Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy)
ระดับความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์
โดยทั่วไประดับความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์จะต่ำกว่าขณะที่ไม่ตั้งครรภ์ และจะต่ำสุดในระยะ ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 จนกระทั่งอยู่ในระดับ เดียวกับขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
การลดต่ำลงของความดันโลหิตระหว่างตั้งครรภ์เกิดจาก vascular tone ลดลง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จึงทําให้เกิด low resistance ในระบบไหลเวียน ดังนั้นการ สังเกต การวินิจฉัยและการบันทึกความดันโลหิตเป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดัน โลหิตสูงมาก่อนการตั้งครรภ์
ความหมายของภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension)
ภาวะที่ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic BP) อย่างน้อย 140 mmHg. หรือค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic BP) อย่าง น้อย 90 mmHg.
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension: PIH)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด (postpartum hypertension)
สตรีที่มีความดัน โลหิตปกติขณะตั้งครรภ์ แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ หลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรก
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (preeclampsia superimposed on chronic hypertension)
2 ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
ภาวะชักแบบ generalized convulsions หรือ grandmal seizures ที่มีลักษณะเป็นการชักเกร็งแบบชักกระตุก (tonic-clonic)
ภาวะชักนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่มีอาการไม่ รุนแรงจนถึงอาการรุนแรงมาก คือเกิดได้ทั้งในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก ไม่มี proteinuria ไม่มี อาการบวม และ patellar reflexes ปกติ จนถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก proteinuria 4+ บวม ทั้งตัว และ deep tendon reflex (DTR) 4+ การชักอาจเกิดได้ในขณะหลับและไม่มีสิ่งกระตุ้น และ เกิดการชักซ้ำได้หากไม่ได้รับการรักษา
1 ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก (Preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
1 เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ได้แก่ การพิจารณาค่าความดันโลหิตที่สูง การพบ โปรตีนในปัสสาวะ เกล็ดเลือดต่ำการทํางานของไตผิดปกติ
2 เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บ ปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก นิยมใช้ในการคัดกรองเบื้องต้นในคลินิกฝากครรภ์ทุกครั้งที่ สตรีตั้งครรภ์มาตรวจครรภ์ แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
Trace =มีเพียงเล็กน้อย(น้อยกว่า300มิลลิกรัม/ลิตร)
+1 = 30 มิลลิกรัม%
+2 = 100 มิลลิกรัม%
+3 = 300 มิลลิกรัม%
+4 = มากกว่า 1000 มิลลิกรัม% (1 กรัม)
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (severe preeclampsia) โดยใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง รวมทั้งยกเลิกเกณฑ์ทารกเจริญเติบโตช้า ในครรภ์ร่วมในการประเมินเพื่อวินิจฉัย
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
แบ่งเกณฑ์การประเมิน ความรุนแรงของภาวะ preeclampsia ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
Diastolic BP = น้อยกว่าหรือเท่ากับ 110mmHg.
Systolic BP = น้อยกว่าหรือเท่ากับ 160 mmHg.
โปรตีนในปัสสาวะ = ไม่มีหรือมีผลบวก
ปวดศีรษะ = มี
อาการทางสายตา = มี
ปวดใต้ลิ้นปี่และชายโครงขวา = มี
ปัสสาวะออกน้อย = มี
ชัก = มี
การทำงานของไตผิดปกติ = เพิ่มสูงขึ้น
เกล็ดเลือดต่ำ = มี
การทำงานของตับผิดปกติ = สูงมาก
น้ำท่วมปอด = มี
ทารกเจริญเติบโตช้า = มี
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะไม่รุนแรง
Diastolic BP = <110mmHg.
Systolic BP = <160mmHg.
โปรตีนในปัสสาวะ = ไม่มีหรือมีผลบวก
ปวดศีรษะ = ไม่มี
อาการทางสายตา = ไม่มี
ปวดใต้ลิ้นปี่และชายโครงขวา = ไม่มี
ปัสสาวะออกน้อย = ไม่มี
ชัก = ไม่มี
การทำงานของไตผิดปกติ = ปกติ
เกล็ดเลือดต่ำ = ปกติ
การทำงานของตับผิดปกติ = สูงเล็กน้อย
น้ำท่วมปอด = ไม่มี
ทารกเจริญเติบโตช้า = ไม่มี
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (gestational hypertension)
ภาวะความดัน โลหิตสูงที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยไม่มีโปรตีนใน ปัสสาวะ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 300 mg. ในปัสสาวะในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และความดัน โลหิตกลับสู่ระดับปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (chronic/ preexisting hypertension)
ภาวะความดัน โลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยที่ความดันโลหิตสูง เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ gestational trophoblastic diseases
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (preeclampsia)
กลุ่มอาการ (syndrome) ของความดันโลหิตที่พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมี โปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และภาวะความดันโลหิตสูงคงอยู่ไม่ เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบไต
จากการที่ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลง ประกอบกับมีการ ทําลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไต เกิด glomerular capillary endotheliosis ทําให้ glomerular infiltration rate ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และระดับ serum uric acid และ creatinine เพิ่มขึ้น
เกิดการซึมผ่านของโปรตีน albumin และ globulin ออกทางปัสสาวะ เซลล์ร่างกายที่เสีย โปรตีนจะมีความดันภายในเซลล์ (oncotic pressure) ลดลง ทําให้เกิดการคั่งของน้ําในเนื้อเยื่อ interstitial space และเกิดอาการบวมน้ําของอวัยวะต่าง ๆ
ระบบหัวใจและปอด
ในภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงจะมี plasma albumin ลดลง เนื่องมาจากเกิด proteinuria และการรั่วของ capillaries นี้ทําให้ colloid osmotic pressure ลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ําท่วมปอด และสารน้ําในระบบไหลเวียนโลหิต จะรั่วออกไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ
ส่งผลให้ intravascular volume ลดลง เลือดมีความหนืดมากขึ้น (hemoconcentration) มีค่า hematocrit สูงขึ้น ดังนั้นสตรีที่มีภาวะครรภ์ เป็นพิษที่มีการเสียเลือดจะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้เร็ว และการได้รับสารน้ําประมาณมากอย่าง รวดเร็วจะทําให้เกิดภาวะน้ําท่วมปอดได้ง่าย
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ ลดลงด้วย โดยอาจเกิดจากกลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือเกล็ดเลือดไปจับตัวเกาะกลุ่มตามเยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกทําลาย
ระบบตับ
การเกิด generalized vasoconstriction ทําให้เกิด hepatic ischemia และส่งผลให้ ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) หรือ serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และ alanine aminotransferase (ALT) หรือ serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงขึ้น
ระบบการมองเห็น
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตา (retinal arteriolar vasospasm) ทําให้เกิด retinal edema เกิดอาการตาพร่ามัว (blurred vision) การ มองเห็นผิดปกติ และอาจทําให้เกิดการหลุดของจกตา
ระบบประสาท
จากการที่เยื่อบุหลอดเลือดถูกทําลาย อาจทําให้ เกิดการแตกของหลอดเลือดฝอย มีเลือดออกมในสมองเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อนใหญ่ (petechial hemorrhage) และผลจากหลอดเลือดหดเกร็ง (vasospasm) ทําให้เกิด cortical brain spasm และเกิด cerebral ischemia
ส่งผลให้มีสมองบวม (cerebral edema) อาจพบอาการปวด ศีรษะ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง มี hyperreflexia หรือมีอาการชักเกร็ง-ชักกระตุก (seizure) นอกจากนี้อาจเกิด vasogenic edema และ coma ได้
รกและมดลูก
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole ใน decidual ร่วมกับมี acute atherosis ทําให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและ มดลูก (uteroplacental perfusion) ลดลง และมีการแตกทําลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของ เกล็ดเลือด
ทําให้เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูก การทําหน้าที่ของรกเสื่อมลง เกิดภาวะ uteroplacental insufficiency มีผลให้เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์
อาการและอาการแสดง
ภาวะ preeclampsia
อาการแสดง
1.Systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ Diastolic BP ≥ 110 mmHg.
3.Eclampsia คือ มีอาการชักแบบชักทั้งตัว
4.เลือดออกในสมอง 5.ตาบอดจากพยาธิสภาพของครรภ์เป็นพิษในสมอง
น้ำท่วมปอด
ภาวะ Eclampsia
ระยะก่อนชัก (Premonitoring stage)
อาจมีอาการหรืออาการแสดงบอกล่วงหน้า (aura) เช่น กระสับกระส่าย ตามองนิ่งอยู่กับที่ ศีรษะหมุนไปด้านหนึ่งจนตึง และรูม่านตาขยาย
ระยะเริ่มแรกของอาการชัก (Stage of invasion)
มีอาการกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และมุมปากกระตุก ริมฝีปากเบี้ยว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาท
ระยะชักเกร็ง (Stage of contraction หรือ tonic stage)
มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั่ว ร่างกาย ลําตัวเหยียด ศีรษะหงายไปด้านหลัง มือกําแน่น ถ้า กล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจหดรัดตัวมาก
อาจมีการหยุดหายใจ หน้าเขียว
ระยะชักกระตุก (Stage of convulsion หรือ clonic stage)
จะมีการกระตุกของ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างแรง มีการกระตุกของขากรรไกร อาจกัดลิ้นบาดเจ็บ มีน้ําลายฟูมปาก ใบหน้าบวมสีม่วง ตาแต้มเลือด หนังตาจะปิดและเปิดสลับกันอย่างรวดเร็ว
ระยะหมดสติ (coma หรือ unconscious)
เกิดภายหลังการชักกระตุก นอนนิ่งไม่ เคลื่อนไหวอยู่ในสภาพหมดแรง อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นบางครั้ง ทําให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งเกิด ภาวะ repiratory acidosis
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อทารก
ทารกโตช้าในครรภ์
ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด
ทารกคลอดก่อนกําหนด
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์
ทารกตายในครรภ์เฉียบพลันหรือตายในระยะแรกเกิด
กรณีที่ได้รับการรักษาด้วย magnesium sulfate ในระยะคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
1.รกลอกตัวก่อนกําหนด
เลือดแข็งตัวผิดปกติ (DIC)
หัวใจขาดเลือด
หัวใจล้มเหลว จากการมี venous return เพิ่มอย่างรวดเร็ว
ไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง
น้ําท่วมปอด หรือปอดบวมน้ํา
เลือดออกในสมอง (cerebral henorrhage)
เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ หรือตับวาย (hepatic failure)
เกล็ดเลือดต่ำ
การหลุดของเรตินา (retina detachment) ทําให้ตาบอดชั่วคราวได้
หลอดเลืออุดตัน (deep venous thrombosis)
อันตรายจากการชัก
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
ประวัติอาการและอาการแสดงของภาวะ preeclampsia เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
การตรวจร่างกาย
การประเมินความดันโลหิต สามารถประเมินภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์
โดยทั่วไปการวัดความดันโลหิตควรใช้ cuff ในขนาดที่เหมาะสม วัดในท่านั่งที่สบาย
การประเมินระดับรีเฟล็กซ์
มี 5ระดับคะแนน ดังนี้
ระดับ 0 = ไม่มี reflex หรือ ไม่มีการตอบสนอง
ระดับ 1 = มี reflex ลดลงหรือน้อยกว่าปกติ
ระดับ 2 = มี reflex ปกติ
ระดับ 3 = มี reflex ไวกว่าปกติ บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะโรค
ระดับ 4 = มี reflex ไวมาก hyperactive มีการชักกระตุก บ่งชี้ว่ามีภาวะโรค
ระดับของอาการบวม มี 4 ระดับ ดังนี้
1+ = บวมเล็กน้อยบริเวณเท้าและหน้าแข้ง
2+ = บวมที่ขาทั้ง 2 ข้างบริเวณ lower extremities ค่อนข้างมาก
3+ = บวมชัดเจนบริเวณใบหน้า มือ ผนังหน้าท้องส่วนล่างและบริเวณ sacrum
4+=บวมชัดเจนทั่วทั้งตัวมascitesเนื่องจากมีการสะสมของน้ําบริเวณperitoneal cavity
ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม มี 4 ระดับ ดังนี้
1+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 2 มิลลิเมตรและหายไปอย่างรวดเร็ว
2+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 4 มิลลิเมตรและหายไปภายใน 10-15 วินาที
3+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 6 มิลลิเมตรและหายไปใช้เวลา > 1 นาที
4+ = บุ๋มจากผิวหนังประมาณ 8 มิลลิเมตรและหายไปใช้เวลา 2-3 นาที
2.5 ประเมินการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนัก การเพิ่มของน้ําหนักเกิดจากการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ได้แก่ CBC, platelet count, liver function test, renal functiontest และตรวจ cogulation profile
การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษเพื่อทํานายการเกิด preeclampsia ได้แก่
Angiotensin sensitivity test เป็นการทดสอบโดยฉีดสาร angiotensin II เข้าทาง หลอดเลือดดํา และวัดระดับความดันโลหิต ในสตรีที่มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
2 . Roll over test เป็นการทดสอบที่ทําเมื่ออายุครรภ์อยู่ระหว่าง 28-32 สัปดาห์ วัดความ
ดันโลหิตขณะอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย 15 นาที จากนั้นให้เปลี่ยนมาอยู่ในท่านอนหงายนาน 1 นาที ถ้าค่า diastolic pressure ขณะนอนหงายสูงกว่าขณะนอนตะแคงซ้าย 20 mmHg หรือมากกว่า หมายถึงผลเป็นpositiveซึ่งจะมีพัฒนาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ
Isometric exercise เป็นการทดสอบโดยให้สตรีตั้งครรภ์เกร็งกล้ามเนื้อแขน หาก ความดันโลหิตสูงขึ้นภายหลังการทดสอบ แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
Doppler velocimetry เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจการไหลเวียนเลือดของ หลอดเลือดแดงในมดลูก เพื่อช่วยทํานายผลการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี
Specific blood testing เช่น การตรวจหาระดับ angiogenic factors
Mean arterial blood pressure (MAP) ถ้าพบว่ามีค่าเฉลี่ยมากกว่า 90 mmHg.
แสดงว่าสตรีตั้งครรภ์รายนั้นมีความเสี่ยงสูง
แนวทางการรักษา
การรักษา preeclampsia without severe features
หลักสําคัญของการรักษาคือ การนอนพัก ดูแลควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น เฝ้าระวัง การเกิด sever features และทําให้การตั้งครรภ์ดําเนินต่อไปจนครบกําหนดคลอด สรุปการรักษามี ดังนี้
1 ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
2 ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ติดตามสังเกตอาการและอาการแสดงทุกวัน เจาะเลือดส่งตรวจ CBC, Plt.count, peripheral blood smear
3 ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ควรตรวจอย่างน้อย 3 วัน หรือตรวจ urine protein creatinine index (UPCI)
4 ให้นอนพัก (bed rest) ไม่จําเป็นต้องให้ยากล่อมประสาท
5 ประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
6 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินหรือยืนยันอายุครรภ์
7 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid เพื่อกระตุ้น fetal lung maturity
8 ให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึก intake และ output
การรักษา preeclampsia with severe features
หลักสําคัญของการรักษาคือ การป้องกันการชัก ควบคุมความดันโลหิต และยุติการตั้งครรภ์ สรุปการรักษา มีดังนี้
1 ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
2 ให้การพักผ่อนอย่างเต็มที่บนเตียง พักรักษาอยู่บนเตียง (absolute bed rest)
3 เริ่มให้ยา magnesium sulfate (MgSO4) ทางหลอดเลือดดําทันที เพื่อป้องกันการชัก
4 ประเมินอาการแสดงของ Mg toxicity เป็นระยะ อย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ได้แก่
5 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ diastolic BP ≥ 110 mmHg.
6 ประเมินความดันโลหิตทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ จากนั้นประเมินทุก 1 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอด
7 ส่งตรวจ blood testing
8 หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีลักษณะรุนแรงแล้ว ไม่จําเป็นต้องตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
9 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ตรวจแยกโรค
หากไม่พบ molar pregnancy และ fetal hydrops ให้ประเมิน fetal growth parameters และ AFI
10 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid
เพื่อช่วยเสริมการสร้างสาร surfactant ของปอดทารก
11 ขั้นตอนการตรวจข้างต้น ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอาการทางคลินิก จะใช้เพื่อ ประกอบการตัดสินใจ
ให้การรักษาแบบเฝ้าระวัง (expectant management) หรือยุติการตั้งครรภ์
12 หลีกเลี่ยงการใช้ยาขับปัสสาวะ เนื่องจากมี intravascular volume น้อย และยาอาจ ทําให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะ hypoxia ได้ง่าย
13 การแก้ไขภาวะ hemoconcentration ควรให้สารน้ําประเภท crystalloid หรือ สารละลายเกลือแร่
การรักษา eclampsia
หลักสําคัญของการรักษาคือ ควบคุมการชัก แก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนและความเป็นกรดใน ร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต และยุติการตั้งครรภ์เมื่อควบคุมอาการชักได้แล้ว สรุปการรักษามีดังนี้
1 ควบคุมการชักและป้องกันการชักซ้ำโดยให้ MgSO4 loading dose ตามด้วย maintenance dose ให้ทางหลอดเลือดดํา
2 หากชักในขณะได้ MgSO4 อยู่ ให้เจาะเลือด
เพื่อตรวจหา Mg level ทันที
3.3 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg.
หรือ diastolic BP ≥ 110 mmHg.
3.4 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะชักและหลังชัก โดยทําให้ทางเดินหายใจโล่ง อาจใส่ oral airway หรือ mouth gag
3.5 ติดตามและตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ควบคุมสัญญาณชีพ โดยเฉพาะการหายใจ
3.6 ตรวจสอบภาวะ oliguria หรือ anuria โดยคาสายสวนปัสสาวะ
และวัดปริมาณปัสสาวะ ทุกชั่วโมง
3.7 ไม่ควรใช้ยา diazepam เนื่องจากจะกดระดับความรู้สึก
3.8 Eclampsia ที่มีการเจ็บครรภ์คลอด ห้ามใช้ยา tocolytic drug ในทุกกลุ่มอายุ
3.9 เริ่มกระบวนการ augmentation of labor พิจารณาช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ
3.10 เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
3.11 ให้ magnesium sulfate ต่อไปจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)
Magnesium Sulfate (MgSO4)
การบริหารยา
เริ่มให้ loading dose ด้วย 10% MgSO4 ปริมาณ 4-6 gm. ทางหลอดเลือดดําช้า ๆ นาน 15-20 นาที ด้วยอัตราไม่เกิน 1 gm. ต่อนาที
จากนั้น maintenance dose ด้วย 50% MgSO4 ปริมาณ 10-20 gm. ในสารละลาย 5% D/W 1,000 ml. หยดทางหลอดเลือดดําในอัตรา 2 gm. ต่อชั่วโมง
ควรให้ยานี้ต่ออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด หรือจนกระทั่งปัสสาวะออก มากกว่า 100 ml. ต่อ ชั่วโมง
กรณีเกิดการชักซ้ำควรให้ MgSO4 ซ้ำทางหลอดเลือดดํา ปริมาณ 2-4 gm. เป็น เวลานาน 5 นาท
ผลข้างเคียง
MgSO4 ออกฤทธิ์ทําให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงทําให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวตาม ธรรมชาติไม่ดีเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
MgSO4 ขับออกทางไต ในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการหดรัดตัวจนปัสสาวะ ออกน้อยลง อาจทําให้เกิดการสะสมของ magnesium
ในกระแสเลือด
ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออก มาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ปัสสาวะออกน้อย
Labetalol (Avexor®)
การบริหารยา
หากความดันโลหิตยังไม่ลดให้ซ้ำได้ทุก 10-15 นาที ในขนาด 40, 80, 80, และ 80 mg. ตามลําดับ แต่ขนาดยารวมกันต้องไม่เกิน 220-300 mg.
เริ่มให้ยาครั้งแรกที่ขนาด 20 mg. เข้าหลอดเลือดดําช้าๆ นาน 2 นาที แล้ววัดความ ดันโลหิตซ้ำทุก 10 นาที
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลําบาก เหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภาวะหัวใจล้มเหลว
ข้อควรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลุกขึ้น ควรนอนพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังได้รับยา เฝ้าระวังและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ
Nifedipine (Adalat®)
การบริหารยา
ให้ในรูปแบบยารับประทานเท่านั้น นิยมให้ยาขนาด 10-20 mg. และให้ยาซ้ำได้ทุก 15-30 นาที โดยขนาดยามากที่สุดที่รับได้ต้องไม่เกิน 50 mg.
ไม่ควรให้ยาแบบอมใต้ลิ้น เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตต่ำจนเกิดอันตรายได้
หากระดับความดันโลหิตยังที่วัดซ้ำยังอยู่ที่ระดับ 140/100 mmHg. ระดับยาที่ได้รับ ไมค่วรเกิน120mg/24hr.
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ ท้องผูก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือการที่ค่าความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว หากใช้ยานี้ร่วมกับ MgSO4 จะ เสริมฤทธิ์กัน ทําให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ
ข้อควรระวังในการใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 เนื่องจากยามี teratogenic effects นอกจากนี้ยายังสามารถผ่านน้ํานมได้ จึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในมารดาหลังคลอดที่ ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยน้ํานมมารดา