอาการนําของการชัก ระยะเวลาของการชัก ระยะเวลาที่หยุดหายใจ ระดับความรู้สึกตัว และพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์หลังอาการชัก
3.9 รายงานแพทย์เมื่อมีอาการนําของการชักหรือขณะชัก และดูแลให้ได้รับยาระงับการชักตามแผนการรักษา
3.7 สังเกตและบันทึกอาการทางสมอง ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัว ขนาดของ pupil และการตอบสนองต่อแสง การเคลื่อนไหวของลูกตา รวมทั้ง motor และ sensory function
3.10ให้งดอาหารและน้ําตามแผนการรักษา
3.6 บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย
3.11 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ และลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดการชัก
3.5 ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง
3.12ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะ การหดรัดตัวของมดลูก ความก้าวหน้าของการคลอด และการแตกของถุงน้ําคร่ํา หลังการชัก
3.4 ดูแลให้ได้รับยาระงับชักตามแผนการรักษา
3.13 เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อคลอดตามสถานการณ์ เช่น การคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการทางช่องคลอด หรือการผ่าตัดคลอด
3.3 ให้ออกซิเจนขณะชัก และภายหลังชัก และประเมินความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
3.14 ดูแลป้องกันการชักซ้ําภายหลังคลอด
3.2 จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง โดยใช้หมอนรองรับรอบด้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการชัก
3.15 ให้การดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
3.1 ใส่ oral airway หรือ mouth gag เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้นและความสะดวกในการดูดเสมหะและน้ําลาย เพื่อป้องกันการสําลัก
3.16 ดูแลทารกแรกเกิด ซึ่งอาจมีภาวะขาดออกซิเจน คลอดก่อนกําหนด หรือน้ําหนักแรกเกิดน้อย
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ preeclampsia without severe featuresมีดังนี้
1.4 เฝ้าระวัง ติดตาม อาการและอาการแสดงของ preeclampsia ที่รุนแรงขึ้น
1.5 ดูแลให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และชั่งน้ําหนัก
1.3 ดูแลและติดตามประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
1.6 ดูแลติดตามการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
1.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.7ประเมินและให้การประคับประคองสภาวะทางอารมณ์ และจิตใจอย่างเหมาะสม
1.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียง (bed rest) ในท่านอนตะแคงซ้าย